นักวิทย์พบค้างคาวในโพรงไม้ ต้นตอ�อีโบลา �ระบาดคร่าเกิน 7,800 ศพ

นักวิทย์พบค้างคาวในโพรงไม้ ต้นตอ�อีโบลา �ระบาดคร่าเกิน 7,800 ศพ


ภาพ : ภาพจากบีบีซี




ภาพ : หมู่บ้านที่เริ่มพบเชื้อแห่งแรก

เอเอฟพีรายงานวันที่ 30 ธ.ค. ว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันสถาบันโรเบิร์ต ค็อก ในกรุงเบอร์ลิน นำโดยนายฟาเบียน ลีนเดิร์ตซ์ รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์เอ็มโบ โมเลกุล เมดิซีน ถึงการสืบหาต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาที่เริ่มต้นปลายปี 2556 ว่า

พาหะเป็นค้างคาวกินแมลงที่อยู่ในโพรงไม้ที่หมู่บ้านห่างไกลในประเทศกินี ชาติในแถบแอฟริกาตะวันตก เมื่อเด็กชายเข้าไปเล่นในโพรงไม้จึงติดเชื้อเป็นรายแรก ก่อนที่เชื้อจะแพร่ระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จนสิ้นปี 2557 มีผู้ติดเชื้อแล้ว 20,081 ราย เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 7,842 รายในปี 2557

การศึกษาดังกล่าวใช้เวลา 4 สัปดาห์ในเดือนเม.ย. ทางคณะเดินทางไปยังหมู่บ้านเมเลียนดู ในประเทศกินี พบว่าค้างคาวดังกล่าวเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mops condylurus อาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ที่อยู่ห่างจากบ้านเด็กราว 50 เมตร เด็กและเพื่อนๆ มักเข้าไปเล่นในโพรงและอาจถูกมูลค้างคาวจนติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กในหมู่บ้านที่ล่าค้างคาวมากินเป็นอาหาร กระทั่งเด็กชายอายุ 2 ขวบ ล้มป่วยและเสียชีวิตรายแรกในเดือนธ.ค.2556

ดร.ลีนเดิร์ตซ์ กล่าวว่า กรณีนี้เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ ยิ่งมีคนกินเนื้อค้างคาวมากขึ้นเท่าใด ความเสี่ยงที่จะไปเจอตัวที่ติดเชื้อก็มีมาก และจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อได้ตลอดเวลา ขณะที่ค้างคาวไม่ได้อาศัยอยู่เฉพาะในโพรงเท่านั้น แต่ยังไปอาศัยเกาะตามหลังคาบ้านด้วย

วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ย้ายตัวนางพยาบาลผู้ติดเชื้ออีโบลาในเซียร์ราลีโอนและแสดงอาการเมื่อกลับมาสกอตแลนด์ จากที่รักษาในเมืองกลาสโกว์ไปยังโรงพยาบาลรอยัลฟรีในกรุงลอนดอน

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE9UazJNakV6TlE9PQ%3D%3D
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่