ในภาวะปัจจุบันที่ดูคล้ายรัฐบาลจะ "ถังแตก" และประคองเศรษฐกิจไทยไปได้ลำบาก แนวทางหนึ่งในการหาเงินเข้ารัฐโดยไม่เดือดร้อนต่อประชาชนทั่วไป ก็คือการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) จึงให้ข้อคิดเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่ยิ่งเสีย ยิ่งได้
ทั้งนี้ AREA แถลงฉบับนี้ เป็นฉบับเดียวกับ AREA แถลง ฉบับที่ 149/2558: วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2558 (
http://bit.ly/1RQV8Xy) ที่ ดร.โสภณ เคยเสนอก่อนหน้านี้แล้ว เพราะรัฐบาลในช่วงกลางปี 2558 ก็ทำท่าว่าจะขึ้นภาษี VAT โดยไม่เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อาจเป็นเพราะเกรงใจคนรวย ที่นั่งอยู่ในสภาในขณะนี้ก็เป็นไปได้ จึงมีความพยายามจะขึ้นภาษี VAT เป็นระยะ ๆ
สำหรับแนวทางที่เสนอเกี่ยวกับการใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนภาษี VAT ก็คือ
1. ภาษีนี้ดีจริงๆ "ยิ่งเสีย ยิ่งได้" เพราะไม่ต้องนำส่งส่วนกลาง จึงตัดวงจรการโกง เอามาพัฒนาท้องถิ่นโดยตรง ยิ่งท้องถิ่นมีการพัฒนา มูลค่าทรัพย์สินก็ยิ่งเพิ่มขึ้น พวกเราจะกลัวอะไรกันนักกันหนากับภาษีนี้ เพราะถึงแม้จะเสียปีละ 1% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับเพิ่มขึ้นถึงปีละ 4-5% มีแต่ได้กับได้ จะไปกลัวอะไรกันครับ
2. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเก็บจากการครองครอบทรัพย์ เช่นหากเราครอบครองรถจักยานยนต์เก่า ๆ ไว้คันหนึ่งมูลค่าเพียง 30,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีประจำปีอย่างน้อย 100 บาท เป็นต้น (0.33%) ทุกวันนี้เราก็เสีย "ค่าส่วนกลาง" ในนิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลบ้านจัดสรร จากการครองครองทรัพย์สินอยู่แล้ว หากไม่เสีย เวลาโอนทรัพย์ให้ใครจะโอนไม่ได้ ต้องหักจ่ายค่าส่วนกลางก่อน เราจะมาบ่นหรือโอดครวญว่า เราไม่ได้อยู่ ไม่ต้องเสียภาษีไม่ได้
3. อย่าตระหนก เก็บน้อยมาก ความจริงควรเก็บราว 1-3% เช่นในยุโรปและอเมริกา แต่รัฐบาลจะจัดเก็บเพียง 0.1% สำหรับที่อยู่อาศัย หากไม่มีข้อยกเว้นบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็เสียภาษีเพียง 1,000 บาท หรือ เดือนละ 83 บาท ถูกกว่าค่ายามเสียอีก เราควรส่งเสริมการเสียภาษีนี้ เพื่อความภาคภูมิใจของเราในฐานะเจ้าของประเทศที่จะจ่ายเพื่อนำมาจัดสวัสดิภาพและสวัสดิการในท้องถิ่นของเราเอง
4. ภาษีนี้ช่วยแก้ใช้แก้ปัญหาการใช้ที่ดินที่ไร้ประสิทธิภาพ เช่น กรณีที่ดินเปล่ามากมายในเมืองที่เจ้าที่ดินเก็บให้ลูกหลานโดยไม่ต้องเสียภาษีมาช้านาน อาจถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่ดินของเรามีสาธารณูปโภคพร้อมแต่กลับทิ้งไว้ การพัฒนาเมืองจึงต้องขยายออกไปนอกเมือง ทำลายพื้นที่ชนบทอย่างไม่ที่ที่สิ้นสุด สาธารณูปโภคก็ต้องตามออกไปไม่สิ้นสุด หากมีภาษีนี้ ก็จะทำให้เจ้าของที่ดินถูก "ไฟลนก้น" ต้องคายที่ดินออกมา เมื่ออุปทานที่ดินมีมากขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยก็จะไม่แพงจนเกินกำลังประชาชน
5. เมื่อมีภาษีนี้จะงดหรือลดภาษีอื่น รัฐบาลพึงทำความเข้าใจประชาชนว่าภาษีนี้ใช้แทนภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และเมื่อมีการเก็บภาษีนี้แล้ว เวลาโอนขายทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนประมาณ 3% ก็อาจลดเหลือเพียงแค่ค่าเขียนคำร้อง ประชาชนก็จะได้แจ้งราคาจริงเพราะไม่ต้องเลี่ยงภาษีอีกต่อไป ทางราชการหรือสาธารณชนก็จะมีฐานข้อมูลการซื้อขายจริงเพื่อการตั้งราคาซื้อขาย ประเมินค่าทรัพย์สิน และจัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมตามราคาจริงในท้องตลาด
6. ภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขาดความเป็นจริง ปัจจุบันเราจัดเก็บภาษีเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่า ทำให้เกิดความลักลั่นได้ เพราะมีคนจำนวนมากที่ให้เช่าโดยไม่ได้แจ้งว่ามีการเช่า และอัตราภาษีโรงเรือนที่ 12.5% สูงเกินไป จึงมีการเลี่ยง ก่อให้เกิดทุจริต ในกรณีนี้ฮ่องกงจึงกำหนดอัตราภาษีไว้ 5% ของค่าเช่าตลาด โดยเก็บกับบ้านทุกหน่วยไม่ว่าจะปล่อยเช่าหรือไม่ เพื่อความเท่าเทียมในการเสียภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น
7. เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน ในภูมิภาคนี้ 10 ประเทศ มีเพียงไทย บรูไนและเมียนมาร์ที่ไม่มีภาษีนี้ ผมไปเป็นที่ปรึกษาในโครงการของกระทรวงการคลังกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งทำงานธนาคารโลกและสหประชาชาติในด้านนี้ ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ประเทศทั้งหลายมีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว บรูไนเป็นประเทศร่ำรวย รัฐบาลแทบจะแจกเงินให้ประชาชนโดยแทบไม่ต้องเสียภาษีแล้ว ส่วนเมียนมาร์ก็ยังล้าหลังไทยมาก ไทยเราจะไปเทียบด้วยคงไม่ได้
8. การไม่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่ากับเรายกที่ดินให้ต่างชาติฟรีๆ หากเราไปซื้อบ้านในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาเฉลี่ยประมาณ 10 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 1-3% หรือราว 200,000 บาทต่อปี แต่ทุกวันนี้คนต่างชาติมาซื้อที่ดินบนเขา บนเกาะแก่งของไทย ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลย เท่ากับเรายกประเทศให้พวกเขาฟรีๆ นี่เป็นผลเสียจากการที่ชนชั้นนำของประเทศไทยไม่ยอมเสียภาษี จึงชักศึกเข้าบ้าน ยอมทำลายผลประโยชน์ของชาติเพื่อวงศ์ตระกูลของตนเองโดยแท้
9. มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ทำให้บ้านแพงขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินจะฉวยโอกาสขึ้นราคาบ้าน เพราะภาษีที่จะจัดเก็บนี้ต่ำมาก ๆ และยิ่งหากมีการลดหรืองดเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมโอนเพราะมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ยิ่งจะทำให้ราคาบ้านปรับตัวลดลงอีกต่างหาก และทุกวันนี้ค่าก่อสร้างอาคารก็ไม่ได้ปรับเพิ่มเลยตลอด 1 ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป
10. อย่ากลัวการโกงภาษี ระบบภาษีนี้จะทำให้บ้านเมืองโปร่งใสต่างหาก ที่ผ่านรายได้ส่วนใหญ่ถึง 90% ส่งมาจากส่วนกลาง ชาวบ้านไม่รู้สึกเป็นเจ้าของภาษี จึงเกิดอาการ "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" ในหมู่ผู้บริหารท้องถิ่น แต่เมื่อมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แรกๆ อาจยังมีการโกง (ตามความเคยชิน) แต่พอสักพักประชาชนเจ้าของเงินจะเริ่มตื่นตัว ตรวจสอบมากขึ้น มาช่วยทำงานการเมืองมากขึ้น ความโปร่งใสก็จะเกิดขึ้น
11. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างช่วยสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่เป็นเช่นนี้เพราะในเมื่อท้องถิ่นเก็บภาษีมาใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งภาษีทางอ้อมจากส่วนกลาง ส่วนกลางก็ไม่อาจมาควบคุมหรือมามีอิทธิพลเหนือส่วนท้องถิ่น ประชาชนก็จะมีความเป็นไทยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่ง ประชาธิปไตยนอกจากหมายถึงการยกมือแล้ว ยังหมายถึงการเสียภาษีให้ส่วนรวมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ เราเสียผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่การเสียทางตรงนี้ ทำให้เรามีความภูมิใจในศักดิ์ความเป็นคนของเราเองเพิ่มขึ้น
12. อย่าอ้างเรื่องการเมือง บ้างคิดไปไกลถึงขนาดว่ารัฐบาลนี้ไม่ชอบธรรม ไม่ควรเสียภาษีให้ แต่ความจริงภาษีนี้ใช้ในท้องถิ่น เมื่อกลางปีที่แล้วผมยังเคยเขียนลงในเฟสบุ๊กว่า หากท่านนายกฯ สามารถออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีมรดกได้ ผมจะกราบแทบเท้าเลย (
http://goo.gl/ZbW4zM) แต่ดูท่าจะอดกราบท่านเสียแล้ว ท่านสั่งถอยหรือมียกเว้นโน่นนี่ บิดเบี้ยวไปมา
13. ภาษีนี้ไม่ควรมีข้อยกเว้นใดๆ เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่น การยกเว้นโน่นนี่ก่อให้เกิดการทุจริตด้วยการใช้ดุลยพินิจ การยกเว้นโดยอ้างชาวบ้านเดือดร้อนเป็นหมกเม็ดช่วยคนรวย จะเห็นได้ว่าต่อคนจน รัฐบาลบอกว่าจะยกเว้นให้จาก 0.1% เหลือ 0.05% แต่ต่อคนรวย รัฐบาลกลับจะลดเพดานที่ดินเปล่าให้จาก 4% เป็น 2% เป็น 0.5% เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นการลดให้ที่ดินเกษตรกรรม ก็อาจเกิด "ดรามา" โดยมหาเศรษฐีแสร้งปลูกข้าว ทำสวนในใจกลางเมือง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีในฐานที่ดินเปล่า เป็นต้น
14. คนไม่มีเงินจ่ายภาษีจะถูกขับไล่ไหม ที่ดินราคาแพงในทำเลทองซึ่งแต่เดิมเป็นย่านพักอาศัย เช่น หลังสวนลุมพินี สุขุมวิท สาทร ราชครู ฯลฯ แต่เดี๋ยวนี้ราคาแพงขึ้น หากไม่มีเงินจ่ายภาษีจะทำอย่างไร ข้อนี้เป็นประเด็นที่ควรช่วยเหลือในรายละเอียด แต่ทำเลเหล่านี้ในปัจจุบันมักมีบรรยากาศวุ่นวาย จราจรติดขัด ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เจ้าของบ้านจะขยับขยายออกไปอยู่ที่อื่นพร้อมเงินก้อนใหญ่จากการขายทรัพย์สินได้กำไรงาม คหบดีหรือผู้ดีเก่าไม่อาจอ้างความเคยชินมาครอบครองทรัพย์ราคาแพงโดยไม่เสียภาษี
15. นี่อาจเป็นกลยุทธ์การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะนี้รัฐบาลกำลังขาดเงิน จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาแบบโต้ง ๆ ก็คงมีเสียงต่อต้านหนัก ดังนั้นจึงอาจเข็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาเพื่อให้ชาวบ้านต้าน การทำให้การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถทำได้ ก็จะทำให้รัฐบาลนำมาอ้างได้ว่า หมดทางเลือกอื่น จำเป็นต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระทบต่อทุกหย่อมหญ้า ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บเข้าส่วนกลางและทำให้ส่วนกลางควบคุมส่วนท้องถิ่น โดยการจัดสรรงบประมาณและทำให้เกิดการทุจริตในระหว่างทางได้
16. ภาษีนี้ดีแม้ในยามวิกฤติ ล่าสุดท่านนายกฯ สั่งถอย บอกว่าช่วงนี้มีปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก็มีมานานพอ ๆ กับการออกข่าวจะเข็นภาษีนี้ แสดงว่ารัฐบาลคงหาข้ออ้างถอยมากกว่า ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะมีวิกฤติใด ๆ ก็ควรเสียภาษีนี้ เพราะยิ่งพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ มูลค่าทรัพย์สินของเราเองยิ่งงอกเงย ยิ่งไม่เสียภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น ท้องถิ่นทรุดโทรม เศรษฐกิจของตัวเราเองยิ่งถดถอย ภาษีที่เสียเข้าส่วนกลางยิ่งถูกโกง
รัฐบาลควรเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนว่าภาษีนี้ดีจริง ตอนที่รัฐบาลจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นั้น รัฐบาลใช้ทุกองคาพยพ เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนว่าภาษีนี้ดีกว่าระบบภาษีเดิมอย่างไร แต่มาคราวนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นคุณโดยตรงต่อประชาชนอันไพศาล (ยกเว้นพวกคหบดีใหญ่โต) ทางราชการกลับดูคล้าย "เตะถ่วง" ให้หมดสมัยรัฐบาลนี้
รณรงค์ให้มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดีกว่า ในอาเซียนเหลือไทย เมียนมาร์และบรูไนที่ไม่มีภาษีนี้ ถ้าให้ต่างชาติมาซื้อที่ในไทย โดยเราไม่เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็เท่ากับเรากำลังขายชาติอยู่ทุกวัน
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1869.htm
ดร.โสภณเสนอทางเลือกที่ไม่ต้องขึ้น VAT 8%
ทั้งนี้ AREA แถลงฉบับนี้ เป็นฉบับเดียวกับ AREA แถลง ฉบับที่ 149/2558: วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2558 (http://bit.ly/1RQV8Xy) ที่ ดร.โสภณ เคยเสนอก่อนหน้านี้แล้ว เพราะรัฐบาลในช่วงกลางปี 2558 ก็ทำท่าว่าจะขึ้นภาษี VAT โดยไม่เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อาจเป็นเพราะเกรงใจคนรวย ที่นั่งอยู่ในสภาในขณะนี้ก็เป็นไปได้ จึงมีความพยายามจะขึ้นภาษี VAT เป็นระยะ ๆ
สำหรับแนวทางที่เสนอเกี่ยวกับการใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนภาษี VAT ก็คือ
1. ภาษีนี้ดีจริงๆ "ยิ่งเสีย ยิ่งได้" เพราะไม่ต้องนำส่งส่วนกลาง จึงตัดวงจรการโกง เอามาพัฒนาท้องถิ่นโดยตรง ยิ่งท้องถิ่นมีการพัฒนา มูลค่าทรัพย์สินก็ยิ่งเพิ่มขึ้น พวกเราจะกลัวอะไรกันนักกันหนากับภาษีนี้ เพราะถึงแม้จะเสียปีละ 1% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับเพิ่มขึ้นถึงปีละ 4-5% มีแต่ได้กับได้ จะไปกลัวอะไรกันครับ
2. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเก็บจากการครองครอบทรัพย์ เช่นหากเราครอบครองรถจักยานยนต์เก่า ๆ ไว้คันหนึ่งมูลค่าเพียง 30,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีประจำปีอย่างน้อย 100 บาท เป็นต้น (0.33%) ทุกวันนี้เราก็เสีย "ค่าส่วนกลาง" ในนิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลบ้านจัดสรร จากการครองครองทรัพย์สินอยู่แล้ว หากไม่เสีย เวลาโอนทรัพย์ให้ใครจะโอนไม่ได้ ต้องหักจ่ายค่าส่วนกลางก่อน เราจะมาบ่นหรือโอดครวญว่า เราไม่ได้อยู่ ไม่ต้องเสียภาษีไม่ได้
3. อย่าตระหนก เก็บน้อยมาก ความจริงควรเก็บราว 1-3% เช่นในยุโรปและอเมริกา แต่รัฐบาลจะจัดเก็บเพียง 0.1% สำหรับที่อยู่อาศัย หากไม่มีข้อยกเว้นบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็เสียภาษีเพียง 1,000 บาท หรือ เดือนละ 83 บาท ถูกกว่าค่ายามเสียอีก เราควรส่งเสริมการเสียภาษีนี้ เพื่อความภาคภูมิใจของเราในฐานะเจ้าของประเทศที่จะจ่ายเพื่อนำมาจัดสวัสดิภาพและสวัสดิการในท้องถิ่นของเราเอง
4. ภาษีนี้ช่วยแก้ใช้แก้ปัญหาการใช้ที่ดินที่ไร้ประสิทธิภาพ เช่น กรณีที่ดินเปล่ามากมายในเมืองที่เจ้าที่ดินเก็บให้ลูกหลานโดยไม่ต้องเสียภาษีมาช้านาน อาจถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่ดินของเรามีสาธารณูปโภคพร้อมแต่กลับทิ้งไว้ การพัฒนาเมืองจึงต้องขยายออกไปนอกเมือง ทำลายพื้นที่ชนบทอย่างไม่ที่ที่สิ้นสุด สาธารณูปโภคก็ต้องตามออกไปไม่สิ้นสุด หากมีภาษีนี้ ก็จะทำให้เจ้าของที่ดินถูก "ไฟลนก้น" ต้องคายที่ดินออกมา เมื่ออุปทานที่ดินมีมากขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยก็จะไม่แพงจนเกินกำลังประชาชน
5. เมื่อมีภาษีนี้จะงดหรือลดภาษีอื่น รัฐบาลพึงทำความเข้าใจประชาชนว่าภาษีนี้ใช้แทนภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และเมื่อมีการเก็บภาษีนี้แล้ว เวลาโอนขายทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนประมาณ 3% ก็อาจลดเหลือเพียงแค่ค่าเขียนคำร้อง ประชาชนก็จะได้แจ้งราคาจริงเพราะไม่ต้องเลี่ยงภาษีอีกต่อไป ทางราชการหรือสาธารณชนก็จะมีฐานข้อมูลการซื้อขายจริงเพื่อการตั้งราคาซื้อขาย ประเมินค่าทรัพย์สิน และจัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมตามราคาจริงในท้องตลาด
6. ภาษีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขาดความเป็นจริง ปัจจุบันเราจัดเก็บภาษีเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่า ทำให้เกิดความลักลั่นได้ เพราะมีคนจำนวนมากที่ให้เช่าโดยไม่ได้แจ้งว่ามีการเช่า และอัตราภาษีโรงเรือนที่ 12.5% สูงเกินไป จึงมีการเลี่ยง ก่อให้เกิดทุจริต ในกรณีนี้ฮ่องกงจึงกำหนดอัตราภาษีไว้ 5% ของค่าเช่าตลาด โดยเก็บกับบ้านทุกหน่วยไม่ว่าจะปล่อยเช่าหรือไม่ เพื่อความเท่าเทียมในการเสียภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น
7. เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาเซียน ในภูมิภาคนี้ 10 ประเทศ มีเพียงไทย บรูไนและเมียนมาร์ที่ไม่มีภาษีนี้ ผมไปเป็นที่ปรึกษาในโครงการของกระทรวงการคลังกัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งทำงานธนาคารโลกและสหประชาชาติในด้านนี้ ปรากฏว่าเดี๋ยวนี้ประเทศทั้งหลายมีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว บรูไนเป็นประเทศร่ำรวย รัฐบาลแทบจะแจกเงินให้ประชาชนโดยแทบไม่ต้องเสียภาษีแล้ว ส่วนเมียนมาร์ก็ยังล้าหลังไทยมาก ไทยเราจะไปเทียบด้วยคงไม่ได้
8. การไม่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่ากับเรายกที่ดินให้ต่างชาติฟรีๆ หากเราไปซื้อบ้านในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาเฉลี่ยประมาณ 10 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 1-3% หรือราว 200,000 บาทต่อปี แต่ทุกวันนี้คนต่างชาติมาซื้อที่ดินบนเขา บนเกาะแก่งของไทย ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลย เท่ากับเรายกประเทศให้พวกเขาฟรีๆ นี่เป็นผลเสียจากการที่ชนชั้นนำของประเทศไทยไม่ยอมเสียภาษี จึงชักศึกเข้าบ้าน ยอมทำลายผลประโยชน์ของชาติเพื่อวงศ์ตระกูลของตนเองโดยแท้
9. มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ทำให้บ้านแพงขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินจะฉวยโอกาสขึ้นราคาบ้าน เพราะภาษีที่จะจัดเก็บนี้ต่ำมาก ๆ และยิ่งหากมีการลดหรืองดเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมโอนเพราะมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ยิ่งจะทำให้ราคาบ้านปรับตัวลดลงอีกต่างหาก และทุกวันนี้ค่าก่อสร้างอาคารก็ไม่ได้ปรับเพิ่มเลยตลอด 1 ปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป
10. อย่ากลัวการโกงภาษี ระบบภาษีนี้จะทำให้บ้านเมืองโปร่งใสต่างหาก ที่ผ่านรายได้ส่วนใหญ่ถึง 90% ส่งมาจากส่วนกลาง ชาวบ้านไม่รู้สึกเป็นเจ้าของภาษี จึงเกิดอาการ "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" ในหมู่ผู้บริหารท้องถิ่น แต่เมื่อมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แรกๆ อาจยังมีการโกง (ตามความเคยชิน) แต่พอสักพักประชาชนเจ้าของเงินจะเริ่มตื่นตัว ตรวจสอบมากขึ้น มาช่วยทำงานการเมืองมากขึ้น ความโปร่งใสก็จะเกิดขึ้น
11. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างช่วยสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่เป็นเช่นนี้เพราะในเมื่อท้องถิ่นเก็บภาษีมาใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งภาษีทางอ้อมจากส่วนกลาง ส่วนกลางก็ไม่อาจมาควบคุมหรือมามีอิทธิพลเหนือส่วนท้องถิ่น ประชาชนก็จะมีความเป็นไทยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่ง ประชาธิปไตยนอกจากหมายถึงการยกมือแล้ว ยังหมายถึงการเสียภาษีให้ส่วนรวมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ เราเสียผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่การเสียทางตรงนี้ ทำให้เรามีความภูมิใจในศักดิ์ความเป็นคนของเราเองเพิ่มขึ้น
12. อย่าอ้างเรื่องการเมือง บ้างคิดไปไกลถึงขนาดว่ารัฐบาลนี้ไม่ชอบธรรม ไม่ควรเสียภาษีให้ แต่ความจริงภาษีนี้ใช้ในท้องถิ่น เมื่อกลางปีที่แล้วผมยังเคยเขียนลงในเฟสบุ๊กว่า หากท่านนายกฯ สามารถออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีมรดกได้ ผมจะกราบแทบเท้าเลย (http://goo.gl/ZbW4zM) แต่ดูท่าจะอดกราบท่านเสียแล้ว ท่านสั่งถอยหรือมียกเว้นโน่นนี่ บิดเบี้ยวไปมา
13. ภาษีนี้ไม่ควรมีข้อยกเว้นใดๆ เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่น การยกเว้นโน่นนี่ก่อให้เกิดการทุจริตด้วยการใช้ดุลยพินิจ การยกเว้นโดยอ้างชาวบ้านเดือดร้อนเป็นหมกเม็ดช่วยคนรวย จะเห็นได้ว่าต่อคนจน รัฐบาลบอกว่าจะยกเว้นให้จาก 0.1% เหลือ 0.05% แต่ต่อคนรวย รัฐบาลกลับจะลดเพดานที่ดินเปล่าให้จาก 4% เป็น 2% เป็น 0.5% เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นการลดให้ที่ดินเกษตรกรรม ก็อาจเกิด "ดรามา" โดยมหาเศรษฐีแสร้งปลูกข้าว ทำสวนในใจกลางเมือง เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีในฐานที่ดินเปล่า เป็นต้น
14. คนไม่มีเงินจ่ายภาษีจะถูกขับไล่ไหม ที่ดินราคาแพงในทำเลทองซึ่งแต่เดิมเป็นย่านพักอาศัย เช่น หลังสวนลุมพินี สุขุมวิท สาทร ราชครู ฯลฯ แต่เดี๋ยวนี้ราคาแพงขึ้น หากไม่มีเงินจ่ายภาษีจะทำอย่างไร ข้อนี้เป็นประเด็นที่ควรช่วยเหลือในรายละเอียด แต่ทำเลเหล่านี้ในปัจจุบันมักมีบรรยากาศวุ่นวาย จราจรติดขัด ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เจ้าของบ้านจะขยับขยายออกไปอยู่ที่อื่นพร้อมเงินก้อนใหญ่จากการขายทรัพย์สินได้กำไรงาม คหบดีหรือผู้ดีเก่าไม่อาจอ้างความเคยชินมาครอบครองทรัพย์ราคาแพงโดยไม่เสียภาษี
15. นี่อาจเป็นกลยุทธ์การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะนี้รัฐบาลกำลังขาดเงิน จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาแบบโต้ง ๆ ก็คงมีเสียงต่อต้านหนัก ดังนั้นจึงอาจเข็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาเพื่อให้ชาวบ้านต้าน การทำให้การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถทำได้ ก็จะทำให้รัฐบาลนำมาอ้างได้ว่า หมดทางเลือกอื่น จำเป็นต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระทบต่อทุกหย่อมหญ้า ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บเข้าส่วนกลางและทำให้ส่วนกลางควบคุมส่วนท้องถิ่น โดยการจัดสรรงบประมาณและทำให้เกิดการทุจริตในระหว่างทางได้
16. ภาษีนี้ดีแม้ในยามวิกฤติ ล่าสุดท่านนายกฯ สั่งถอย บอกว่าช่วงนี้มีปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก็มีมานานพอ ๆ กับการออกข่าวจะเข็นภาษีนี้ แสดงว่ารัฐบาลคงหาข้ออ้างถอยมากกว่า ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะมีวิกฤติใด ๆ ก็ควรเสียภาษีนี้ เพราะยิ่งพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ มูลค่าทรัพย์สินของเราเองยิ่งงอกเงย ยิ่งไม่เสียภาษีมาพัฒนาท้องถิ่น ท้องถิ่นทรุดโทรม เศรษฐกิจของตัวเราเองยิ่งถดถอย ภาษีที่เสียเข้าส่วนกลางยิ่งถูกโกง
รัฐบาลควรเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนว่าภาษีนี้ดีจริง ตอนที่รัฐบาลจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นั้น รัฐบาลใช้ทุกองคาพยพ เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนว่าภาษีนี้ดีกว่าระบบภาษีเดิมอย่างไร แต่มาคราวนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นคุณโดยตรงต่อประชาชนอันไพศาล (ยกเว้นพวกคหบดีใหญ่โต) ทางราชการกลับดูคล้าย "เตะถ่วง" ให้หมดสมัยรัฐบาลนี้
รณรงค์ให้มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดีกว่า ในอาเซียนเหลือไทย เมียนมาร์และบรูไนที่ไม่มีภาษีนี้ ถ้าให้ต่างชาติมาซื้อที่ในไทย โดยเราไม่เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็เท่ากับเรากำลังขายชาติอยู่ทุกวัน
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1869.htm