หมายเหตุ - รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความเห็นถึงกรณีที่มีข่าวว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อดีตนายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
กรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางออกนอกประเทศนั้น หากถามว่า คสช.ใช้อำนาจอะไร คงตอบว่าเป็นอำนาจกฎอัยการศึกที่ประกาศออกไป ใครจะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องเข้ามารายงานตัวเพื่อ
ขออนุญาตตามกระบวนการเช่นที่หลายคนตกเป็นข่าว ส่วนเหตุที่ไม่อนุญาตเพราะอะไรไม่รู้ ตามข้อกฎหมายแล้วการที่อัยการสูงสุด
จะสั่งฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำเป็นต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปศาลด้วยหรือไม่
ตามหลักกฎหมายแล้วจำเป็นเฉพาะในครั้งแรก อย่างที่นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้กล่าวไว้ หากไม่เป็นไปตามกระบวนการอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ แต่ว่าเรื่องที่ใครจะเดินทางออกนอกประเทศในข่ายผู้ที่ถูก คสช.เรียกตัวนั้น จะสังเกตได้ว่าศาลจะอนุญาตหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล หากว่าไม่มีเรื่องขึ้นศาลหรือยังไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี ก็ต้องไปถามคนอื่นว่าทำไมต้องขออนุญาตศาล คำว่าขออนุญาตแปลว่าเขาจะให้หรือไม่ก็ได้ ส่วนกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอนยื่นคดีนัดแรกไม่จำเป็นต้องไป ให้ไปเฉพาะวันที่ถูกฟ้อง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
ตามหลักกฎหมายเเล้ว เมื่ออัยการสูงสุดยังไม่ได้สั่งฟ้อง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็เป็นเเค่ผู้ต้องหา ถ้าสั่งฟ้องเเล้วกระบวนการ
เข้าสู่ชั้นศาล เเบบนั้นจึงสามารถสั่งห้ามได้ ในกรณีที่เห็นว่าจำเลยจะหลบหนี ตอนนี้ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการของอัยการ จะให้สิ้นสุดก็คือยื่น
ฟ้อง
วิษณุ เครืองาม - สมชาย ปรีชาศิลปกุล - ยอดพล เทพสิทธา
คิดว่าปัญหาใหญ่ ปัญหาหลักคือ ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่รู้สึกร่วมกันว่ามีความยุติธรรมอยู่ มันจะเป็น
เชื้อเพลิงอีกส่วนที่ทำให้สังคมไทยส่วนหนึ่งลุกเป็นไฟได้ในอนาคตข้างหน้า
ฉะนั้น องค์กรเเละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมจะต้องทำหน้าที่ให้กระบวนการมันเดินไปเเละอยู่กับร่องกับรอย ต้องตระหนักว่าอำนาจเผด็จการนั้นไม่ได้อยู่ตลอดไปชั่วกัลปาวสาน วันหนึ่งก็ต้องจากไป เมื่อจากไปเเล้ว ถ้าองค์กรไหนที่ทำหน้าที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ผมคิดว่ามันจะมีเสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคล หรือเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรก็ตาม
สิ่งที่อยากจะเตือนคือ กระบวนการยุติธรรมที่ตั้งอยู่ได้ ไม่ใช่เเค่เรื่องของอำนาจเเต่เพียงอย่างเดียว เเต่มันยังตั้งอยู่บนความชอบธรรมด้วย
เเละความชอบ ธรรมนี่เเหละสำคัญมาก
สถาบันยุติธรรมจะอยู่ได้ สั่งลงโทษคนได้ เเต่ถ้าเกิดสิ้นความชอบธรรมหรือความชอบธรรมสั่นคลอนเมื่อไร ผมคิดว่าอนาคตต้องถูกเเก้ไข
ปรับปรุงเเน่ๆ หรืออาจจะถูกโยนทิ้งเอาก็ได้
