ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา
" ข้าแต่พระนาคเสน ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา เกิดแก่ผู้นั้นหรือ ? "
" เกิด…มหาราชะ คือ ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา ก็เกิดแก่ผู้นั้น"
" ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดเป็นญาณสิ่งนั้นหรือเป็นปัญญา? "
" ถูกแล้ว…มหาราชะ คือสิ่งใดเป็นญาณก็สิ่งนั้นแหละเป็นปัญญา"
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ญาณได้เกิดแก่ผู้ใดปัญญานั้นได้เกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นหลงหรือไม่หลง ? "
" มหาราชะ ผู้มีปัญญาหลงในบางสิ่งบางอย่าง ไม่หลงในบางสิ่งบางอย่าง"
" หลงในสิ่งไหน ไม่หลงในสิ่งไหน ? "
" ขอถวายพระพร หลงในศิลปะที่ไม่ชำนาญก็มี ในทิศที่ไม่เคยไปก็มี ในชื่อหรือสถานที่ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็มี "
" อ๋อ…แล้วไม่หลงในอะไร พระผู้เป็นเจ้า ? "
" ไม่หลงในสิ่งที่ตนรู้แล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็โมหะ คือความหลงของผู้นั้นไปอยู่ที่ไหนล่ะ? "
" มหาราชะ พอ ญาณ เกิดแล้ว โมหะ คือความหลงก็ดับไปในญาณนั้นเอง"
" ขอนิมนต์อุปมาเถิด "
อุปมาผู้จุดประทีป
" ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จุดประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด ในขณะนั้นความมืดก็ดับไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นฉันใด เมื่อ ญาณ เกิดขึ้นแล้ว โมหะ ก็ดับไปในที่นั้นฉันนั้นแหละ"
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็ปัญญานั้นเล่า…ไปอยู่ที่ไหน? "
" มหาราชะ ปัญญา ทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปในที่นั้นเอง สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ "
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไป แต่สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ ดังนี้ "
"ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย"
อุปมาการเขียนเลข
" มหาราชะ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ใดรู้หนึ่ง อยากดูตัวเลขในกลางคืน จัดแจงให้จุดประทีปขึ้นเขียนเลข เมื่อประทีปดับแล้วเลขก็ยังไม่หายไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใดปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มิได้ดับไปฉันนั้น "
" ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งขึ้น "
อุปมาโอ่งน้ำ
" ขอถวายพระพร เปรียบประดุจพวกมนุษย์ในชนบทตะวันออก จัดตั้งโอ่งน้ำไว้ ๕ โอ่งข้างประตู เพื่อดับไฟที่จะไหม้เรือนเมื่อไฟไหม้เรือนแล้ว โอ่งน้ำ ๕ โอ่งนั้นเขาก็นำไปเก็บไว้ในละแวกบ้าน ไฟก็ดับไปชาวบ้านคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำสิ่งที่จำเป็นด้วยโอ่งน้ำเหล่านั้นอีก? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีความจำเป็นกับโอ่งน้ำเหล่านั้นอีกแล้ว ด้วยว่าไฟก็ดับแล้วเขาจึงนำไปเก็บไว้อย่างนั้น "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นว่า เปรียบเหมือนกับโอ่งน้ำทั้ง ๕ พระโยคาวจรเปรียบเหมือนชาวบ้าน กิเลสเปรียบเหมือนไฟ กิเลสดับไปด้วยอินทรีย์ ๕ เปรียบเหมือนกับไฟดับไปด้วยน้ำทั้ง ๕ โอ่งนั้น
กิเลสที่ดับไปแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกฉันใดเมื่อปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปแต่สิ่งที่รู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นมิได้ดับไปฉันนั้น "
" ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "
อุปมารากยา
" มหาราชะเปรียบปานประหนึ่งว่า แพทย์ผู้ถือเอารากยา ๕ รากไปหาคนไข้ บดรากยาทั้ง ๕ นั้น แล้วละลายน้ำให้คนไข้ดื่ม โรคนั้นก็หายไปด้วยรากยาทั้ง ๕ รากนั้น
แพทย์นั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจที่ควรทำด้วยรากยาเหล่านั้นอีก ? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ รากยาทั้ง ๕ นั้น เหมือน อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น แพทย์นั้นเหมือนพระโยคาวจร ความเจ็บไข้เหมือนกิเลส บุรุษผู้เจ็บไข้เหมือนปุถุชน ไข้หายไปด้วยยาทั้ง ๕ รากนั้นแล้ว ผู้เจ็บไข้นั้น ก็หายโรคฉันใด
เมื่อกิเลสออกไปด้วยอินทรีย์ ๕ แล้วกิเลสก็ไม่เกิดอีก อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งนั้น หามิได้ดับไปฉันนั้น "
" นิมนต์อุปมาให้ยิ่งกว่านี้อีก "
อุปมาผู้ถือลูกธนู
" มหาราชะ เหมือนกับบุรุษผู้จะเข้าสู่สงคราม ถือเอาลูกธนู ๕ ลูก แล้วเข้าสู่สงคราม เพื่อต่อสู้กับข้าศึก เขาเข้าสู่สงครามแล้วก็ยิงลูกธนูไป ข้าศึกก็แตกพ่ายไป บุรุษนั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจด้วยลูกธนูเหล่านั้นอีก ? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ เหมือนลูกธนูทั้ง ๕ พระโยคาวจรเหมือนกับผู้เข้าสู่สงคราม กิเลสเหมือนกับข้าศึก กิเลสแตกหักไปเหมือนกับ ข้าศึกพ่ายแพ้กิเลสดับไปแล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างนี้แหละ มหาบพิตร
ชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นหามิได้ดับไป ขอถวายพระพร"
" แก้ดีแล้ว พระนาคเสน "
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-02.htm#ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา
ปัญญา ทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปในที่นั้นเอง
" ข้าแต่พระนาคเสน ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา เกิดแก่ผู้นั้นหรือ ? "
" เกิด…มหาราชะ คือ ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา ก็เกิดแก่ผู้นั้น"
" ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดเป็นญาณสิ่งนั้นหรือเป็นปัญญา? "
" ถูกแล้ว…มหาราชะ คือสิ่งใดเป็นญาณก็สิ่งนั้นแหละเป็นปัญญา"
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ญาณได้เกิดแก่ผู้ใดปัญญานั้นได้เกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นหลงหรือไม่หลง ? "
" มหาราชะ ผู้มีปัญญาหลงในบางสิ่งบางอย่าง ไม่หลงในบางสิ่งบางอย่าง"
" หลงในสิ่งไหน ไม่หลงในสิ่งไหน ? "
" ขอถวายพระพร หลงในศิลปะที่ไม่ชำนาญก็มี ในทิศที่ไม่เคยไปก็มี ในชื่อหรือสถานที่ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็มี "
" อ๋อ…แล้วไม่หลงในอะไร พระผู้เป็นเจ้า ? "
" ไม่หลงในสิ่งที่ตนรู้แล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็โมหะ คือความหลงของผู้นั้นไปอยู่ที่ไหนล่ะ? "
" มหาราชะ พอ ญาณ เกิดแล้ว โมหะ คือความหลงก็ดับไปในญาณนั้นเอง"
" ขอนิมนต์อุปมาเถิด "
อุปมาผู้จุดประทีป
" ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จุดประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด ในขณะนั้นความมืดก็ดับไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นฉันใด เมื่อ ญาณ เกิดขึ้นแล้ว โมหะ ก็ดับไปในที่นั้นฉันนั้นแหละ"
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็ปัญญานั้นเล่า…ไปอยู่ที่ไหน? "
" มหาราชะ ปัญญา ทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปในที่นั้นเอง สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ "
" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไป แต่สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ ดังนี้ "
"ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย"
อุปมาการเขียนเลข
" มหาราชะ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ใดรู้หนึ่ง อยากดูตัวเลขในกลางคืน จัดแจงให้จุดประทีปขึ้นเขียนเลข เมื่อประทีปดับแล้วเลขก็ยังไม่หายไป ข้อนี้มีอุปมาฉันใดปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มิได้ดับไปฉันนั้น "
" ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งขึ้น "
อุปมาโอ่งน้ำ
" ขอถวายพระพร เปรียบประดุจพวกมนุษย์ในชนบทตะวันออก จัดตั้งโอ่งน้ำไว้ ๕ โอ่งข้างประตู เพื่อดับไฟที่จะไหม้เรือนเมื่อไฟไหม้เรือนแล้ว โอ่งน้ำ ๕ โอ่งนั้นเขาก็นำไปเก็บไว้ในละแวกบ้าน ไฟก็ดับไปชาวบ้านคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำสิ่งที่จำเป็นด้วยโอ่งน้ำเหล่านั้นอีก? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีความจำเป็นกับโอ่งน้ำเหล่านั้นอีกแล้ว ด้วยว่าไฟก็ดับแล้วเขาจึงนำไปเก็บไว้อย่างนั้น "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นว่า เปรียบเหมือนกับโอ่งน้ำทั้ง ๕ พระโยคาวจรเปรียบเหมือนชาวบ้าน กิเลสเปรียบเหมือนไฟ กิเลสดับไปด้วยอินทรีย์ ๕ เปรียบเหมือนกับไฟดับไปด้วยน้ำทั้ง ๕ โอ่งนั้น
กิเลสที่ดับไปแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกฉันใดเมื่อปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปแต่สิ่งที่รู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นมิได้ดับไปฉันนั้น "
" ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก "
อุปมารากยา
" มหาราชะเปรียบปานประหนึ่งว่า แพทย์ผู้ถือเอารากยา ๕ รากไปหาคนไข้ บดรากยาทั้ง ๕ นั้น แล้วละลายน้ำให้คนไข้ดื่ม โรคนั้นก็หายไปด้วยรากยาทั้ง ๕ รากนั้น
แพทย์นั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจที่ควรทำด้วยรากยาเหล่านั้นอีก ? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ รากยาทั้ง ๕ นั้น เหมือน อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น แพทย์นั้นเหมือนพระโยคาวจร ความเจ็บไข้เหมือนกิเลส บุรุษผู้เจ็บไข้เหมือนปุถุชน ไข้หายไปด้วยยาทั้ง ๕ รากนั้นแล้ว ผู้เจ็บไข้นั้น ก็หายโรคฉันใด
เมื่อกิเลสออกไปด้วยอินทรีย์ ๕ แล้วกิเลสก็ไม่เกิดอีก อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งนั้น หามิได้ดับไปฉันนั้น "
" นิมนต์อุปมาให้ยิ่งกว่านี้อีก "
อุปมาผู้ถือลูกธนู
" มหาราชะ เหมือนกับบุรุษผู้จะเข้าสู่สงคราม ถือเอาลูกธนู ๕ ลูก แล้วเข้าสู่สงคราม เพื่อต่อสู้กับข้าศึก เขาเข้าสู่สงครามแล้วก็ยิงลูกธนูไป ข้าศึกก็แตกพ่ายไป บุรุษนั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจด้วยลูกธนูเหล่านั้นอีก ? "
" ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า "
" มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ เหมือนลูกธนูทั้ง ๕ พระโยคาวจรเหมือนกับผู้เข้าสู่สงคราม กิเลสเหมือนกับข้าศึก กิเลสแตกหักไปเหมือนกับ ข้าศึกพ่ายแพ้กิเลสดับไปแล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างนี้แหละ มหาบพิตร
ชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นหามิได้ดับไป ขอถวายพระพร"
" แก้ดีแล้ว พระนาคเสน "
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-02.htm#ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา