---------------- ขออนุญาต ฝากกระทู้ที่ผมตั้งขึ้น (เพื่อทำความเข้าใจของตนเองและผู้ศึกษาใหม่) มาขอความคิดเห็นพิจารณา วิจารณ์
เพื่อเป็นแนวทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรลุธรรม ของผู้ศึกษาใหม่ๆ จะได้รู้ว่ามีทางอย่างไร และมีกำลังใจในการตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ (จากการที่แต่ก่อนผมไม่ทราบ ทำให้งุนงงสงสัยว่าบรรลุคืออาการอย่างไร ทำอย่างไร ทำไมบางท่านบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน บางท่านเป็นพระอรหันต์ หรือบรรลุธรรมขั้นอื่นๆ วิธีการต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ) ครับ
ในเรื่อง การปฏิบัติทางจิตเพื่อบรรลุธรรม
- สภาวะที่เกิดในขณะบรรลุธรรม
- ขณะจิตที่มีการรวมกันของมรรค (มรรคสมังคี,มัคคญาณ)
- การทำสติปัฏฐาน วิปัสสนา
ขอบพระคุณมากครับ
-
---------------- ผมได้ลองพิจารณาทำเป็นแผนภาพ เพื่อความเข้าใจของตัวเอง และสำหรับผู้ศึกษาใหม่
ขอรบกวน ทุกท่านได้ช่วยกรุณาพิจารณาและวิจารณ์ แก้ไขให้ด้วยครับ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
---------------------------
เอกสารที่นำมา : 1. สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/080.htm
2. ทิฏฐิวิสุทธิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/081.htm
...
๔. ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจไว้อย่างแน่นอนว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา นั้น
ต้องมี ปรมัตถอารมณ์ เป็นกัมมัฏฐาน จะมีอารมณ์เป็นบัญญัติหรือเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา หาได้ไม่
ปรมัตถอารมณ์ ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นแจ้งเป็นประเดิมเริ่มแรกก็คือ รูปนาม
การที่จะให้เห็นแจ้งใน รูปนาม ก็ต้องดำเนินการตามนัยแห่ง สติปัฏฐาน วิธีเดียว จะดำเนินการอย่างอื่นใดให้ปรากฏรูปนาม ตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หาได้ไม่
...
3. มัคคญาณและผลญาณเบื้องต้น
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/102.htm
" บัดนี้จะได้กล่าวถึงการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุถึงมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบน ๆ นั้นต่อไป
... "
4. วิปัสสนาภูมิ (9)
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_08_09.htm
...
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียร ดูรูปนาม
เห็นความ เกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3
...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
...
หลังจากผู้มีศรัทธาต่อการประพฤติปฏิบัติกรรมฐาน ได้ลงมือประพฤติปฏิบัติเจริญวิปัสสนา คือตั้งสติกำหนดรู้รูปนามที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทุกขณะ
ได้เจริญสติกำหนดให้เป็นไปโดยติดต่อกัน มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ พิจารณากาย อย่างเช่น ลมหายใจเข้า หายใจออก อิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถต่างๆ ทั้งหมด การก้ม การเงย การคู้เหยียด เคลื่อนไหว กำหนดเวทนา การเสวยอารมณ์ สบายกาย ไม่สบายกาย ดีใจ เสียใจ เฉยๆ
กำหนดจิตที่ขณะคิดนึกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ก็กำหนดที่สภาพจิตใจ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตรู้กลิ่น จิต-รู้รส จิตรู้สัมผัส จิตคิดนึก มีสติรู้เท่าทันจิต และกำหนดรู้ถึงสภาวธรรมในจิตใจที่ปรุงแต่งจิตใจ เช่น ความพอใจ ไม่พอใจ สงบ ไม่สงบ สภาวธรรมที่ปรุงแต่งในจิตใจต่างๆ มีความเป็นปกติไม่บังคับ มีสติรู้เท่าทันรูปนามที่กำลังปรากฏเป็นปัจจุบัน ชั่วขณะแวบเดียวๆ ขณะเห็นนิดหนึ่ง ขณะได้ยิน ขณะรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก มีความติดต่อกันอยู่ก็เกิดวิปัสสนาญาณขึ้น
ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง รูปธรรม นามธรรม คือ มองเห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เห็นนามก็เป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่นว่า เห็นว่าการเคลื่อนไหวก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ตัวมันเองไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ เป็นเพียงแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาแล้ว ก็สลายตัวไป จัดว่าเป็นรูปธรรม ส่วนตัวที่เข้าไปรู้ เป็นธรรมชาติที่สามารถจะรับรู้อะไรได้ จัดเป็นนามธรรม เห็นความต่างกันของธรรมชาติ 2 อย่าง คือเห็นรูปก็อย่างหนึ่ง