โควิดวันนี้! ติดเชื้อรายใหม่ 4,886 ราย เสียชีวิต 43 ราย หายป่วยกลับบ้าน 6,326 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3066566
โควิดวันนี้! ติดเชื้อรายใหม่ 4,886 ราย เสียชีวิต 43 ราย หายป่วยกลับบ้าน 6,326 ราย
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 4,886 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,566 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 149 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 165 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 6 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,091,895 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,326 ราย หายป่วยสะสม 1,998,328 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 74,190 ราย เสียชีวิต 43 ราย
ผู้เชี่ยวชาญแอฟริกาใต้ชี้ “เป็นไปได้” ที่โอไมครอน “เหนือกว่า” เดลตา
https://www.dailynews.co.th/news/529709/
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ ให้ความเห็นว่า "โอไมครอน" เป็นเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "มีแนวโน้มสูงที่สุด" ว่าจะมีคุณสมบัติเทียบเท่า "หรือมากกว่า" เชื้อเดลตา
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่าศ.
เอเดรียน พิวเรน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติ ( เอ็นซีไอดี ) ของแอฟริกาใต้ กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ โอไมครอน ซึ่งพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ ว่าจนถึงปัจจุบัน บรรดานักวิจัยทั่วโลกยังคงมีความสงสัยว่า จะมีเชื้อไวรัสโคโรนาตัวใด “เหนือกว่า” เชื้อเดลตาหรือไม่ อย่างน้อยในมิติของการแพร่กระจาย ซึ่งตอนนี้เชื้อโอไมครอน “มีความเป็นไปได้มากที่สุด”
ทั้งนี้ หากผลการศึกษาบ่งชี้ได้อย่างเป็นทางการ ว่าเชื้อโอไมครอนสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าเชื้อเดลตา นั่นเป็นสัญญาณของการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยแบบก้าวกระโดด และอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงระบบสาธารณสุขอีกครั้ง
ศ.
พิวเรนกล่าวต่อไปว่า องค์ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อโอไมครอนน่าจะมีความกระจ่างมากขึ้น ภายในช่วงเวลา 4 สัปดาห์นี้ ว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถ “หลบหลีก” ภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นด้วยวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หลังการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นหรือไม่ และเชื้อโอไมครอนอาจก่อให้เกิดอาการป่วย “รุนแรงกว่า” เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นหรือไม่
อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นมีรายงานออกมาว่า ผู้ป่วยจากเชื้อโอไมครอนส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ มีอาการ “เล็กน้อยถึงปานกลาง” หรืออาจไม่แสดงอาการใด และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว
ปัจจุบัน แอฟริกาใต้มีสถิติผู้ป่วยโควิด-19 สะสมเกือบ 3 ล้านคน และเสียชีวิตสะสมเกือบ 90,000 ราย เป็นสถิติสูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ดี คงเหลือผู้ป่วยรักษาตัวอยู่อีกประมาณ 28,600 คน.
บราซิลพบผู้ติดเชื้อโควิด "โอไมครอน" 2 ราย ตรวจเจอก่อน WHO ยกระดับสายพันธุ์
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98076/
บราซิลพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ “โอไมครอน” 2 รายแรก นับเป็นการพบครั้งแรกในลาตินอเมริกา และพบก่อนหน้าที่ WHO ประกาศยกระดับ "โอไมครอน" เป็นสายพันธ์ุต้องกังวล ยิ่งเพิ่มความวิตกว่า "โอไมครอน" อาจเริ่มระบาดไปแล้วในโลกก่อนหน้านี้โดยที่ไม่มีใครรู้
วันนี้ (1 ธ.ค.64) “อันวิซ่า” หน่วยงานผู้คุมกฎด้านสาธารณสุขของบราซิล เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า พบชาวบราซิล 2 คนมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” เป็นบวก นับเป็นการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเป็นครั้งแรกในลาตินอเมริกา
อันวิซ่าให้รายละเอียดผู้ติดเชื้อโอไมครอน 2 รายแรกของบราซิลและของลาตินอเมริกาดังกล่าวว่า เป็น 2 สามีภรรยา สามีเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศแอฟริกาใต้ที่พบโอไมครอนเป็นครั้งแรก แต่ภรรยาไม่ได้เดินทางไปด้วย แต่ผลตรวจพบว่าติดเชื้อโอไมครอนทั้งคู่
โดยตัวสามีเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกัวรุลโฮส ในนครเซาเปาโลของบราซิลเมื่อวันที่ 23 พ.ย. และผลตรวจเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก ออกมาเป็นลบ หมายความว่าไม่ติดโควิด แต่การตรวจซ้ำปรากฏว่า ทั้ง 2 สามีภรรยามีผลตรวจเป็นบวก จึงส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์เพิ่ม และพบว่าเป็นการติดเชื้อโอไมครอน
วันที่ 23 พ.ย.ที่บราซิลตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนครั้งแรกดังกล่าวนั้น เป็นวันก่อนหน้าที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับโอไมครอนเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องกังวล” และก่อนหน้าที่รัฐบาลบราซิลประกาศห้ามเที่ยวบินจากแอฟริกาใต้และประเทศเพื่อนบ้านแอฟริกาใต้ เข้าไปในบราซิลตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (26 พ.ย.)
