โพสท์โดย backo / 18/7/2562
เครดิตภาพ SANOOK.COM
องค์การอนามัยโลกผวาโรคอีโบลาระบาด ประกาศภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังจากคร่าชีวิตคนในคองโกตายไปกว่า 1,600 ศพจากเชื้อไวรัสในกลุ่มไข้เลือดออกที่มาจากสัตว์กัด เกิดไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอ ปวดหัว อาเจียน มีผื่นนูน เลือดออกตามเยื่อบุร่างกายและตับไตล้มเหลว มีโอกาสตายกว่า 50%
18 กรกฎาคม 2562-องค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ให้อีโบลาที่กำลังแพร่ระบาดในสาธารณรัฐคองโก เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) คำนิยามที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนักและมักใช้เฉพาะกับโรคระบาดร้ายแรง
“นี่คือเวลาที่ต้องแจ้งให้โลกทราบล่วงหน้า” ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกระบุในถ้อยแถลง หลังขานรับคำแนะนำจากคณะที่ปรึกษาของเขาให้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติเคยใช้เพียง 4 ครั้ง
ในนั้นรวมถึงเมื่อครั้งที่ไวรัส H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาด, การแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในปี 2014, การแพร่ระบาดของอีโบลาในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 และการระบาดของไวรัสซิกาในปี 2016
สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจขององค์การอนามัยโลก “แม้มันไม่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ความเป็นจริงในพื้นที่สำหรับเหยื่อ หรือการประสานงานตอบสนองต่อสถานการณ์ร่วมกับพันธมิตร แต่เราหวังว่ามันจะช่วยดึงดูดความสนใจของนานาชาติมาสู่วิกฤตนี้” สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศระบุในถ้อยแถลง
คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก ระบุเมื่อปี 2015 ว่าการกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างประเทศควรใช้กับสถานการณ์ที่ “ร้ายแรง, ไม่ปกติหรือไม่อาจคาดหมายได้ มีความเกี่ยวพันด้านสาธารณสุขเลยพรมแดนของประเทศที่ได้รับผลกระทบ และอาจจำเป็นต้องดำเนินการในระดับนานาชาติในทันที”
จนถึงตอนนี้พบผู้เสียชีวิตจากอีโบลาแล้วมากกว่า 1,600 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2561เป็นต้นมา หรือเมื่อครั้งที่ไวรัสอีโบลาเริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดนอร์ทคิวู ของสาธารณรัฐคองโก ก่อนแผ่ลามไปยังจังหวัดอิตูรีที่อยู่ติดกัน
ขอบคุณที่มา:
http://www.thaitribune.org/contents/detail/307?content_id=36030&rand=1563428551&fbclid=IwAR0bbJlm8eLThMHljmXNXCH9wq5CN5pKP7jggfIoYPKgSq4lJkDxgQ22qa0
สกุลของไวรัสอีโบลา Ebolavirus
เป็น 1 ใน 3 ของสกุลที่อยู่ในวงศ์
Filoviridae (filovirus) ของเชื้อไวรัส คือ สกุล
Marburgvirusและ
Cuevavirus ซึ่งไวรัสอีโบลานั้นมี 5 ชนิดคือ
Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
Zaire ebolavirus (EBOV)
Sudan ebolavirus (SUDV)
Reston ebolavirus (RESTV)
Taï Forest ebolavirus (TAFV)
BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด
ทำความรู้จักโรคอีโบลา (Ebola)
ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เราคงเคยได้ยินชื่อโรคโรคหนึ่งที่คนทั้งโลกและสื่อต่างๆให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการระบาดครั้งใหญ่ในกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก (West Africa) ในปี 2014-2016 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10,000 กว่าราย และในเหตุการณ์เดียวกันนี้เอง องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับเหตุการณ์ขึ้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) เพื่ออาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติในการร่วมกันรับมือกับเหตุการณ์ระบาดครั้งนั้น
เรากำลังจะพูดถึง โรคอีโบลา (Ebola) ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะทำความรู้จักกับมัน มาดูกันว่า 9 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคอีโบลามีอะไรกันบ้าง
1 อีโบลา เป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐซาอีร์ (Zaire) ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) หรือเรียกง่ายๆว่า DRC โดยพบว่ามีการระบาดของไข้เลือดออกชนิดหนึ่งในปี 1987 (โดยในขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) ในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับแม่น้ำสายนี้ ซึ่งต่อมาถูกค้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส จึงตั้งชื่อว่า เชื้อไวรัสอีโบลา
2 เชื้อไวรัสอีโบลานี้ ทำให้เกิดการระบาดในแถบประเทศแอฟริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1976 จนกระทั่งในปี 2014 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ Guinea, Liberia และ Sierra Leone เป็นเหตุให้มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานในพื้นที่ด้วยเช่นกัน การระบาดครั้งใหญ่ครั้งนี้เกิดจากระบบการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอรวมไปถึงมีการแพร่กระจายโรคเข้าสู่เขตเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น
3 เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างผลกระทบมากและสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย เนื่องจากเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุด กินเวลาถึง 2 ปี (2014-2016) มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้
4 โรคอีโบลา เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน (Human to human transmission) โดยการสัมผัสเลือกหรือสารคัดหลั่ง (ปัสสาวะ, น้ำลาย, เหงื่อ, อุจจาระ, อาเจียน, น้ำนม หรือน้ำอสุจิ) ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อและ “มีอาการ”ของโรคหรือผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลานั่นหมายความว่า เชื้อจะแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยต้องแสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเชื้ออีโบล่ายังสามารถอยู่ในสารคัดหลั่งบางอย่างได้นาน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสัตว์บางอย่างอาจเป็นรังโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ (Fruit Bat) หรือ ลิง เป็นต้น
รูปร่างหน้าตาของเชื้อไวรัส Ebola. Created by Cynthia Goldsmith, US CDC Public Health Image Library
5 อาการของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยทั่วไปจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจะมีอาการไม่เฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย อาการไข้, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว แต่อาการจะรุนแรงขึ้นมีเลือดออก ตาเหลืองตัวเหลือง การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว ให้สงสัยในผู้ที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาและ/หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ 2-21 วันภายหลังจากสัมผัสกับเชื้อ โรคนี้มีความรุนแรงมาก มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 50%
6 ปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคนี้ การรักษาทำได้เพียงรักษาแบบประคับประคอง การคัดแยกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบลาแล้ว และมีใช้ในบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในพื้นที่ระบาด วัคซีนนี้ยังไม่มีใช้ในคนทั่วไป
7 การป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลาสำหรับคนไทยคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ ซึ่งก็คือไม่ควรเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา หากไม่มีความจำเป็น หรือหากจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งค้างคาวผลไม้ หรือลิง เป็นต้น เพราะหากเราเกิดเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้วเกิดติดเชื้อขึ้นมา แล้วเดินทางกลับมาในประเทศไทย จะมีผลต่อระบบสาธารณสุขในประเทศเราเป็นอย่างมาก
8 ล่าสุดเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) ตั้งแต่กลางปี 2018 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในNorth Kivu and Ituri provinces ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ ดังนั้นนักท่องเที่ยวชาวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) ในช่วงนี้ ซึ่งก็โชคดีที่ประเทศ DRC ไม่ใช่ประเทศที่คนไทยนิยมไปเที่ยว ส่วนใหญ่ถ้าจะไปแถบนั้นมักจะไปรวันดา หรืออูกันดามากกว่า อย่างไรก็ตามควรติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างใกล้ชิด
9 ประเทศไทยมีการประกาศให้โรคอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เพราะโรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มากถ้ามีการระบาดในประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามข่าวการระบาด และมีระบบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
หากเราทราบข้อมูลเบื้องต้นของเชื้อไวรัสตัวนี้แล้ว เราก็จะตระหนักถึงความสำคัญ แต่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกไปครับ เพราะประเทศไทยไม่ได้มีโรคนี้ แค่รู้จักมัน รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเราเองและความปลอดภัยของประเทศเราด้วยครับ
BY DR.TRAVELOGIST
ขอบคุณข้อมูลจาก thaitravelclinic.com
