"สมศักดิ์" ประชุมบอร์ดลดเกลือลดโซเดียมเพื่อลดโรค NCDs นัดแรก
ถกร่วมภาคีเครือข่ายกว่า 10 หน่วยงาน ห่วงคนไทยกินเกลือเกินกำหนด 2 เท่า
ดันมาตรการคนไทยลดเค็ม 30% หนุน อสม.มี Salt Meter ช่วยคุมโซเดียมครัวเรือนปรุงอาหาร กำหนดเพดานโซเดียมผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป พร้อมดันภาษีโซเดียม
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกรมควบคุมโรค และภาคีเครือข่าย ได้แก่
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ
สถาบันโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
กระทรวงมหาดไทย
สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย
กรมสรรพสามิต
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงพาณิชย์
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
สภาองค์กรของผู้บริโภค
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมประชุม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคเกลือและโซเดียมมากเกินไป
จากการสำรวจการบริโภคเกลือแกงในประเทศไทย พ.ศ. 2552 พบว่า คนไทยได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารมากถึง 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน
สูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถึง 2 เท่า
ขณะที่คนไทยมากกว่า 22 ล้านคน ป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียม
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ทั้งนี้ ตนมีนโยบายที่จะมุ่งลดและป้องกันโรค NCDs อยู่แล้ว จึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคตั้งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ขึ้น
ซึ่งวันนี้เป็นการประชุมครั้งแรก ได้มีการรายงานความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ.2559-2568 และผลักดันประเด็นขับเคลื่อนเชิงนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อเป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค NCDs
"กระทรวงสาธารณสุขจะผลักดันยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ ในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในอาหาร ทั้งกระตุ้นให้คนไทยลดการบริโภคเค็มลง 30% สนับสนุนให้ อสม.มี Salt Meter เป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักและควบคุมปริมาณโซเดียมในการปรุงอาหารของครัวเรือนที่รับผิดชอบ กำหนดเพดานปริมาณเกลือและโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และผลักดันมาตรการทางการเงิน เช่น ภาษีโซเดียม เป็นต้น" นายสมศักดิ์ กล่าว
ด้านนพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมฯ พ.ศ. 2559-2568 เพื่อสร้างความเข้มแข็งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย
ซึ่งยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย (SALTS) ปีงบประมาณ 2560-2567 ประกอบด้วย
1. การสร้าง พัฒนา และขยายเครือข่ายความร่วมมือ (S: Stakeholder network) โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายขยายพื้นที่มาตรการเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึง กทม.
2. การเพิ่มความรู้ ความตระหนักและเสริมทักษะประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำหนดนโยบาย (A: Awareness) โดยประชาสัมพันธ์นโยบายสุขภาพ เช่น นโยบายการจัดหาอาหารเพื่อการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพ นโยบายภาษีโซเดียม และกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม สร้างกระแสสังคมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องว่างทางการเข้าถึงอาหารปริมาณโซเดียมต่ำ (L: Legislation and environmental reform) โดยบังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบ GDA กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ การใช้สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ หรือ “Healthier Logo” และส่งเสริมการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นลดโซเดียม (OTOP)
4.การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำไปสู่การปฏิบัติ (T: Technology and Innovation) โดยวิจัยปรับสูตรอาหาร
และ 5.การพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามและประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการผลิตและผลลัพธ์ (S: Surveillance, monitoring and evaluation) โดยพัฒนาแอปพลิเคชัน ThAI Salt Survey และสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารด้วยเครื่องวัดความเค็ม (Salt Meter) ทุกจังหวัด รวมถึง กทม.
https://www.hfocus.org/content/2024/12/32524
”สมศักดิ์“ ห่วงคนไทยกินเกลือเกินกำหนด 2 เท่า ดันมาตรการลดเค็ม 30% หนุน อสม.มี Salt Meter
ถกร่วมภาคีเครือข่ายกว่า 10 หน่วยงาน ห่วงคนไทยกินเกลือเกินกำหนด 2 เท่า
ดันมาตรการคนไทยลดเค็ม 30% หนุน อสม.มี Salt Meter ช่วยคุมโซเดียมครัวเรือนปรุงอาหาร กำหนดเพดานโซเดียมผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป พร้อมดันภาษีโซเดียม
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกรมควบคุมโรค และภาคีเครือข่าย ได้แก่
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม
สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ
สถาบันโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
กระทรวงมหาดไทย
สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย
กรมสรรพสามิต
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงพาณิชย์
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
สภาองค์กรของผู้บริโภค
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมประชุม
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคเกลือและโซเดียมมากเกินไป
จากการสำรวจการบริโภคเกลือแกงในประเทศไทย พ.ศ. 2552 พบว่า คนไทยได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารมากถึง 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน
สูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถึง 2 เท่า
ขณะที่คนไทยมากกว่า 22 ล้านคน ป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับการบริโภคโซเดียม
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ทั้งนี้ ตนมีนโยบายที่จะมุ่งลดและป้องกันโรค NCDs อยู่แล้ว จึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคตั้งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ขึ้น
ซึ่งวันนี้เป็นการประชุมครั้งแรก ได้มีการรายงานความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ.2559-2568 และผลักดันประเด็นขับเคลื่อนเชิงนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อเป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค NCDs
"กระทรวงสาธารณสุขจะผลักดันยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ ในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในอาหาร ทั้งกระตุ้นให้คนไทยลดการบริโภคเค็มลง 30% สนับสนุนให้ อสม.มี Salt Meter เป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักและควบคุมปริมาณโซเดียมในการปรุงอาหารของครัวเรือนที่รับผิดชอบ กำหนดเพดานปริมาณเกลือและโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และผลักดันมาตรการทางการเงิน เช่น ภาษีโซเดียม เป็นต้น" นายสมศักดิ์ กล่าว
ด้านนพ.ภาณุมาศ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมฯ พ.ศ. 2559-2568 เพื่อสร้างความเข้มแข็งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย
ซึ่งยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย (SALTS) ปีงบประมาณ 2560-2567 ประกอบด้วย
1. การสร้าง พัฒนา และขยายเครือข่ายความร่วมมือ (S: Stakeholder network) โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายขยายพื้นที่มาตรการเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึง กทม.
2. การเพิ่มความรู้ ความตระหนักและเสริมทักษะประชาชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและผู้กำหนดนโยบาย (A: Awareness) โดยประชาสัมพันธ์นโยบายสุขภาพ เช่น นโยบายการจัดหาอาหารเพื่อการบริโภคที่ดีต่อสุขภาพ นโยบายภาษีโซเดียม และกำหนดเพดานปริมาณโซเดียม สร้างกระแสสังคมลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการผลิต ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมต่ำ รวมทั้งเพิ่มทางเลือกและช่องว่างทางการเข้าถึงอาหารปริมาณโซเดียมต่ำ (L: Legislation and environmental reform) โดยบังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบ GDA กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ การใช้สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ หรือ “Healthier Logo” และส่งเสริมการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นลดโซเดียม (OTOP)
4.การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้และการนำไปสู่การปฏิบัติ (T: Technology and Innovation) โดยวิจัยปรับสูตรอาหาร
และ 5.การพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามและประเมินผล เน้นตลอดกระบวนการผลิตและผลลัพธ์ (S: Surveillance, monitoring and evaluation) โดยพัฒนาแอปพลิเคชัน ThAI Salt Survey และสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารด้วยเครื่องวัดความเค็ม (Salt Meter) ทุกจังหวัด รวมถึง กทม.
https://www.hfocus.org/content/2024/12/32524