คน 4 กลุ่มนี้ไม่ควรกิน “กะหล่ำปลี” ถึงแม้จะมีประโยชน์มากก็ตาม
"กะหล่ำปลี" เป็นผักยอดนิยมซึ่งดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับประทานผักชนิดนี้ได้ มีคน 4 กลุ่มที่ควรงดรับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี
“กะหล่ำปลี” เป็นผักยอดนิยมที่หลายครอบครัวชื่นชอบ มีรสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับประทานผักชนิดนี้ได้
กะหล่ำปลีมีสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามิน C, E, K, โฟเลต, แมกนีเซียม, แมงกานีส, แคโรทีนอยด์บางชนิด (ลูทีน), ซีแซนทีน, เบต้า -แคโรทีน, เส้นใย และสารต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ต่อสุขภาพของกะหล่ำปลีมีดังนี้
ต้านการอักเสบ
สารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่มีอยู่ในกะหล่ำปลี ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
วิตามินซี หรือที่เรียกว่า กรดแอสคอร์บิก ช่วยสร้างคอลลาเจน และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร
กะหล่ำปลีประกอบด้วยไฟโตสเตอรอล (สเตอรอลจากพืช) และเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจำนวนมาก ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดี มีการขับถ่ายเป็นประจำ
ปกป้องหัวใจ
แอนโทไซยานินที่พบในกะหล่ำปลี ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบเท่านั้น แต่ยังลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจด้วย
ป้องกันการเกิดมะเร็ง
กะหล่ำปลีมีสารสลูโคซิโนเลต ซัลโฟราเฟน และแอนโทไซยานิน ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง
แต่ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากมายขนาดไหน แต่ก็มีคน 4 กลุ่มที่ไม่ควรกินมัน
บทความจากเว็บไซต์ Medlatec General Hospital เผยถึง 4 กลุ่มคนที่ไม่ควรกินกะหล่ำปลี
ผู้ที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรืออาการลำไส้แปรปรวน ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลี เพราะกะหล่ำปลีจะทำให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหารได้ หากรับประทานขณะท้องอืด อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้น
ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ กะหล่ำปลีมีสารกอยทริน ผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ต่อมไทรอยด์หรือคอพอกบวมได้
ผู้ที่มีภาวะไตวายรุนแรง หรือจำเป็นต้องฟอกไต
ผู้เป็นภูมิแพ้ ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีที่ดองไว้ เพราะจะทำให้โรคภูมิแพ้รุนแรงมากขึ้น กะหล่ำปลีดองยังมีฮีสตามีน ทำให้เกิดอาการคัน น้ำตาและน้ำมูกไหล หรืออาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก.
ที่มาและภาพ : soha...
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/4325437/
ภาษีความเค็ม ขนมขบเคี้ยว ทางเลือกสุขภาพ ลดเสี่ยงโรค NCDs
จากกรณีที่กรมสรรพสามิตมีแผนที่จะจัดเก็บภาษีความเค็มเนื่องจากคนไทยติดการบริโภคเค็มมากเกินไป โดยเริ่มจากขนมขบเคี้ยว ซึ่งจะมีความชัดเจนในปี 2568 นี้ โดยจะถูกเก็บตามปริมาณโซเดียมต่อผลิตภัณฑ์ในอัตราภาษีแบบขั้นบันได
จากกรณีที่กรมสรรพสามิตมีแผนที่จะจัดเก็บภาษีความเค็มเนื่องจากคนไทยติดการบริโภคเค็มมากเกินไป โดยเริ่มจากขนมขบเคี้ยว ซึ่งจะมีความชัดเจนในปี 2568 นี้ โดยจะถูกเก็บตามปริมาณโซเดียมต่อผลิตภัณฑ์ในอัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยรัฐตั้งเป้าให้คนไทยลดการบริโภคเค็มให้ได้ 30%
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ระบุว่า ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข โดยนพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs กว่า 400,000 คน รัฐต้องสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี
ซึ่งในปี 2568 มีสโลแกน “กรมควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี” สนับสนุนกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) นำนวัตกรรมเครื่องวัดความเค็ม (Salt Meter) ขยายผลสร้างความตระหนักและควบคุมปริมาณโซเดียมในการปรุงอาหารของครัวเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงานทั่วประเทศ เป็นแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด รวมถึงกำหนดปริมาณเกลือและโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผลักดันมาตรการภาษีโซเดียม ให้คนไทยห่างไกลโรค NCDs ลดการกินเค็ม ลดเกลือและโซเดียมเกินกำหนด สอดรับ 1 ใน 9 เป้าหมายลด NCDs ระดับโลก (9 global targets for noncommunicable diseases for 2025)
