วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8887 ข่าวสดรายวัน
ระดมกึ๋น"บิ๊กเอกชน" แก้ศก.ฟุบ-สงออกแฟบ
รายงานพิเศษ
หงายท้องกันอีกรอบเมื่อตัวเลขการส่งออกเดือนก.พ. หดเหลือ 17,230 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.14% นับเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือนนับจากเดือนส.ค.2557 ที่ลดลง 7.40%
รวมแล้วในช่วง 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2558 มีมูลค่าการ ส่งออก 34,478 ล้านเหรียญฯ ลดลง 4.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.121 ล้านล้านบาท ลดลง 4.60%
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 34,544.8 ล้านเหรียญฯ ลดลง 6.69% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.136 ล้านล้านบาท ลดลง 6.40% ส่งผลให้มีดุลการค้าขาดดุล 66.3 ล้านเหรียญฯ หรือขาดดุล 15,394.5 ล้านบาท
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกไทยเดือนก.พ.ลดลงมาก มาจากราคาน้ำมัน และทองคำลดลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าทั้ง 2 ชนิดนี้ได้มูลค่าน้อยลง โดยเฉพาะทองคำ มูลค่าการ ส่งออกลดลงมากถึง 66%
"อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่ม 0.4% แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่ม 8.2% เครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพิ่ม 1.9% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เพิ่ม 19.9% เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เพิ่ม 12.8% วัสดุก่อสร้าง เพิ่ม 11.8% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่ม 7.2% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 0.9% ยกเว้นสินค้าเกษตรที่ราคาในตลาดโลกตกต่ำ"
ขณะที่ นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานหอการค้าไทยกล่าวว่า ตัวเลขที่ออกมา เอกชนรู้สึกหนักใจเพราะผิดจากที่คาดว่าน่าจะขยายตัวเป็นบวก เพราะคาดหวังว่าตลาดหลักๆ อย่างสหรัฐอเมริกา จีน จะฟื้นตัวแต่ก็ไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร
"สำหรับมาตรการเร่งด่วนหรือข้อเสนอของเอกชนคือ รัฐบาลหรือกระทรวงพาณิชย์ควรมองตลาดใหม่ เพราะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมากระทรวงพาณิชน์เน้นแต่บุกตลาดหลัก ในขณะที่ตลาดใหม่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร"
นอกจากจะหาตลาดใหม่แล้วกระทรวงพาณิชย์ต้องเร่งทำการตลาดในเชิงรุกเพื่อกู้สถานการณ์ส่งออกที่ทรุดตัว เช่นการการโปรโมตสินค้าในตลาดใหม่ๆ อย่างอินเดีย รัสเซีย ที่มีความต้องการและมีกำลังซื้อสูง
ส่วนค่าเงินบาทก็เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เอกชนเองต้องการให้แบงก์ชาติเข้ามาดูในเรื่องของค่าเงินเพราะว่าขณะนี้เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นกว่าค่าเงินของประเทศในภูมิภาค 2-3%
จากตัวเลขส่งออกที่ติดลบอย่างน่าตกใจ รวมถึงการบริโภคในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เชิญนักธุรกิจและภาคเอกชน รายใหญ่เข้าร่วมหารือ
กลุ่มนักธุรกิจที่เข้าร่วม อาทิ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย,
นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์,
นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล,
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร ทรูคอร์ปอเรชั่น และอื่นๆ อีกกว่า 10 ราย
พล.อ.ประวิตร ระบุว่า การหารือกับภาคเอกชน คุยกันเรื่องความมั่นคงต้องดูคู่กับเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจไม่มั่นคงความมั่นคงก็ไม่มั่นคง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องคุยกับเอกชนทำความเข้าใจกับภาคเอกชนว่าควรทำอย่างไร โดยครั้งนี้ได้อธิบาย กับนักธุรกิจให้เข้าใจรัฐบาลว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งบางส่วนนายกรัฐมนตรีชี้แจงไปหมดแล้ว