ถ้าพูดถึงเฉพาะส่วนตัวกระบวนการยุติธรรม คิดว่าตอนนี้สิ่งที่กระบวนการยุติธรรมควรจะทำคือต้องพยายามอิงกับกฎหมายที่มันดำรงอยู่ใน
ภาวะปกติ ตั้งเเต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ หรืออะไรก็ตาม การวินิจฉัยหรือการทำหน้าที่ต้องไม่ใช้อำนาจจากกฎอัยการศึก หรือประกาศจาก
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะพวกนั้นคือกฎหมายในภาวะที่ไม่ปกติ
ถ้าตำรวจ อัยการ หรือใครต่อใครไปอ้างเอาเเต่คำสั่งที่ไม่ปกติมาใช้ คิดว่าตรงนี้จะเป็นตัวบั่นทอนความชอบธรรมลงไปเรื่อยๆ
ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถ้าตามระบบปกติ กรณีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาล คนที่ถูกสั่งฟ้องคดีตามปกติก็เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ยกเว้นมีคำอนุญาตจากศาล แต่กรณีนี้กลายเป็นอำนาจหน้าที่ของ คสช. ขณะที่กรณีนี้มีมติแค่สั่งฟ้อง ยังไม่ได้ชี้มูลว่าผิดอย่างไร ยังไม่ได้ผ่านการยื่นฟ้อง พูดง่ายๆ ว่า
ตอนนี้คดียังไม่ได้เข้าไปในชั้นศาล ยังอยู่ที่ตัวอัยการสูงสุด (อสส.) ว่ามีมติให้ยื่นฟ้องแต่ยังไม่ได้ยื่นฟ้อง ในระบบปกติถ้าคดีถึงศาลแล้ว
ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่
กรณีนี้ระบบเราไม่ปกติต้องขออนุญาต คสช.ก่อน ตรงนี้เกรงว่าเขากลัวว่าจะหนี ก็เลยคงจะไม่อนุญาต เข้าใจว่าจะเป็นอย่างนั้น จะคิด
เหมือนทางทหารหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ เข้าใจว่าคงกลัวจะหนี
เรื่องความเป็นไปได้ ถ้าพูดกันง่ายๆ คุณยิ่งลักษณ์คงไม่หนี เพราะว่าไม่มีประโยชน์ที่จะหนี กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นั้น
มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกตัดสินว่าผิด ยังเชื่อในระดับหนึ่งว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่าจะหนี คงเป็นการเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณตามปกติ
ยังไม่เห็นเหตุจำเป็นที่คุณยิ่งลักษณ์จะต้องหนี เพราะพรรคยังไม่ถูกยุบ อีกอย่างอดีต ส.ส.ที่กำลังจะถูกยื่นตัดสิทธิทางการเมืองกรณี
ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นยังไม่รู้ว่าจะถูกยื่นหรือเปล่า ต้องไม่ลืมว่าคุณนิคม ไวยรัชพานิช กับคุณสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์รอด แต่
ถ้าอดีต ส.ส.กว่า 200 คนไม่รอด คิดว่าจะแปลก ในเมื่อตัวหัวรอดแล้วลูกน้องไม่รอด มองว่าแปลก
อีกอย่างก็คือ คุณยิ่งลักษณ์ยังมีโอกาสที่จะสู้คดีในชั้นศาลอีก ซึ่งกว่าคดีจะขึ้นไปชั้นศาล เชื่อว่าตอนนั้นน่าจะเป็นรัฐบาลปกติแล้ว
จึงมองว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่ามีความคิดที่จะหนี เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณตอนนั้นเรื่องยึดทรัพย์ยังเป็นคดีสมัยรัฐบาล
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตรงนี้เลยมองว่าโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะหนีตอนนั้นมีมากและสมควรที่จะหนีเพราะกระบวนการทุกอย่าง
อยู่ภายใต้การบงการของ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ในยุคนั้นกับรัฐบาลที่ทหารตั้งขึ้นมา
ปัจจุบันถ้าดูตามระยะเวลาแล้วมองว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่าจะหนี กว่าศาลจะตัดสินก็ถึงเวลาที่ควรจะมีการเลือกตั้งได้แล้ว