“ปัจจุบันคนไทยได้กินโซเดียม 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน สูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก กำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา พบคนไทยป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับการกินโซเดียม เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไต หัวใจและหลอดเลือดสมองกว่า 22 ล้านคน ซึ่งคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ภายในปี 2568 ไทยควรจะต้องทำให้ประชาชนลดการบริโภคเกลือและโซเดียมลง 30% โดยจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดเกลือและโซเดียม สร้างความรู้สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภค การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และผลักดันให้เป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี”
รศ.นพ.สุรศักดิ์ บอกอีกว่า เราควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและเกินความพอดี ส่งผลทำให้ตัวเลขของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง พบว่าคนไทยมากกว่า 22 ล้านคน ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับการบริโภคโซเดียม ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว และทางกระทรวงสาธารณสุขมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คิดเป็น 52%
นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยกินเกลือโซเดียมเกินความต้องการ และมีอุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตสูงถึง 10% ส่วนหนึ่งเกิดจากการกินขนมกรุบกรอบและอาหารสำเร็จรูปมาก ดังนั้นภาครัฐจึงรณรงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของคนไทย ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพประชาชนมากขึ้น
ที่ผ่านมาเครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์กรพันธมิตร รณรงค์และให้ความรู้ เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนปรับพฤติกรรมลดการกินโซเดียมลดลง สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมต่ำ เครื่องตรวจวัดความเค็ม (Salt Meter)
การปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้มีโซเดียมลดลงเป็นมาตรการที่สามารถลดการเสียชีวิตจากโรค NCDs ได้ดี ลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้ผลที่จะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมให้ปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความเค็มน้อยลง คือการใช้มาตรการทางภาษีและราคา ซึ่งประเทศที่ดำเนินมาตรการภาษีเกลือประสบความสำเร็จ คือ ประเทศฮังการี
“สำหรับภาษีความเค็มในประเทศไทยที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับกรมสรรพสามิต ในการที่จะพิจารณาในการจัดเก็บ ทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ ซึ่งเป้าหมายตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของรายได้ แต่เน้นเรื่องสุขภาพของคนไทย หากมีการเก็บภาษีความเค็มจริง จะเก็บเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น เช่น สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และโจ๊กสำเร็จรูป ดังนั้นผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นไปที่การปรับสารอาหารให้มีปริมาณโซเดียมน้อยลงหรือใช้เกลือโซเดียมต่ำแทน เมื่อปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์ลดต่ำลงในระดับที่เหมาะสม
ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะไม่ถูกเก็บภาษี ทำให้ราคาสินค้าคงเดิมและยังลดต้นทุนในการใช้เกลือโซเดียมอีกด้วย”
ขณะเดียวกันต้องมีมาตรการควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยเราจะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามไปด้วย รวมถึงต้องให้ความรู้ความเสี่ยงในการบริโภคโซเดียมมากเกินไปด้วย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการของขนมสาหร่ายรายใหญ่ มีการปรับลดโซเดียมลงได้ร้อยละ 50 หรืออีกกลุ่มคือ มันฝรั่งทอดรายใหญ่ ก็ลดโซเดียมลงถึง 30% ด้วย....
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/articles/4328203/
คน 4 กลุ่มนี้ไม่ควรกิน “กะหล่ำปลี” และ ภาษีความเค็ม ขนมขบเคี้ยว ทางเลือกสุขภาพ
"กะหล่ำปลี" เป็นผักยอดนิยมซึ่งดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับประทานผักชนิดนี้ได้ มีคน 4 กลุ่มที่ควรงดรับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี
“กะหล่ำปลี” เป็นผักยอดนิยมที่หลายครอบครัวชื่นชอบ มีรสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับประทานผักชนิดนี้ได้
กะหล่ำปลีมีสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามิน C, E, K, โฟเลต, แมกนีเซียม, แมงกานีส, แคโรทีนอยด์บางชนิด (ลูทีน), ซีแซนทีน, เบต้า -แคโรทีน, เส้นใย และสารต้านอนุมูลอิสระ
ประโยชน์ต่อสุขภาพของกะหล่ำปลีมีดังนี้
ต้านการอักเสบ
สารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่มีอยู่ในกะหล่ำปลี ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
วิตามินซี หรือที่เรียกว่า กรดแอสคอร์บิก ช่วยสร้างคอลลาเจน และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร
กะหล่ำปลีประกอบด้วยไฟโตสเตอรอล (สเตอรอลจากพืช) และเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจำนวนมาก ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดี มีการขับถ่ายเป็นประจำ
ปกป้องหัวใจ
แอนโทไซยานินที่พบในกะหล่ำปลี ไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบเท่านั้น แต่ยังลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจด้วย
ป้องกันการเกิดมะเร็ง
กะหล่ำปลีมีสารสลูโคซิโนเลต ซัลโฟราเฟน และแอนโทไซยานิน ซึ่งช่วยป้องกันมะเร็ง และชะลอการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง
แต่ไม่ว่าจะมีประโยชน์มากมายขนาดไหน แต่ก็มีคน 4 กลุ่มที่ไม่ควรกินมัน
บทความจากเว็บไซต์ Medlatec General Hospital เผยถึง 4 กลุ่มคนที่ไม่ควรกินกะหล่ำปลี
ผู้ที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรืออาการลำไส้แปรปรวน ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลี เพราะกะหล่ำปลีจะทำให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหารได้ หากรับประทานขณะท้องอืด อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้น
ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ กะหล่ำปลีมีสารกอยทริน ผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ต่อมไทรอยด์หรือคอพอกบวมได้
ผู้ที่มีภาวะไตวายรุนแรง หรือจำเป็นต้องฟอกไต
ผู้เป็นภูมิแพ้ ไม่ควรรับประทานกะหล่ำปลีที่ดองไว้ เพราะจะทำให้โรคภูมิแพ้รุนแรงมากขึ้น กะหล่ำปลีดองยังมีฮีสตามีน ทำให้เกิดอาการคัน น้ำตาและน้ำมูกไหล หรืออาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก.
ที่มาและภาพ : soha...
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/4325437/
ภาษีความเค็ม ขนมขบเคี้ยว ทางเลือกสุขภาพ ลดเสี่ยงโรค NCDs
จากกรณีที่กรมสรรพสามิตมีแผนที่จะจัดเก็บภาษีความเค็มเนื่องจากคนไทยติดการบริโภคเค็มมากเกินไป โดยเริ่มจากขนมขบเคี้ยว ซึ่งจะมีความชัดเจนในปี 2568 นี้ โดยจะถูกเก็บตามปริมาณโซเดียมต่อผลิตภัณฑ์ในอัตราภาษีแบบขั้นบันได
จากกรณีที่กรมสรรพสามิตมีแผนที่จะจัดเก็บภาษีความเค็มเนื่องจากคนไทยติดการบริโภคเค็มมากเกินไป โดยเริ่มจากขนมขบเคี้ยว ซึ่งจะมีความชัดเจนในปี 2568 นี้ โดยจะถูกเก็บตามปริมาณโซเดียมต่อผลิตภัณฑ์ในอัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยรัฐตั้งเป้าให้คนไทยลดการบริโภคเค็มให้ได้ 30%
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ระบุว่า ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข โดยนพ.กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs กว่า 400,000 คน รัฐต้องสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี
ซึ่งในปี 2568 มีสโลแกน “กรมควบคุมโรคห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี” สนับสนุนกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) นำนวัตกรรมเครื่องวัดความเค็ม (Salt Meter) ขยายผลสร้างความตระหนักและควบคุมปริมาณโซเดียมในการปรุงอาหารของครัวเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานที่ทำงานทั่วประเทศ เป็นแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด รวมถึงกำหนดปริมาณเกลือและโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผลักดันมาตรการภาษีโซเดียม ให้คนไทยห่างไกลโรค NCDs ลดการกินเค็ม ลดเกลือและโซเดียมเกินกำหนด สอดรับ 1 ใน 9 เป้าหมายลด NCDs ระดับโลก (9 global targets for noncommunicable diseases for 2025)
