“ปัสสาวะ” เรื่องควรรู้เกี่ยวกับของเสียจากร่างกาย

กำลังคิดกับตัวเองอยู่ว่า คนงานที่ติดอยู่ใต้ซากตึก ถ้ายังมีชีวิตรอดอยู่  ผ่านมา 3 วันแล้ว คงจะกระหายน้ำมากๆ  ถ้าไม่ได้พกน้ำติดตัว

.....เขาจะสามารถดื่มปัสสาวะ ตัวเองเพื่อพยุงชีพได้หรือเปล่า.....

แล้วก็มาเจอข่าวเจอเนื้อหาเรื่องนี้  ขอเอามาบอกกันครับ

ที่มา :- https://mgronline.com/infographic/detail/9680000030526


เนื้อหา  :-



ปัสสาวะ เป็นมากกว่าของเสียที่ร่างกายขับออกมา เพราะสี กลิ่น และลักษณะของปัสสาวะสามารถบอกถึงสุขภาพของเราได้ หลายคนอาจไม่เคยสังเกตว่าความผิดปกติของปัสสาวะ เช่น สีเข้มกว่าปกติ กลิ่นแรง หรือปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดน้ำ โรคไต หรือโรคเบาหวาน บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัสสาวะ เพื่อให้สามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม!ปัสสาวะเกิดจาก การที่ไตขับของเหลว (เสีย) ออกมาจากร่างกาย โดยในแต่ละวันไตจะผลิตน้ำปัสสาวะได้ประมาณวันละ 1 ลิตรครึ่ง ในปัสสาวะประกอบด้วย

น้ำ 95%
ยูเรีย 2.5%
สารอื่น 2.5%

แม้ว่าปัสสาวะจะมีสารต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม โซเดียมคลอไรด์ และสารอื่นๆ แต่สารเหล่านี้มีปริมาณที่เกินความต้องการของร่างกายแล้ว ดังนั้น หากสะสมไว้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

นอกจากนี้ น้ำปัสสาวะที่ขับออกมาอาจปนเปื้อนอุจารระทำให้มีเชื้อโรคปนอยู่ เช่น โรคบิด หากดื่มเข้าไปอาจทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องขับของเสียออกซ้ำ อีกทั้งยังอาจเกิดการคั่งค้างของสารต่างๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา

ดื่มน้ำ ปัสสาวะ จะเกิดอะไรขึ้น?
หากดื่มน้ำปัสสาวะจะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

เสี่ยงทำอาการทรุดหนัก
โรคอาจลุกลามจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาจเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
**ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่รับรองว่าปัสสาวะสามารถรักษาโรคได้ สำหรับวิธีการรักษาโรคที่ดีที่สุด คือ การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้โดย

ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
เลี่ยงการทานอาหารเค็มจัด ไขมันสูง
ตรวจสุขภาพประจำปี
ควรปรึกษาแพทย์หากพบความผิดปกติ หรืออาการต่างๆ
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลศิครินทร์

การตรวจสุขภาพช่วยดูแลความสมบูรณ์ของร่างกาย หาสาเหตุและความผิดปกติที่สามารถพบได้ตั้งแต่เริ่มต้นโดยที่ยังไม่แสดงอาการก่อนที่จะลุกลามไปมากจนแสดงอาการออกมา รายละเอียดของการตรวจอาจจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยศึกษาจากประวัติของการใช้ชีวิตประจำวัน ประวัติการเจ็บป่วยที่ผ่านมา ประวัติโรคที่เกิดในครอบครัว โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่