Ebola (อีโบลา) เป็นเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันที่เรียกว่า โรคไข้เลือดออก (Viral Hemorrhagic Fevers) เชื้อไวรัส Ebola เป็นโรคที่ก่อความรุนแรงสูงทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการเลือดออก ติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสเลือด เนื้อเยื่อ หรือสิ่งสารคัดหลั่งจากร่างกายของคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ1 อัตราป่วยตายจาก Ebola สูงกว่าร้อยละ 90 ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเฉพาะและยังไม่มีวัคซีน ทำได้เพียงให้การรักษาแบบประคับประคอง2
อีโบลาคืออะไร
อีโบลาเป็นเชื้อไวรัสในวงศ์ Filoviridae สกุล Ebolavirus มี 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Ebola virus (Zaire ebolavirus), Sudan virus (Sudan ebolavirus), Tai Forest virus (Tai Forest ebolavirus), Bundibugyo virus (Bundibugyo ebolavirus) และ Reston virus (Reston ebolavirus) โดยสายพันธุ์ Reston virus ก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นแต่ไม่ก่อโรคในมนุษย์2 โดยแหล่งรังโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มีการพบเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ป่า เช่น ซากลิงชิมแปนซี ลิงกอริลล่าแต่ไม่น่าใช่เป็นแหล่งรังโรค แหล่งรังโรคคาดว่าเป็นค้างคาว3
พื้นที่การระบาด
แถบ แอฟริกากลางและตะวันตก Central and West Africa โดยประเทศที่พบการติดเชื้อคือ กีนี (Guinea) ไนจีเรีย (Nigeria) ไลบีเรีย (Liberia) และเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone)4
ลักษณะของโรค
ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-21 วัน เริ่มจากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร และในบางรายอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย คือ ผื่นแดง ตาแดง สะอึก ไอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก กลืนอาหารลำบาก หรือมีเลือดออก เช่นเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และมีจ้ำเขียวบนผิวหนัง และเมื่อโรคดำเนินไปต่อระยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะร่างกายขาดน้ำและสูญเสียน้ำอย่างเห็นได้ชัด ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น สับสน หมดสติ โดยในสัปดาห์ที่สองของการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจมีการทำงานของอวัยวะในร่างกายล้มเหลวและเสียชีวิตจากภาวะช๊อค1,4
การติดต่อ
ติดต่อโดยตรงจากกับสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น เลือด น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ อวัยวะ น้ำอสุจิ รวมถึงเสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ การสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อสามารถติดต่อมาถึงคนได้ ตลอดจนการสัมผัสกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา แต่อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสอีโบลาไม่สามารถติดต่อโดยทางอากาศหายใจ แต่สามารถติดจากละอองฝอยของน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยแล้วเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือก1,4
สถานการณ์ปัจจุบัน
มีการพัฒนายาซีแมปป์ (ZmappTM) เป็นแอนติบอดี 3 ชนิด เพื่อจับกับโปรตีนของเชื้อไวรัสอีโบลา ยาซีแมปป์ ผลิตโดยบริษัทยา "แมปป์ ไบโอฟาร์มาซูคติคอล" ในเมืองซานดิเอโก้ของสหรัฐ ยังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ผ่านการทดลองเฉพาะกับลิง ได้นำไปช่วยเหลือให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขชาวอเมริกัน 2 คน ที่มีอาการดีขึ้น และให้กับบาทหลวงในประเทศไลบีเรีย5,6 นอกจากนั้นมีงานวิจัยเช่น งานวิจัย BCX4430 ที่สามารถยับยั้งการเจริญและเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสอีโบลาในหลอดทดลอง7 หรือยาฟาวิพิราเวีย (favipiravir; T-705) ที่สามารถยับยั้งการสร้างเชื้อไวรัสอีโบลาได้ในหลอดทดลองและในหนู8 และยังมียาในงานวิจัยอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามต้องได้รับการศึกษาในคลินิกต่อไปเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยในมนุษย์
วัคซีนและการรักษา
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน2หรือการรักษาที่จำเพาะ ใช้การรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยมักเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ จึงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาสมดุลของสารน้ำเป็นสิ่งสำคัญ1
คำแนะนำการป้องกันการติดเชื้ออีโบลา1-4
หลีกเลี่ยงใกล้ชิด สัมผัสผู้ป่วยหรือผู้ที่อาการดังกล่าว รวมถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย หลีกเลียงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่นเลือด จากผู้ป่วยหรือศพ หากจำเป็นให้สวมใส่ถุงมือหากต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่สงสัยติดเชื้อ สวมใส่ผ้าปิดปากสำหรับผู้ที่สงสัยติดเชื้อและผู้ที่ต้องสัมผัสผู้ที่สงสัยติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือรับประทานสัตว์ป่าตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิงและค้างคาว ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในน้ำอสุจิ3 เชื้ออีโบลาสามารถถูกกำจัดได้ด้วยความร้อน แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อที่ความเข้มข้นเหมาะสม ดังนั้นหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เฝ้าระวังเป็นพิเศษในการเดินทางไปประเทศเฝ้าระวัง หากมีอาการที่สงสัย ให้รีบแจ้งแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง1,3
เหตุการณ์ ไวรัส EBOLA โรคระบาดที่ฆ่าชีวิตหลายพันคน ในแอฟฟิริกา ยังมีอีกหลายมุมที่น่ากลัวของโรคระบาดห่าใหญ่นี้ เมื่อทั้งประเทศตกอยู่ในสภาวะหวาดระแวง
เด็กน้อยยืนข้างกำแพงสีแดงที่ถูกพ่นตัวหนังสือว่า EBOLA บ่งบอกให้เห็นว่าท้นทีว่าวิถีชีวิตของพวกเขาในพื้นที่นี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อเช็คว่าใครเป็นไข้หวัด
ผู้เป็นแม่เฝ้ารอการรักษาของหมอที่มีจำนวนน้อยนิด
ผู้ป่วยผู้หญิง ผู้ชาย ทารก เด็ก และ คนชรา ต่างเสียชีวิตกันอย่างใบไม้ล่วงในเหตุการณ์ครั้งนี้
รถของหน่วยรักษาออกไปจัดการกับศพและผู้ป่วยที่ต้องคอยดูแลตลอดเวลา ด้วยผู้ป่วยที่มีจำนวนมหาศาล
ทั้งบุคลากรและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆขาดแคลนไม่เพียงพอไม่ว่าจะเสียชีวิตในที่ไหนทุกที่ต่างเฝ้าระวังกลัว EBOLA หวาดระแวงไปทั้งประเทศ
เด็กน้อยต่างถูกสอนให้ใช้ชีวิตอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อไวรัสร้าย
น้ำเป็นทั้งแหล่งระบาดใหญ่ และสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต น้ำสะอาดถูกแยกไว้อย่างดีและใช้อย่างจำกัดเท่าที่จำเป็น
รองเท้าบูทของหน่วยอาสาที่เข้าไปรับผู้ป่วยภายในชุมชนต่างต้องถูกทำความสะอาดป้องกันการติดเชื้อภายในบ้านพักกักกันอย่างดี
สภาพศพหลายศพถูกทิ้งตามถนนหนทาง บ้างเพราะป่วยแต่บ้างก็เพราะประท้วงการไม่ได้เงินจากรัฐบาล
เด็กน้อยนอนป่วยบนพื้นรอความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย
การทำงานของหน่วยอาสาไปทุกหนทุกแห่งทั้งในชุมชน ถนน และในป่า
การทำงานเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากผู้ป่วยบางรายอยุ่ในชุมชนแออัดทำให้ไวรัสแผ่ระบาดได้สูง
EBOLA ประมวลภาพบางส่วนของโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก
อีโบลาคืออะไร
อีโบลาเป็นเชื้อไวรัสในวงศ์ Filoviridae สกุล Ebolavirus มี 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Ebola virus (Zaire ebolavirus), Sudan virus (Sudan ebolavirus), Tai Forest virus (Tai Forest ebolavirus), Bundibugyo virus (Bundibugyo ebolavirus) และ Reston virus (Reston ebolavirus) โดยสายพันธุ์ Reston virus ก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นแต่ไม่ก่อโรคในมนุษย์2 โดยแหล่งรังโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มีการพบเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ป่า เช่น ซากลิงชิมแปนซี ลิงกอริลล่าแต่ไม่น่าใช่เป็นแหล่งรังโรค แหล่งรังโรคคาดว่าเป็นค้างคาว3
พื้นที่การระบาด
แถบ แอฟริกากลางและตะวันตก Central and West Africa โดยประเทศที่พบการติดเชื้อคือ กีนี (Guinea) ไนจีเรีย (Nigeria) ไลบีเรีย (Liberia) และเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone)4
ลักษณะของโรค
ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-21 วัน เริ่มจากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร และในบางรายอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย คือ ผื่นแดง ตาแดง สะอึก ไอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก กลืนอาหารลำบาก หรือมีเลือดออก เช่นเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และมีจ้ำเขียวบนผิวหนัง และเมื่อโรคดำเนินไปต่อระยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะร่างกายขาดน้ำและสูญเสียน้ำอย่างเห็นได้ชัด ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น สับสน หมดสติ โดยในสัปดาห์ที่สองของการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจมีการทำงานของอวัยวะในร่างกายล้มเหลวและเสียชีวิตจากภาวะช๊อค1,4
การติดต่อ
