ในช่วงฤดูฝน มีผู้คนมากมายต้องล้มป่วยกันหลายคน เพราะเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่พัดผ่านมากับลมฝน ซึ่งมีอยู่โรคหนึ่งที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน และมีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นั่นคือ โรคมือ เท้า ปาก (Hand foot mouth disease) แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นแค่กับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร ?
เกิดจากการติดเชื้อในตระกูลเอนเทอโรไวรัส ซึ่งประกอบไปด้วยหลายสายพันธุ์ โดยส่วนมากจะเกิดจากสายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ16 (Coxsackie A16 Virus), สายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ 6 (Coxsackievirus A6), สายพันธุ์ไวรัสเริม (Herpes simplex virus, HSV) แต่สายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงจริง ๆ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus71, EV71) ที่มักทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะระบบประสาท โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่สามารถเป็นได้เช่นกัน แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่าหรืออาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่ออย่างไร ?
ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, ตุ่ม, ผิวหนัง หรืออุจจาระ เป็นต้น โดยสามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ การรับประทานอาหาร และดื่มน้ำร่วมภาชนะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรคมือ เท้า ปาก จึงมักระบาดในพื้นที่โรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยระยะฟักตัวของโรคนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 6 วันหลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
อาการของโรคมือ เท้า ปาก
- มีไข้ขึ้นสูง, ครั่นเนื้อครั่นตัว
- เกิดแผลที่ปากและผิวหนัง โดยส่วนมากจะพบที่มือกับเท้า บางครั้งอาจพบที่บริเวณก้นของเด็ก
- ซึม, ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ไอ และมีเสมหะเยอะ
- หน้าซีด, หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย
- เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อกระตุก, แขนและขาอ่อนแรง, ชัก, กรอกลูกตาผิดปกติ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือ เท้า ปาก
- ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองหรือเยื่อบุสมองอักเสบ
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน
- ระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
- มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
- เกิดภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำน้อย เพราะเจ็บแผลภายในช่องปาก
การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก
ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการว่าเข้าข่ายโรคมือ เท้า ปากด้วยตนเองได้ โดยส่วนมากอาการจะทุเลาลง และหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะสอบถามประวัติหรืออาการของผู้ป่วย และอาจพิจารณาวิธีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้
- การเพาะเชื้อไวรัส
- การส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระ โดยแพทย์จะนำตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระของผู้ป่วย ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัส
- การตรวจหายีนของเชื้อไวรัสด้วยวิธีการ PCR (Polymerase Chain Reaction)
โรคมือ เท้า ปาก มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
- การรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินกับเด็ก และควรให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยรายที่จำเป็น
- ทายาแก้ปวด หากเกิดแผลภายในช่องปาก
- รับประทานไอศกรีม หรือเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลภายในช่องปากได้
- หากผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หากเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
- ใช้ทิชชูหรือผ้าปิดจมูกทุกครั้งขณะไอหรือจาม
- ทำความสะอาดพื้นที่, ภาชนะ หรือของเล่นเด็กบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย
- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งของ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน อาหารรสจัด หรืออาหารที่เป็นกรด
- หากมีแผลในช่องปาก ให้รับประทานอาหารเหลวแทน เพื่อลดการบดเคี้ยวอาหาร
- หากมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ทันที
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
ต้องพูดเลยว่าโรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก เพราะอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทางที่ดีควรแนะนำวิธีในการดูแลสุขอนามัยให้กับบุตรหลานของท่าน และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากมีบุตรหลานท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนควรระวัง "โรคมือ เท้า ปาก" ไว้ให้ดี
- เกิดแผลที่ปากและผิวหนัง โดยส่วนมากจะพบที่มือกับเท้า บางครั้งอาจพบที่บริเวณก้นของเด็ก
- ซึม, ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ไอ และมีเสมหะเยอะ
- หน้าซีด, หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย
- เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อกระตุก, แขนและขาอ่อนแรง, ชัก, กรอกลูกตาผิดปกติ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือ เท้า ปาก
- ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองหรือเยื่อบุสมองอักเสบ
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน
- ระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
- มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
- เกิดภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำน้อย เพราะเจ็บแผลภายในช่องปาก
การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก
ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการว่าเข้าข่ายโรคมือ เท้า ปากด้วยตนเองได้ โดยส่วนมากอาการจะทุเลาลง และหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะสอบถามประวัติหรืออาการของผู้ป่วย และอาจพิจารณาวิธีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้
- การเพาะเชื้อไวรัส
- การส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระ โดยแพทย์จะนำตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระของผู้ป่วย ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัส
- การตรวจหายีนของเชื้อไวรัสด้วยวิธีการ PCR (Polymerase Chain Reaction)
โรคมือ เท้า ปาก มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
- การรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินกับเด็ก และควรให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยรายที่จำเป็น
- ทายาแก้ปวด หากเกิดแผลภายในช่องปาก
- รับประทานไอศกรีม หรือเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลภายในช่องปากได้
- หากผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หากเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
- ใช้ทิชชูหรือผ้าปิดจมูกทุกครั้งขณะไอหรือจาม
- ทำความสะอาดพื้นที่, ภาชนะ หรือของเล่นเด็กบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย
- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งของ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน อาหารรสจัด หรืออาหารที่เป็นกรด
- หากมีแผลในช่องปาก ให้รับประทานอาหารเหลวแทน เพื่อลดการบดเคี้ยวอาหาร
- หากมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ทันที
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
ต้องพูดเลยว่าโรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก เพราะอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทางที่ดีควรแนะนำวิธีในการดูแลสุขอนามัยให้กับบุตรหลานของท่าน และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากมีบุตรหลานท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้