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ยิ่งเพิ่มความวิตกว่า โอไมครอนอาจเริ่มระบาดไปแล้วในโลกนี้ โดยที่ไม่มีใครรู้ และก่อนหน้าที่ประเทศต่างๆ จะออกมาตรการคุมเข้มการเดินทาง
โอไมครอนตรวจพบครั้งแรกอย่างเป็นทางการในแอฟริกาใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงว่า โอไมครอนได้เริ่มระบาดไปแล้วในโลกนี้ ก่อนหน้าที่จะพบในแอฟริกาใต้ และขณะนี้ระบาดไปแล้วมากกว่า 10 ประเทศ
ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังเร่งตรวจสอบว่า โอไมครอน ซึ่งมีการกลายพันธุ์มากกว่า 30 ตำแหน่ง มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลายพันธุ์ตัวก่อนๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้น ติดต่อง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตมากขึ้น หรือสามารถหลบวัคซีนต้านโควิดได้หรือไม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานหลายสัปดาห์จึงจะสามารถสรุปได้
ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้แต่ใช้วิธีคุมเข้มการเดินทางจากประเทศแอฟริกาใต้ และกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา.
JJNY : ติดเชื้อ 4,886 เสียชีวิต43│ชี้เป็นไปได้ที่โอไมครอนเหนือกว่าเดลตา│บราซิลพบติด"โอไมครอน" 2 ราย│ธุรกิจหวั่นล็อกดาวน์
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3066566
โควิดวันนี้! ติดเชื้อรายใหม่ 4,886 ราย เสียชีวิต 43 ราย หายป่วยกลับบ้าน 6,326 ราย
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 4,886 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,566 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 149 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 165 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 6 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,091,895 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 6,326 ราย หายป่วยสะสม 1,998,328 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 74,190 ราย เสียชีวิต 43 ราย
ผู้เชี่ยวชาญแอฟริกาใต้ชี้ “เป็นไปได้” ที่โอไมครอน “เหนือกว่า” เดลตา
https://www.dailynews.co.th/news/529709/
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของแอฟริกาใต้ ให้ความเห็นว่า "โอไมครอน" เป็นเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "มีแนวโน้มสูงที่สุด" ว่าจะมีคุณสมบัติเทียบเท่า "หรือมากกว่า" เชื้อเดลตา
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ว่าศ.เอเดรียน พิวเรน รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติ ( เอ็นซีไอดี ) ของแอฟริกาใต้ กล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ โอไมครอน ซึ่งพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ ว่าจนถึงปัจจุบัน บรรดานักวิจัยทั่วโลกยังคงมีความสงสัยว่า จะมีเชื้อไวรัสโคโรนาตัวใด “เหนือกว่า” เชื้อเดลตาหรือไม่ อย่างน้อยในมิติของการแพร่กระจาย ซึ่งตอนนี้เชื้อโอไมครอน “มีความเป็นไปได้มากที่สุด”
ทั้งนี้ หากผลการศึกษาบ่งชี้ได้อย่างเป็นทางการ ว่าเชื้อโอไมครอนสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าเชื้อเดลตา นั่นเป็นสัญญาณของการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยแบบก้าวกระโดด และอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงระบบสาธารณสุขอีกครั้ง
ศ.พิวเรนกล่าวต่อไปว่า องค์ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อโอไมครอนน่าจะมีความกระจ่างมากขึ้น ภายในช่วงเวลา 4 สัปดาห์นี้ ว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถ “หลบหลีก” ภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นด้วยวัคซีน หรือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หลังการติดเชื้อสายพันธุ์อื่นหรือไม่ และเชื้อโอไมครอนอาจก่อให้เกิดอาการป่วย “รุนแรงกว่า” เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นหรือไม่
อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นมีรายงานออกมาว่า ผู้ป่วยจากเชื้อโอไมครอนส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ มีอาการ “เล็กน้อยถึงปานกลาง” หรืออาจไม่แสดงอาการใด และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว
ปัจจุบัน แอฟริกาใต้มีสถิติผู้ป่วยโควิด-19 สะสมเกือบ 3 ล้านคน และเสียชีวิตสะสมเกือบ 90,000 ราย เป็นสถิติสูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ดี คงเหลือผู้ป่วยรักษาตัวอยู่อีกประมาณ 28,600 คน.