"ในส่วนของรัฐบาล อยากรู้ว่าเอกชนอยากให้รัฐบาล ทำอะไรเพิ่มเติมเราก็รับทราบข้อเสนอทั้งหมด โดยข้อเสนอของเอกชนมีเป็นจำนวนมากกว่า 100 เรื่อง ซึ่งต้องมีการทำสรุปเกี่ยวกับเรื่องของความร่วมมือเอกชนกับภาคราชการ เพราะในบางเรื่องเอกชนก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลได้ทำงานและมีความก้าวหน้า"
ในการหารือภาคเอกชนไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลทำมาเกือบหมดทุกอย่างแล้ว ซึ่ง บางเรื่องก็ทำได้ทันที บางเรื่องต้องทำระยะกลาง ระยะยาว แต่ก็ต้องคิดควบคู่กันไปว่าในระยะสั้นจะทำอย่างไร เช่น ต้องการให้รากหญ้ามีเงินทุนลงไปเพื่อจับจ่ายใช้สอย รัฐบาลก็ผลักดันขับเคลื่อนเรื่องการใช้งบประมาณต่างๆ
"ส่วนในเรื่องของการส่งออกก็หารือกันในที่ประชุมถึงสาเหตุที่ทำให้การส่งออกติดลบว่าเป็นเพราะอะไรก็พูดจากัน ส่วนในเรื่องรายละเอียดจะต้องไปถามภาคเอกชนหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองเพราะเขามีรายละเอียดมากกว่า ไม่ใช่จะให้รัฐบาลช่วยอะไรเขา มีแต่เขาต้องช่วยผม จะต้องช่วยรัฐบาลช่วยพูดว่ามันดีขึ้น เหมือนนักข่าวต้องช่วยผมบอกว่ามันดีขึ้น" พล.อ.ประวิตรกล่าว
ด้าน นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวในที่ประชุมว่าการส่งออกเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยเฉพาะแข็งค่ากว่าในภูมิภาค และค่าเงินบาทของไทยมักมีทิศทาง ที่สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค โดยเมื่อค่าเงินในภูมิภาค แข็งค่า ค่าเงินบาทก็แข็งค่ากว่าประเทศอื่นๆ ขณะที่เมื่อค่าเงินอ่อนค่า ค่าเงินเราก็ไม่ได้อ่อนค่าตาม
ทำให้ผู้ประกอบการภาคส่งออกได้รับผลกระทบเนื่องจากค่าเงินบาทไม่สอดคล้องกับตลาด อย่างไรก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนเอื้อต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยการท่องเที่ยวขยายตัวประมาณ 30% และมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวเพิ่ม
"แต่ค่าเงินในบางประเทศที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่อัตราแลกเปลี่ยนเหลือประมาณ 27 บาทต่อ 100 เยน ก็ทำให้นักท่องเที่ยวไทยรวมทั้งข้าราชการระดับสูงไปท่องเที่ยวและจัดสัมมนาในต่างประเทศกันมาก"
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กรรมการบริหารสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่าในที่ประชุมฯ พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงมาตรการการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังกลับไปทบทวน และจะยังไม่มีการหยิบยกเรื่องนี้กลับขึ้นมาพิจารณาหรือประกาศใช้ในปี 2558 อย่างแน่นอน
"ความชัดเจนของเรื่องนี้ถือว่าเป็นผลดีของตลาดอสังหา ริมทรัพย์ แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผู้ประกอบการ จะสนับสนุน แต่ต้องยอมรับว่าในสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยให้มีการเก็บภาษีเพิ่มเติม"
ทั้งนี้สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยได้มีการเสนอปัญหา ต่อที่ประชุมว่าขั้นตอนการขอใบอนุญาตประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังมีความล่าช้าและขั้นตอนต่างๆ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใช้ดุลยพินิจส่วนตัวได้มากทำให้การอนุมัติล่าช้าและไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
นายพรนริศ บอกอีกว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ถือว่าฟื้นตัวมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวเป็นลักษณะ"side way"ไม่ได้เป็นลักษณะการฟื้นตัวในลักษณะ "วีเชฟ"