จริงๆ แล้ว คสช.ก็เหมือนรับเผือกร้อนมาในมือ ถ้าอนุญาตก็จะขัดใจกับมวลชน กปปส.แน่นอน นี่พูดกันตรงๆ เพราะว่าเราจะเห็นสมาชิก กปปส.ออกมาโพสต์ข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์กหลายคนว่า อย่าไปหลงตามเกมของคุณยิ่งลักษณ์ ถามจริงๆ ว่าตอนนี้อยู่ที่บ้าน
ซอยโยธินพัฒนาหรือเปล่า ประมาณนี้ พวกนี้เขาเชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์จะหนี ตรงนี้ถ้าอนุญาตก็จะขัดใจกับมวลชน กปปส.อีก
แต่ถ้าไม่อนุญาต มองว่ามวลชน กปปส.ก็ได้ใจ เพราะกลัวคุณยิ่งลักษณ์จะหนีไปร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องอย่าลืมว่าภาพคุณยิ่งลักษณ์นั้นสะอาดกว่า พ.ต.ท.ทักษิณเยอะ ที่ลืมไม่ได้คือ พ.ต.ท.ทักษิณมีภาพความรุนแรงกรณีเหตุการณ์ที่ตากใบและกรือเซะ แต่คุณยิ่งลักษณ์ไม่มี
ถูกลงโทษทางนโยบายอย่างเดียว ซึ่งไม่รู้ว่าผิดจริงหรือเปล่าด้วยซ้ำ ยังต้องรอการพิสูจน์ต่อไป
ดังนั้น ภาพคุณยิ่งลักษณ์สะอาดกว่า การที่คุณยิ่งลักษณ์ออกไปตั้งหลักที่ต่างประเทศได้ ทำให้น้ำหนักของการเมืองในเวทีระหว่างประเทศของไทยนั้นน้อยลง ต่างประเทศจับตาดูกระบวนการดำเนินคดีของเราอยู่ อย่างในกรณีการร่างรัฐธรรมนูญเองก็ตาม ตอนนั้นก็มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ว่าจริงๆ แล้วศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตีความหรือเปล่า
ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ออกไปในลักษณะการหนีจะมีผลทางการเมืองแน่ๆ แต่ถ้าไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณแล้วกลับมาก็ไม่มีอะไร ต้องอย่าลืมว่าเขาสองคนเป็นพี่น้องกัน คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร
มุมมอง′นักนิติศาสตร์′ คสช.ห้าม′ปู′ไปนอก (หนี ไม่หนี อย่ามโนนะครับ มาลองดูเหตุผล แล้วพิจารณาความเป็นไปได้กันหน่อย)
อดีตนายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
กรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางออกนอกประเทศนั้น หากถามว่า คสช.ใช้อำนาจอะไร คงตอบว่าเป็นอำนาจกฎอัยการศึกที่ประกาศออกไป ใครจะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องเข้ามารายงานตัวเพื่อ
ขออนุญาตตามกระบวนการเช่นที่หลายคนตกเป็นข่าว ส่วนเหตุที่ไม่อนุญาตเพราะอะไรไม่รู้ ตามข้อกฎหมายแล้วการที่อัยการสูงสุด
จะสั่งฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำเป็นต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปศาลด้วยหรือไม่
ตามหลักกฎหมายแล้วจำเป็นเฉพาะในครั้งแรก อย่างที่นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้กล่าวไว้ หากไม่เป็นไปตามกระบวนการอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ แต่ว่าเรื่องที่ใครจะเดินทางออกนอกประเทศในข่ายผู้ที่ถูก คสช.เรียกตัวนั้น จะสังเกตได้ว่าศาลจะอนุญาตหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล หากว่าไม่มีเรื่องขึ้นศาลหรือยังไม่ถูกฟ้องดำเนินคดี ก็ต้องไปถามคนอื่นว่าทำไมต้องขออนุญาตศาล คำว่าขออนุญาตแปลว่าเขาจะให้หรือไม่ก็ได้ ส่วนกรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอนยื่นคดีนัดแรกไม่จำเป็นต้องไป ให้ไปเฉพาะวันที่ถูกฟ้อง
สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
