"มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ"
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคค อันดับที่ ๕ ตรงกับ โสฬสญาณที่ ๓ และที่ ๔ ที่ชื่อว่าสัมมสนญาณและอุทยัพพยญาณ ดังมีคาถาที่ ๒๓ แสดงว่า
๒๓. ตโต เตเสฺวว ธมฺเมสุ สมฺมสํ ลกฺขณตฺตยํ เตสุ ปจฺจย วเสน เจว ขณวเสน จ อุทยพฺพย ญาเณน สมฺปสฺสํ อุทยพฺพยํ ฯ
แต่นั้นพิจารณาอยู่ซึ่งพระไตรลักษณ์ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ แต่คำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับในธรรมเหล่านั้นด้วยอุทยัพพยญาณ ด้วยสามารถแห่งปัจจัย และด้วยสามารถแห่งขณะจิต
มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนถึงปัจจยปริคคหญาณ เห็นปัจจัยแห่งรูปนามดังกล่าวแล้ว โดยไม่เสื่อมถอย ต่อจากนั้นด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละเป็นปัจจัยส่งให้ก้าวขึ้นสู่ สัมมสนญาณ เห็นรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง เพราะอรรถว่าไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องสิ้นไป ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง, เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับไป, เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจผู้ใด บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่เป็นแก่นสาร
แม้สัมมสนญาณ จะเห็นไตรลักษณ์ก็ดี แต่การเห็นในญาณนี้ยังนับว่าหยาบอยู่ ยังไม่แน่ชัดทีเดียว เพราะต่อเมื่อเห็นรูปนามใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว จึงได้เกิดปัญญารู้ขึ้นมาว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เรียกว่าสันตติยังไม่ขาด คือในขณะที่รูปนามดับไป ก็ไม่ทันได้เห็นในขณะที่ดับไปในทันทีที่ดับนั้น ต่อเมื่อมีรูปนามเกิดมาสืบต่ออีกใหม่นั้นปราฏแล้ว จึงจะรู้ว่ารูปนามเก่าดับไปแล้ว อันเป็นความรู้ที่ยังอิงอาศัย จินตามยปัญญาอยู่
สัมมสนญาณนี้สงเคราะห์ลงใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็น วิสุทธิมัคค ลำดับที่ ๕
อนึ่ง ในการพิจารณาไตรลักษณ์นี้ มีวิธีพิจารณาอยู่ ๔ แบบ ชื่อ กลาปสัมมสนนัย อัทธาสัมมสนนัย สันตติสัมมสนนัย และ ขณะสัมมสนนัย
๑. พิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย กลาปสัมมสนนัย นั้นเป็นการพิจารณาทั้งกลุ่มทั้งก้อน จับเอาโดยส่วนรวม เช่นถ้าพิจารณาเป็นขันธ์ ก็กำหนดให้รู้ในขันธ์ ๕ ไปจนไตรลักษณ์ปรากฏ
ถ้าพิจารณา อายตนะ ก็กำหนดรู้ใน อายตนะ ๑๒
ถ้าพิจารณา ธาตุ ก็กำหนดรู้ใน ธาตุ ๑๘
ถ้าพิจารณา ทวาร ก็กำหนดรู้ใน ทวารทั้ง ๖
หรือ พิจารณาอารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ หรือ ๓๒ โกฏฐาส หรือ โลกียอินทรีย ๑๙ หรือ ธาตุทั้ง ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ หรือภพทั้ง ๙ อย่างใดอย่างหนึ่งจนไตรลักษณ์ปรากฏ
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะที่พิจารณาอยู่ในกลาปสัมมสนนัย นี่แหละ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
๒. พิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย อัทธาสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรู้รูปนามที่เกิดขึ้นในภพก่อนว่า รูปนามที่เคยเกิดในภพก่อนนั้น เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้ว ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รูปนามที่กำลังเกิดอยู่ในภพนี้ ก็ไม่ไปเกิดในภพหน้า ย่อมดับไปในภพนี้เท่านั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รูปนามที่จะเกิดในภพหน้า ก็ย่อมดับอยู่ในภพหน้านั้น ไม่ได้ติดตามไปในภพต่อ ๆ ไปอีก ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกันทั้งสิ้น
