ภาษีมรดก+ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเมืองนอก
เอาไงดี ภาษีมรดกเลื่อนเข้า ครม. ใน ครม. และ สนช. ก็เสียงแตก อย่างนี้จะไปรอดหรือไม่ ตอนนี้ไม่ใช่ยุคนักการเมือง เป็นยุคข้าราชการประจำ ยุคทหารเป็นใหญ่ ก็ยังไม่สามารถผลักดันภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไร นี่แสดงว่าข้าราชการประจำและทหารทั้งหลายก็คงมีทรัพย์สมบัติไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นที่โยนบาปไปให้นักการเมืองที่ 4 ปีเลือกใหม่ทีว่ามีทรัพย์ศฤงคารมาก จึงอาจไม่จริงเสียแล้ว แล้วเมืองนอกเขาทำอย่างไรกัน
บางท่านพูดผิดๆ ว่าเมืองนอกเขายกเลิกภาษีมรดกแล้ว แต่ ผศ.กานดา นาคน้อย ยืนยันว่ายังมีภาษีมรดกในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศชั้นนำ บางประเทศยังจะขึ้นอัตราภาษีอีก ประเทศที่ยกเลิกไปก็มี คุณบุญส่ง ชเลธร เล่าให้ผมฟังตอนผมไปจัด Road Show ว่าสวีเดนยกเลิกภาษีมรดกไปหลังสึนามิที่คนเขามาเสียชีวิตในไทยเป็นจำนวนมาก แล้วลูกหลานผู้รับมรดกยังต้องมาเสียภาษีอีก จึงเป็นความอเนจอนาถยิ่ง
แนวคิดการเสียภาษีมรดกมาจากการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมกัน อภิมหาเศรษฐีฝรั่งที่มีค่านิยมในการบริจาคเงินมหาศาลเพื่อสังคม เพราะเชื่อตามนายแอนดรูว์ คาร์เนกี อภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่กล่าวว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างน่าอับอาย" (the man who dies thus rich dies disgraced) เขาบริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือไว้ให้ทายาทบางส่วน
คนไทยเราก็ควรได้คิดเหมือนกันว่า ถ้าเราจะให้ลูกหลาน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะสามารถให้ลูกได้ก็คือการศึกษา การทำให้ลูกสามารถได้รับการศึกษาให้ได้ดีที่สุดและสูงที่สุด เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดเพื่อลูกของเรา เพื่อเขาจะมีฐานะมั่นคง มีสติปัญญาและความสามารถในการพึ่งตนเองได้ และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่รอแต่มรดกจากบุพการี
ผมเคยเขียนมาแล้วว่า ในสหรัฐอเมริกา ราคาขั้นต่ำของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกเป็นเงิน 5.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 172.319 ล้านบาทในปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่นเมื่อปี 2556 อยู่ที่ 5.25 ล้านดอลลาร์ หรือ ปี 2547 อยู่ที่เพียง 1.5 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ส่วนในระดับมลรัฐ ผศ.กานดา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภาษีมรดกเก็บกับทรัพย์สินที่มีค่าตั้งแต่ 2 ล้านดอลลาร์ (64.5 ล้านบาท) ขึ้นไปโดยเก็บในอัตราสูงสุด 20%
ในประเทศไทยของเรากำหนดให้เสียภาษีมรดกตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป กรณีนี้ถือว่าเป็นขีดคั่นที่สูงเกินไป สหรัฐอเมริกามีอัตราค่าครองชีพสูงกว่าไทยประมาณ 5 เท่า ถ้าเราเอา 5 หารด้วย 64.5 ล้านบาทซึ่งเป็นขีดคั่นในระดับมลรัฐ ก็จะเป็นเงินไทยประมาณ 13 ล้านบาทก็ต้องเสียภาษีมรดกกันแล้ว ส่วนในกรณีอังกฤษ จะเสียภาษีมรดกก็ต่อเมื่อมรดกนั้นมีราคาเกินกว่า 325,000 ปอนด์หรือ 17 ล้านบาท แต่รายได้ประชาชาติต่อหัวของอังกฤษสูงกว่าไทยประมาณ 3.767 เท่า ดังนั้นถ้าเทียบเป็นเงินไทยก็เป็นเงินราว 4.521 ล้านบาทขึ้นไป การกำหนดขีดคั่นของมูลค่าทรัพย์สินไว้สูงจนเกินไป ก็จะทำให้มีผู้ต้องเสียภาษีน้อยลงไปเป็นอย่างมาก
ยิ่งเรากำหนดตามราคาประเมินทางราชการ ก็ยิ่งผิดเพี้ยนไปใหญ่ อย่างอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้านบาทที่ต้องเสียภาษีนั้น ราคาจริงในท้องตลาดอาจสูงถึง 100 - 200 ล้านบาท ก็เป็นได้ เพราะราคาประเมินของทางราชการ มีไว้เพื่อการจดทะเบียนทางนิติกรรม ไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงเช่นราคาประเมินของทางราชการในประเทศตะวันตก
อีกประการหนึ่งที่พึงพิจารณาก็คืออัตราภาษี ของไทยเราจะคิดเพียง 10% เพียงอัตราเดียว แต่ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กลับกำหนดในอัตราก้าวหน้า ใครมีปราสาทหรือวังเก่า ก็หนาวไปเลย ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นการขายปราสาทหรือวังเก่าเพื่อนำเงินมาเสียภาษี นี่ถ้ามีการเสียภาษีมรดกกันจริงจังเช่นในประเทศตะวันตก บรรดาวังเก่า เช่น วังสวนผักกาด ตำหนักปลายเนิน (วังคลองเตย) หรือวังวรดิศ ก็คงต้องเสียภาษีมรดกมหาศาล
ภาษีที่คู่มากับภาษีมรดกอีกอันหนึ่งก็คือภาษีจากการให้ (ไม่ใช่มรดกที่เกิดขึ้นหลังผู้ให้เสียชีวิต) โดยจะให้มีการเรียกเก็บภาษีการให้มรดกสำหรับทายาทชั้นที่ 1 ในอัตรา 5% สำหรับทรัพย์สินที่มีการโอนตั้งแต่ 11 ล้านบาทขึ้นไป กรณีนี้ก็เช่นกันอัตราค่อนข้างต่ำ เพราะการให้ทั่วไป เช่น กรณีชิงรางวัล ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูง อีกประการหนึ่งขีดคั่นที่ 11 ล้านบาทนี้เป็นไปตามราคาประเมินทางราชการ ซึ่งอาจต่ำกว่าราคาตลาดมาก
ส่วนในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ถือเป็นภาษีที่สำคัญกว่าภาษีมรดกเสียอีก เพราะเก็บกันทุกปี โดยในประเทศตะวันตกเก็บกันในราคา 1-3% ของราคาประเมินทางราชการ ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด ไม่ได้แตกต่างกันมากมายเช่นในประเทศไทย ภาษีนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงให้ท้องถิ่นเจริญ เข้าทำนอง "ยิ่งให้ ยิ่งได้" ภาษีนี้จึงถือว่ามีคุณเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาประเทศและพัฒนาประชาธิปไตยโดยรวม
ไทยต้องมีภาษีนี้ให้ได้ ในอาเซียน มีเพียงไทย เมียนมาร์และบรูไนที่ไม่มีภาษีนี้ เมียนมาร์เขายากจน ล้าหลังกว่าไทย ก็คงต้องยกให้เขาไปประเทศหนึ่งก่อน ส่วนบรูไนก็ร่ำรวย ไม่นิยมให้ประชาชนเสียภาษีมากนัก ผมไปเป็นที่ปรึกษาในโครงการที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการคลังทั้งในเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย เขามีกันหมดแล้ว แต่ในไทยกลับยังไม่มีภาษีนี้
ในทุกวันนี้ ดูเหมือนผู้มีอำนาจในประเทศไทย ซึ่งคงไม่ใช่นักการเมืองเสียแล้ว แต่เป็นข้าราชการประจำใหญ่ ๆ ที่ต่างก็มีทรัพย์สมบัติมากมาย เกลียดและกลัวการเสียภาษีเหลือเกิน เราจึงควรทำให้ผู้มีอำนาจและประชาชนเข้าใจและสบายใจว่า ภาษีนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสมมติเราเสียปีละ 0.5% แต่ท้องถิ่นเจริญขึ้นเพราะภาษีเหล่านี้เอาไปสร้างถนน จัดการศึกษา จัดสร้างสาธารณูปโภคที่ดี มูลค่าทรัพย์สินก็จะเพิ่มขึ้นปีละ 4-5% มากกว่าภาษีที่ต้องเสียไปอีก
ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงก็จะเริ่มต้นด้วยการทำให้การเมืองท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง โดยประชาชนมีส่วนร่วม รูปแบบที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมที่แท้ก็คือการมีส่วนร่วมในการเสียภาษีเพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นนั่นเอง ไม่ใช่การร่วมในเชิงรูปแบบหรือการร่วมแบบพูดเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อยในลักษณะ “สามวาสองศอก” ขององค์กรท้องถิ่นหรือองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ในประเทศไทย
สังคมที่คนรวยๆ จะอยู่ได้อย่างเป็นสุขนั้น คนรวยๆ ก็ต้องเสียภาษีมรดก หรือทุกคนต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทุกวันนี้ใครมีจักรยานยนต์ยังต้องเสียภาษีล้อเลื่อน ดังนั้นเราจึงไม่ควรเลี่ยงภาษี ถ้าประเทศมีความเหลื่อมล้ำมากเกินไป คนที่จะอยู่ไม่เป็นสุขก็คือพวกรวยๆ ล้นฟ้านี่แหละ ดังนั้นจึงต้องช่วยกันเสียภาษี
ผมเคยประกาศไว้ว่า ถ้า คสช. สามารถผลักดันภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ที่ไม่ใช่แบบเล่นปาหี่) ได้สำเร็จเช่นอารยะประเทศ ผมพร้อมจะกราบงาม ๆ แทบเท้าเลยครับ
อ่านต่อล่ะกันเนอะ
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement798.htm
ภาษีมรดก+ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเมืองนอก (ไปเจอมาค่ะบทความของ ดร.โสภณ)
เอาไงดี ภาษีมรดกเลื่อนเข้า ครม. ใน ครม. และ สนช. ก็เสียงแตก อย่างนี้จะไปรอดหรือไม่ ตอนนี้ไม่ใช่ยุคนักการเมือง เป็นยุคข้าราชการประจำ ยุคทหารเป็นใหญ่ ก็ยังไม่สามารถผลักดันภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไร นี่แสดงว่าข้าราชการประจำและทหารทั้งหลายก็คงมีทรัพย์สมบัติไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นที่โยนบาปไปให้นักการเมืองที่ 4 ปีเลือกใหม่ทีว่ามีทรัพย์ศฤงคารมาก จึงอาจไม่จริงเสียแล้ว แล้วเมืองนอกเขาทำอย่างไรกัน
บางท่านพูดผิดๆ ว่าเมืองนอกเขายกเลิกภาษีมรดกแล้ว แต่ ผศ.กานดา นาคน้อย ยืนยันว่ายังมีภาษีมรดกในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศชั้นนำ บางประเทศยังจะขึ้นอัตราภาษีอีก ประเทศที่ยกเลิกไปก็มี คุณบุญส่ง ชเลธร เล่าให้ผมฟังตอนผมไปจัด Road Show ว่าสวีเดนยกเลิกภาษีมรดกไปหลังสึนามิที่คนเขามาเสียชีวิตในไทยเป็นจำนวนมาก แล้วลูกหลานผู้รับมรดกยังต้องมาเสียภาษีอีก จึงเป็นความอเนจอนาถยิ่ง
แนวคิดการเสียภาษีมรดกมาจากการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมกัน อภิมหาเศรษฐีฝรั่งที่มีค่านิยมในการบริจาคเงินมหาศาลเพื่อสังคม เพราะเชื่อตามนายแอนดรูว์ คาร์เนกี อภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่กล่าวว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างน่าอับอาย" (the man who dies thus rich dies disgraced) เขาบริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือไว้ให้ทายาทบางส่วน
คนไทยเราก็ควรได้คิดเหมือนกันว่า ถ้าเราจะให้ลูกหลาน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะสามารถให้ลูกได้ก็คือการศึกษา การทำให้ลูกสามารถได้รับการศึกษาให้ได้ดีที่สุดและสูงที่สุด เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดเพื่อลูกของเรา เพื่อเขาจะมีฐานะมั่นคง มีสติปัญญาและความสามารถในการพึ่งตนเองได้ และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่รอแต่มรดกจากบุพการี
ผมเคยเขียนมาแล้วว่า ในสหรัฐอเมริกา ราคาขั้นต่ำของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกเป็นเงิน 5.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 172.319 ล้านบาทในปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่นเมื่อปี 2556 อยู่ที่ 5.25 ล้านดอลลาร์ หรือ ปี 2547 อยู่ที่เพียง 1.5 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ส่วนในระดับมลรัฐ ผศ.กานดา ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภาษีมรดกเก็บกับทรัพย์สินที่มีค่าตั้งแต่ 2 ล้านดอลลาร์ (64.5 ล้านบาท) ขึ้นไปโดยเก็บในอัตราสูงสุด 20%
ในประเทศไทยของเรากำหนดให้เสียภาษีมรดกตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป กรณีนี้ถือว่าเป็นขีดคั่นที่สูงเกินไป สหรัฐอเมริกามีอัตราค่าครองชีพสูงกว่าไทยประมาณ 5 เท่า ถ้าเราเอา 5 หารด้วย 64.5 ล้านบาทซึ่งเป็นขีดคั่นในระดับมลรัฐ ก็จะเป็นเงินไทยประมาณ 13 ล้านบาทก็ต้องเสียภาษีมรดกกันแล้ว ส่วนในกรณีอังกฤษ จะเสียภาษีมรดกก็ต่อเมื่อมรดกนั้นมีราคาเกินกว่า 325,000 ปอนด์หรือ 17 ล้านบาท แต่รายได้ประชาชาติต่อหัวของอังกฤษสูงกว่าไทยประมาณ 3.767 เท่า ดังนั้นถ้าเทียบเป็นเงินไทยก็เป็นเงินราว 4.521 ล้านบาทขึ้นไป การกำหนดขีดคั่นของมูลค่าทรัพย์สินไว้สูงจนเกินไป ก็จะทำให้มีผู้ต้องเสียภาษีน้อยลงไปเป็นอย่างมาก
ยิ่งเรากำหนดตามราคาประเมินทางราชการ ก็ยิ่งผิดเพี้ยนไปใหญ่ อย่างอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้านบาทที่ต้องเสียภาษีนั้น ราคาจริงในท้องตลาดอาจสูงถึง 100 - 200 ล้านบาท ก็เป็นได้ เพราะราคาประเมินของทางราชการ มีไว้เพื่อการจดทะเบียนทางนิติกรรม ไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริงเช่นราคาประเมินของทางราชการในประเทศตะวันตก
อีกประการหนึ่งที่พึงพิจารณาก็คืออัตราภาษี ของไทยเราจะคิดเพียง 10% เพียงอัตราเดียว แต่ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กลับกำหนดในอัตราก้าวหน้า ใครมีปราสาทหรือวังเก่า ก็หนาวไปเลย ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นการขายปราสาทหรือวังเก่าเพื่อนำเงินมาเสียภาษี นี่ถ้ามีการเสียภาษีมรดกกันจริงจังเช่นในประเทศตะวันตก บรรดาวังเก่า เช่น วังสวนผักกาด ตำหนักปลายเนิน (วังคลองเตย) หรือวังวรดิศ ก็คงต้องเสียภาษีมรดกมหาศาล
ภาษีที่คู่มากับภาษีมรดกอีกอันหนึ่งก็คือภาษีจากการให้ (ไม่ใช่มรดกที่เกิดขึ้นหลังผู้ให้เสียชีวิต) โดยจะให้มีการเรียกเก็บภาษีการให้มรดกสำหรับทายาทชั้นที่ 1 ในอัตรา 5% สำหรับทรัพย์สินที่มีการโอนตั้งแต่ 11 ล้านบาทขึ้นไป กรณีนี้ก็เช่นกันอัตราค่อนข้างต่ำ เพราะการให้ทั่วไป เช่น กรณีชิงรางวัล ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูง อีกประการหนึ่งขีดคั่นที่ 11 ล้านบาทนี้เป็นไปตามราคาประเมินทางราชการ ซึ่งอาจต่ำกว่าราคาตลาดมาก
ส่วนในเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ถือเป็นภาษีที่สำคัญกว่าภาษีมรดกเสียอีก เพราะเก็บกันทุกปี โดยในประเทศตะวันตกเก็บกันในราคา 1-3% ของราคาประเมินทางราชการ ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด ไม่ได้แตกต่างกันมากมายเช่นในประเทศไทย ภาษีนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงให้ท้องถิ่นเจริญ เข้าทำนอง "ยิ่งให้ ยิ่งได้" ภาษีนี้จึงถือว่ามีคุณเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาประเทศและพัฒนาประชาธิปไตยโดยรวม
ไทยต้องมีภาษีนี้ให้ได้ ในอาเซียน มีเพียงไทย เมียนมาร์และบรูไนที่ไม่มีภาษีนี้ เมียนมาร์เขายากจน ล้าหลังกว่าไทย ก็คงต้องยกให้เขาไปประเทศหนึ่งก่อน ส่วนบรูไนก็ร่ำรวย ไม่นิยมให้ประชาชนเสียภาษีมากนัก ผมไปเป็นที่ปรึกษาในโครงการที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการคลังทั้งในเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย เขามีกันหมดแล้ว แต่ในไทยกลับยังไม่มีภาษีนี้
ในทุกวันนี้ ดูเหมือนผู้มีอำนาจในประเทศไทย ซึ่งคงไม่ใช่นักการเมืองเสียแล้ว แต่เป็นข้าราชการประจำใหญ่ ๆ ที่ต่างก็มีทรัพย์สมบัติมากมาย เกลียดและกลัวการเสียภาษีเหลือเกิน เราจึงควรทำให้ผู้มีอำนาจและประชาชนเข้าใจและสบายใจว่า ภาษีนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง ถ้าสมมติเราเสียปีละ 0.5% แต่ท้องถิ่นเจริญขึ้นเพราะภาษีเหล่านี้เอาไปสร้างถนน จัดการศึกษา จัดสร้างสาธารณูปโภคที่ดี มูลค่าทรัพย์สินก็จะเพิ่มขึ้นปีละ 4-5% มากกว่าภาษีที่ต้องเสียไปอีก
ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงก็จะเริ่มต้นด้วยการทำให้การเมืองท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง โดยประชาชนมีส่วนร่วม รูปแบบที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมที่แท้ก็คือการมีส่วนร่วมในการเสียภาษีเพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นนั่นเอง ไม่ใช่การร่วมในเชิงรูปแบบหรือการร่วมแบบพูดเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อยในลักษณะ “สามวาสองศอก” ขององค์กรท้องถิ่นหรือองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ในประเทศไทย
สังคมที่คนรวยๆ จะอยู่ได้อย่างเป็นสุขนั้น คนรวยๆ ก็ต้องเสียภาษีมรดก หรือทุกคนต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทุกวันนี้ใครมีจักรยานยนต์ยังต้องเสียภาษีล้อเลื่อน ดังนั้นเราจึงไม่ควรเลี่ยงภาษี ถ้าประเทศมีความเหลื่อมล้ำมากเกินไป คนที่จะอยู่ไม่เป็นสุขก็คือพวกรวยๆ ล้นฟ้านี่แหละ ดังนั้นจึงต้องช่วยกันเสียภาษี
ผมเคยประกาศไว้ว่า ถ้า คสช. สามารถผลักดันภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ที่ไม่ใช่แบบเล่นปาหี่) ได้สำเร็จเช่นอารยะประเทศ ผมพร้อมจะกราบงาม ๆ แทบเท้าเลยครับ
อ่านต่อล่ะกันเนอะ http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement798.htm