างสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมแก้ไขกฎหมายให้บุคคลผู้มีเงินได้จากต่างประเทศ และพำนักอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 180 วัน( Resident ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ไม่ได้นำรายได้เข้าประเทศไทยก็ตาม จากปัจจุบันกำหนดว่า จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยเมื่อนำรายได้นั้นๆเข้ามาในประเทศไทยจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกรมสรรพากร ซึ่งพบว่าเกิดปัญหาความยุ่งยากในการเสียภาษี เพราะมีกรณีที่ผู้เสียภาษีมีการนำเงินรายได้เข้ามาในประเทศล่าช้า ไม่ตรงกับปีที่ได้รับรายได้ในต่างประเทศ
นางสาวกุลยา กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าการเก็บภาษีดังกล่าว จะไม่เกิดการเสียภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน สมมุติว่าแหล่งรายได้มาจากประเทศอเมริกา และผู้นั้นได้เสียภาษีให้กับอเมริกาแล้ว 40% ของเงินได้สุทธิ ก็ไม่ต้องเสียให้กับไทยอีก ซึ่งเป็นเกณฑ์ระหว่างประเทศที่มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ตามองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ยกเว้นแต่ว่าประเทศนั้นๆที่มีการเก็บภาษีต่ำกว่าไทย ที่ไทยปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 35% ของรายได้สุทธิ ก็ต้องจ่ายส่วนต่างภาษีให้กับไทยด้วย
ทั้งนี้ กรมฯจะเร่งร่างหลังการ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อแล้วเสร็จ จะบังคับใช้ให้เร็วที่สุดในช่วงปี 2568
นอกจากนี้ กรมฯ อยู่ระหว่างเร่งเสนอกฎหมายและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม ตามหลักการ Pillar2 การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ที่กำหนดให้กลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีที่แท้จริงไม่น้อยกว่า 15% ซึ่งภาษีดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่อยู่ในกรอบความตกลง OECD ที่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จะต้องเสียภาษีในอัตราไม่น้อยกว่า 15% ซึ่งหากประเทศเราดำเนินการจะสามารถเก็บภาษีดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างเสนอครม. พิจารณาในการออกกฎหมาย
สำหรับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทนั้น ขณะนี้กรมฯ ได้ร่วมกับผู้ประกอบการ แพลตฟอร์มต่าง ๆ กำลังพัฒนาระบบ เพื่อจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยหลักการ คือ แพลตฟอร์มจะเป็นผู้นำส่งภาษี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและจะสามารถดำเนินการใช้ได้ในช่วงต้นปี 2568
สำหรับ ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ในช่วง 11 เดือน ของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.66-ส.ค.67) ว่า สามารถจัดเก็บรายได้ อยู่ที่ 1.96 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8.48 พันล้านบาท หรือ 0.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 4.79 หมื่นล้านบาท หรือ 2.5% เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการฟื้นตัว รวมถึงมาตรการด้านภาษีของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะมาตรการ Easy E-Receipt และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวได้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.7%
"กรมฯ มั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2567 จะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ที่ 2.28 ล้านล้านบาท ขณะที่ในปีงบประมาณ 2568 กรมฯ ได้รับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.37 ล้านล้านบาท เติบโต 4.2% จากปีงบประมาณ 2567" นางสาว กุลยา กล่าว
เม็ดเงินนักลงทุนไทยที่ไปนอกกลับบ้านจากข่าว-สรรพากร เตรียมเก็บภาษีผู้มีรายได้จากต่างประเทศ แม้ไม่นำเงินเข้าไทย
นางสาวกุลยา กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าการเก็บภาษีดังกล่าว จะไม่เกิดการเสียภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน สมมุติว่าแหล่งรายได้มาจากประเทศอเมริกา และผู้นั้นได้เสียภาษีให้กับอเมริกาแล้ว 40% ของเงินได้สุทธิ ก็ไม่ต้องเสียให้กับไทยอีก ซึ่งเป็นเกณฑ์ระหว่างประเทศที่มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ตามองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ยกเว้นแต่ว่าประเทศนั้นๆที่มีการเก็บภาษีต่ำกว่าไทย ที่ไทยปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 35% ของรายได้สุทธิ ก็ต้องจ่ายส่วนต่างภาษีให้กับไทยด้วย
ทั้งนี้ กรมฯจะเร่งร่างหลังการ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อแล้วเสร็จ จะบังคับใช้ให้เร็วที่สุดในช่วงปี 2568
นอกจากนี้ กรมฯ อยู่ระหว่างเร่งเสนอกฎหมายและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม ตามหลักการ Pillar2 การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ที่กำหนดให้กลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีที่แท้จริงไม่น้อยกว่า 15% ซึ่งภาษีดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่อยู่ในกรอบความตกลง OECD ที่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จะต้องเสียภาษีในอัตราไม่น้อยกว่า 15% ซึ่งหากประเทศเราดำเนินการจะสามารถเก็บภาษีดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างเสนอครม. พิจารณาในการออกกฎหมาย
สำหรับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทนั้น ขณะนี้กรมฯ ได้ร่วมกับผู้ประกอบการ แพลตฟอร์มต่าง ๆ กำลังพัฒนาระบบ เพื่อจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยหลักการ คือ แพลตฟอร์มจะเป็นผู้นำส่งภาษี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและจะสามารถดำเนินการใช้ได้ในช่วงต้นปี 2568
สำหรับ ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ในช่วง 11 เดือน ของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.66-ส.ค.67) ว่า สามารถจัดเก็บรายได้ อยู่ที่ 1.96 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8.48 พันล้านบาท หรือ 0.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 4.79 หมื่นล้านบาท หรือ 2.5% เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการฟื้นตัว รวมถึงมาตรการด้านภาษีของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะมาตรการ Easy E-Receipt และมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศขยายตัวได้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.7%
"กรมฯ มั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2567 จะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ที่ 2.28 ล้านล้านบาท ขณะที่ในปีงบประมาณ 2568 กรมฯ ได้รับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.37 ล้านล้านบาท เติบโต 4.2% จากปีงบประมาณ 2567" นางสาว กุลยา กล่าว