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน อัทธาสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ละเอียดกว่าแบบ กลาปสัมมสนนัย
๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย สันตติสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรูปนามที่เกิดติดต่อกันเป็นระยะ ๆ เช่น
รูปที่เกิดอยู่ในขณะนอน เมื่อลุกขึ้นนั่ง รูปเหล่านั้นก็หาได้ติดตามมาด้วยไม่ ย่อมดับไปในขณะที่นอนนั้นเอง
รูปที่เกิดอยู่ในขณะนั่ง เมื่อยืนขึ้นแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะนั่งนั้นเอง
รูปที่เกิดอยู่ในขณะยืน เมื่อเดินแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะยืนนั่นเอง ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น
ฝ่ายเวทนา ในขณะที่กำลังสบายอยู่ แล้วความไม่สบายเกิดขึ้น ความรู้สึกสบายนั้นก็ดับไป ไม่ได้ตามมา เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่สบายอยู่ ครั้นเปลี่ยนเป็นสบายขึ้นมาอีก ความรู้สึกไม่สบายก็ดับไปในขณะนั้นเอง ไม่ได้ตามมาล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เป็นต้น
ฝ่ายสัญญา ความจำในขณะที่เห็นรูปารมณ์อยู่ ครั้นได้ยินเกิดขึ้น ก็มาจำในเสียงนั้น ความจำในรูปารมณ์ก็ดับไป และเมื่อมีการได้กลิ่นเกิดขึ้น ความจำในสัททารมณ์ก็ดับไป มาจำกลิ่นนั้นเสีย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ฝ่ายสังขาร ในขณะที่พอใจชอบใจอยู่ เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น ความชอบใจพอใจนั้นก็ดับไป หรือกำลังมีความไม่ชอบใจอยู่ กลับมีความเมตตากรุณาขึ้น ความไม่ชอบใจนั้นก็ดับไป ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ฝ่ายวิญญาณ ในขณะที่รู้รูปารมณ์อยู่ มีความรู้ในสัททารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในรูปารมณ์นั้นก็ดับไป และขณะที่รู้สัททารมณ์อยู่นั้น หากว่ามีความรู้ในคันธารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในสัททารมณ์นั้นก็ดับไป ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน สันตติสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดกว่า อัทธาสัมมสนนัยขึ้นไปอีก
๔.
พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย ขณะสัมมสนนัย เป็นการพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปของรูปหนึ่งต่ออีกรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นและดับไปของจิตดวงหนึ่งต่อจิตอีกดวงหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน ขณะสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ เช่นเดียวกัน การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดที่สุดแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียวเท่านั้น จึงสามารถพิจารณาได้
การเห็นไตรลักษณ์นั้น ย่อมประจักษ์ในขณะที่ รูปนามดับ เพราะว่าดับไป จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงอยู่ก็ไม่ดับ เพราะว่าดับไปจึงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ไม่ดับ และเพราะว่าดับไปจึงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาให้คงอยู่ก็ไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาได้ ก็ไม่ให้ดับไปได้ แต่ว่า สัมมสนญาณนี้ เห็นความเกิดของรูปนามที่ เกิดใหม่ ขึ้นมาแทนแล้ว จึงได้รู้ว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เป็นการรู้ได้โดยอนุโลมด้วยอาศัยจินตามยปัญญาเข้ามาช่วย ไม่ได้ประจักษ์ในขณะที่ดับ ดังนั้นจึงกล่าวว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณ ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
สัมมสนญาณนี้ สามารถละ สมูหัคคาหะ การยึดเรายึดเขาเสียได้
ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๑ ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่ ๒, จนถึงสัมมสนญาณ ญาณที่ ๓, นี้ ล้วนแต่ยังเป็นญาณที่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้าช่วยอยู่ทั้ง ๓ ญาณ และนับแต่ อุทยัพพยญาณ เป็นต่อไป ไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้ามาช่วยอีกเลย
เมื่อพระโยคี กำหนดพิจารณาจนถึง สัมมสนญาณ ที่สงเคราะห์ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๕ แล้ว และตั้งมั่นในการพิจารณาเห็นรูปนามที่เกิดใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญญา รู้เห็นว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว ที่เรียกว่า สันตติยังไม่ขาด นั้นต่อไปโดยไม่ท้อถอยด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละก็จะเป็นปัจจัยให้เห็นชัดขึ้น จนเห็นใน ขณะที่ดับ โดยรูปนามใหม่ยังไม่ทันเกิดขึ้นมาแทน และเห็นใน ขณะที่เกิด ของรูปนามใหม่นั้นด้วย อันเป็นการเห็นทั้งความดับของรูปนามเก่า และเห็นความเกิดของรูปนามใหม่ จึงเรียกว่า เห็นทั้งความเกิดและความดับ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นอย่าง สันตติขาด ได้ชื่อว่าเป็น อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์โดยชัดเจน
อุทยัพพยญาณ ญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นทั้งการเกิดการดับนั้น ยังจำแนกได้เป็น ๒ มีชื่อว่า ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณ ที่ยังอ่อนอยู่ และ พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่แก่กล้า มีสติระลึกรู้เฉพาะรูปธรรมนามธรรม ไม่เลยถึงบัญญัติ รู้แต่ปรมัตถล้วน ๆ อุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ นี่แหละที่ถึงคราวที่บังเกิด วิปัสสนูปกิเลส
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ<<<
ขอขอบคุณครับ)
☆☆ขอบพระคุณทุกความเห็นครับ☆☆
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ การเห็นจิตเกิดดับต่อเนื่องกันไปนั้นเราสามารถเห็นได้จริงหรือ ขอเรียนถามท่านผู้รู้ครับ?
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นวิสุทธิมัคค อันดับที่ ๕ ตรงกับ โสฬสญาณที่ ๓ และที่ ๔ ที่ชื่อว่าสัมมสนญาณและอุทยัพพยญาณ ดังมีคาถาที่ ๒๓ แสดงว่า
๒๓. ตโต เตเสฺวว ธมฺเมสุ สมฺมสํ ลกฺขณตฺตยํ เตสุ ปจฺจย วเสน เจว ขณวเสน จ อุทยพฺพย ญาเณน สมฺปสฺสํ อุทยพฺพยํ ฯ
แต่นั้นพิจารณาอยู่ซึ่งพระไตรลักษณ์ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ แต่คำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับในธรรมเหล่านั้นด้วยอุทยัพพยญาณ ด้วยสามารถแห่งปัจจัย และด้วยสามารถแห่งขณะจิต
มีความหมายว่า เมื่อพระโยคีผู้ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนถึงปัจจยปริคคหญาณ เห็นปัจจัยแห่งรูปนามดังกล่าวแล้ว โดยไม่เสื่อมถอย ต่อจากนั้นด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละเป็นปัจจัยส่งให้ก้าวขึ้นสู่ สัมมสนญาณ เห็นรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง เพราะอรรถว่าไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องสิ้นไป ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง, เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับไป, เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจผู้ใด บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่เป็นแก่นสาร
