คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
มีปัญจมฌาน ครบองค์ ฌานจิต จะละฌานหมด
ละ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เอกคตาได้หมด
นิวรณ์5องค์ก็ละได้หมด
ละวิตก ละถีนมิทธะ
ละวิจารณ์ ละวิจิกิจฉา
ละปีติ ละพยาบาท
ละสุข ละอุทธัจจะกุกกุจจะ
ละเอกัคคตา ละกามฉันทะ
ละ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เอกคตาได้หมด
นิวรณ์5องค์ก็ละได้หมด
ละวิตก ละถีนมิทธะ
ละวิจารณ์ ละวิจิกิจฉา
ละปีติ ละพยาบาท
ละสุข ละอุทธัจจะกุกกุจจะ
ละเอกัคคตา ละกามฉันทะ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม คือ
คนที่จะปฏิบัติธรรม มีสัมมาสมาธิต้องมีศีลที่บริบูรณ์
ศีล5 ตทังคปหาน ละกามได้ชั่วคราว
สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
สัมมาสมาธิ ( ฌาน ) วิกขัมภนปหาน ละด้วยการข่มเอาไว้
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
วิกขัมภนปหาน แปลว่า ละด้วยการข่มไว้ คือ ข่มกิเลส
เช่น นิวรณ์ ๕ มีกามฉันท พยาบาท เป็นต้น ไว้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน
เมื่อได้ฌานแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ สงบลง เพราะองค์ของฌาน เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรัณ์ทั้ง ๕ คือ
วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อ ถีนมิทธะ
วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อ วิจิกิจฉา
ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อ พยาบาท
สุข เป็นปฏิปักษ์ต่อ อุทธัจจกุกกุจจะ
เอกัคคตา เป็นปฏิปักษ์ต่อ กามฉันทะ
การละกิเลสด้วยอำนาจแห่งฌานนี้เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็นเพียงข่มกิเลสไว้
ดุจเอาก้อนหินทับหญ้า ฉะนั้น ยังละไม่ได้อย่างเด็ดขาด
ต้องมีอัปปนาฌานคือ ฌานที่5 จึงจะข่มกิเลสได้หมด
ไม่ใช่มีแค่ปฐมฌานแล้วสามารถข่มกิเลสไปหมด
คนที่ปฏิบัติไม่เป็นจะอ่านตำราแล้วเอาไปตีความกันเองไม่เห็นฌานจิตจริงๆๆ
สมุจเฉทปหาน แปลว่า ละกิเลสได้โดยเด็ดขาด ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
มีรูปนามเป็นอารมณ์ จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาโดยตามลำดับถึง ๑๖ ญาณ