แนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุอริยมรรค อริยผล
โดย หลวงพ่อ เจือ สุภโร
ต่อแต่นี้ จะแสดงวิปัสสนาตามหลักวิสุทธิ ๗ ต่อไป แต่จะแสดงโดยภาคปฏิบัติ มุ่งเฉพาะจุดสำคัญที่เข้าใจได้ยาก รู้ได้ยากเท่านั้น
วิสุทธิ ๗ แปลว่า ความหมดจด หรือความบริสุทธิ์ ๗ อย่าง คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ได้แก่ สมาธิที่นิวรณ์ทั้ง ๕ ดับแล้ว
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น ได้แก่เห็นนามรูปคือ ขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่ตนอย่างแจ่มแจ้ง
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัยซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดนามรูป คือ ขันธ์ ๕ ได้อย่างไร
๕. มัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องรู้ว่าทำในจิตอย่างไรจะเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ ทำในจิตอย่างไรจะไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์
๖. ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ ที่เห็นข้อปฏิบัติอันให้เป็นไปถึงความสิ้นทุกข์
๗. ญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่เห็นโลกุตตรธรรม
แนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุอริยมรรค อริยผล
โดย หลวงพ่อ เจือ สุภโร
ต่อแต่นี้ จะแสดงวิปัสสนาตามหลักวิสุทธิ ๗ ต่อไป แต่จะแสดงโดยภาคปฏิบัติ มุ่งเฉพาะจุดสำคัญที่เข้าใจได้ยาก รู้ได้ยากเท่านั้น
วิสุทธิ ๗ แปลว่า ความหมดจด หรือความบริสุทธิ์ ๗ อย่าง คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ได้แก่ สมาธิที่นิวรณ์ทั้ง ๕ ดับแล้ว
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น ได้แก่เห็นนามรูปคือ ขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่ตนอย่างแจ่มแจ้ง
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัยซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดนามรูป คือ ขันธ์ ๕ ได้อย่างไร
๕. มัคคามัคคญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องรู้ว่าทำในจิตอย่างไรจะเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ ทำในจิตอย่างไรจะไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์
๖. ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ ที่เห็นข้อปฏิบัติอันให้เป็นไปถึงความสิ้นทุกข์
๗. ญาณทัสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณที่เห็นโลกุตตรธรรม