แม้สัมมสนญาณ จะเห็นไตรลักษณ์ก็ดี แต่การเห็นในญาณนี้ยังนับว่าหยาบอยู่ ยังไม่แน่ชัดทีเดียว เพราะต่อเมื่อเห็นรูปนามใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว จึงได้เกิดปัญญารู้ขึ้นมาว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เรียกว่าสันตติยังไม่ขาด คือในขณะที่รูปนามดับไป ก็ไม่ทันได้เห็นในขณะที่ดับไปในทันทีที่ดับนั้น ต่อเมื่อมีรูปนามเกิดมาสืบต่ออีกใหม่นั้นปราฏแล้ว จึงจะรู้ว่ารูปนามเก่าดับไปแล้ว อันเป็นความรู้ที่ยังอิงอาศัย จินตามยปัญญาอยู่
สัมมสนญาณนี้สงเคราะห์ลงใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็น วิสุทธิมัคค ลำดับที่ ๕
อนึ่ง ในการพิจารณาไตรลักษณ์นี้ มีวิธีพิจารณาอยู่ ๔ แบบ ชื่อ กลาปสัมมสนนัย อัทธาสัมมสนนัย สันตติสัมมสนนัย และ ขณะสัมมสนนัย
๑. พิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย กลาปสัมมสนนัย นั้นเป็นการพิจารณาทั้งกลุ่มทั้งก้อน จับเอาโดยส่วนรวม เช่นถ้าพิจารณาเป็นขันธ์ ก็กำหนดให้รู้ในขันธ์ ๕ ไปจนไตรลักษณ์ปรากฏ
ถ้าพิจารณา อายตนะ ก็กำหนดรู้ใน อายตนะ ๑๒
ถ้าพิจารณา ธาตุ ก็กำหนดรู้ใน ธาตุ ๑๘
ถ้าพิจารณา ทวาร ก็กำหนดรู้ใน ทวารทั้ง ๖
หรือ พิจารณาอารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ หรือ ๓๒ โกฏฐาส หรือ โลกียอินทรีย ๑๙ หรือ ธาตุทั้ง ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ หรือภพทั้ง ๙ อย่างใดอย่างหนึ่งจนไตรลักษณ์ปรากฏ
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะที่พิจารณาอยู่ในกลาปสัมมสนนัย นี่แหละ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
๒. พิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย อัทธาสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรู้รูปนามที่เกิดขึ้นในภพก่อนว่า รูปนามที่เคยเกิดในภพก่อนนั้น เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้ว ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รูปนามที่กำลังเกิดอยู่ในภพนี้ ก็ไม่ไปเกิดในภพหน้า ย่อมดับไปในภพนี้เท่านั้น ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รูปนามที่จะเกิดในภพหน้า ก็ย่อมดับอยู่ในภพหน้านั้น ไม่ได้ติดตามไปในภพต่อ ๆ ไปอีก ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกันทั้งสิ้น
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน อัทธาสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้ เป็นวิธีที่ละเอียดกว่าแบบ กลาปสัมมสนนัย
๓. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย สันตติสัมมสนนัย เป็นการกำหนดรูปนามที่เกิดติดต่อกันเป็นระยะ ๆ เช่น
รูปที่เกิดอยู่ในขณะนอน เมื่อลุกขึ้นนั่ง รูปเหล่านั้นก็หาได้ติดตามมาด้วยไม่ ย่อมดับไปในขณะที่นอนนั้นเอง
รูปที่เกิดอยู่ในขณะนั่ง เมื่อยืนขึ้นแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะนั่งนั้นเอง
รูปที่เกิดอยู่ในขณะยืน เมื่อเดินแล้ว รูปนั้นก็ไม่ได้ตามมา คงดับไปในขณะยืนนั่นเอง ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น
ฝ่ายเวทนา ในขณะที่กำลังสบายอยู่ แล้วความไม่สบายเกิดขึ้น ความรู้สึกสบายนั้นก็ดับไป ไม่ได้ตามมา เมื่อมีความรู้สึกว่าไม่สบายอยู่ ครั้นเปลี่ยนเป็นสบายขึ้นมาอีก ความรู้สึกไม่สบายก็ดับไปในขณะนั้นเอง ไม่ได้ตามมาล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เป็นต้น
ฝ่ายสัญญา ความจำในขณะที่เห็นรูปารมณ์อยู่ ครั้นได้ยินเกิดขึ้น ก็มาจำในเสียงนั้น ความจำในรูปารมณ์ก็ดับไป และเมื่อมีการได้กลิ่นเกิดขึ้น ความจำในสัททารมณ์ก็ดับไป มาจำกลิ่นนั้นเสีย ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ฝ่ายสังขาร ในขณะที่พอใจชอบใจอยู่ เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น ความชอบใจพอใจนั้นก็ดับไป หรือกำลังมีความไม่ชอบใจอยู่ กลับมีความเมตตากรุณาขึ้น ความไม่ชอบใจนั้นก็ดับไป ซึ่งล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ฝ่ายวิญญาณ ในขณะที่รู้รูปารมณ์อยู่ มีความรู้ในสัททารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในรูปารมณ์นั้นก็ดับไป และขณะที่รู้สัททารมณ์อยู่นั้น หากว่ามีความรู้ในคันธารมณ์เกิดขึ้น ความรู้ในสัททารมณ์นั้นก็ดับไป ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน สันตติสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดกว่า อัทธาสัมมสนนัยขึ้นไปอีก
