JJNY : ติดเชื้อ5,896 เสียชีวิต37│“โอไมครอน”อาจเป็นสายพันธุ์หลัก│รถตู้เมืองกรุงจ่อบุกคมนาคม│จบพ.ย. เข็มแรกยังไม่ได้ 70%

ไทยติดเชื้อโควิดใหม่วันนี้ พุ่ง 5,896 ราย เสียชีวิต 37 ราย หายป่วย 5,666 ราย
https://www.matichon.co.th/local/news_3071402
 
 
ไทยติดเชื้อโควิดใหม่วันนี้ พุ่ง 5,896 ราย เสียชีวิต 37 ราย หายป่วย 5,666 ราย
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564
 
รวม 5,896 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 4,609 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 148 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,127 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 12 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,107,674 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 5,666 ราย
หายป่วยสะสม 2,015,240 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 72,954 ราย
เสียชีวิต 37 ราย
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่ในประเทศไทย 4,912 คน เสียชีวิต 33 คน
 

 
อนามัยโลกชี้เชื้อ “โอไมครอน” ติดง่าย อาจกลายเป็นสายพันธุ์หลัก
https://www.dailynews.co.th/news/540692/
 
ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ความรวดเร็วในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "โอไมครอน" อาจส่งผลให้เชื้อตัวนี้ก้าวขึ้นมาเป็นสายพันธุ์หลัก อย่างไรก็ตาม มนุษย์ "ต้องไม่ตระหนัก แต่ตระหนัก"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ว่าพญ.โสมยา สวามินาทาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชโอ ) แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ โอไมครอน ว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธง” ว่าเชื้อดังกล่าวก่อให้เกิดอาการป่วยน้อยกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ซึ่งวนเวียนอยู่กับมนุษย์มาก่อนแล้วหรือไม่

ขณะเดียวกัน พญ.โสมยาตั้งข้อสังเกตในประเด็น “แหล่งกำเนิดแท้จริง” ของเชื้อโอไมครอน ว่ายังไม่อาจสรุปได้ ว่าต้นกำเนิดการกลายพันธุ์อยู่ที่แอฟริกาใต้ เนื่องจาก แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกซึ่งยืนยันการพบผู้ป่วยจากเชื้อนี้ และแบ่งปันข้อมูลทั้งหมดให้แก่ดับเบิลยูเอชโอ

ปัจจุบัน สายพันธุ์หลักของเชื้อไวรัสโคโรนาบนโลก ที่ส่งผลให้เกิดโรคโควิด-19 นั้น เป็นเชื้อเดลตา “มากถึง 99%” แม้มีความเป็นไปได้ที่เชื้อโอไมครอนจะก้าวขึ้นมาเป็นสายพันธุ์หลัก เนื่องจากอัตราการพบผู้ติดเชื้อในแอฟริกาใต้ “กำลังเพิ่มแบบทวีคูณ” และองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญยังคงต้องมีการค้นหาคำตอบในอีกหลายเรื่อง
 
อย่างไรก็ตาม พญ.โสมยาเน้นย้ำว่า ชาวโลกไม่ควรตื่นตระหนกกกับเชื้อโรคตัวนี้ “เพราะสถานการณ์ปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อปีที่แล้วมาก” แต่ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักและอย่าชะล่าใจ เนื่องจากการที่รายงาน ณ เวลานี้ ระบุว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีการแต่เบาบางมาก และไม่หนัก “ยังไม่ได้หมายความว่าเชื้อตัวนี้ไม่มีฤทธิ์รุนแรง”

ทั้งนี้ พญ.โสมยายังคงแสดงความเชื่อมั่นว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ยังมีประสิทธิภาพเพียงพอต้านทานเชื้อโอไมครอน ลดความเสี่ยงและบรรเทาอาการป่วยหลัก และการเสียชีวิตได้ แต่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ล่วงหน้าเช่นกัน ในกรณที่มนุษย์ต้องการวัคซีนใหม่ เพื่อรับมือกับเชื้อตัวนี้
 

 
รถตู้เมืองกรุง 300 คัน จ่อบุกกระทรวงคมนาคมร้อง “ศักดิ์สยาม” ช่วย 4 ข้อ
https://www.dailynews.co.th/news/540896/
 
รถตู้เมืองกรุง 200-300 คัน เตรียมบุกกระทรวงคมนาคม ยื่นหนังสือถึง "ศักดิ์สยาม" วอนช่วยเหลือ 4 ข้อ ยืดอายุรถตู้จาก 10 ปี เป็น 12-15 ปี-ขอผ่อนชำระค่างวด 2 ปี-ขอลดหย่อนจ่ายค่าตอบแทน ขสมก.-ขอปรับขึ้นค่าโดยสารให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโควิดและพยุงกิจการให้อยู่รอด

นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะ กรุงเทพฯ ปริมณฑล เปิดเผยว่า ตนพร้อมสมาชิกสมาคมฯ ประมาณ 200-300 คัน เตรียมไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือถึงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เรื่องขอความช่วยเหลือเพื่อเยียวยา เนื่องจากสมาคมฯ ได้รับเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ ที่ขึ้นตรงกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และเป็นผู้ประกอบการร่วมให้บริการสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีประมาณ 2,000 กว่าคัน ขอแสดงความขอบคุณ นายศักดิ์สยาม ที่มีคำสั่งอนุมัติให้อนุมัติให้รถตู้หมวด 1 และ หมวด 4 เส้นทางกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถเปลี่ยนรถทดแทน โดยสมัครใจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการเปลี่ยนรถทดแทนที่มีอายุครบ 10 ปี  
 
ซึ่งปัจจุบันรถตู้หมวด 1 ได้ทยอยเลี่ยนรถทดแทนรถคันเก่ามาต่อเนื่อง ซึ่งบางส่วนที่เปลี่ยนนรถตู้คันเก่าเป็นรถตู้คันใหม่แล้วมีปัญหาในการผ่อนชำระค่างวดรถเกิดขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับภาระที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑลมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทบกับรายได้ และค่าครองชีพของผู้ประกอบการรถตู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงขอให้พิจารณาช่วยเหลือ 4 ข้อดังนี้ 
 
1. ขอให้มีคำสั่งยืดอายุรถตู้สาธารณะจากปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 10 ปี ให้เป็น 12-15 ปี จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่อง และเสียผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพ รวมทั้งยังสามารถขอขยายระยะเวลาการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน หลังจากสูญเสียรายได้ ในสภาวะปัจจุบันถึง 2 ปี  
 
นายปัญญา กล่าวต่อว่า 
 
2. ความล่าช้าในการเปลี่ยนป้ายรถทดแทน จากป้ายแดงเป็นป้ายประกอบการสีเหลือง ของรถหมวด 1 ผู้ประกอบการไม่เข้าใจในกระบวนการของการเปลี่ยนรถคันเดิมเป็นรถใหม่ป้ายแดงทดแทนคันเก่า จนบางคันครบ 2 ปีแล้ว ยังไม่สามารถเปลี่ยนเป็นป้ายเหลืองได้ เกิดความสูญเสีย เพราะความล่าช้าจนโดนเรียกและโดนตำรวจจับปรับหลายคัน 
 
3. การขอลดหย่อนค่าตอบแทนของ ขสมก. โดยไม่มีเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ประกาศลดหย่อนให้ของ ขสมก. นั้น เหตุใดจึงต้องสร้างเงื่อนไขของผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 กับผู้ประกอบการด้วย ทั้งๆ ที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุสุดวิสัยเป็นภัย ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ และเป็นผลกระทบต่อรายได้ปัจจุบันแบบปฏิเสธไม่ได้  
 
และ 4. ค่าเชื้อเพลิงในการใช้ประกอบอาชีพมีต้นทุนที่สูงขึ้น บวกกับสภาวะปัจจุบันการแบกรับรายจ่ายที่มากกว่ารายได้ในทุกทาง รถตู้โดยสารในปัจจุบันใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอยู่ 2 ประเภท คือ 1.รถรุ่นใหม่ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน 2.รถรุ่นเดิมที่ใช้ระบบก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี+น้ำมันเบนซิน เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน โดยเฉลี่ยค่าเชื้อเพลิงเป็นรายวัน ต้องจ่ายถึงวัน 600-800 บาท ขณะที่รายได้ในขณะนี้อยู่ที่ 300-400 บาทต่อคันต่อวัน จึงเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและแบกรับได้ยาก
 
อีกทั้งราคาค่าโดยสารที่ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มได้ตามราคาของค่าเชื้อเพลิง จึงขอให้พิจารณาปรับปรุงราคาค่าโดยสารให้เหมาะสมกับราคาต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เช่น รถตู้เส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ปัจจุบันค่าโดยสารอยู่ที่ 35 บาทต่อคนต่อเที่ยว จะขอเพิ่มอีก 5 บาท รวมเป็น 40 บาทต่อคนต่อเที่ยว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่