เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2557 ไวรัสอีโบลา หนึ่งในเชื้อไวรัสที่รุนแรงที่สุดในโลก กำลังแพร่ระบาดในแถบพื้นที่ป่าทางตอนใต้ของประเทศกินี ทวีปแอฟริกาในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 70 ราย ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านต่างหวั่นวิตกว่าเชื้อจะแพร่เข้าสู่ภายในประเทศ
เชื้อไวรัสอีโบลาซึ่งส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีเลือดไหลจนตายได้แพร่ระบาดในประเทศกีนี ประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 70 ราย ซึ่งรวมถึงชาย 1 คนที่ถูกนำตัวมารักษาที่กรุงโคนาครี่ เมืองหลวงของประเทศ ทำให้หวั่นกันว่าเชื้อนี้อาจแพร่ไปยังประชากร 2 ล้านคนในเมืองหลวง และยังอาจเข้าไประบาดภายในสนามบินนานาชาติ กระจายพื้นที่การแพร่เชื้อไปทั่วทวีปได้
ขณะนี้ประชาชนในเมืองหลวงกำลังอยู่ในความสับสนวุ่นวายหลังทางการประกาศผ่านโทรทัศน์ว่ามีผู้เสียชีวิตในเมือง โดยต่างก็บอกว่า ผ่านมา 2 วันแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงต้องพึ่งตัวเอง ไม่มีใครมาช่วยเหลือ พวกเขาต้องการให้นานาชาติยื่นมือเข้ามาช่วย
เบื้องต้นทางทีมแพทย์ได้เดินทางด้วยเท้าไปยังหมู่บ้านที่ได้รับรายงานการระบาด ขณะที่ความช่วยเหลือจากนานาชาติพยายามที่จะให้ความรู้กับชาวกินีถึงสาเหตุ อาการ ลักษณะการระบาดของโลก รวมทั้งแนะนำวิธีการสังเกตผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จากยูนิเซฟก็ได้จัดส่งคลอรีน สบู่ และถุงมือไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อป้องกันและฆ่าเชื้อแล้ว
จนถึงขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อในกินีแล้ว 110 ราย และมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 90 ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างไลบีเรียและเซียร่าลีโอนก็มีผู้ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้อแล้วเช่นกัน
โรคอีโบลาทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้สูง ปวดหัว รู้สึกอ่อนแรงคล้ายกับโรคมาลาเรีย จากนั้นผู้ป่วยจะมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยจากโรคนี้
นายเรเน่ ลามาห์ รัฐมนตรีสาธารณสุขกินี ประกาศเตือนประชาชนให้เลิกรับประทานและขายค้างคาว เพราะเป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในภาคใต้ของกินี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ไปแล้วอย่างน้อย 62 คน และยังมีรายงานการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกันในประเทศเพื่อนบ้านคือ ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน
เชื้อไวรัสอีโบลาจะติดต่อด้วย การสัมผัส โดยขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกันหรือการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ องค์การอนามัยโลกระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้ออยู่ระหว่าง 25-90% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสตัวนี้ อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลาคือ มีเลือด ออกในอวัยวะภายในและภายนอก ร่างกาย ท้องร่วงและอาเจียนอย่างหนัก นับเป็นครั้งแรกที่มีเชื้อไวรัสอีโบลาระบาดในกินี
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบรรเทาทุกข์ในกินีกำลังหาทางควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสมรณะอีโบลาเป็นครั้งแรกในแอฟริกาตะวันตก ขณะที่ไลบีเรียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านมีรายงานพบผู้ต้อง สงสัยติดเชื้อรายแรก และหากได้รับการยืนยันจะเป็นครั้งแรกที่เชื้อไวรัสแพร่ไปยังประเทศอื่นนอกจากป่าทางตอนใต้ของ กินี ซึ่งมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 คน โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนมีการระบาดในยูกันดาและคองโก ซึ่งอยู่ห่างจากกินีหลายพันกิโลเมตร สำหรับค้างคาวที่ชาวกินีนิยมรับประทานส่วนใหญ่นำมาต้มยำหรือย่างกินแกล้มกับสุรา
ส่วนที่ประเทศแคนาดา นางเดนิส เวอร์เกอร์ ผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขในรัฐซัสแคตเชวัน ทางตะวันตกของแคนาดา กล่าวว่า นักเดินทางรายหนึ่งที่เดินทางมาจากแถบแอฟริกาตะวันตกกำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสมรณะอีโบลา ผู้ป่วยดังกล่าวอาศัยอยู่ในไลบีเรีย และปรากฏอาการหลังเดินทางมาถึงแคนาดา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยดังกล่าวถูกแยกตัวไว้แล้ว และกำลังรอผลการตรวจ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ วันที่ 27 มีนาคม 2557
http://www.hfocus.org/content/2014/03/6788#sthash.ODiQMiiW.dpuf
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=716812
ใครทำงานสนามบิน ด่านตรวจต่างๆ ระวังนิดนึง...เชื้ออีโบลาแพร่ระบาดแถวๆแอฟริกา (อีกแล้ว)
เชื้อไวรัสอีโบลาซึ่งส่งผลให้ผู้ติดเชื้อมีเลือดไหลจนตายได้แพร่ระบาดในประเทศกีนี ประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 70 ราย ซึ่งรวมถึงชาย 1 คนที่ถูกนำตัวมารักษาที่กรุงโคนาครี่ เมืองหลวงของประเทศ ทำให้หวั่นกันว่าเชื้อนี้อาจแพร่ไปยังประชากร 2 ล้านคนในเมืองหลวง และยังอาจเข้าไประบาดภายในสนามบินนานาชาติ กระจายพื้นที่การแพร่เชื้อไปทั่วทวีปได้
ขณะนี้ประชาชนในเมืองหลวงกำลังอยู่ในความสับสนวุ่นวายหลังทางการประกาศผ่านโทรทัศน์ว่ามีผู้เสียชีวิตในเมือง โดยต่างก็บอกว่า ผ่านมา 2 วันแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงต้องพึ่งตัวเอง ไม่มีใครมาช่วยเหลือ พวกเขาต้องการให้นานาชาติยื่นมือเข้ามาช่วย
เบื้องต้นทางทีมแพทย์ได้เดินทางด้วยเท้าไปยังหมู่บ้านที่ได้รับรายงานการระบาด ขณะที่ความช่วยเหลือจากนานาชาติพยายามที่จะให้ความรู้กับชาวกินีถึงสาเหตุ อาการ ลักษณะการระบาดของโลก รวมทั้งแนะนำวิธีการสังเกตผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จากยูนิเซฟก็ได้จัดส่งคลอรีน สบู่ และถุงมือไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อป้องกันและฆ่าเชื้อแล้ว
จนถึงขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อในกินีแล้ว 110 ราย และมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 90 ส่วนประเทศเพื่อนบ้านอย่างไลบีเรียและเซียร่าลีโอนก็มีผู้ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้อแล้วเช่นกัน
โรคอีโบลาทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้สูง ปวดหัว รู้สึกอ่อนแรงคล้ายกับโรคมาลาเรีย จากนั้นผู้ป่วยจะมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาผู้ป่วยจากโรคนี้
นายเรเน่ ลามาห์ รัฐมนตรีสาธารณสุขกินี ประกาศเตือนประชาชนให้เลิกรับประทานและขายค้างคาว เพราะเป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในภาคใต้ของกินี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ไปแล้วอย่างน้อย 62 คน และยังมีรายงานการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกันในประเทศเพื่อนบ้านคือ ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน
เชื้อไวรัสอีโบลาจะติดต่อด้วย การสัมผัส โดยขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกันหรือการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ องค์การอนามัยโลกระบุว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้ออยู่ระหว่าง 25-90% ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสตัวนี้ อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลาคือ มีเลือด ออกในอวัยวะภายในและภายนอก ร่างกาย ท้องร่วงและอาเจียนอย่างหนัก นับเป็นครั้งแรกที่มีเชื้อไวรัสอีโบลาระบาดในกินี
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและบรรเทาทุกข์ในกินีกำลังหาทางควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสมรณะอีโบลาเป็นครั้งแรกในแอฟริกาตะวันตก ขณะที่ไลบีเรียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านมีรายงานพบผู้ต้อง สงสัยติดเชื้อรายแรก และหากได้รับการยืนยันจะเป็นครั้งแรกที่เชื้อไวรัสแพร่ไปยังประเทศอื่นนอกจากป่าทางตอนใต้ของ กินี ซึ่งมีรายงานผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 คน โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนมีการระบาดในยูกันดาและคองโก ซึ่งอยู่ห่างจากกินีหลายพันกิโลเมตร สำหรับค้างคาวที่ชาวกินีนิยมรับประทานส่วนใหญ่นำมาต้มยำหรือย่างกินแกล้มกับสุรา
ส่วนที่ประเทศแคนาดา นางเดนิส เวอร์เกอร์ ผู้อำนวยการด้านสาธารณสุขในรัฐซัสแคตเชวัน ทางตะวันตกของแคนาดา กล่าวว่า นักเดินทางรายหนึ่งที่เดินทางมาจากแถบแอฟริกาตะวันตกกำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสมรณะอีโบลา ผู้ป่วยดังกล่าวอาศัยอยู่ในไลบีเรีย และปรากฏอาการหลังเดินทางมาถึงแคนาดา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยดังกล่าวถูกแยกตัวไว้แล้ว และกำลังรอผลการตรวจ
ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ วันที่ 27 มีนาคม 2557
http://www.hfocus.org/content/2014/03/6788#sthash.ODiQMiiW.dpuf
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=716812