ส่วนบุคคล...
ที่มีปัญญาขนาดกลาง ไตรลักษณ์จะเกิดเมื่อสำเร็จฌาน ๔ แล้ว
บุคคลใด
ที่สำเร็จฌาน ๔ ก็มักจะไม่เกิดความกำหนัด
หรือที่เรียกว่า จิต...ตกกระแสธรรม
มันจะเป็นของมันเอง
เรียกว่า เป็นผลของฌานสมาธิ ก็ได้
ถึงแม้ว่าบุคคลใด จะทำสมาธิได้ดี
จะได้รับความสุขขนาดไหน ก็ตาม หรือจะได้อภิญญาเพียงใด ก็ตาม ถ้าไตรลักษณญาณ
ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังนับว่า...เป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ยังผิด ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด
"ไตรลักษณ์" (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา)นี้ จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด
จะเป็นสัมมาสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิ
เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕
(รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)
ธาตุ ๔ (ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ)เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว จนเกิดญาณความรู้พิเศษ
เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว...
วิปัสนูปกิเลส หรือวิปลาสก็เกิดขึ้นไม่ได้
เมื่อสิ่งใด...หรือความรู้ใดเกิดขึ้น ก็จะเอาไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา)เป็น
เครื่องตัดสิน
การพิจารณา...ให้ถือเอา
รู้...รูปกาย ตามความเป็นจริง
รู้...เวทนา ตามความเป็นจริง
รู้...จิต ตามความเป็นจริง
ให้ยึดถือ ความรู้...นี้เป็นหลัก
ความรู้...อย่างอื่นไม่สำคัญ
ถึงจะเกิดอภิญญา รู้...ในเหตุผลต่างๆ
(นิมิต)ครั้งแรกๆ ก็อาจเป็นจริง
แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านี้ต่อไป ก็จะกลาย
เป็นเรื่องหลอกลวงเรา
ท่านจึงห้าม ไม่ให้เอาสิ่งนิมิต เป็น...เรื่องสำคัญ."
-----------------------------------------------------------------------
หลวงปู่คำดี ปภาโส
บุคคล... ที่มีปัญญาแก่กล้า ไตรลักษณ์จะเกิดในปฐม- ฌาน หรือทุติยฌาน
ที่มีปัญญาขนาดกลาง ไตรลักษณ์จะเกิดเมื่อสำเร็จฌาน ๔ แล้ว
บุคคลใด
ที่สำเร็จฌาน ๔ ก็มักจะไม่เกิดความกำหนัด
หรือที่เรียกว่า จิต...ตกกระแสธรรม
มันจะเป็นของมันเอง
เรียกว่า เป็นผลของฌานสมาธิ ก็ได้
ถึงแม้ว่าบุคคลใด จะทำสมาธิได้ดี
จะได้รับความสุขขนาดไหน ก็ตาม หรือจะได้อภิญญาเพียงใด ก็ตาม ถ้าไตรลักษณญาณ
ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังนับว่า...เป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ยังผิด ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด
"ไตรลักษณ์" (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา)นี้ จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด
จะเป็นสัมมาสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิ
เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕
(รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)
ธาตุ ๔ (ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ)เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว จนเกิดญาณความรู้พิเศษ
เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว...
วิปัสนูปกิเลส หรือวิปลาสก็เกิดขึ้นไม่ได้
เมื่อสิ่งใด...หรือความรู้ใดเกิดขึ้น ก็จะเอาไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา)เป็น
เครื่องตัดสิน
การพิจารณา...ให้ถือเอา
รู้...รูปกาย ตามความเป็นจริง
รู้...เวทนา ตามความเป็นจริง
รู้...จิต ตามความเป็นจริง
ให้ยึดถือ ความรู้...นี้เป็นหลัก
ความรู้...อย่างอื่นไม่สำคัญ
ถึงจะเกิดอภิญญา รู้...ในเหตุผลต่างๆ
(นิมิต)ครั้งแรกๆ ก็อาจเป็นจริง
แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านี้ต่อไป ก็จะกลาย
เป็นเรื่องหลอกลวงเรา
ท่านจึงห้าม ไม่ให้เอาสิ่งนิมิต เป็น...เรื่องสำคัญ."
-----------------------------------------------------------------------
หลวงปู่คำดี ปภาโส