การค้นหาคำศัพท์ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนโบราณในภาษาไทยดั้งเดิม ต้องเทียบเสียงคำไทยดั้งเดิมกับคำจีน เนื่องจากคำจีนส่วนหนึ่งมีการออกเสียงสำเนียงเก่ากับสำเนียงใหม่ที่ต่างกัน การค้นหาสำเนียงโบราณของคำศัพท์จีนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ไทยดั้งเดิมกับคำศัพท์จีน เพราะว่าอักษรจีนเป็นอักษรโดดตายตัว ไม่ใช่อักษรสะกด อักษรแต่ละตัวมีสำเนียงออกเสียงของแต่ละตัว
ปทานุกรมอักษรจีนเล่มแรกชื่อ ซัวเหวิน (說文) เรียบเรียงเมื่อปี ค.ศ. 121 สมัยราชวงศ์ถงฮั่น (東漢) ปทานุกรมนี้เพียงระบุว่าอักษรตัวนี้ออกเสียงพ้องกับอักษรตัวใด ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน พระภิกษุจีนจึงทราบว่าวิธีสะกดเสียงโดยพยัญชนะผสมกับสระและตัวสะกด สามารถได้เสียงที่แม่นยำ เนื่องจากมีพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่ต้องแปลเป็นภาษาจีน นักคิดชาวจีนก็ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบผันเสียง คือเลือกอักษรจีนตัวหนึ่งกำหนดเป็นพยัญชนะ เลือกอักษรจีนอีกตัวหนึ่งกำหนดเป็นสระและตัวสะกด แล้วเอามาสะกดเสียงเพื่อกำหนดการออกเสียงของอักษรจีน ทำให้นักคิดชาวจีนสามารถเรียบเรียงคู่มือระบบผันเสียงหลายต่อหลายเล่ม ในสมัยหย่งซี (雍熙) แห่งราชวงศ์ซ่ง (宋) นอกจากการชำระปรับปรุงเนื้อหาของปทานุกรมแล้ว ยังได้ใช้คู่มือระบบสำเนียงการออกเสียงชื่อ ถังยิ่น (唐音) ฉบับปี ค.ศ. 752 มาทับเสียงระบุการออกเสียงอ่านของอักษร แต่ละตัวในปทานุกรมเล่มนี้ ทำให้ประเทศจีนมีปทานุกรมอักษรจีนที่ทับเสียงสำเนียงสมัยราชวงศ์ถังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การศึกษาเทียบเสียงคำไทยดั้งเดิมกับคำจีน ได้อาศัยอ้างอิง ปทานุกรมซัวเหวิน (說文) ฉบับชำระที่มีการทับเสียงด้วยระบบผันเสียง ระบบผันเสียงของจีนโบราณนี้ เป็นผลที่เกิดจากประสบการณ์การแปลพระคัมภีร์สันสกฤตในอดีต
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ยรรยง จิระนคร จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระทู้ รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท – จีน โดย รศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
ศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยได้ที่
http://www.asia.tu.ac.th/journal/EA_Journal52_2/A06.pdf
สืบเนื่องจากกระทู้
https://ppantip.com/topic/31775621
อัพเดทข้อมูล
อ่านกระทู้ต่อเนื่องได้ที่
https://ppantip.com/topic/41697792
การเทียบสำเนียงคำไทยดั้งเดิมกับคำจีน ต้องอาศัยระบบผันเสียง
ปทานุกรมอักษรจีนเล่มแรกชื่อ ซัวเหวิน (說文) เรียบเรียงเมื่อปี ค.ศ. 121 สมัยราชวงศ์ถงฮั่น (東漢) ปทานุกรมนี้เพียงระบุว่าอักษรตัวนี้ออกเสียงพ้องกับอักษรตัวใด ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน พระภิกษุจีนจึงทราบว่าวิธีสะกดเสียงโดยพยัญชนะผสมกับสระและตัวสะกด สามารถได้เสียงที่แม่นยำ เนื่องจากมีพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่ต้องแปลเป็นภาษาจีน นักคิดชาวจีนก็ได้ประดิษฐ์คิดค้นระบบผันเสียง คือเลือกอักษรจีนตัวหนึ่งกำหนดเป็นพยัญชนะ เลือกอักษรจีนอีกตัวหนึ่งกำหนดเป็นสระและตัวสะกด แล้วเอามาสะกดเสียงเพื่อกำหนดการออกเสียงของอักษรจีน ทำให้นักคิดชาวจีนสามารถเรียบเรียงคู่มือระบบผันเสียงหลายต่อหลายเล่ม ในสมัยหย่งซี (雍熙) แห่งราชวงศ์ซ่ง (宋) นอกจากการชำระปรับปรุงเนื้อหาของปทานุกรมแล้ว ยังได้ใช้คู่มือระบบสำเนียงการออกเสียงชื่อ ถังยิ่น (唐音) ฉบับปี ค.ศ. 752 มาทับเสียงระบุการออกเสียงอ่านของอักษร แต่ละตัวในปทานุกรมเล่มนี้ ทำให้ประเทศจีนมีปทานุกรมอักษรจีนที่ทับเสียงสำเนียงสมัยราชวงศ์ถังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การศึกษาเทียบเสียงคำไทยดั้งเดิมกับคำจีน ได้อาศัยอ้างอิง ปทานุกรมซัวเหวิน (說文) ฉบับชำระที่มีการทับเสียงด้วยระบบผันเสียง ระบบผันเสียงของจีนโบราณนี้ เป็นผลที่เกิดจากประสบการณ์การแปลพระคัมภีร์สันสกฤตในอดีต
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ยรรยง จิระนคร จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระทู้ รายการคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นอีสานที่คาดว่าจะเป็นคำศัพท์ร่วมเชื้อสายตระกูลไท – จีน โดย รศ.ดร.เมชฌ สอดส่องกฤษ
ศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยได้ที่ http://www.asia.tu.ac.th/journal/EA_Journal52_2/A06.pdf
สืบเนื่องจากกระทู้ https://ppantip.com/topic/31775621
อัพเดทข้อมูล
อ่านกระทู้ต่อเนื่องได้ที่ https://ppantip.com/topic/41697792