สืบเนื่องจากตอนแรกนะครับ ที่อธิบายถึง Concept ของ MLM
http://ppantip.com/topic/33152010
ขอมาต่อในตอนที่ 2 เลยนะครับ
จากตอนแรกที่บอกว่า Concept ของธุรกิจเครือข่ายหัวใจอยู่ที่ สินค้า กับคำว่า "ใช้ดีบอกต่อ" หลายคนลืมจุดนี้แล้วไปเน้นแค่ว่า "ทำยังไงให้ขายได้หรือได้คนเพิ่ม" ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับว่า แผนของธุรกิจของบริษัทต่างๆ นั้น จะเอื้อให้เกิดพฤติกรรมด้านไหนมากกว่า
ธุรกิจที่เน้นทำยอดเพื่อให้เกิดค่าคอมมิชชั่นเป็นขั้นบันได แผนลักษณะนี้จะต้องทำยอดซื้อของสายงานให้ได้ครบจำนวนตามที่บริษัทกำหนดไว้ จึงจะได้ค่าคอมมิชชั่นที่มากขึ้น จุดเด่นของระบบนี้คือเพื่อให้เกิดการสร้างยอดได้เป็นเป้าหมายตลอดเวลา แต่แน่นอนว่าจุดด้อยคือการตั้งเป้าหมายด้วยยอดลักษณะนั้นอาจจะทำให้เกิดความกดดันได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับว่า นโยบายของกลุ่มนั้นจะเป็นลักษณะใด
ธุรกิจที่เน้นการสร้างเครือข่ายผู้ใช้สินค้าเพื่อให้เกิดค่าคอมมิชชั่นจากเครือข่ายผู้ใช้ แผนลักษณะนี้จะต้องหาเครือข่ายผู้บริโภคให้ได้อย่างต่อเนื่อง บางบริษัทไม่ได้สร้างให้เกิดรายได้ขึ้นจากตัวเอง (ถึงแม้ว่าตัวเองจะใช้สินค้าแค่ไหนก็ตาม มันไม่ได้ทำให้เกิดผลตอบแทนใดๆ กับตัวเอง) จุดเด่นของระบบนี้คือไม่มีความกดดันในเรื่องการทำยอดให้ถึงขั้นใดๆ เครือข่ายซื้อเท่าไหร่ ก็ได้ผลตอบแทนเท่านั้นเลย จุดด้อยของระบบนี้แน่นอนว่าเราจะไม่มีทางได้ผลตอบแทนจากตัวเองนอกจากผลตอบแทนจากเครือข่าย ดังนั้นถ้าต้องการการเติบโตของธุรกิจมันจำเป็นต้องหาเครือข่ายให้ได้อย่างต่อเนื่อง อาจะมีความเสี่ยงเมื่อบริษัทเปิดตัวมานานแล้ว
ธุรกิจที่เน้นการลงทุนกับธุรกิจเพื่อสร้างผลตอบแทน แผนลักษณะนี้อาจจะคล้ายการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมหรือหุ้น เพียงแต่เพิ่มความเป็นเครือข่ายในเรื่องการได้ % จากการที่เครือข่ายที่แนะนำร่วมลงทุนด้วย จุดเด่นของระบบนี้คือภาพที่ชัดเจนและง่ายกว่าแผนอื่นๆ เนื่องด้วยผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเรื่องการลงทุนเป็นปกติอยู่แล้ว จุดด้อยของระบบนี้ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ การลงทุนของบริษัทนี้นั่นจะต้องแทบพิจารณาเสมือนเป็นกองทุนหนึ่งๆ คือจะต้องพิจารณาเรื่องแผนการลงทุน แผนการนำเงินไปใช้ทำอะไรบ้าง มีความเสี่ยงแค่ไหน ซึ่งถ้าจะต้องมาวิเคราะห์กันขนาดนี้ เล่นหุ้นหรือกองทุนเลยก็ง่ายดีนะ ความเสี่ยงของระบบนี้คือ ถ้าบริษัทไม่สามารถทำกำไรได้จากการลงทุนแค่ช่วงเวลาเดียว จะมีโอกาสปิดตัวที่สูงมาก (อันนี้ไมนับพวกการเอาแต้มไปขาย-ซื้อต่อนะ อันนั้นผิดกฎหมายครับ)
ธุรกิจเครือข่ายทั้งหมดทั้งมวล มีวัตถุประสงค์เดียวเพื่อนำ Cost ต่างๆที่เกิดจากการ โฆษณา + เปอร์เซ็นต์จากค้าส่งค้าปลีก มาเปลี่ยนให้เป็นเงินของบริษัทเครือข่ายที่จะนำมาแบ่งให้กับบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละบริษัทมีนโยบายของรายได้ที่แตกต่างกันไป (ตามที่ผมเคยเขียนบันทึก + Post ที่ผ่านมา)