เห็นนามก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า สามารถ แยกรูปแยกนามได้ เห็นรูปเห็นนามต่างกันไม่ว่าจะเป็นทวารอื่นก็ตาม ขณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง มากระทบกาย มีสติรู้ทัน ก็เห็นว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง นั้นก็เป็นแต่ธรรมชาติ ที่มากระทบ แล้วก็ สลายไป ไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้ ส่วนตัวจิตใจเป็นตัวที่เข้าไปรู้ได้ เป็นธรรมชาติ ชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรม หรือลมหายใจที่เข้าออก กระทบโพรงจมูก หายใจเข้าเย็น หายใจออกร้อน เป็นตัวที่ไม่สามารถจะไปรับรู้ อะไรได้ มีหน้าที่กระทบแล้วก็สลายไป เป็นรูปธรรม ส่วนตัวจิตที่เข้าไปรับรู้ลมหายใจ สามารถที่จะรับรู้ อะไรได้ ก็ไปรับรู้ลมหายใจ เป็นนามธรรม เห็นลมหายใจก็อย่างหนึ่ง เห็นตัวที่เข้าไปรู้ลมหายใจก็อย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็เรียกว่า มีปัญญาแยกสภาวรูปนามได้ ก็จะทำให้เข้าใจว่า ในชีวิตนี้มันไม่มีอะไร ในเนื้อแท้จริงๆ แล้วมีแต่รูปกับนามเกิดขึ้นเท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล ในขณะที่จิตไปสัมผัสรูปนามนั้น ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนอะไรต่ออะไร เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2
ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้ กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัย ให้เกิด รูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่าง รูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบ ประสาทหู ซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็น ปัจจัย ให้เกิดนาม เย็นร้อน อ่อนแข็ง อ่อนตึง เป็นรูป มากระทบกาย ก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียร ดูรูปนาม เห็นความ เกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3
ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความ ไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชา ไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ ยังเอา สมมุติบัญญัติ มาปน ยังมี สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญา ความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4
ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณ อย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพย ญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส คือกิเลสที่จะทำให้ วิปัสสนาเศร้าหมอง คือทำให้วิปัสสนาไม่เจริญขึ้น จะไม่ก้าวหน้า จะหยุดชะงัก ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นหลงติดอยู่ ในวิปํสสนูปกิเลสเหล่านั้น วิปัสสนาก็ไม่เจริญขึ้น ทำวิปัสสนา กรรมฐานไม่ก้าวหน้า อยู่แค่นั้น เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำความเข้าใจว่า เมื่อถึงขณะนั้นแล้ว มันจะเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นอย่างใดอย่าง หนึ่ง ก็ให้รู้ทัน วิปัสสนูปกิเลสนี้ที่จริงมันก็เป็นธรรมฝ่ายดี เช่น ปิติ ความสุข ความสงบ เป็นธรรมฝ่ายดี แต่มันเสียตรงที่ว่า เกิดความไปยินดี พอใจ ติดใจในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันต ความไปพอใจ วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญ
วิปัสสนูปกิเลส ที่เกิดมี 10 ประการนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประการที่ 1 ก็คือ โอภาส โอภาส ได้แก่ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้น จะรู้สึกเกิดความพอใจ กับสิ่งอัศจรรย์ในใจ ที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดี พอใจ เมื่อเกิดความ ยินดี พอใจ รูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็น รูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ
ประการที่ 2 เกิด ญาณะ ญาณะก็คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิด จะนึก จะพิจารณาอะไร มันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า
ประการที่ 3 ก็คือ ปีติ ได้แก่ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจ ปิติ อิ่มเอิบ อย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจ ในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ
ประการที่ 4 เกิด ปัสสัทธ ิคือความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจ เกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความ ยินดี พอใจ เป็นโลภะ ...
