เจริญสติปัฏฐาน4
ถ้าไม่ประกอบด้วยฌานก็ไม่มีญาณที่เกิดจากวิปัสสนา
การเจริญสติปัฏฐาน4
ที่ถูกต้องเป็นมหาสติปัฏฐานคือ
การทำสมถะเกิดฌาน4แล้วเจริญวิปัสสนาเกิดญาณ
เพราะฌาน4ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ
เกิดจากสติในฌาน4บริสุทธิ์ใช้สำหรับเจริญวิปัสสนา
ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การถือศีลอย่างไม่งมงาย
ละสีลัพพัตตปรามาส ด้วยการมีศรัทธาพละสมดุลกับปัญญาพละ
ไม่ศรัทธาจนถืออย่างไม่เข้าใจ หรือมีปัญญามาก
เกิดความลังเลสงสัย ได้แต่ถือแต่ใจกลับไม่มีศรัทธา
เพราะการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา
ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง
ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่
ปาฏิโมกขสังวรศีล
หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต
ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท
(คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
อินทรียสังวรศีล
หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้
ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
อาชีวปาริสุทธิศีล
หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
ปัจจัยสันนิสิตศีล
หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ
การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น
ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน
ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
อธิศีลสิกขา
ศีลวิสุทธิ
1.ปาฏิโมกขสังวรศีล
2.อินทรียสังวรศีล
3.อาชีวปาริสุทธิศีล
4.ปัจจัยสันนิสิตศีล
จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ
จิตที่สมดุล
เพราะวิริยะพละเสมอกับสมาธิพละ
ทำให้สมาธิก็สมดุล วิริยะก็สมดุล
เป็นปัจจัยให้สติกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างพอดี
ไม่ไปในอนาคตเพราะวิริยะมีมาก
ไม่อยู่ในอดีตเพราะสมาธิมีกำลังมากไป
เป็นการฝึกอบรมจิตจนบังเกิดอัปปนาสมาธิ(หรือฌาน)ที่ปราศจากนิวรณ์
เพราะสติต่อเนื่องจนนิวรณ์ไม่สามารถเข้าแทรกในจิตได้
อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญ ทำให้เจริญวิปัสสนาได้ง่าย
อธิจิตตสิกขา
จิตตวิสุทธิ
-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติ
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง
ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ
มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน
เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
อธิปัญญาสิกขา
วิสุทธิ 7 กับ วิปัสสนาญาณ
ทิฏฐิวิสุทธิ
1.นามรูปปริจเฉทญาณ
กังขาวิตรณวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ
กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท
กังขาวิตรณวิสุทธิ
2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
3.สัมมสนญาณ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ 9)
รู้ทุกขอริยสัจจ์ รู้สมุทัยอริยสัจจ์ รู้นิโรธอริยสัจจ์ รู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง๘
และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม) เมื่อถึงสัจจานุโลมิกญาณ
คือหมุนธรรมจักรทั้ง๘ และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้น
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
4.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่เจริญขึ้น (พลวอุทยัพพยญาณ)
5.ภังคานุปัสสนาญาณ
6.ภยตูปัฏฐานญาณ
7.อาทีนวานุปัสสนาญาณ
8.นิพพิทานุปัสสนาญาณ
9.มุจจิตุกัมยตาญาณ
10.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
11.สังขารุเบกขาญาณ
12.สัจจานุโลมิกญาณ
ญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ
คือการปฏิบัติบริบูรณ์จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือโคตรภูญาณและวิทานะญาณ
ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรค หรือมรรคญาณ
ความบรรลุเป็นอริยบุคคลหรือผลญาณ
พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ
ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ
หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ
13.โคตรภูญาณ
14.มัคคญาณ
15.ผลญาณ
16.ปัจจเวกขณญาณ
เจริญสติปัฏฐาน4 ที่ถูกต้อง
ถ้าไม่ประกอบด้วยฌานก็ไม่มีญาณที่เกิดจากวิปัสสนา
การเจริญสติปัฏฐาน4
ที่ถูกต้องเป็นมหาสติปัฏฐานคือ
การทำสมถะเกิดฌาน4แล้วเจริญวิปัสสนาเกิดญาณ
เพราะฌาน4ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ
เกิดจากสติในฌาน4บริสุทธิ์ใช้สำหรับเจริญวิปัสสนา
ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การถือศีลอย่างไม่งมงาย
ละสีลัพพัตตปรามาส ด้วยการมีศรัทธาพละสมดุลกับปัญญาพละ
ไม่ศรัทธาจนถืออย่างไม่เข้าใจ หรือมีปัญญามาก
เกิดความลังเลสงสัย ได้แต่ถือแต่ใจกลับไม่มีศรัทธา
เพราะการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา
ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง
ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่
ปาฏิโมกขสังวรศีล
หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต
ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท
(คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
อินทรียสังวรศีล
หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้
ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
อาชีวปาริสุทธิศีล
หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
ปัจจัยสันนิสิตศีล
หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ
การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น
ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน
ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
อธิศีลสิกขา
ศีลวิสุทธิ
1.ปาฏิโมกขสังวรศีล
2.อินทรียสังวรศีล
3.อาชีวปาริสุทธิศีล
4.ปัจจัยสันนิสิตศีล
จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ
จิตที่สมดุล
เพราะวิริยะพละเสมอกับสมาธิพละ
ทำให้สมาธิก็สมดุล วิริยะก็สมดุล
เป็นปัจจัยให้สติกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างพอดี
ไม่ไปในอนาคตเพราะวิริยะมีมาก
ไม่อยู่ในอดีตเพราะสมาธิมีกำลังมากไป
เป็นการฝึกอบรมจิตจนบังเกิดอัปปนาสมาธิ(หรือฌาน)ที่ปราศจากนิวรณ์
เพราะสติต่อเนื่องจนนิวรณ์ไม่สามารถเข้าแทรกในจิตได้
อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญ ทำให้เจริญวิปัสสนาได้ง่าย
อธิจิตตสิกขา
จิตตวิสุทธิ
-อุปจารสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติ
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง
ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ
มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน
เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
อธิปัญญาสิกขา
วิสุทธิ 7 กับ วิปัสสนาญาณ
ทิฏฐิวิสุทธิ
1.นามรูปปริจเฉทญาณ
กังขาวิตรณวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ
กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท
กังขาวิตรณวิสุทธิ
2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
3.สัมมสนญาณ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ 9)
รู้ทุกขอริยสัจจ์ รู้สมุทัยอริยสัจจ์ รู้นิโรธอริยสัจจ์ รู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง๘
และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม) เมื่อถึงสัจจานุโลมิกญาณ
คือหมุนธรรมจักรทั้ง๘ และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้น
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
4.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่เจริญขึ้น (พลวอุทยัพพยญาณ)
5.ภังคานุปัสสนาญาณ
6.ภยตูปัฏฐานญาณ
7.อาทีนวานุปัสสนาญาณ
8.นิพพิทานุปัสสนาญาณ
9.มุจจิตุกัมยตาญาณ
10.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
11.สังขารุเบกขาญาณ
12.สัจจานุโลมิกญาณ
ญาณทัสสนวิสุทธิ
หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ
คือการปฏิบัติบริบูรณ์จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือโคตรภูญาณและวิทานะญาณ
ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรค หรือมรรคญาณ
ความบรรลุเป็นอริยบุคคลหรือผลญาณ
พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ
ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ
หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ
13.โคตรภูญาณ
14.มัคคญาณ
15.ผลญาณ
16.ปัจจเวกขณญาณ