POSTJUNG
เข้าใจ โรคไวรัสอีโบลา อย่างวิทยาศาสตร์
เครดิตภาพ SANOOK.COM
องค์การอนามัยโลกผวาโรคอีโบลาระบาด ประกาศภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังจากคร่าชีวิตคนในคองโกตายไปกว่า 1,600 ศพจากเชื้อไวรัสในกลุ่มไข้เลือดออกที่มาจากสัตว์กัด เกิดไข้สูงเฉียบพลัน เจ็บคอ ปวดหัว อาเจียน มีผื่นนูน เลือดออกตามเยื่อบุร่างกายและตับไตล้มเหลว มีโอกาสตายกว่า 50%
18 กรกฎาคม 2562-องค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ให้อีโบลาที่กำลังแพร่ระบาดในสาธารณรัฐคองโก เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) คำนิยามที่ใช้ไม่บ่อยครั้งนักและมักใช้เฉพาะกับโรคระบาดร้ายแรง
“นี่คือเวลาที่ต้องแจ้งให้โลกทราบล่วงหน้า” ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกระบุในถ้อยแถลง หลังขานรับคำแนะนำจากคณะที่ปรึกษาของเขาให้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) ซึ่งก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหประชาชาติเคยใช้เพียง 4 ครั้ง
ในนั้นรวมถึงเมื่อครั้งที่ไวรัส H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระบาด, การแพร่ระบาดของโรคโปลิโอในปี 2014, การแพร่ระบาดของอีโบลาในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 และการระบาดของไวรัสซิกาในปี 2016
สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจขององค์การอนามัยโลก “แม้มันไม่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ความเป็นจริงในพื้นที่สำหรับเหยื่อ หรือการประสานงานตอบสนองต่อสถานการณ์ร่วมกับพันธมิตร แต่เราหวังว่ามันจะช่วยดึงดูดความสนใจของนานาชาติมาสู่วิกฤตนี้” สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศระบุในถ้อยแถลง
คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก ระบุเมื่อปี 2015 ว่าการกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างประเทศควรใช้กับสถานการณ์ที่ “ร้ายแรง, ไม่ปกติหรือไม่อาจคาดหมายได้ มีความเกี่ยวพันด้านสาธารณสุขเลยพรมแดนของประเทศที่ได้รับผลกระทบ และอาจจำเป็นต้องดำเนินการในระดับนานาชาติในทันที”
จนถึงตอนนี้พบผู้เสียชีวิตจากอีโบลาแล้วมากกว่า 1,600 คน นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2561เป็นต้นมา หรือเมื่อครั้งที่ไวรัสอีโบลาเริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดนอร์ทคิวู ของสาธารณรัฐคองโก ก่อนแผ่ลามไปยังจังหวัดอิตูรีที่อยู่ติดกัน
ขอบคุณที่มา: http://www.thaitribune.org/contents/detail/307?content_id=36030&rand=1563428551&fbclid=IwAR0bbJlm8eLThMHljmXNXCH9wq5CN5pKP7jggfIoYPKgSq4lJkDxgQ22qa0
สกุลของไวรัสอีโบลา Ebolavirus
เป็น 1 ใน 3 ของสกุลที่อยู่ในวงศ์ Filoviridae (filovirus) ของเชื้อไวรัส คือ สกุล Marburgvirusและ Cuevavirus ซึ่งไวรัสอีโบลานั้นมี 5 ชนิดคือ
Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
Zaire ebolavirus (EBOV)
Sudan ebolavirus (SUDV)
Reston ebolavirus (RESTV)
Taï Forest ebolavirus (TAFV)
BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด
ทำความรู้จักโรคอีโบลา (Ebola)
ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เราคงเคยได้ยินชื่อโรคโรคหนึ่งที่คนทั้งโลกและสื่อต่างๆให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการระบาดครั้งใหญ่ในกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก (West Africa) ในปี 2014-2016 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10,000 กว่าราย และในเหตุการณ์เดียวกันนี้เอง องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับเหตุการณ์ขึ้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) เพื่ออาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติในการร่วมกันรับมือกับเหตุการณ์ระบาดครั้งนั้น
เรากำลังจะพูดถึง โรคอีโบลา (Ebola) ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะทำความรู้จักกับมัน มาดูกันว่า 9 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคอีโบลามีอะไรกันบ้าง
1 อีโบลา เป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐซาอีร์ (Zaire) ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) หรือเรียกง่ายๆว่า DRC โดยพบว่ามีการระบาดของไข้เลือดออกชนิดหนึ่งในปี 1987 (โดยในขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) ในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับแม่น้ำสายนี้ ซึ่งต่อมาถูกค้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส จึงตั้งชื่อว่า เชื้อไวรัสอีโบลา