ประการที่ 5 เกิด สุขะ สุขะคือความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจใน ความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้
ประการที่ 6 เกิด อธิโมกข์ คือตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมากเชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนาม อีกเหมือนกัน
ประการที่ 7 เกิดปัคคหะ คือความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น
ประการที่ 8 เกิด อุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกิน ...
ประการที่ 9 เกิด อุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจใน ความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้
ประการที่ 10 นิกันติ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญ ...
วิธีที่จะผ่านวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไปจะทำอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็ต้องมีความแยบคายในการพิจารณา ถึงลักษณะความยินดีพอใจที่เกิดขึ้น สังเกตให้ออกว่าขณะนี้เกิดความพอใจ เช่นเกิดความสงบ ...
---------- ร่าง แผนภาพลำดับการปฏิบัติทางจิต ในการบรรลุธรรม ------ เพื่อทำความเข้าใจ โปรดกรุณาช่วยพิจารณาวิจารณ์ด้วยครั
เพื่อเป็นแนวทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบรรลุธรรม ของผู้ศึกษาใหม่ๆ จะได้รู้ว่ามีทางอย่างไร และมีกำลังใจในการตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ (จากการที่แต่ก่อนผมไม่ทราบ ทำให้งุนงงสงสัยว่าบรรลุคืออาการอย่างไร ทำอย่างไร ทำไมบางท่านบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน บางท่านเป็นพระอรหันต์ หรือบรรลุธรรมขั้นอื่นๆ วิธีการต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ) ครับ
ในเรื่อง การปฏิบัติทางจิตเพื่อบรรลุธรรม
- สภาวะที่เกิดในขณะบรรลุธรรม
- ขณะจิตที่มีการรวมกันของมรรค (มรรคสมังคี,มัคคญาณ)
- การทำสติปัฏฐาน วิปัสสนา
ขอบพระคุณมากครับ
-
---------------- ผมได้ลองพิจารณาทำเป็นแผนภาพ เพื่อความเข้าใจของตัวเอง และสำหรับผู้ศึกษาใหม่
ขอรบกวน ทุกท่านได้ช่วยกรุณาพิจารณาและวิจารณ์ แก้ไขให้ด้วยครับ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
---------------------------
เอกสารที่นำมา : 1. สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ http://abhidhamonline.org/aphi/p9/080.htm
2. ทิฏฐิวิสุทธิ http://abhidhamonline.org/aphi/p9/081.htm
...
๔. ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจไว้อย่างแน่นอนว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา นั้นต้องมี ปรมัตถอารมณ์ เป็นกัมมัฏฐาน จะมีอารมณ์เป็นบัญญัติหรือเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา หาได้ไม่
ปรมัตถอารมณ์ ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นแจ้งเป็นประเดิมเริ่มแรกก็คือ รูปนาม การที่จะให้เห็นแจ้งใน รูปนาม ก็ต้องดำเนินการตามนัยแห่ง สติปัฏฐาน วิธีเดียว จะดำเนินการอย่างอื่นใดให้ปรากฏรูปนาม ตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หาได้ไม่
...
3. มัคคญาณและผลญาณเบื้องต้น http://abhidhamonline.org/aphi/p9/102.htm
" บัดนี้จะได้กล่าวถึงการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อให้บรรลุถึงมัคคญาณ ผลญาณ เบื้องบน ๆ นั้นต่อไป
... "
4. วิปัสสนาภูมิ (9) http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_08_09.htm
...
เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียร ดูรูปนาม เห็นความ เกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3
...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้