คลังโอดเศรษฐกิจทรุดกว่าคาด กระทบจัดเก็บ 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 58 หลุดเป้า 3.3 หมื่นล้านบาท คาดสิ้นปีรีดรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายเบ็ดเสร็จไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท สรรพากรครองแชมป์รายได้หด 1.6 แสนล้านบาท เปิดตัวเลขจัดเก็บเดือน ก.พ. รายได้ทรุด 2 หมื่นล้าน คลังโชว์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ ฟุ้งเบิกจ่ายกระตุ้นจีดีพีแล้ว 1.54 ล้านล้านบาท แจงหนี้สาธารณะยังต่ำ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การเก็บภาษีของรัฐบาลในเดือน ก.พ. 2558 ซึ่งเป็นเดือนที่ 5 ของปีงบประมาณ 2558 ในภาพรวมยังเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายจำนวนมาก โดยเฉพาะกรมสรรพากรเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายถึง 2 หมื่นล้านบาท หรือ 14.7% โดยเป็นการเก็บภาษีต่ำกว่าประมาณการทุกประเภท ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำกว่าเป้าหมาย 3 พันล้านบาท หรือ 11% ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.8 พันล้านบาท หรือ 12% ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 9.3 พันล้านบาท หรือ 15%
นอกจากนี้ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าเป้าหมาย 3.3 พันล้านบาท หรือ 33% ภาษีธุรกิจเฉพาะต่ำกว่าเป้าหมาย 750 ล้านบาท หรือ 17% และอากรแสตมป์ต่ำกว่าเป้า 27 ล้านบาท หรือ 3% ซึ่งการเก็บภาษีของกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว การบริโภคการลงทุนยังชะลอตัว
ในส่วนของการเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต สูงกว่าเป้า 3.7 พันล้านบาท 10% จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเกินเป้า 5 พันล้านบาท หรือ 91% แต่การเก็บภาษีรถยนต์ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2.9 พันล้านบาท หรือ 33% ภาษีเครื่องดื่มและภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้ายังต่ำกว่าเป้าเล็กน้อยตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
ด้านกรมศุลกากร เก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายราว 500 ล้านบาท หรือ 5% เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวมาก และการลดภาษีนำเข้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยกดดันสำคัญ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การเก็บภาษีของรัฐบาลในรอบ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557- ก.พ.2558) ในภาพรวมยังต่ำกว่าเป้า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าหมาย 3.5 หมื่นล้านบาท กรมสรรพสามิตต่ำกว่าเป้าหมาย 5 พันล้านบาท และกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมาย 2.5 พันล้านบาท
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังประเมินว่า การเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2558 จะต่ำกว่าเป้าไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท เนื่องจากคาดการณ์ว่ากรมสรรพากรจะเก็บภาษีต่ำกว่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แต่จะมีภาษีจากกรมสรรพสามิตเข้ามาชดเชยทำให้ภาพรวมของการเก็บภาษีดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งกระทรวงการคลังได้เร่งให้ทุกกรมภาษีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี แต่มีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ทำให้การเก็บภาษีของรัฐบาลยังมีปัญหา
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาครัฐบาลได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2557-13 มี.ค. 2558 โดยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 1.54 ล้านล้านบาท คิดเป็น 44.3% ของกรอบวงเงินการใช้จ่ายของปีงบประมาณ 2558 นอกจากนี้ ในระยะต่อไป รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน ในกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ฐานะการคลังมีความมั่นคงและหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557-ก.พ.2558) ขาดดุล 4.1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงบทบาทภาครัฐในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงที่เอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังยังรักษาไว้ซึ่งวินัยการคลังอย่างเคร่งครัดอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้หนี้สาธารณะคงค้างต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี โดยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 46.5% ของจีดีพี
นายเอกนิติกล่าวต่อว่า กระทรวงการคลังยังมีมาตรการสำคัญเพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจในระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เช่น มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters: IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers: ITC) มาตรการการคลังการเงินเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัด มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs มาตรการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่คอยช่วยบรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจ ในส่วนมาตรการที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ได้ดำเนินการผ่านมาตรการทั้งในรูปแบบการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ตลอดจนกลุ่มประชาชนทั่วไป วงเงินรวมกว่า 5 แสนล้านบาท รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดเล็กมีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น จากการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ
"นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบอาชีพรายย่อย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ใช้บริการหนี้นอกระบบกว่า 5.8 แสนครัวเรือน และที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินใดๆ 1.3 ล้านครัวเรือน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพได้ ผ่านมาตรการสินเชื่อ Nano-Finance ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้สนใจยื่นขอจดทะเบียนมาแล้วทั้งสิ้น 14 ราย โดยยื่นเอกสารครบแล้ว 3 ราย และอีก 11 ราย กำลังตรวจสอบเอกสาร คาดว่าจะเริ่มให้สินเชื่อได้ในเดือน พ.ค.2558" นายเอกนิติกล่าว.