การฟื้นตัวของยอดขายของบริษัทที่ทำอสังหาริมทรัพย์ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะในตลาดพรีเมียม และซูเปอร์พรีเมียมที่มีราคาสูงตั้งแต่ตารางเมตรละ 2 แสนบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ถือครองส่วนแบ่งนี้อยู่
ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยราคาไม่สูงนัก เช่น คอนโดมิเนียม ราคา 5-8 แสนบาท ผู้ประกอบการกำลังจะมีโครงการต่างๆ ออกมา โดยการซื้อของประชาชนในขณะนี้เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าการเก็งกำไร
อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคโดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดและภาคใต้ยอดขายยังติดลบ สาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของประชาชนลดลงโดยเป็นผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
ส่วนข้อมูลที่มีการพูดกันในที่ประชุมว่ายอดขายอสังหา ริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 35% จากปีก่อนเป็นการให้ข้อมูลของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่ได้สะท้อนสภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศแต่อย่างใด
ส่วนในการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลง 0.25% ยังไม่มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงลงมากนัก
ปัญหาเศรษฐกิจและส่งออกยังเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบัน หากยังไม่สามารถแก้ไขให้ดี ขึ้นได้ การบริหารประเทศจะยิ่งเหนื่อยหนักมากขึ้น
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHpNREk1TURNMU9BPT0%3D§ionid=TURNd05RPT0%3D&day=TWpBeE5TMHdNeTB5T1E9PQ%3D%3D
ระดมกึ๋น"บิ๊กเอกชน" แก้ ศก.ฟุบ-สงออกแฟบ
ระดมกึ๋น"บิ๊กเอกชน" แก้ศก.ฟุบ-สงออกแฟบ
รายงานพิเศษ
หงายท้องกันอีกรอบเมื่อตัวเลขการส่งออกเดือนก.พ. หดเหลือ 17,230 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.14% นับเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือนนับจากเดือนส.ค.2557 ที่ลดลง 7.40%
รวมแล้วในช่วง 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2558 มีมูลค่าการ ส่งออก 34,478 ล้านเหรียญฯ ลดลง 4.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.121 ล้านล้านบาท ลดลง 4.60%
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 34,544.8 ล้านเหรียญฯ ลดลง 6.69% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 1.136 ล้านล้านบาท ลดลง 6.40% ส่งผลให้มีดุลการค้าขาดดุล 66.3 ล้านเหรียญฯ หรือขาดดุล 15,394.5 ล้านบาท
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าสาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกไทยเดือนก.พ.ลดลงมาก มาจากราคาน้ำมัน และทองคำลดลง ทำให้ไทยส่งออกสินค้าทั้ง 2 ชนิดนี้ได้มูลค่าน้อยลง โดยเฉพาะทองคำ มูลค่าการ ส่งออกลดลงมากถึง 66%
"อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่าสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่ม 0.4% แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่ม 8.2% เครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เพิ่ม 1.9% รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เพิ่ม 19.9% เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เพิ่ม 12.8% วัสดุก่อสร้าง เพิ่ม 11.8% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่ม 7.2% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 0.9% ยกเว้นสินค้าเกษตรที่ราคาในตลาดโลกตกต่ำ"