2 เชื้อไวรัสอีโบลานี้ ทำให้เกิดการระบาดในแถบประเทศแอฟริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1976 จนกระทั่งในปี 2014 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ Guinea, Liberia และ Sierra Leone เป็นเหตุให้มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานในพื้นที่ด้วยเช่นกัน การระบาดครั้งใหญ่ครั้งนี้เกิดจากระบบการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอรวมไปถึงมีการแพร่กระจายโรคเข้าสู่เขตเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น
3 เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างผลกระทบมากและสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย เนื่องจากเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุด กินเวลาถึง 2 ปี (2014-2016) มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้
4 โรคอีโบลา เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน (Human to human transmission) โดยการสัมผัสเลือกหรือสารคัดหลั่ง (ปัสสาวะ, น้ำลาย, เหงื่อ, อุจจาระ, อาเจียน, น้ำนม หรือน้ำอสุจิ) ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อและ “มีอาการ”ของโรคหรือผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลานั่นหมายความว่า เชื้อจะแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยต้องแสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเชื้ออีโบล่ายังสามารถอยู่ในสารคัดหลั่งบางอย่างได้นาน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสัตว์บางอย่างอาจเป็นรังโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ (Fruit Bat) หรือ ลิง เป็นต้น
รูปร่างหน้าตาของเชื้อไวรัส Ebola. Created by Cynthia Goldsmith, US CDC Public Health Image Library
5 อาการของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยทั่วไปจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจะมีอาการไม่เฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย อาการไข้, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว แต่อาการจะรุนแรงขึ้นมีเลือดออก ตาเหลืองตัวเหลือง การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว ให้สงสัยในผู้ที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาและ/หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ 2-21 วันภายหลังจากสัมผัสกับเชื้อ โรคนี้มีความรุนแรงมาก มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 50%
6 ปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคนี้ การรักษาทำได้เพียงรักษาแบบประคับประคอง การคัดแยกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบลาแล้ว และมีใช้ในบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในพื้นที่ระบาด วัคซีนนี้ยังไม่มีใช้ในคนทั่วไป
7 การป้องกันเชื้อไวรัสอีโบลาสำหรับคนไทยคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ ซึ่งก็คือไม่ควรเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา หากไม่มีความจำเป็น หรือหากจำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งค้างคาวผลไม้ หรือลิง เป็นต้น เพราะหากเราเกิดเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้วเกิดติดเชื้อขึ้นมา แล้วเดินทางกลับมาในประเทศไทย จะมีผลต่อระบบสาธารณสุขในประเทศเราเป็นอย่างมาก
8 ล่าสุดเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) ตั้งแต่กลางปี 2018 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยเฉพาะในNorth Kivu and Ituri provinces ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดได้ ดังนั้นนักท่องเที่ยวชาวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) ในช่วงนี้ ซึ่งก็โชคดีที่ประเทศ DRC ไม่ใช่ประเทศที่คนไทยนิยมไปเที่ยว ส่วนใหญ่ถ้าจะไปแถบนั้นมักจะไปรวันดา หรืออูกันดามากกว่า อย่างไรก็ตามควรติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างใกล้ชิด
9 ประเทศไทยมีการประกาศให้โรคอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เพราะโรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มากถ้ามีการระบาดในประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามข่าวการระบาด และมีระบบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
หากเราทราบข้อมูลเบื้องต้นของเชื้อไวรัสตัวนี้แล้ว เราก็จะตระหนักถึงความสำคัญ แต่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกไปครับ เพราะประเทศไทยไม่ได้มีโรคนี้ แค่รู้จักมัน รู้วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเราเองและความปลอดภัยของประเทศเราด้วยครับ
BY DR.TRAVELOGIST
ขอบคุณข้อมูลจาก thaitravelclinic.com
POSTJUNG