เขียนโดย ไทยโพสต์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๘:๕๕ น.
ระวังตัวกันด้วยครับ สัญญาณเริ่มไม่ค่อยดี
สรรพากรอ่วม จัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า เหตุเศรษฐกิจทรุด การบริโภคชะลอตัว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า การเก็บภาษีของรัฐบาลในเดือน ก.พ. 2558 ซึ่งเป็นเดือนที่ 5 ของปีงบประมาณ 2558 ในภาพรวมยังเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายจำนวนมาก โดยเฉพาะกรมสรรพากรเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายถึง 2 หมื่นล้านบาท หรือ 14.7% โดยเป็นการเก็บภาษีต่ำกว่าประมาณการทุกประเภท ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำกว่าเป้าหมาย 3 พันล้านบาท หรือ 11% ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.8 พันล้านบาท หรือ 12% ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 9.3 พันล้านบาท หรือ 15%
นอกจากนี้ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าเป้าหมาย 3.3 พันล้านบาท หรือ 33% ภาษีธุรกิจเฉพาะต่ำกว่าเป้าหมาย 750 ล้านบาท หรือ 17% และอากรแสตมป์ต่ำกว่าเป้า 27 ล้านบาท หรือ 3% ซึ่งการเก็บภาษีของกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว การบริโภคการลงทุนยังชะลอตัว
ในส่วนของการเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต สูงกว่าเป้า 3.7 พันล้านบาท 10% จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเกินเป้า 5 พันล้านบาท หรือ 91% แต่การเก็บภาษีรถยนต์ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2.9 พันล้านบาท หรือ 33% ภาษีเครื่องดื่มและภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้ายังต่ำกว่าเป้าเล็กน้อยตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
ด้านกรมศุลกากร เก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายราว 500 ล้านบาท หรือ 5% เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวมาก และการลดภาษีนำเข้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยกดดันสำคัญ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การเก็บภาษีของรัฐบาลในรอบ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557- ก.พ.2558) ในภาพรวมยังต่ำกว่าเป้า 3.3 หมื่นล้านบาท โดยกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าหมาย 3.5 หมื่นล้านบาท กรมสรรพสามิตต่ำกว่าเป้าหมาย 5 พันล้านบาท และกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมาย 2.5 พันล้านบาท
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังประเมินว่า การเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2558 จะต่ำกว่าเป้าไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท เนื่องจากคาดการณ์ว่ากรมสรรพากรจะเก็บภาษีต่ำกว่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แต่จะมีภาษีจากกรมสรรพสามิตเข้ามาชดเชยทำให้ภาพรวมของการเก็บภาษีดีขึ้นเล็กน้อย ซึ่งกระทรวงการคลังได้เร่งให้ทุกกรมภาษีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี แต่มีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ทำให้การเก็บภาษีของรัฐบาลยังมีปัญหา
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาครัฐบาลได้มีการอัดฉีดเม็ดเงินงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2557-13 มี.ค. 2558 โดยรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจได้เบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 1.54 ล้านล้านบาท คิดเป็น 44.3% ของกรอบวงเงินการใช้จ่ายของปีงบประมาณ 2558 นอกจากนี้ ในระยะต่อไป รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน ในกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ฐานะการคลังมีความมั่นคงและหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ต.ค.2557-ก.พ.2558) ขาดดุล 4.1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงบทบาทภาครัฐในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในช่วงที่เอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังยังรักษาไว้ซึ่งวินัยการคลังอย่างเคร่งครัดอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้หนี้สาธารณะคงค้างต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี โดยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 46.5% ของจีดีพี
นายเอกนิติกล่าวต่อว่า กระทรวงการคลังยังมีมาตรการสำคัญเพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจในระยะยาวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เช่น มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters: IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (International Trading Centers: ITC) มาตรการการคลังการเงินเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัด มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs มาตรการปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่คอยช่วยบรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจ ในส่วนมาตรการที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ได้ดำเนินการผ่านมาตรการทั้งในรูปแบบการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ตลอดจนกลุ่มประชาชนทั่วไป วงเงินรวมกว่า 5 แสนล้านบาท รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดเล็กมีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น จากการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ
"นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบอาชีพรายย่อย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยที่ใช้บริการหนี้นอกระบบกว่า 5.8 แสนครัวเรือน และที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินใดๆ 1.3 ล้านครัวเรือน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพได้ ผ่านมาตรการสินเชื่อ Nano-Finance ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้สนใจยื่นขอจดทะเบียนมาแล้วทั้งสิ้น 14 ราย โดยยื่นเอกสารครบแล้ว 3 ราย และอีก 11 ราย กำลังตรวจสอบเอกสาร คาดว่าจะเริ่มให้สินเชื่อได้ในเดือน พ.ค.2558" นายเอกนิติกล่าว.
เขียนโดย ไทยโพสต์ออนไลน์
วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๘:๕๕ น.
ระวังตัวกันด้วยครับ สัญญาณเริ่มไม่ค่อยดี