๔. พิจารณารูปนามโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดย ขณะสัมมสนนัย เป็นการพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปของรูปหนึ่งต่ออีกรูปหนึ่ง การเกิดขึ้นและดับไปของจิตดวงหนึ่งต่อจิตอีกดวงหนึ่ง อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น
ปัญญาของพระโยคีที่เกิดขึ้นในขณะพิจารณาอยู่ใน ขณะสัมมสนนัยนี้ ชื่อว่า สัมมสนญาณ เช่นเดียวกัน การพิจารณาแบบนี้เป็นวิธีที่ละเอียดที่สุดแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียวเท่านั้น จึงสามารถพิจารณาได้
การเห็นไตรลักษณ์นั้น ย่อมประจักษ์ในขณะที่ รูปนามดับ เพราะว่าดับไป จึงเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงอยู่ก็ไม่ดับ เพราะว่าดับไปจึงเป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ไม่ดับ และเพราะว่าดับไปจึงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาให้คงอยู่ก็ไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาได้ ก็ไม่ให้ดับไปได้ แต่ว่า สัมมสนญาณนี้ เห็นความเกิดของรูปนามที่ เกิดใหม่ ขึ้นมาแทนแล้ว จึงได้รู้ว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว เป็นการรู้ได้โดยอนุโลมด้วยอาศัยจินตามยปัญญาเข้ามาช่วย ไม่ได้ประจักษ์ในขณะที่ดับ ดังนั้นจึงกล่าวว่า สัมมสนญาณ เป็นญาณ ที่ยกรูปนามขึ้นสู่ไตรลักษณ์
สัมมสนญาณนี้ สามารถละ สมูหัคคาหะ การยึดเรายึดเขาเสียได้
ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๑ ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่ ๒, จนถึงสัมมสนญาณ ญาณที่ ๓, นี้ ล้วนแต่ยังเป็นญาณที่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้าช่วยอยู่ทั้ง ๓ ญาณ และนับแต่ อุทยัพพยญาณ เป็นต่อไป ไม่ต้องอาศัย จินตามยปัญญา เข้ามาช่วยอีกเลย
เมื่อพระโยคี กำหนดพิจารณาจนถึง สัมมสนญาณ ที่สงเคราะห์ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อันเป็นวิสุทธิมัคคลำดับที่ ๕ แล้ว และตั้งมั่นในการพิจารณาเห็นรูปนามที่เกิดใหม่ ซึ่งทำให้เกิดปัญญา รู้เห็นว่ารูปนามเก่านั้นดับไปแล้ว ที่เรียกว่า สันตติยังไม่ขาด นั้นต่อไปโดยไม่ท้อถอยด้วยอำนาจแห่งอินทรียและพละก็จะเป็นปัจจัยให้เห็นชัดขึ้น จนเห็นใน ขณะที่ดับ โดยรูปนามใหม่ยังไม่ทันเกิดขึ้นมาแทน และเห็นใน ขณะที่เกิด ของรูปนามใหม่นั้นด้วย อันเป็นการเห็นทั้งความดับของรูปนามเก่า และเห็นความเกิดของรูปนามใหม่ จึงเรียกว่า เห็นทั้งความเกิดและความดับ เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นอย่าง สันตติขาด ได้ชื่อว่าเป็น อุทยัพพยญาณ เป็นญาณที่ประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์โดยชัดเจน
อุทยัพพยญาณ ญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นทั้งการเกิดการดับนั้น ยังจำแนกได้เป็น ๒ มีชื่อว่า ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณ ที่ยังอ่อนอยู่ และ พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่แก่กล้า มีสติระลึกรู้เฉพาะรูปธรรมนามธรรม ไม่เลยถึงบัญญัติ รู้แต่ปรมัตถล้วน ๆ อุทยัพพยญาณที่ยังอ่อนอยู่ นี่แหละที่ถึงคราวที่บังเกิด วิปัสสนูปกิเลส
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ<<<ขอขอบคุณครับ)
☆☆ขอบพระคุณทุกความเห็นครับ☆☆