ขณะที่ นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานหอการค้าไทยกล่าวว่า ตัวเลขที่ออกมา เอกชนรู้สึกหนักใจเพราะผิดจากที่คาดว่าน่าจะขยายตัวเป็นบวก เพราะคาดหวังว่าตลาดหลักๆ อย่างสหรัฐอเมริกา จีน จะฟื้นตัวแต่ก็ไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร
"สำหรับมาตรการเร่งด่วนหรือข้อเสนอของเอกชนคือ รัฐบาลหรือกระทรวงพาณิชย์ควรมองตลาดใหม่ เพราะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมากระทรวงพาณิชน์เน้นแต่บุกตลาดหลัก ในขณะที่ตลาดใหม่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร"
นอกจากจะหาตลาดใหม่แล้วกระทรวงพาณิชย์ต้องเร่งทำการตลาดในเชิงรุกเพื่อกู้สถานการณ์ส่งออกที่ทรุดตัว เช่นการการโปรโมตสินค้าในตลาดใหม่ๆ อย่างอินเดีย รัสเซีย ที่มีความต้องการและมีกำลังซื้อสูง
ส่วนค่าเงินบาทก็เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เอกชนเองต้องการให้แบงก์ชาติเข้ามาดูในเรื่องของค่าเงินเพราะว่าขณะนี้เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นกว่าค่าเงินของประเทศในภูมิภาค 2-3%
จากตัวเลขส่งออกที่ติดลบอย่างน่าตกใจ รวมถึงการบริโภคในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เชิญนักธุรกิจและภาคเอกชน รายใหญ่เข้าร่วมหารือ
กลุ่มนักธุรกิจที่เข้าร่วม อาทิ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ กรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย, นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์, นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร ทรูคอร์ปอเรชั่น และอื่นๆ อีกกว่า 10 ราย
พล.อ.ประวิตร ระบุว่า การหารือกับภาคเอกชน คุยกันเรื่องความมั่นคงต้องดูคู่กับเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจไม่มั่นคงความมั่นคงก็ไม่มั่นคง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องคุยกับเอกชนทำความเข้าใจกับภาคเอกชนว่าควรทำอย่างไร โดยครั้งนี้ได้อธิบาย กับนักธุรกิจให้เข้าใจรัฐบาลว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งบางส่วนนายกรัฐมนตรีชี้แจงไปหมดแล้ว
"ในส่วนของรัฐบาล อยากรู้ว่าเอกชนอยากให้รัฐบาล ทำอะไรเพิ่มเติมเราก็รับทราบข้อเสนอทั้งหมด โดยข้อเสนอของเอกชนมีเป็นจำนวนมากกว่า 100 เรื่อง ซึ่งต้องมีการทำสรุปเกี่ยวกับเรื่องของความร่วมมือเอกชนกับภาคราชการ เพราะในบางเรื่องเอกชนก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลได้ทำงานและมีความก้าวหน้า"
ในการหารือภาคเอกชนไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลทำมาเกือบหมดทุกอย่างแล้ว ซึ่ง บางเรื่องก็ทำได้ทันที บางเรื่องต้องทำระยะกลาง ระยะยาว แต่ก็ต้องคิดควบคู่กันไปว่าในระยะสั้นจะทำอย่างไร เช่น ต้องการให้รากหญ้ามีเงินทุนลงไปเพื่อจับจ่ายใช้สอย รัฐบาลก็ผลักดันขับเคลื่อนเรื่องการใช้งบประมาณต่างๆ
"ส่วนในเรื่องของการส่งออกก็หารือกันในที่ประชุมถึงสาเหตุที่ทำให้การส่งออกติดลบว่าเป็นเพราะอะไรก็พูดจากัน ส่วนในเรื่องรายละเอียดจะต้องไปถามภาคเอกชนหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเองเพราะเขามีรายละเอียดมากกว่า ไม่ใช่จะให้รัฐบาลช่วยอะไรเขา มีแต่เขาต้องช่วยผม จะต้องช่วยรัฐบาลช่วยพูดว่ามันดีขึ้น เหมือนนักข่าวต้องช่วยผมบอกว่ามันดีขึ้น" พล.อ.ประวิตรกล่าว
ด้าน นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวในที่ประชุมว่าการส่งออกเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยเฉพาะแข็งค่ากว่าในภูมิภาค และค่าเงินบาทของไทยมักมีทิศทาง ที่สวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค โดยเมื่อค่าเงินในภูมิภาค แข็งค่า ค่าเงินบาทก็แข็งค่ากว่าประเทศอื่นๆ ขณะที่เมื่อค่าเงินอ่อนค่า ค่าเงินเราก็ไม่ได้อ่อนค่าตาม
ทำให้ผู้ประกอบการภาคส่งออกได้รับผลกระทบเนื่องจากค่าเงินบาทไม่สอดคล้องกับตลาด อย่างไรก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนเอื้อต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยการท่องเที่ยวขยายตัวประมาณ 30% และมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเที่ยวเพิ่ม
"แต่ค่าเงินในบางประเทศที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท เช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่อัตราแลกเปลี่ยนเหลือประมาณ 27 บาทต่อ 100 เยน ก็ทำให้นักท่องเที่ยวไทยรวมทั้งข้าราชการระดับสูงไปท่องเที่ยวและจัดสัมมนาในต่างประเทศกันมาก"
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ กรรมการบริหารสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่าในที่ประชุมฯ พล.อ.ประวิตร กล่าวถึงมาตรการการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังกลับไปทบทวน และจะยังไม่มีการหยิบยกเรื่องนี้กลับขึ้นมาพิจารณาหรือประกาศใช้ในปี 2558 อย่างแน่นอน
"ความชัดเจนของเรื่องนี้ถือว่าเป็นผลดีของตลาดอสังหา ริมทรัพย์ แม้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผู้ประกอบการ จะสนับสนุน แต่ต้องยอมรับว่าในสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยให้มีการเก็บภาษีเพิ่มเติม"
ทั้งนี้สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยได้มีการเสนอปัญหา ต่อที่ประชุมว่าขั้นตอนการขอใบอนุญาตประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังมีความล่าช้าและขั้นตอนต่างๆ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ใช้ดุลยพินิจส่วนตัวได้มากทำให้การอนุมัติล่าช้าและไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
นายพรนริศ บอกอีกว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ถือว่าฟื้นตัวมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่การฟื้นตัวเป็นลักษณะ"side way"ไม่ได้เป็นลักษณะการฟื้นตัวในลักษณะ "วีเชฟ"
การฟื้นตัวของยอดขายของบริษัทที่ทำอสังหาริมทรัพย์ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะในตลาดพรีเมียม และซูเปอร์พรีเมียมที่มีราคาสูงตั้งแต่ตารางเมตรละ 2 แสนบาทขึ้นไป ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ถือครองส่วนแบ่งนี้อยู่
ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยราคาไม่สูงนัก เช่น คอนโดมิเนียม ราคา 5-8 แสนบาท ผู้ประกอบการกำลังจะมีโครงการต่างๆ ออกมา โดยการซื้อของประชาชนในขณะนี้เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัยมากกว่าการเก็งกำไร
อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคโดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดและภาคใต้ยอดขายยังติดลบ สาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของประชาชนลดลงโดยเป็นผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
ส่วนข้อมูลที่มีการพูดกันในที่ประชุมว่ายอดขายอสังหา ริมทรัพย์เพิ่มขึ้น 35% จากปีก่อนเป็นการให้ข้อมูลของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่ได้สะท้อนสภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศแต่อย่างใด
ส่วนในการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลง 0.25% ยังไม่มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงลงมากนัก
ปัญหาเศรษฐกิจและส่งออกยังเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับรัฐบาลชุดปัจจุบัน หากยังไม่สามารถแก้ไขให้ดี ขึ้นได้ การบริหารประเทศจะยิ่งเหนื่อยหนักมากขึ้น
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHpNREk1TURNMU9BPT0%3D§ionid=TURNd05RPT0%3D&day=TWpBeE5TMHdNeTB5T1E9PQ%3D%3D