บรรยากาศของตลาดหุ้นในช่วงนี้ ถ้าจะให้ผมบรรยายด้วยคำเพียง 3 คำ ผมคิดว่าคำเหมาะสมที่สุดคือ “อึ้ง-ทึ่ง-เสียว”
เพราะเหตุการณ์ เรื่องราว และสถานะของหุ้นจำนวนไม่น้อยทำให้เกิดความรู้สึกวนเวียนอยู่ในสามอาการดังกล่าวนั่นก็คือ “อึ้ง” เพราะเรื่องราวที่ปรากฏเป็นข่าว หรือบริษัทมีการกระทำหรือได้ตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่เรารู้สึกว่ามันท้าทายจริยธรรมและความเชื่อปกติของสังคมนักลงทุนมากจนทำให้เรา “พูดไม่ออก” หรือ “ไม่กล้าพูด” หรือ “ไม่อยากพูด”
ผม “ทึ่ง” เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่างนั้น มัน “แหกกฎเกณฑ์” หรือทฤษฎี หรือมันเกินไปจาก “ประสบการณ์”หรือ “ภาวะปกติ” ที่ผมคุ้นเคยไปมาก และสุดท้าย มัน “เสียว” เพราะหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นหรือเป็นข่าวนั้น ดูเหมือนว่ามันน่ากลัวหรือดูมีความเสี่ยงสูง แต่คนก็เข้าไปทำกันอย่าง “บ้าคลั่ง” ราวกับว่ามันมีแต่ได้กับได้ ในขณะที่ผมดูแล้วมันมีอันตรายสูงและตัวเอง “เสียว” จนต้องพยายามลดความเสี่ยงลง
ที่จริงผมเคยเจอสถานการณ์แบบ อึ้ง-ทึ่ง-เสียว มาแล้วในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมสุด ๆ ในช่วงประมาณปี 2536 ถึง 2538 อาการหลาย ๆ อย่างในตลาดหุ้นในช่วงนั้นก็คล้าย ๆ กับในช่วงนี้ ความแตกต่างดูเหมือนว่าจะเป็น “รายละเอียด” ของเหตุการณ์และความรุนแรงของแต่ละเรื่อง
นอกจากนั้น ความแตกต่างอีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ ในช่วงนั้น เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตเร็วมากระดับ 7%-10% ต่อปี จนทุกคนคิดว่าเรากำลังเป็น “เสือ” ทางเศรษฐกิจของเอเชีย ในขณะที่ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยกำลัง “มีปัญหา” และน่าจะเติบโต “รั้งท้าย” ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม คนต่างก็คิดว่าเราน่าจะกำลัง “ฟื้นตัว” ในขณะที่ช่วงปี 2536-2538 นั้น เราโตอย่าง “ไร้คุณภาพ” เป็น “ฟองสบู่” ทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร อาการในตลาดหุ้นนั้น คล้ายคลึงกัน สิ่งที่ยังไม่รู้ก็คือ มันจะจบเหมือนกันหรือไม่?
เรื่องที่ทำให้ “อึ้ง” นั้น ค่อย ๆ ทยอยออกมาเป็นระยะ หลายๆ เรื่องก็จะเกี่ยวข้องกับคน “นอก” ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหุ้นและตลาดหุ้นในทางใดทางหนึ่งหรือนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่ในตลาดหุ้น
ประเด็นที่ทำให้คน “อึ้ง” นั้น อยู่ที่ว่า “ดีล” หรือเงื่อนไขที่ได้มานั้น บางทีมันก็ “ดีเกินไป” และคนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องเป็นอย่างนั้น ใครได้ประโยชน์และใครเสียประโยชน์ และถ้าเป็นคนอื่นเขาจะได้เงื่อนไขแบบนั้นหรือไม่ ประเด็นที่สำคัญยังอยู่ที่ว่าไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนที่จะเข้าไปตรวจสอบหรือขัดขวางการดำเนินการอะไรอย่างจริงจัง ว่าที่จริงพวกเขาก็อาจจะทำอะไรไม่ได้จริง ๆ และเขาก็อาจจะไม่อยากทำเพราะเหตุผลสารพัดที่ไม่อยากจะพูด นั่นก็คือ พวกเขาก็ “อึ้ง” เหมือนกัน
ในช่วงปัจจุบันนั้น ผมเองก็คิดว่ามันมีหลายเรื่องที่ผมรู้สึกว่ามัน “แปลก” และมีความไม่ชอบมาพากล แต่ในเมื่อมัน “ไม่ผิดกฎเกณฑ์อะไร” ผมก็ได้แต่เก็บความคิดและความรู้สึกเอาไว้ และนี่ก็คือความหมายของคำว่า “อึ้ง”
เรื่องน่า “ทึ่ง” ที่ผมเห็นนั้นมีมากมาย ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องที่ “ไม่น่าเป็นไปได้” โดยสามัญสำนึกหรือโดยประสบการณ์ “ปกติ” นี่เป็นสิ่งที่มักปรากฏขึ้นในยามที่ตลาด “ไม่ปกติ” โดยเฉพาะในยามที่ตลาดบูมมาก ๆ เป็น “ฟองสบู่” ในอดีตนั้น สิ่งที่เห็นชัดเจนและเป็นเรื่องน่าทึ่งก็คือราคาหุ้นขนาดเล็กโดยเฉพาะที่เป็นหุ้น IPO นั้น มีราคาที่สูงมากเกินกว่าผลประกอบการที่ทำได้ไปมากจนไม่น่าเชื่อ และราคาที่ปรับขึ้นมานั้น ส่วนมากก็ปรับขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ของการเข้ามาซื้อขายในตลาด
ในช่วงเร็วๆ นี้หุ้น IPO มีความน่าทึ่งยิ่งกว่าในช่วงปี 2536-2538 เพราะหลายตัวปรับขึ้นถึง 200% ในวันแรกนอกจากนั้น หุ้นตัวเล็กที่มีเรื่องราวน่าสนใจก็มีราคาสูงมากจนไม่น่าเชื่อ ค่า PE เฉลี่ยของหุ้น MAI ที่เป็นหุ้นตัวเล็กนั้น สูงถึง 60-70 เท่า และที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นคือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้นตัวเล็กที่มีมูลค่าตลาดเพียงหลักพันล้านบาทนั้น บ่อยครั้งสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ระดับแสนล้านบาท
นอกจากเรื่องของราคาและปริมาณการซื้อขายของหุ้นขนาดเล็กที่ “กลบรัศมี” หุ้นตัวใหญ่แล้ว ความน่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมหนักนั้น เราก็มักจะพบความน่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่งก็คือ มักจะมีรายการ “หนูกินช้าง” หรือ “ปลาเล็กกินปลาใหญ่”
ในอดีตนั้น เวลาที่ตลาดหุ้นบูมหนักในบางครั้ง เราก็จะเห็นความน่าทึ่งที่ปลาเล็กหรือหุ้นบริษัทเล็กที่ “ร้อนแรง” เทคโอเวอร์บริษัทใหญ่หรือกินปลาใหญ่ที่อ่อนแอ ในช่วงเร็วๆ นี้เราก็เริ่มได้ยินข่าวแบบนี้บ้างแล้วในตลาดหุ้นไทย
เรื่องน่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเป็นเศรษฐี “ช่วงข้ามคืน” ของคนหลาย ๆ คนโดยเฉพาะที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งแรกหรือในหุ้นเล็กที่ “มีการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งทำให้ราคาหุ้นทะยานขึ้นไป “มโหฬาร” ภายในระยะเวลาอันสั้น ความร่ำรวยของคนหลายคนในช่วงเวลาอันสั้นนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าทึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการที่ถ้าเขาไม่ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาด เหตุผลเพราะว่าหลายบริษัทนั้น ไม่ได้มีกำไรอะไรมากมายนักและมีขนาดเล็ก ถ้าอยู่นอกตลาดก็อาจจะเป็นแค่บริษัทขนาดเล็กธรรมดาๆ ที่เจ้าของไม่สามารถที่จะเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างแน่นอน
ความ “เสียว” นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมเป็นส่วนตัวมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของสังคมนักลงทุนไทย เหตุเพราะว่านักลงทุนส่วนใหญ่ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น นักวิเคราะห์ โบรกเกอร์ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่างก็ยังมองว่าตลาดหุ้นไทยและหุ้นส่วนใหญ่นั้น ยังแข็งแรงดีอยู่ ราคาหุ้นโดยส่วนรวมก็ยังไม่แพงเทียบกับเพื่อนบ้านแม้ว่าบางคนจะดูว่าหุ้นตัวเล็กมีราคาสูงเกินไปเป็น “ฟองสบู่” แต่ถ้ามีปัญหาก็คงไม่กระทบกับหุ้นทั้งตลาด
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สภาพของเศรษฐกิจ การเงิน สังคม การเมืองและตลาดหุ้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรน่าวิตก ค่า PE ตลาดหุ้นไทยที่สูงถึง 19 เท่าและพอ ๆ กับจุดสูงสุดในช่วงวิกฤติตลาดหุ้นรอบที่แล้วก็อาจจะไม่ได้แปลว่าหุ้นไทยมีราคาแพง เหตุผลก็เพราะอัตราดอกเบี้ยในช่วงนั้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ที่ต่ำติดดิน ดังนั้น PE 19 เท่าจึงไม่ถือว่าแพง แต่ถ้ายังคิดว่าแพงก็มีเหตุผลว่าคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนในเวลานี้ก็สูงกว่าในอดีต ดังนั้น สรุปว่าตลาดหุ้นไทยไม่น่ากลัว
สิ่งที่ผมกังวลนั้น เกิดจากเหตุการณ์และสถานการณ์หลายๆ เรื่องที่โอกาสจะเกิดขึ้นอาจจะไม่สูง แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็มี “ศักยภาพ” ที่จะทำให้เกิดอาการช็อกได้กับตลาดหุ้น ตัวอย่างเช่นเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ถ้ายังแย่อยู่แบบปีนี้ ผลก็อาจจะรุนแรงได้เพราะมันอาจจะเปลี่ยน “ความเชื่อ” ของนักลงทุนว่าหุ้นจะดี เช่นเดียวกับด้านของการเมือง ถ้าทุกอย่างไม่ได้ “ลงตัว” ปัญหาก็อาจจะรุนแรงได้ ประเด็นสำคัญก็คือ ทุกครั้งที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามากและดัชนีหุ้นขึ้นไปเร็วและสูงกว่ามาตรฐานระยะยาวแล้ว โอกาสที่มันจะปรับตัวลงแรงก็มักจะมีสูงขึ้นเมื่อตลาดหุ้นประสบปัญหา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ประกอบกับสัญญาณของความ “อึ้ง” และ “ทึ่ง” ดังที่กล่าว ผมจึงรู้สึก “เสียว” จนบอกไม่ถูก
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20141209/622024/%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html
อึ้ง-ทึ่ง-เสียว โดย : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
บรรยากาศของตลาดหุ้นในช่วงนี้ ถ้าจะให้ผมบรรยายด้วยคำเพียง 3 คำ ผมคิดว่าคำเหมาะสมที่สุดคือ “อึ้ง-ทึ่ง-เสียว”
เพราะเหตุการณ์ เรื่องราว และสถานะของหุ้นจำนวนไม่น้อยทำให้เกิดความรู้สึกวนเวียนอยู่ในสามอาการดังกล่าวนั่นก็คือ “อึ้ง” เพราะเรื่องราวที่ปรากฏเป็นข่าว หรือบริษัทมีการกระทำหรือได้ตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่เรารู้สึกว่ามันท้าทายจริยธรรมและความเชื่อปกติของสังคมนักลงทุนมากจนทำให้เรา “พูดไม่ออก” หรือ “ไม่กล้าพูด” หรือ “ไม่อยากพูด”
ผม “ทึ่ง” เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่างนั้น มัน “แหกกฎเกณฑ์” หรือทฤษฎี หรือมันเกินไปจาก “ประสบการณ์”หรือ “ภาวะปกติ” ที่ผมคุ้นเคยไปมาก และสุดท้าย มัน “เสียว” เพราะหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นหรือเป็นข่าวนั้น ดูเหมือนว่ามันน่ากลัวหรือดูมีความเสี่ยงสูง แต่คนก็เข้าไปทำกันอย่าง “บ้าคลั่ง” ราวกับว่ามันมีแต่ได้กับได้ ในขณะที่ผมดูแล้วมันมีอันตรายสูงและตัวเอง “เสียว” จนต้องพยายามลดความเสี่ยงลง
ที่จริงผมเคยเจอสถานการณ์แบบ อึ้ง-ทึ่ง-เสียว มาแล้วในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมสุด ๆ ในช่วงประมาณปี 2536 ถึง 2538 อาการหลาย ๆ อย่างในตลาดหุ้นในช่วงนั้นก็คล้าย ๆ กับในช่วงนี้ ความแตกต่างดูเหมือนว่าจะเป็น “รายละเอียด” ของเหตุการณ์และความรุนแรงของแต่ละเรื่อง
นอกจากนั้น ความแตกต่างอีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ ในช่วงนั้น เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตเร็วมากระดับ 7%-10% ต่อปี จนทุกคนคิดว่าเรากำลังเป็น “เสือ” ทางเศรษฐกิจของเอเชีย ในขณะที่ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยกำลัง “มีปัญหา” และน่าจะเติบโต “รั้งท้าย” ในเอเชีย อย่างไรก็ตาม คนต่างก็คิดว่าเราน่าจะกำลัง “ฟื้นตัว” ในขณะที่ช่วงปี 2536-2538 นั้น เราโตอย่าง “ไร้คุณภาพ” เป็น “ฟองสบู่” ทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร อาการในตลาดหุ้นนั้น คล้ายคลึงกัน สิ่งที่ยังไม่รู้ก็คือ มันจะจบเหมือนกันหรือไม่?
เรื่องที่ทำให้ “อึ้ง” นั้น ค่อย ๆ ทยอยออกมาเป็นระยะ หลายๆ เรื่องก็จะเกี่ยวข้องกับคน “นอก” ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหุ้นและตลาดหุ้นในทางใดทางหนึ่งหรือนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่ในตลาดหุ้น
ประเด็นที่ทำให้คน “อึ้ง” นั้น อยู่ที่ว่า “ดีล” หรือเงื่อนไขที่ได้มานั้น บางทีมันก็ “ดีเกินไป” และคนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องเป็นอย่างนั้น ใครได้ประโยชน์และใครเสียประโยชน์ และถ้าเป็นคนอื่นเขาจะได้เงื่อนไขแบบนั้นหรือไม่ ประเด็นที่สำคัญยังอยู่ที่ว่าไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนที่จะเข้าไปตรวจสอบหรือขัดขวางการดำเนินการอะไรอย่างจริงจัง ว่าที่จริงพวกเขาก็อาจจะทำอะไรไม่ได้จริง ๆ และเขาก็อาจจะไม่อยากทำเพราะเหตุผลสารพัดที่ไม่อยากจะพูด นั่นก็คือ พวกเขาก็ “อึ้ง” เหมือนกัน
ในช่วงปัจจุบันนั้น ผมเองก็คิดว่ามันมีหลายเรื่องที่ผมรู้สึกว่ามัน “แปลก” และมีความไม่ชอบมาพากล แต่ในเมื่อมัน “ไม่ผิดกฎเกณฑ์อะไร” ผมก็ได้แต่เก็บความคิดและความรู้สึกเอาไว้ และนี่ก็คือความหมายของคำว่า “อึ้ง”
เรื่องน่า “ทึ่ง” ที่ผมเห็นนั้นมีมากมาย ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องที่ “ไม่น่าเป็นไปได้” โดยสามัญสำนึกหรือโดยประสบการณ์ “ปกติ” นี่เป็นสิ่งที่มักปรากฏขึ้นในยามที่ตลาด “ไม่ปกติ” โดยเฉพาะในยามที่ตลาดบูมมาก ๆ เป็น “ฟองสบู่” ในอดีตนั้น สิ่งที่เห็นชัดเจนและเป็นเรื่องน่าทึ่งก็คือราคาหุ้นขนาดเล็กโดยเฉพาะที่เป็นหุ้น IPO นั้น มีราคาที่สูงมากเกินกว่าผลประกอบการที่ทำได้ไปมากจนไม่น่าเชื่อ และราคาที่ปรับขึ้นมานั้น ส่วนมากก็ปรับขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ของการเข้ามาซื้อขายในตลาด
ในช่วงเร็วๆ นี้หุ้น IPO มีความน่าทึ่งยิ่งกว่าในช่วงปี 2536-2538 เพราะหลายตัวปรับขึ้นถึง 200% ในวันแรกนอกจากนั้น หุ้นตัวเล็กที่มีเรื่องราวน่าสนใจก็มีราคาสูงมากจนไม่น่าเชื่อ ค่า PE เฉลี่ยของหุ้น MAI ที่เป็นหุ้นตัวเล็กนั้น สูงถึง 60-70 เท่า และที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นคือ ปริมาณการซื้อขายของหุ้นตัวเล็กที่มีมูลค่าตลาดเพียงหลักพันล้านบาทนั้น บ่อยครั้งสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ระดับแสนล้านบาท
นอกจากเรื่องของราคาและปริมาณการซื้อขายของหุ้นขนาดเล็กที่ “กลบรัศมี” หุ้นตัวใหญ่แล้ว ความน่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมหนักนั้น เราก็มักจะพบความน่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่งก็คือ มักจะมีรายการ “หนูกินช้าง” หรือ “ปลาเล็กกินปลาใหญ่”
ในอดีตนั้น เวลาที่ตลาดหุ้นบูมหนักในบางครั้ง เราก็จะเห็นความน่าทึ่งที่ปลาเล็กหรือหุ้นบริษัทเล็กที่ “ร้อนแรง” เทคโอเวอร์บริษัทใหญ่หรือกินปลาใหญ่ที่อ่อนแอ ในช่วงเร็วๆ นี้เราก็เริ่มได้ยินข่าวแบบนี้บ้างแล้วในตลาดหุ้นไทย
เรื่องน่าทึ่งอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเป็นเศรษฐี “ช่วงข้ามคืน” ของคนหลาย ๆ คนโดยเฉพาะที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งแรกหรือในหุ้นเล็กที่ “มีการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งทำให้ราคาหุ้นทะยานขึ้นไป “มโหฬาร” ภายในระยะเวลาอันสั้น ความร่ำรวยของคนหลายคนในช่วงเวลาอันสั้นนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าทึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการที่ถ้าเขาไม่ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาด เหตุผลเพราะว่าหลายบริษัทนั้น ไม่ได้มีกำไรอะไรมากมายนักและมีขนาดเล็ก ถ้าอยู่นอกตลาดก็อาจจะเป็นแค่บริษัทขนาดเล็กธรรมดาๆ ที่เจ้าของไม่สามารถที่จะเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างแน่นอน
ความ “เสียว” นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมเป็นส่วนตัวมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของสังคมนักลงทุนไทย เหตุเพราะว่านักลงทุนส่วนใหญ่ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น นักวิเคราะห์ โบรกเกอร์ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต่างก็ยังมองว่าตลาดหุ้นไทยและหุ้นส่วนใหญ่นั้น ยังแข็งแรงดีอยู่ ราคาหุ้นโดยส่วนรวมก็ยังไม่แพงเทียบกับเพื่อนบ้านแม้ว่าบางคนจะดูว่าหุ้นตัวเล็กมีราคาสูงเกินไปเป็น “ฟองสบู่” แต่ถ้ามีปัญหาก็คงไม่กระทบกับหุ้นทั้งตลาด
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ สภาพของเศรษฐกิจ การเงิน สังคม การเมืองและตลาดหุ้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรน่าวิตก ค่า PE ตลาดหุ้นไทยที่สูงถึง 19 เท่าและพอ ๆ กับจุดสูงสุดในช่วงวิกฤติตลาดหุ้นรอบที่แล้วก็อาจจะไม่ได้แปลว่าหุ้นไทยมีราคาแพง เหตุผลก็เพราะอัตราดอกเบี้ยในช่วงนั้นค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ที่ต่ำติดดิน ดังนั้น PE 19 เท่าจึงไม่ถือว่าแพง แต่ถ้ายังคิดว่าแพงก็มีเหตุผลว่าคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนในเวลานี้ก็สูงกว่าในอดีต ดังนั้น สรุปว่าตลาดหุ้นไทยไม่น่ากลัว
สิ่งที่ผมกังวลนั้น เกิดจากเหตุการณ์และสถานการณ์หลายๆ เรื่องที่โอกาสจะเกิดขึ้นอาจจะไม่สูง แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็มี “ศักยภาพ” ที่จะทำให้เกิดอาการช็อกได้กับตลาดหุ้น ตัวอย่างเช่นเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ถ้ายังแย่อยู่แบบปีนี้ ผลก็อาจจะรุนแรงได้เพราะมันอาจจะเปลี่ยน “ความเชื่อ” ของนักลงทุนว่าหุ้นจะดี เช่นเดียวกับด้านของการเมือง ถ้าทุกอย่างไม่ได้ “ลงตัว” ปัญหาก็อาจจะรุนแรงได้ ประเด็นสำคัญก็คือ ทุกครั้งที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามากและดัชนีหุ้นขึ้นไปเร็วและสูงกว่ามาตรฐานระยะยาวแล้ว โอกาสที่มันจะปรับตัวลงแรงก็มักจะมีสูงขึ้นเมื่อตลาดหุ้นประสบปัญหา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ประกอบกับสัญญาณของความ “อึ้ง” และ “ทึ่ง” ดังที่กล่าว ผมจึงรู้สึก “เสียว” จนบอกไม่ถูก
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20141209/622024/%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html