ติดต่อโดยตรงจากกับสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น เลือด น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ อวัยวะ น้ำอสุจิ รวมถึงเสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ การสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อสามารถติดต่อมาถึงคนได้ ตลอดจนการสัมผัสกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา แต่อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสอีโบลาไม่สามารถติดต่อโดยทางอากาศหายใจ แต่สามารถติดจากละอองฝอยของน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยแล้วเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือก1,4
สถานการณ์ปัจจุบัน
มีการพัฒนายาซีแมปป์ (ZmappTM) เป็นแอนติบอดี 3 ชนิด เพื่อจับกับโปรตีนของเชื้อไวรัสอีโบลา ยาซีแมปป์ ผลิตโดยบริษัทยา "แมปป์ ไบโอฟาร์มาซูคติคอล" ในเมืองซานดิเอโก้ของสหรัฐ ยังอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา ผ่านการทดลองเฉพาะกับลิง ได้นำไปช่วยเหลือให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขชาวอเมริกัน 2 คน ที่มีอาการดีขึ้น และให้กับบาทหลวงในประเทศไลบีเรีย5,6 นอกจากนั้นมีงานวิจัยเช่น งานวิจัย BCX4430 ที่สามารถยับยั้งการเจริญและเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสอีโบลาในหลอดทดลอง7 หรือยาฟาวิพิราเวีย (favipiravir; T-705) ที่สามารถยับยั้งการสร้างเชื้อไวรัสอีโบลาได้ในหลอดทดลองและในหนู8 และยังมียาในงานวิจัยอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามต้องได้รับการศึกษาในคลินิกต่อไปเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยในมนุษย์
วัคซีนและการรักษา
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน2หรือการรักษาที่จำเพาะ ใช้การรักษาแบบประคับประคอง ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยมักเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ จึงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาสมดุลของสารน้ำเป็นสิ่งสำคัญ1
คำแนะนำการป้องกันการติดเชื้ออีโบลา1-4
หลีกเลี่ยงใกล้ชิด สัมผัสผู้ป่วยหรือผู้ที่อาการดังกล่าว รวมถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย หลีกเลียงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่นเลือด จากผู้ป่วยหรือศพ หากจำเป็นให้สวมใส่ถุงมือหากต้องสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ที่สงสัยติดเชื้อ สวมใส่ผ้าปิดปากสำหรับผู้ที่สงสัยติดเชื้อและผู้ที่ต้องสัมผัสผู้ที่สงสัยติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หรือรับประทานสัตว์ป่าตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิงและค้างคาว ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในน้ำอสุจิ3 เชื้ออีโบลาสามารถถูกกำจัดได้ด้วยความร้อน แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อที่ความเข้มข้นเหมาะสม ดังนั้นหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เฝ้าระวังเป็นพิเศษในการเดินทางไปประเทศเฝ้าระวัง หากมีอาการที่สงสัย ให้รีบแจ้งแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง1,3
เด็กน้อยยืนข้างกำแพงสีแดงที่ถูกพ่นตัวหนังสือว่า EBOLA บ่งบอกให้เห็นว่าท้นทีว่าวิถีชีวิตของพวกเขาในพื้นที่นี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อเช็คว่าใครเป็นไข้หวัด
ผู้เป็นแม่เฝ้ารอการรักษาของหมอที่มีจำนวนน้อยนิด
ผู้ป่วยผู้หญิง ผู้ชาย ทารก เด็ก และ คนชรา ต่างเสียชีวิตกันอย่างใบไม้ล่วงในเหตุการณ์ครั้งนี้
รถของหน่วยรักษาออกไปจัดการกับศพและผู้ป่วยที่ต้องคอยดูแลตลอดเวลา ด้วยผู้ป่วยที่มีจำนวนมหาศาล
ทั้งบุคลากรและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆขาดแคลนไม่เพียงพอไม่ว่าจะเสียชีวิตในที่ไหนทุกที่ต่างเฝ้าระวังกลัว EBOLA หวาดระแวงไปทั้งประเทศ
เด็กน้อยต่างถูกสอนให้ใช้ชีวิตอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อไวรัสร้าย
น้ำเป็นทั้งแหล่งระบาดใหญ่ และสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต น้ำสะอาดถูกแยกไว้อย่างดีและใช้อย่างจำกัดเท่าที่จำเป็น
รองเท้าบูทของหน่วยอาสาที่เข้าไปรับผู้ป่วยภายในชุมชนต่างต้องถูกทำความสะอาดป้องกันการติดเชื้อภายในบ้านพักกักกันอย่างดี
สภาพศพหลายศพถูกทิ้งตามถนนหนทาง บ้างเพราะป่วยแต่บ้างก็เพราะประท้วงการไม่ได้เงินจากรัฐบาล
เด็กน้อยนอนป่วยบนพื้นรอความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย
การทำงานของหน่วยอาสาไปทุกหนทุกแห่งทั้งในชุมชน ถนน และในป่า
การทำงานเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากผู้ป่วยบางรายอยุ่ในชุมชนแออัดทำให้ไวรัสแผ่ระบาดได้สูง