บราซิลพบผู้ติดเชื้อโควิด "โอไมครอน" 2 ราย ตรวจเจอก่อน WHO ยกระดับสายพันธุ์
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/98076/
บราซิลพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ “โอไมครอน” 2 รายแรก นับเป็นการพบครั้งแรกในลาตินอเมริกา และพบก่อนหน้าที่ WHO ประกาศยกระดับ "โอไมครอน" เป็นสายพันธ์ุต้องกังวล ยิ่งเพิ่มความวิตกว่า "โอไมครอน" อาจเริ่มระบาดไปแล้วในโลกก่อนหน้านี้โดยที่ไม่มีใครรู้
วันนี้ (1 ธ.ค.64) “อันวิซ่า” หน่วยงานผู้คุมกฎด้านสาธารณสุขของบราซิล เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า พบชาวบราซิล 2 คนมีผลตรวจเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” เป็นบวก นับเป็นการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเป็นครั้งแรกในลาตินอเมริกา
อันวิซ่าให้รายละเอียดผู้ติดเชื้อโอไมครอน 2 รายแรกของบราซิลและของลาตินอเมริกาดังกล่าวว่า เป็น 2 สามีภรรยา สามีเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศแอฟริกาใต้ที่พบโอไมครอนเป็นครั้งแรก แต่ภรรยาไม่ได้เดินทางไปด้วย แต่ผลตรวจพบว่าติดเชื้อโอไมครอนทั้งคู่
โดยตัวสามีเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกัวรุลโฮส ในนครเซาเปาโลของบราซิลเมื่อวันที่ 23 พ.ย. และผลตรวจเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก ออกมาเป็นลบ หมายความว่าไม่ติดโควิด แต่การตรวจซ้ำปรากฏว่า ทั้ง 2 สามีภรรยามีผลตรวจเป็นบวก จึงส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์เพิ่ม และพบว่าเป็นการติดเชื้อโอไมครอน
วันที่ 23 พ.ย.ที่บราซิลตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนครั้งแรกดังกล่าวนั้น เป็นวันก่อนหน้าที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศยกระดับโอไมครอนเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องกังวล” และก่อนหน้าที่รัฐบาลบราซิลประกาศห้ามเที่ยวบินจากแอฟริกาใต้และประเทศเพื่อนบ้านแอฟริกาใต้ เข้าไปในบราซิลตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (26 พ.ย.)
เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ยิ่งเพิ่มความวิตกว่า โอไมครอนอาจเริ่มระบาดไปแล้วในโลกนี้ โดยที่ไม่มีใครรู้ และก่อนหน้าที่ประเทศต่างๆ จะออกมาตรการคุมเข้มการเดินทาง
โอไมครอนตรวจพบครั้งแรกอย่างเป็นทางการในแอฟริกาใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงว่า โอไมครอนได้เริ่มระบาดไปแล้วในโลกนี้ ก่อนหน้าที่จะพบในแอฟริกาใต้ และขณะนี้ระบาดไปแล้วมากกว่า 10 ประเทศ
ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังเร่งตรวจสอบว่า โอไมครอน ซึ่งมีการกลายพันธุ์มากกว่า 30 ตำแหน่ง มากที่สุดเมื่อเทียบกับกลายพันธุ์ตัวก่อนๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้น ติดต่อง่ายขึ้น ทำให้เสียชีวิตมากขึ้น หรือสามารถหลบวัคซีนต้านโควิดได้หรือไม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานหลายสัปดาห์จึงจะสามารถสรุปได้
ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้แต่ใช้วิธีคุมเข้มการเดินทางจากประเทศแอฟริกาใต้ และกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา.