| 42 |
มท.1 รับสมุดปกขาวหอการค้าไทยเสนอ 3 ข้อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ใช้กลไกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อำนวยความสะดวกหนุนการเติบโตภาคเอกชน
26/11/2567
บทสรุป
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ปี 2567 พร้อมตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2568 จะโตไม่ต่ำกว่า 3% และมีข้อเสนอหลัก 3 ข้อ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 1) การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs และ 3) การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน เพื่อให้รัฐบาลนำไปขับเคลื่อนสู่การพัฒนา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
รายละเอียด
มท.1 รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด ตระหนักถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(24 พ.ย. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานมอบรางวัลสำเภาทองในการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 ของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ณ NICE HALL สวนนงนุช จ.ชลบุรี พร้อมกล่าวปาฐกถาในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรีและ รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ปี 2567 ซึ่งเป็นข้อเสนอจากภาคเอกชนในประเด็นต่างๆ ที่เสนอให้รัฐบาลขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนพัฒนาระบบบริการสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่สะดวกสบาย และการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เอกชนผู้ผลิตสามารถส่งออกสินค้าไปจำหน่ายได้ทั่วโลกภายใต้กฎกติกาใหม่ ๆ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตระหนักถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสนับสนุนเอกชนให้ได้รับความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมให้ให้มีการเติบโตด้านเศรษฐกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ละจังหวัดมีกลุ่มที่จะต้องผลักดันขับเคลื่อน รวมถึงการมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจุบันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องดูแลในภาพรวมทั้งหมด ดังนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดด้านเศรษฐกิจที่จะมาดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จึงมีความสำคัญ ซึ่งในช่วงที่ประเทศกำลังต้องการฟื้นฟูนั้น หอการค้าระบุว่าต้องโตอย่างน้อย 3% ดังนั้นการสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นส่วนสำคัญ
“แม้กระทรวงมหาดไทยไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ รับผิดชอบตัวเลขโดยตรง แต่เราเป็นเกตเวย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบทุก ๆ ด้าน อุตสาหกรรม การผลิต แรงงาน นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล การเงินการคลัง ขอยืนยันว่าเราพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสมุดปกขาวหอการค้าไทยแล้ว จะได้นำไปเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป”
หอการค้าไทยเสนอ 3 ข้อหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ตั้งเป้าปี 68 โตไม่ต่ำกว่า 3%
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สมุดปกขาว หอการค้าไทยปี 2567 ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2568 จะโตไม่ต่ำกว่า 3% และมีข้อเสนอ 3 ข้อหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดย หอการค้าไทย ได้ระดมความเห็นจากเครือข่ายเอกชนทั่วประเทศ ถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ และได้นำเสนอต่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 โดยมี 3 เรื่องเร่งด่วน ดังนี้
1. การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ โดยขอให้รัฐบาลออกมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชนและต้นทุนของผู้ประกอบการ ทั้งการควบคุมราคาสินค้าพื้นฐานและบริการที่จำเป็น การตรึงราคาค่าไฟฟ้า น้ำมันดีเซลรวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นไปตามกลไกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน (กรอ.พลังงาน) กระจายงบประมาณไปยังภูมิภาคอย่างทั่วถึง และเร่งใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังกลุ่มเปราะบาง การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการคูณสองเพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ มาตรการดึงการจับจ่ายใช้สอย เช่น มาตรการ Easy e Receipt และมาตรการทางภาษีอื่น ๆนอกจากนั้น ยังขอให้รัฐบาลสานต่อการขับเคลื่อนการยกระดับเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (10 จังหวัดนำร่อง)
2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs การเร่งสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อผ่านมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ และกองทุนต่าง ๆ ทั้ง สสว. บสย. และธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการสู่ Smart SMEs การจัด Event แสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ การสนับสุนเงินทุนสำหรับการขอรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแก่ SME การจัดทำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับนิติบุคคล (Corporate digital ID) สำหรับแก้ปัญหาบัญชีม้า
3. การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน ได้แก่ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน EEC การจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อจงใจและดึงดูดการลงทุน และเสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรีเป็นอีก 1 จังหวัดที่รวมอยู่ในพื้นที่ EEC การอำนวยความสะดวกด้านการถ่ายลำทางเรือในระบบคอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง การเจรจากับเพื่อนบ้านเพื่อยกระดับจุดผ่านแดนทางการค้า การบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก และการปรับปรุงนโยบายด้านแรงงาน
เสนอ 6 ประเด็นสำคัญ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
เพื่อการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนที่ครอบคลุมและมีเป้าหมายที่ชัดเจน หอการค้าไทย จึงได้สรุป 6 ประเด็นสำคัญ เพื่อปลุกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้
1.
การค้าและการลงทุน โอกาสและความท้าทาย
- การรุกตลาดใหม่ และเจรจาการค้า
- การค้าชายแดน ข้ามแดน
- สนับสนุนการจัดตั้งกลไกประสานงานและส่งเสริมธุรกิจไทย - จีน อย่างยั่งยืน
2.
เกษตรและอาหาร : คลังอาหารของไทยและโลก
- การยกระดับเกษตรมูลค่าสูงผ่านการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่
- การขับเคลื่อนธุรกิจอาหารแห่งอนาคตของประเทศไทย
- การส่งเสริมโคเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
- การสนับสนุน AFC แก้โจทย์สินค้าล้นตลาด – ราคาตกต่ำ
3.
ท่องเที่ยวและบริการ : แหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
- หอการค้าไทย ได้ผลักดัน “Happy Model” เครื่องมือการท่องเที่ยวคุณภาพสูง สู่การพัฒนาที่ตอบโจทย์อนาคต ประกอบด้วย กินดี (Eat Well) อยู่ดี (Live Well) ออกกำลังกายดี (Fit Well) และแบ่งปันสิ่งดี ๆ (Give Well)
- หอการค้าไทย ขอให้รัฐบาลมีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อเสนอเพื่อพัฒนาภาคการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
4.
การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน : เป้าหมายที่เริ่มทำได้ตลอดเวลา
หอการค้าไทยเห็นถึงความจำเป็นในการตอบสนองทิศทางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเด็น
ความยั่งยืน การขับเคลื่อน BCG และ ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ได้แก่
- ข้อเสนอด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- ข้อเสนอด้านการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน
5.
ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานยกระดับการแข่งขันของประเทศ
- การส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ECC) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การปลดล็อกและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
- การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
6.
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค : สร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน เช่น พัฒนาด้านการค้า การลงทุน การค้าชายแดน พัฒนาด้านการเกษตรและอาหาร พัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการ PM.2.5 และ การสร้างคนรุ่นใหม่เป็น “พลัง” ขับเคลื่อนประเทศ
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/342698
มท.1 รับสมุดปกขาวหอการค้าไทยเสนอ 3 ข้อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ใช้กลไกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ หนุนการเติบโตภาคเอกชน
มท.1 รับสมุดปกขาวหอการค้าไทยเสนอ 3 ข้อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ใช้กลไกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อำนวยความสะดวกหนุนการเติบโตภาคเอกชน
26/11/2567
บทสรุป
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ปี 2567 พร้อมตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2568 จะโตไม่ต่ำกว่า 3% และมีข้อเสนอหลัก 3 ข้อ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 1) การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs และ 3) การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน เพื่อให้รัฐบาลนำไปขับเคลื่อนสู่การพัฒนา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
รายละเอียด
มท.1 รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ย้ำผู้ว่าราชการจังหวัด ตระหนักถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(24 พ.ย. 67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ได้เป็นประธานมอบรางวัลสำเภาทองในการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 42 ของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ณ NICE HALL สวนนงนุช จ.ชลบุรี พร้อมกล่าวปาฐกถาในฐานะผู้แทนของนายกรัฐมนตรีและ รับสมุดปกขาวหอการค้าไทย ปี 2567 ซึ่งเป็นข้อเสนอจากภาคเอกชนในประเด็นต่างๆ ที่เสนอให้รัฐบาลขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนพัฒนาระบบบริการสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่สะดวกสบาย และการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เอกชนผู้ผลิตสามารถส่งออกสินค้าไปจำหน่ายได้ทั่วโลกภายใต้กฎกติกาใหม่ ๆ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตระหนักถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสนับสนุนเอกชนให้ได้รับความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมให้ให้มีการเติบโตด้านเศรษฐกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ละจังหวัดมีกลุ่มที่จะต้องผลักดันขับเคลื่อน รวมถึงการมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจุบันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องดูแลในภาพรวมทั้งหมด ดังนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดด้านเศรษฐกิจที่จะมาดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จึงมีความสำคัญ ซึ่งในช่วงที่ประเทศกำลังต้องการฟื้นฟูนั้น หอการค้าระบุว่าต้องโตอย่างน้อย 3% ดังนั้นการสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นส่วนสำคัญ
“แม้กระทรวงมหาดไทยไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ รับผิดชอบตัวเลขโดยตรง แต่เราเป็นเกตเวย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบทุก ๆ ด้าน อุตสาหกรรม การผลิต แรงงาน นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล การเงินการคลัง ขอยืนยันว่าเราพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสมุดปกขาวหอการค้าไทยแล้ว จะได้นำไปเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป”
หอการค้าไทยเสนอ 3 ข้อหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ตั้งเป้าปี 68 โตไม่ต่ำกว่า 3%
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สมุดปกขาว หอการค้าไทยปี 2567 ได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2568 จะโตไม่ต่ำกว่า 3% และมีข้อเสนอ 3 ข้อหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดย หอการค้าไทย ได้ระดมความเห็นจากเครือข่ายเอกชนทั่วประเทศ ถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ และได้นำเสนอต่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 67 โดยมี 3 เรื่องเร่งด่วน ดังนี้
1. การสร้างความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ โดยขอให้รัฐบาลออกมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชนและต้นทุนของผู้ประกอบการ ทั้งการควบคุมราคาสินค้าพื้นฐานและบริการที่จำเป็น การตรึงราคาค่าไฟฟ้า น้ำมันดีเซลรวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นไปตามกลไกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) การผลักดันให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน (กรอ.พลังงาน) กระจายงบประมาณไปยังภูมิภาคอย่างทั่วถึง และเร่งใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังกลุ่มเปราะบาง การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยโครงการคูณสองเพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ มาตรการดึงการจับจ่ายใช้สอย เช่น มาตรการ Easy e Receipt และมาตรการทางภาษีอื่น ๆนอกจากนั้น ยังขอให้รัฐบาลสานต่อการขับเคลื่อนการยกระดับเมือง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (10 จังหวัดนำร่อง)
2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs การเร่งสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ สนับสนุนการเข้าถึงสินเชื่อผ่านมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ และกองทุนต่าง ๆ ทั้ง สสว. บสย. และธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการสู่ Smart SMEs การจัด Event แสดงสินค้าไทยในต่างประเทศ การสนับสุนเงินทุนสำหรับการขอรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแก่ SME การจัดทำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับนิติบุคคล (Corporate digital ID) สำหรับแก้ปัญหาบัญชีม้า
3. การวางยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อการเติบโตในอนาคตอย่างยั่งยืน ได้แก่ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน EEC การจัดทำสิทธิประโยชน์เพื่อจงใจและดึงดูดการลงทุน และเสนอให้เพิ่มจังหวัดปราจีนบุรีเป็นอีก 1 จังหวัดที่รวมอยู่ในพื้นที่ EEC การอำนวยความสะดวกด้านการถ่ายลำทางเรือในระบบคอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง การเจรจากับเพื่อนบ้านเพื่อยกระดับจุดผ่านแดนทางการค้า การบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซาก และการปรับปรุงนโยบายด้านแรงงาน
เสนอ 6 ประเด็นสำคัญ เพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
เพื่อการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนที่ครอบคลุมและมีเป้าหมายที่ชัดเจน หอการค้าไทย จึงได้สรุป 6 ประเด็นสำคัญ เพื่อปลุกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้
1. การค้าและการลงทุน โอกาสและความท้าทาย
- การรุกตลาดใหม่ และเจรจาการค้า
- การค้าชายแดน ข้ามแดน
- สนับสนุนการจัดตั้งกลไกประสานงานและส่งเสริมธุรกิจไทย - จีน อย่างยั่งยืน
2. เกษตรและอาหาร : คลังอาหารของไทยและโลก
- การยกระดับเกษตรมูลค่าสูงผ่านการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่
- การขับเคลื่อนธุรกิจอาหารแห่งอนาคตของประเทศไทย
- การส่งเสริมโคเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย
- การสนับสนุน AFC แก้โจทย์สินค้าล้นตลาด – ราคาตกต่ำ
3. ท่องเที่ยวและบริการ : แหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
- หอการค้าไทย ได้ผลักดัน “Happy Model” เครื่องมือการท่องเที่ยวคุณภาพสูง สู่การพัฒนาที่ตอบโจทย์อนาคต ประกอบด้วย กินดี (Eat Well) อยู่ดี (Live Well) ออกกำลังกายดี (Fit Well) และแบ่งปันสิ่งดี ๆ (Give Well)
- หอการค้าไทย ขอให้รัฐบาลมีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อเสนอเพื่อพัฒนาภาคการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
4. การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน : เป้าหมายที่เริ่มทำได้ตลอดเวลา
หอการค้าไทยเห็นถึงความจำเป็นในการตอบสนองทิศทางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเด็น
ความยั่งยืน การขับเคลื่อน BCG และ ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ได้แก่
- ข้อเสนอด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- ข้อเสนอด้านการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน
5. ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานยกระดับการแข่งขันของประเทศ
- การส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ECC) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การปลดล็อกและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
- การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
6. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค : สร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน เช่น พัฒนาด้านการค้า การลงทุน การค้าชายแดน พัฒนาด้านการเกษตรและอาหาร พัฒนาด้านการท่องเที่ยวและบริการ โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ การบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการ PM.2.5 และ การสร้างคนรุ่นใหม่เป็น “พลัง” ขับเคลื่อนประเทศ
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/342698