ในขั้นต่อมาหลังจากที่ใช้สินค้าบอกต่อเป็นระยะๆ แล้ว เมื่อมีเครือข่ายผู้บริโภคจำนวนมากแล้ว ทีนี้จะดูแลเครือข่ายนั้นได้อย่างไรล่ะ ?? หน้าที่ต่อมาคือการเข้าไปทำหน้าที่ ดูแลเครือข่ายเหล่านั้นให้สามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งความรู้และทักษะที่ใช้มักจะเป็นแนวการบริหารจัดการ หรือหลักการตลาด หรือแม้กระทั่งการจัดการดูแลคน (Human Resource) เพื่อให้เครือข่ายของตัวเองนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่น่าสงสัยเลยว่า หลายคนทำไมช่วงแรกถึงทำงานด้านการแนะนำสินค้าหรือหาเครือข่ายได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่พอทำไปสักระยะกลับกลายเป็นว่าทำงานหนักขึ้น เหนื่อยขึ้น จัดการยากขึ้น บางคนก็ท้อไปในช่วงนี้เลย แต่บางคนที่มองภาพธุรกิจออก มีแนวคิดของธุรกิจอยู่ในตัวเอง ก็ยังสามารถดูแลและจัดการได้ เสมือนทำหน้าที่ผู้บริหารนั่นแหละ
สรุปว่า ธุรกิจเครือข่าย คุณต้องมองให้มันเป็นธุรกิจให้ได้ก่อน มองตั้งแต่เริ่มต้นว่าทำงานลักษณะไหน อย่างไร แล้วต่อมาจะเกิดการทำงานลักษณะไหน อย่างไร ถ้าคุณมองไม่ออก หรือเห็นแค่ว่าทำงานนี้แล้วจะได้เงินล้านมากองตรงหน้า ก็คิดผิดถนัดแล้วครับ แล้วเตรียมล้มเหลวได้ง่ายๆเลย
ปล.ถ้าใครติดตามบันทึกผมที่ผ่านมาก็จะรู้ครับว่า ผมรู้สึกอะไรอย่างไรบ้างกับ ธุรกิจเครือข่าย และมองมันที่ทุกมุมจริงๆ โดยมักจะมีกลุ่มที่ Discuss ร่วมกันอยู่เสมอ ผมว่า สังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเนี่ยแหละ จะเป็นตัวพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ (แม้ว่าอาจจะไม่ได้รับรางวัลอะไรก็ตามอ่านะ)
ผมจะบันทึกเหตุการณ์ + บวกประสบการณ์ เอาไว้ด้วยครับ ติดตามได้ที่ Facebook ผมนะครับ
https://www.facebook.com/rakrok12/notes
ธุรกิจเครือข่าย (MLM) #2 - ชื่อก็บอกแล้วว่าธุรกิจ
http://ppantip.com/topic/33152010
ขอมาต่อในตอนที่ 2 เลยนะครับ
จากตอนแรกที่บอกว่า Concept ของธุรกิจเครือข่ายหัวใจอยู่ที่ สินค้า กับคำว่า "ใช้ดีบอกต่อ" หลายคนลืมจุดนี้แล้วไปเน้นแค่ว่า "ทำยังไงให้ขายได้หรือได้คนเพิ่ม" ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับว่า แผนของธุรกิจของบริษัทต่างๆ นั้น จะเอื้อให้เกิดพฤติกรรมด้านไหนมากกว่า
ธุรกิจที่เน้นทำยอดเพื่อให้เกิดค่าคอมมิชชั่นเป็นขั้นบันได แผนลักษณะนี้จะต้องทำยอดซื้อของสายงานให้ได้ครบจำนวนตามที่บริษัทกำหนดไว้ จึงจะได้ค่าคอมมิชชั่นที่มากขึ้น จุดเด่นของระบบนี้คือเพื่อให้เกิดการสร้างยอดได้เป็นเป้าหมายตลอดเวลา แต่แน่นอนว่าจุดด้อยคือการตั้งเป้าหมายด้วยยอดลักษณะนั้นอาจจะทำให้เกิดความกดดันได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับว่า นโยบายของกลุ่มนั้นจะเป็นลักษณะใด
ธุรกิจที่เน้นการสร้างเครือข่ายผู้ใช้สินค้าเพื่อให้เกิดค่าคอมมิชชั่นจากเครือข่ายผู้ใช้ แผนลักษณะนี้จะต้องหาเครือข่ายผู้บริโภคให้ได้อย่างต่อเนื่อง บางบริษัทไม่ได้สร้างให้เกิดรายได้ขึ้นจากตัวเอง (ถึงแม้ว่าตัวเองจะใช้สินค้าแค่ไหนก็ตาม มันไม่ได้ทำให้เกิดผลตอบแทนใดๆ กับตัวเอง) จุดเด่นของระบบนี้คือไม่มีความกดดันในเรื่องการทำยอดให้ถึงขั้นใดๆ เครือข่ายซื้อเท่าไหร่ ก็ได้ผลตอบแทนเท่านั้นเลย จุดด้อยของระบบนี้แน่นอนว่าเราจะไม่มีทางได้ผลตอบแทนจากตัวเองนอกจากผลตอบแทนจากเครือข่าย ดังนั้นถ้าต้องการการเติบโตของธุรกิจมันจำเป็นต้องหาเครือข่ายให้ได้อย่างต่อเนื่อง อาจะมีความเสี่ยงเมื่อบริษัทเปิดตัวมานานแล้ว