“ปัจจุบันคนไทยได้กินโซเดียม 4,351.69 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน สูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก กำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา พบคนไทยป่วยด้วยโรคที่สัมพันธ์กับการกินโซเดียม เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไต หัวใจและหลอดเลือดสมองกว่า 22 ล้านคน ซึ่งคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ภายในปี 2568 ไทยควรจะต้องทำให้ประชาชนลดการบริโภคเกลือและโซเดียมลง 30% โดยจะต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดเกลือและโซเดียม สร้างความรู้สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภค การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และผลักดันให้เป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี”
รศ.นพ.สุรศักดิ์ บอกอีกว่า เราควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและเกินความพอดี ส่งผลทำให้ตัวเลขของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง พบว่าคนไทยมากกว่า 22 ล้านคน ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับการบริโภคโซเดียม ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว และทางกระทรวงสาธารณสุขมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คิดเป็น 52%
นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยกินเกลือโซเดียมเกินความต้องการ และมีอุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตสูงถึง 10% ส่วนหนึ่งเกิดจากการกินขนมกรุบกรอบและอาหารสำเร็จรูปมาก ดังนั้นภาครัฐจึงรณรงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของคนไทย ในขณะที่ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพประชาชนมากขึ้น
ที่ผ่านมาเครือข่ายลดบริโภคเค็มและองค์กรพันธมิตร รณรงค์และให้ความรู้ เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนปรับพฤติกรรมลดการกินโซเดียมลดลง สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมต่ำ เครื่องตรวจวัดความเค็ม (Salt Meter)
การปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้มีโซเดียมลดลงเป็นมาตรการที่สามารถลดการเสียชีวิตจากโรค NCDs ได้ดี ลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้ผลที่จะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมให้ปรับเปลี่ยนสูตรผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความเค็มน้อยลง คือการใช้มาตรการทางภาษีและราคา ซึ่งประเทศที่ดำเนินมาตรการภาษีเกลือประสบความสำเร็จ คือ ประเทศฮังการี
“สำหรับภาษีความเค็มในประเทศไทยที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับกรมสรรพสามิต ในการที่จะพิจารณาในการจัดเก็บ ทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ ซึ่งเป้าหมายตอนนี้ไม่ใช่เรื่องของรายได้ แต่เน้นเรื่องสุขภาพของคนไทย หากมีการเก็บภาษีความเค็มจริง จะเก็บเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น เช่น สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และโจ๊กสำเร็จรูป ดังนั้นผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นไปที่การปรับสารอาหารให้มีปริมาณโซเดียมน้อยลงหรือใช้เกลือโซเดียมต่ำแทน เมื่อปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์ลดต่ำลงในระดับที่เหมาะสม
ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะไม่ถูกเก็บภาษี ทำให้ราคาสินค้าคงเดิมและยังลดต้นทุนในการใช้เกลือโซเดียมอีกด้วย”
ขณะเดียวกันต้องมีมาตรการควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยเราจะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ให้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามไปด้วย รวมถึงต้องให้ความรู้ความเสี่ยงในการบริโภคโซเดียมมากเกินไปด้วย ปัจจุบันมีผู้ประกอบการของขนมสาหร่ายรายใหญ่ มีการปรับลดโซเดียมลงได้ร้อยละ 50 หรืออีกกลุ่มคือ มันฝรั่งทอดรายใหญ่ ก็ลดโซเดียมลงถึง 30% ด้วย....
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/4328203/