อาสาสมัครชาวเฮติถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยรัฐบาลเฮติอ้างถึงผลกระทบอันเลวร้ายจากโรคอื่นๆ ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตกแห่งนี้
ถ้อยแถลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมถูกเผยแพร่ หลังจากมีข่าวปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ว่า องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังรับอาสาสมัครเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา
ในเอกสารที่ลงวันที่ 2 ตุลาคม รัฐมนตรีจาก 3 กระทรวงได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้หน่วยงานใดก็ตามจัดการรับสมัครอาสาสมัครชาวเฮติ รวมถึงหน่วยงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่อการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาของยูเอ็น (UNMEER)
รัฐมนตรีทั้งสามเรียกร้องให้ “พลเมืองทุกคนพึงมีสามัญสำนึก เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์อื่นๆ ที่บีบคั้นตึงเครียดกว่าสิ่งที่พวกเราเคยประสบเมื่อไม่นานมานี้”
การแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคได้เริ่มลุกลามในเฮติเมื่อ 4 ปีก่อน และในปีนี้ก็ยังมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ชิคุนกุนยา เป็นเหตุให้มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อหลายหมื่นคน
นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2010 การแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคในเฮติได้คร่าชีวิตประชาชนไป 8,500 ราย และทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 700,000 คน โดยเชื้อมรณะชนิดนี้อาจถูกนำเข้ามาโดยกองกำลังรักษาสันติภาพชาวเนปาลที่เข้าประจำการใกล้แม่น้ำสายหลักแห่งหนึ่ง
เชื้ออหิวาตกโรคซึ่งไม่เคยพบในเฮติเลยในรอบเกือบ 100 ปีก่อนจะมาระบาดหนักครั้งนี้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตได้ และเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากสุขอนามัยที่ย่ำแย่
เลเนอร์ เรนัวด์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเฮติ อธิบายว่า ถ้อยแถลงฉบับนี้เป็น “คำเตือน” และเสริมว่า “นี่เป็นประเด็นด้านสาธารณสุขและความมั่นคงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส (อีโบลา) ในเฮติ”
เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขออกมาแนะนำว่า หน่วยงานนานาชาติควร “ระงับการผลัดเปลี่ยนสมาชิกที่มาจากประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสอีโบลา” รวมถึง กินี , เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย
ฟลอเรนซ์ ดูเปอร์วัล รัฐมนตรีสาธารณสุขเฮติ กล่าวว่า การประกาศครั้งนี้มีขึ้นเพื่อ “ทำให้พลเมืองของเรากลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้งหนึ่ง มันอาจเข้มงวดเกินความจำเป็น แต่เมื่อคิดถึงพลเมืองผู้ที่บอบช้ำอย่างหนักหลังจากผ่านพ้นภัยพิบัติแผ่นดินไหว , อหิวาตกโรค และชิคุนกุนยาแล้ว เราไม่อาจสร้างบาดแผลเพิ่มเติมได้อีก”
http://www.i-newsmedia.net/idp/node/7047
เฮติสั่งห้าม “พลเมือง” ร่วมภารกิจต่อสู้ “อีโบลา” ของยูเอ็น
อาสาสมัครชาวเฮติถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยรัฐบาลเฮติอ้างถึงผลกระทบอันเลวร้ายจากโรคอื่นๆ ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตกแห่งนี้
ถ้อยแถลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมถูกเผยแพร่ หลังจากมีข่าวปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ว่า องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังรับอาสาสมัครเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา
ในเอกสารที่ลงวันที่ 2 ตุลาคม รัฐมนตรีจาก 3 กระทรวงได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้หน่วยงานใดก็ตามจัดการรับสมัครอาสาสมัครชาวเฮติ รวมถึงหน่วยงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่อการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาของยูเอ็น (UNMEER)
รัฐมนตรีทั้งสามเรียกร้องให้ “พลเมืองทุกคนพึงมีสามัญสำนึก เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์อื่นๆ ที่บีบคั้นตึงเครียดกว่าสิ่งที่พวกเราเคยประสบเมื่อไม่นานมานี้”
การแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคได้เริ่มลุกลามในเฮติเมื่อ 4 ปีก่อน และในปีนี้ก็ยังมีการระบาดของเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ชิคุนกุนยา เป็นเหตุให้มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อหลายหมื่นคน
นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2010 การแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคในเฮติได้คร่าชีวิตประชาชนไป 8,500 ราย และทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 700,000 คน โดยเชื้อมรณะชนิดนี้อาจถูกนำเข้ามาโดยกองกำลังรักษาสันติภาพชาวเนปาลที่เข้าประจำการใกล้แม่น้ำสายหลักแห่งหนึ่ง
เชื้ออหิวาตกโรคซึ่งไม่เคยพบในเฮติเลยในรอบเกือบ 100 ปีก่อนจะมาระบาดหนักครั้งนี้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะร่างกายขาดน้ำและเสียชีวิตได้ และเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากสุขอนามัยที่ย่ำแย่
เลเนอร์ เรนัวด์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเฮติ อธิบายว่า ถ้อยแถลงฉบับนี้เป็น “คำเตือน” และเสริมว่า “นี่เป็นประเด็นด้านสาธารณสุขและความมั่นคงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส (อีโบลา) ในเฮติ”
เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขออกมาแนะนำว่า หน่วยงานนานาชาติควร “ระงับการผลัดเปลี่ยนสมาชิกที่มาจากประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสอีโบลา” รวมถึง กินี , เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย
ฟลอเรนซ์ ดูเปอร์วัล รัฐมนตรีสาธารณสุขเฮติ กล่าวว่า การประกาศครั้งนี้มีขึ้นเพื่อ “ทำให้พลเมืองของเรากลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้งหนึ่ง มันอาจเข้มงวดเกินความจำเป็น แต่เมื่อคิดถึงพลเมืองผู้ที่บอบช้ำอย่างหนักหลังจากผ่านพ้นภัยพิบัติแผ่นดินไหว , อหิวาตกโรค และชิคุนกุนยาแล้ว เราไม่อาจสร้างบาดแผลเพิ่มเติมได้อีก”
http://www.i-newsmedia.net/idp/node/7047