ตามหลักกฎหมายเเล้ว เมื่ออัยการสูงสุดยังไม่ได้สั่งฟ้อง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็เป็นเเค่ผู้ต้องหา ถ้าสั่งฟ้องเเล้วกระบวนการ
เข้าสู่ชั้นศาล เเบบนั้นจึงสามารถสั่งห้ามได้ ในกรณีที่เห็นว่าจำเลยจะหลบหนี ตอนนี้ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการของอัยการ จะให้สิ้นสุดก็คือยื่น
ฟ้อง
วิษณุ เครืองาม - สมชาย ปรีชาศิลปกุล - ยอดพล เทพสิทธา
คิดว่าปัญหาใหญ่ ปัญหาหลักคือ ถ้ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่รู้สึกร่วมกันว่ามีความยุติธรรมอยู่ มันจะเป็น
เชื้อเพลิงอีกส่วนที่ทำให้สังคมไทยส่วนหนึ่งลุกเป็นไฟได้ในอนาคตข้างหน้า
ฉะนั้น องค์กรเเละบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมจะต้องทำหน้าที่ให้กระบวนการมันเดินไปเเละอยู่กับร่องกับรอย ต้องตระหนักว่าอำนาจเผด็จการนั้นไม่ได้อยู่ตลอดไปชั่วกัลปาวสาน วันหนึ่งก็ต้องจากไป เมื่อจากไปเเล้ว ถ้าองค์กรไหนที่ทำหน้าที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ผมคิดว่ามันจะมีเสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคล หรือเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรก็ตาม
สิ่งที่อยากจะเตือนคือ กระบวนการยุติธรรมที่ตั้งอยู่ได้ ไม่ใช่เเค่เรื่องของอำนาจเเต่เพียงอย่างเดียว เเต่มันยังตั้งอยู่บนความชอบธรรมด้วย
เเละความชอบ ธรรมนี่เเหละสำคัญมาก
สถาบันยุติธรรมจะอยู่ได้ สั่งลงโทษคนได้ เเต่ถ้าเกิดสิ้นความชอบธรรมหรือความชอบธรรมสั่นคลอนเมื่อไร ผมคิดว่าอนาคตต้องถูกเเก้ไข
ปรับปรุงเเน่ๆ หรืออาจจะถูกโยนทิ้งเอาก็ได้
ถ้าพูดถึงเฉพาะส่วนตัวกระบวนการยุติธรรม คิดว่าตอนนี้สิ่งที่กระบวนการยุติธรรมควรจะทำคือต้องพยายามอิงกับกฎหมายที่มันดำรงอยู่ใน
ภาวะปกติ ตั้งเเต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ หรืออะไรก็ตาม การวินิจฉัยหรือการทำหน้าที่ต้องไม่ใช้อำนาจจากกฎอัยการศึก หรือประกาศจาก
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะพวกนั้นคือกฎหมายในภาวะที่ไม่ปกติ
ถ้าตำรวจ อัยการ หรือใครต่อใครไปอ้างเอาเเต่คำสั่งที่ไม่ปกติมาใช้ คิดว่าตรงนี้จะเป็นตัวบั่นทอนความชอบธรรมลงไปเรื่อยๆ
ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถ้าตามระบบปกติ กรณีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาล คนที่ถูกสั่งฟ้องคดีตามปกติก็เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ยกเว้นมีคำอนุญาตจากศาล แต่กรณีนี้กลายเป็นอำนาจหน้าที่ของ คสช. ขณะที่กรณีนี้มีมติแค่สั่งฟ้อง ยังไม่ได้ชี้มูลว่าผิดอย่างไร ยังไม่ได้ผ่านการยื่นฟ้อง พูดง่ายๆ ว่า
ตอนนี้คดียังไม่ได้เข้าไปในชั้นศาล ยังอยู่ที่ตัวอัยการสูงสุด (อสส.) ว่ามีมติให้ยื่นฟ้องแต่ยังไม่ได้ยื่นฟ้อง ในระบบปกติถ้าคดีถึงศาลแล้ว
ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลว่าจะอนุญาตหรือไม่
กรณีนี้ระบบเราไม่ปกติต้องขออนุญาต คสช.ก่อน ตรงนี้เกรงว่าเขากลัวว่าจะหนี ก็เลยคงจะไม่อนุญาต เข้าใจว่าจะเป็นอย่างนั้น จะคิด
เหมือนทางทหารหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ เข้าใจว่าคงกลัวจะหนี
เรื่องความเป็นไปได้ ถ้าพูดกันง่ายๆ คุณยิ่งลักษณ์คงไม่หนี เพราะว่าไม่มีประโยชน์ที่จะหนี กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นั้น
มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกตัดสินว่าผิด ยังเชื่อในระดับหนึ่งว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่าจะหนี คงเป็นการเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณตามปกติ
ยังไม่เห็นเหตุจำเป็นที่คุณยิ่งลักษณ์จะต้องหนี เพราะพรรคยังไม่ถูกยุบ อีกอย่างอดีต ส.ส.ที่กำลังจะถูกยื่นตัดสิทธิทางการเมืองกรณี
ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นยังไม่รู้ว่าจะถูกยื่นหรือเปล่า ต้องไม่ลืมว่าคุณนิคม ไวยรัชพานิช กับคุณสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์รอด แต่
ถ้าอดีต ส.ส.กว่า 200 คนไม่รอด คิดว่าจะแปลก ในเมื่อตัวหัวรอดแล้วลูกน้องไม่รอด มองว่าแปลก
อีกอย่างก็คือ คุณยิ่งลักษณ์ยังมีโอกาสที่จะสู้คดีในชั้นศาลอีก ซึ่งกว่าคดีจะขึ้นไปชั้นศาล เชื่อว่าตอนนั้นน่าจะเป็นรัฐบาลปกติแล้ว
จึงมองว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่ามีความคิดที่จะหนี เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณตอนนั้นเรื่องยึดทรัพย์ยังเป็นคดีสมัยรัฐบาล
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตรงนี้เลยมองว่าโอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะหนีตอนนั้นมีมากและสมควรที่จะหนีเพราะกระบวนการทุกอย่าง
อยู่ภายใต้การบงการของ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ในยุคนั้นกับรัฐบาลที่ทหารตั้งขึ้นมา
ปัจจุบันถ้าดูตามระยะเวลาแล้วมองว่าคุณยิ่งลักษณ์ไม่น่าจะหนี กว่าศาลจะตัดสินก็ถึงเวลาที่ควรจะมีการเลือกตั้งได้แล้ว
จริงๆ แล้ว คสช.ก็เหมือนรับเผือกร้อนมาในมือ ถ้าอนุญาตก็จะขัดใจกับมวลชน กปปส.แน่นอน นี่พูดกันตรงๆ เพราะว่าเราจะเห็นสมาชิก กปปส.ออกมาโพสต์ข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์กหลายคนว่า อย่าไปหลงตามเกมของคุณยิ่งลักษณ์ ถามจริงๆ ว่าตอนนี้อยู่ที่บ้าน
ซอยโยธินพัฒนาหรือเปล่า ประมาณนี้ พวกนี้เขาเชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์จะหนี ตรงนี้ถ้าอนุญาตก็จะขัดใจกับมวลชน กปปส.อีก
แต่ถ้าไม่อนุญาต มองว่ามวลชน กปปส.ก็ได้ใจ เพราะกลัวคุณยิ่งลักษณ์จะหนีไปร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องอย่าลืมว่าภาพคุณยิ่งลักษณ์นั้นสะอาดกว่า พ.ต.ท.ทักษิณเยอะ ที่ลืมไม่ได้คือ พ.ต.ท.ทักษิณมีภาพความรุนแรงกรณีเหตุการณ์ที่ตากใบและกรือเซะ แต่คุณยิ่งลักษณ์ไม่มี
ถูกลงโทษทางนโยบายอย่างเดียว ซึ่งไม่รู้ว่าผิดจริงหรือเปล่าด้วยซ้ำ ยังต้องรอการพิสูจน์ต่อไป
ดังนั้น ภาพคุณยิ่งลักษณ์สะอาดกว่า การที่คุณยิ่งลักษณ์ออกไปตั้งหลักที่ต่างประเทศได้ ทำให้น้ำหนักของการเมืองในเวทีระหว่างประเทศของไทยนั้นน้อยลง ต่างประเทศจับตาดูกระบวนการดำเนินคดีของเราอยู่ อย่างในกรณีการร่างรัฐธรรมนูญเองก็ตาม ตอนนั้นก็มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ว่าจริงๆ แล้วศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตีความหรือเปล่า
ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ออกไปในลักษณะการหนีจะมีผลทางการเมืองแน่ๆ แต่ถ้าไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณแล้วกลับมาก็ไม่มีอะไร ต้องอย่าลืมว่าเขาสองคนเป็นพี่น้องกัน คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร