ท่านทราบหรือไม่ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ของมหาเศรษฐีไทย มูลค่าในวันนี้ แท้จริงแล้วเป็นของแผ่นดิน เช่น ที่ดินที่แพงที่สุดใน กทม. แปลงละ2,130,000 บาทต่อตารางวา ถ้าต้องเสียภาษีปีละ 2% ตามมาตรฐานสากล ในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ราวสองในสามของมูลค่าดังกล่าวจะกลายเป็นภาษีที่พึงเสีย แต่ในไทยไม่มีการเสีย นายทุนใหญ่จึงรอดไปสบายๆ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ประมาณการให้เห็นว่า ในกรณีที่ราคาที่ดินที่แพงที่สุดในประเทศไทย ณ บริเวณแถวสยามสแควร์-ชิดลม-เพลินจิต-นานา ที่ราคาตลาดตกตารางวาละ 2.13 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560 ตามที่ศูนย์ฯ ได้ประมาณการไว้นั้น (
http://bit.ly/2rksgj3) มูลค่านี้มีภาษีที่พึงเสียเจืออยู่ถึง 64% ของมูลค่าทั้งหมด นี่เองในประเทศสังคมนิยม จึงมีการยึดทรัพย์สินของบรรดานายทุนใหญ่เข้าหลวงในอดีตที่ผ่านมา
มูลค่าที่ 2.13 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560 นั้น เมื่อปี 2537 ประมาณการไว้เป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาท ส่วนเมื่อปี 2510 หรือเมื่อ 50 ปีก่อน ดร.โสภณ ประมาณการไว้เป็นเงินตารางวาละ 60,000 บาท เพราะขณะนั้นราคาที่ดินยังถูกอยู่มาก และสมมติให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นตามสูตรอัตราดอกเบี้ยทบต้นทุกปีจนถึงปี 2537 เป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาท และจากปี 2537 - 2560 ก็ประมาณการด้วยสูตรดอกเบี้ยทบต้นเช่นกัน
ทีนี้หากสมมติให้แต่ละปี ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ในลักษณะนี้ มีอัตราการเสียภาษีประมาณ 2% เช่นที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และตามมาตรฐานสากลทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกที่เก็บภาษีที่ดินเพื่อการพาณิชย์ในอัตราราว 2% นี้ ตามคอลัมน์ C ภาษีที่จะจัดเก็บได้ในแต่ละปีจึงเป็นเงินตามที่แสดงไว้ และนำเงินตามคอลัมน์ C มาทำเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 5% ในคอลัมน์ D
ในการนี้จะพบว่า ภาษีที่พึงจ่ายคิดเป็นเงินปัจจุบันรวมกันถึง 1,285,270 บาท ซึ่งถือเป็น 60% ของมูลค่าปัจจุบันที่ 2,130,000 บาทต่อตารางวา โดยนัยนี้ การไม่มีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลยจึงเท่ากับว่ามูลค่าที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 60,000 บาทในปี 2510 และกลายมาเป็น 2,130,000 บาทในปี 2560 นี้ มูลค่าราว 2/3 ของที่ดินต่อตารางวานี้เป็นของแผ่นดินนั่นเอง
นี่ยิ่งถ้ามีการถือครองที่ดินนับร้อยปีโดยไม่มีการเสียภาษี จึงแทบเท่ากับว่าทรัพย์แทบทั้งหมดเป็นของหลวง เป็นของแผ่นดินไปแล้ว และนี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมเมื่อมีการปฏิวัติสังคมนิยม รัฐบาลในสมัยปฏิวัติของประเทศต่างๆ จึงมักมีการยึดอสังหาริมทรัพย์ของข้าราชการหรือนายทุนใหญ่ๆ มาเข้าหลวง หรือให้ตกเป็นสมบัติของแผ่นดิน เพราะพวกมหาเศรษฐีเหล่านั้นไม่เคยเสียภาษีให้กับแผ่นดินเท่าที่ควรเลย
ประเทศไทยจึงควรมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศโดยด่วน แต่ไม่ใช่จัดเก็บในลักษณะที่มีการลดหย่อนสารพัดจนแทบไม่มีการจัดเก็บ สมมติให้มีการจัดเก็บ 1% เท่ากันหมดสำหรับทรัพย์สินประเภทที่อยู่อาศัยโดยไม่มีข้อยกเว้น ประชาชนก็ไม่เดือดร้อนดังอ้าง เช่น ในปัจจุบันประชาชนที่มีรถจักรยานยนต์เก่า ๆ คันละ 30,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีปีละ 400-500 บาท หรือมากกว่า 1% อยู่แล้ว การที่คนจน ๆ จะมีที่นาถูก ๆ หรือห้องชุดถูก ๆ การเสียภาษีเพียง 1% ก็พอ ๆ กับค่าจัดเก็บขยะเท่านั้น และเมื่อเสียแล้วนำมาพัฒนาท้องถิ่น ราคาที่ดินในท้องถิ่นก็จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าภาษีที่ต้องเสียเสียอีก ดังนั้นการพยายามในการลดภาษีนั้น แท้จริงแล้วจึงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์มาก ๆ ต่างหาก
อย่าปล่อยให้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลายเป็นสิ่งบิดเบี้ยวจนแทบไม่มีการจัดเก็บ หรือไม่คุ้มค่าจัดเก็บ แล้วหาทางขึ้นภาษี VAT ซึ่งจะกลายเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับทุกคนโดยเฉพาะคนที่ (แทบ) ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เลย
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1960.htm
ทรัพย์ของมหาเศรษฐี แท้จริงแล้วสองในสามเป็นของแผ่นดิน?
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ประมาณการให้เห็นว่า ในกรณีที่ราคาที่ดินที่แพงที่สุดในประเทศไทย ณ บริเวณแถวสยามสแควร์-ชิดลม-เพลินจิต-นานา ที่ราคาตลาดตกตารางวาละ 2.13 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560 ตามที่ศูนย์ฯ ได้ประมาณการไว้นั้น (http://bit.ly/2rksgj3) มูลค่านี้มีภาษีที่พึงเสียเจืออยู่ถึง 64% ของมูลค่าทั้งหมด นี่เองในประเทศสังคมนิยม จึงมีการยึดทรัพย์สินของบรรดานายทุนใหญ่เข้าหลวงในอดีตที่ผ่านมา
มูลค่าที่ 2.13 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560 นั้น เมื่อปี 2537 ประมาณการไว้เป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาท ส่วนเมื่อปี 2510 หรือเมื่อ 50 ปีก่อน ดร.โสภณ ประมาณการไว้เป็นเงินตารางวาละ 60,000 บาท เพราะขณะนั้นราคาที่ดินยังถูกอยู่มาก และสมมติให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นตามสูตรอัตราดอกเบี้ยทบต้นทุกปีจนถึงปี 2537 เป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาท และจากปี 2537 - 2560 ก็ประมาณการด้วยสูตรดอกเบี้ยทบต้นเช่นกัน
ทีนี้หากสมมติให้แต่ละปี ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ในลักษณะนี้ มีอัตราการเสียภาษีประมาณ 2% เช่นที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และตามมาตรฐานสากลทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกที่เก็บภาษีที่ดินเพื่อการพาณิชย์ในอัตราราว 2% นี้ ตามคอลัมน์ C ภาษีที่จะจัดเก็บได้ในแต่ละปีจึงเป็นเงินตามที่แสดงไว้ และนำเงินตามคอลัมน์ C มาทำเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ณ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 5% ในคอลัมน์ D
ในการนี้จะพบว่า ภาษีที่พึงจ่ายคิดเป็นเงินปัจจุบันรวมกันถึง 1,285,270 บาท ซึ่งถือเป็น 60% ของมูลค่าปัจจุบันที่ 2,130,000 บาทต่อตารางวา โดยนัยนี้ การไม่มีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลยจึงเท่ากับว่ามูลค่าที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 60,000 บาทในปี 2510 และกลายมาเป็น 2,130,000 บาทในปี 2560 นี้ มูลค่าราว 2/3 ของที่ดินต่อตารางวานี้เป็นของแผ่นดินนั่นเอง
นี่ยิ่งถ้ามีการถือครองที่ดินนับร้อยปีโดยไม่มีการเสียภาษี จึงแทบเท่ากับว่าทรัพย์แทบทั้งหมดเป็นของหลวง เป็นของแผ่นดินไปแล้ว และนี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมเมื่อมีการปฏิวัติสังคมนิยม รัฐบาลในสมัยปฏิวัติของประเทศต่างๆ จึงมักมีการยึดอสังหาริมทรัพย์ของข้าราชการหรือนายทุนใหญ่ๆ มาเข้าหลวง หรือให้ตกเป็นสมบัติของแผ่นดิน เพราะพวกมหาเศรษฐีเหล่านั้นไม่เคยเสียภาษีให้กับแผ่นดินเท่าที่ควรเลย
ประเทศไทยจึงควรมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศโดยด่วน แต่ไม่ใช่จัดเก็บในลักษณะที่มีการลดหย่อนสารพัดจนแทบไม่มีการจัดเก็บ สมมติให้มีการจัดเก็บ 1% เท่ากันหมดสำหรับทรัพย์สินประเภทที่อยู่อาศัยโดยไม่มีข้อยกเว้น ประชาชนก็ไม่เดือดร้อนดังอ้าง เช่น ในปัจจุบันประชาชนที่มีรถจักรยานยนต์เก่า ๆ คันละ 30,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีปีละ 400-500 บาท หรือมากกว่า 1% อยู่แล้ว การที่คนจน ๆ จะมีที่นาถูก ๆ หรือห้องชุดถูก ๆ การเสียภาษีเพียง 1% ก็พอ ๆ กับค่าจัดเก็บขยะเท่านั้น และเมื่อเสียแล้วนำมาพัฒนาท้องถิ่น ราคาที่ดินในท้องถิ่นก็จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าภาษีที่ต้องเสียเสียอีก ดังนั้นการพยายามในการลดภาษีนั้น แท้จริงแล้วจึงเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์มาก ๆ ต่างหาก
อย่าปล่อยให้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลายเป็นสิ่งบิดเบี้ยวจนแทบไม่มีการจัดเก็บ หรือไม่คุ้มค่าจัดเก็บ แล้วหาทางขึ้นภาษี VAT ซึ่งจะกลายเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับทุกคนโดยเฉพาะคนที่ (แทบ) ไม่มีทรัพย์สินใดๆ เลย
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1960.htm