ธุรกิจที่เน้นการลงทุนกับธุรกิจเพื่อสร้างผลตอบแทน แผนลักษณะนี้อาจจะคล้ายการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมหรือหุ้น เพียงแต่เพิ่มความเป็นเครือข่ายในเรื่องการได้ % จากการที่เครือข่ายที่แนะนำร่วมลงทุนด้วย จุดเด่นของระบบนี้คือภาพที่ชัดเจนและง่ายกว่าแผนอื่นๆ เนื่องด้วยผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเรื่องการลงทุนเป็นปกติอยู่แล้ว จุดด้อยของระบบนี้ที่ชัดเจนมากที่สุดคือ การลงทุนของบริษัทนี้นั่นจะต้องแทบพิจารณาเสมือนเป็นกองทุนหนึ่งๆ คือจะต้องพิจารณาเรื่องแผนการลงทุน แผนการนำเงินไปใช้ทำอะไรบ้าง มีความเสี่ยงแค่ไหน ซึ่งถ้าจะต้องมาวิเคราะห์กันขนาดนี้ เล่นหุ้นหรือกองทุนเลยก็ง่ายดีนะ ความเสี่ยงของระบบนี้คือ ถ้าบริษัทไม่สามารถทำกำไรได้จากการลงทุนแค่ช่วงเวลาเดียว จะมีโอกาสปิดตัวที่สูงมาก (อันนี้ไมนับพวกการเอาแต้มไปขาย-ซื้อต่อนะ อันนั้นผิดกฎหมายครับ)
ธุรกิจเครือข่ายทั้งหมดทั้งมวล มีวัตถุประสงค์เดียวเพื่อนำ Cost ต่างๆที่เกิดจากการ โฆษณา + เปอร์เซ็นต์จากค้าส่งค้าปลีก มาเปลี่ยนให้เป็นเงินของบริษัทเครือข่ายที่จะนำมาแบ่งให้กับบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละบริษัทมีนโยบายของรายได้ที่แตกต่างกันไป (ตามที่ผมเคยเขียนบันทึก + Post ที่ผ่านมา)
ในขั้นต่อมาหลังจากที่ใช้สินค้าบอกต่อเป็นระยะๆ แล้ว เมื่อมีเครือข่ายผู้บริโภคจำนวนมากแล้ว ทีนี้จะดูแลเครือข่ายนั้นได้อย่างไรล่ะ ?? หน้าที่ต่อมาคือการเข้าไปทำหน้าที่ ดูแลเครือข่ายเหล่านั้นให้สามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งความรู้และทักษะที่ใช้มักจะเป็นแนวการบริหารจัดการ หรือหลักการตลาด หรือแม้กระทั่งการจัดการดูแลคน (Human Resource) เพื่อให้เครือข่ายของตัวเองนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่น่าสงสัยเลยว่า หลายคนทำไมช่วงแรกถึงทำงานด้านการแนะนำสินค้าหรือหาเครือข่ายได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่พอทำไปสักระยะกลับกลายเป็นว่าทำงานหนักขึ้น เหนื่อยขึ้น จัดการยากขึ้น บางคนก็ท้อไปในช่วงนี้เลย แต่บางคนที่มองภาพธุรกิจออก มีแนวคิดของธุรกิจอยู่ในตัวเอง ก็ยังสามารถดูแลและจัดการได้ เสมือนทำหน้าที่ผู้บริหารนั่นแหละ
สรุปว่า ธุรกิจเครือข่าย คุณต้องมองให้มันเป็นธุรกิจให้ได้ก่อน มองตั้งแต่เริ่มต้นว่าทำงานลักษณะไหน อย่างไร แล้วต่อมาจะเกิดการทำงานลักษณะไหน อย่างไร ถ้าคุณมองไม่ออก หรือเห็นแค่ว่าทำงานนี้แล้วจะได้เงินล้านมากองตรงหน้า ก็คิดผิดถนัดแล้วครับ แล้วเตรียมล้มเหลวได้ง่ายๆเลย
ปล.ถ้าใครติดตามบันทึกผมที่ผ่านมาก็จะรู้ครับว่า ผมรู้สึกอะไรอย่างไรบ้างกับ ธุรกิจเครือข่าย และมองมันที่ทุกมุมจริงๆ โดยมักจะมีกลุ่มที่ Discuss ร่วมกันอยู่เสมอ ผมว่า สังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเนี่ยแหละ จะเป็นตัวพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ (แม้ว่าอาจจะไม่ได้รับรางวัลอะไรก็ตามอ่านะ)
ผมจะบันทึกเหตุการณ์ + บวกประสบการณ์ เอาไว้ด้วยครับ ติดตามได้ที่ Facebook ผมนะครับ
https://www.facebook.com/rakrok12/notes