คนรวยล้วนเอาเปรียบคนจน

เราเห็นเศรษฐีใจบุญบริจาคเงินมากมายนั้น แท้จริงเป็นแค่กระผีกริ้น คนรวยโดยเฉพาะที่ยิ่งรวยล้นฟ้านั้น เอาเปรียบคนจนทั้งสิ้น เพราะไม่ได้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั่นเอง
           ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.araa.co.th) ขอยกตัวอย่างภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างมาเป็นตัวอย่าง แต่นั่นไม่ใช่ภาษีฯ ที่กำลังเขียนให้บิดเบี้ยว บิดพลิ้วอยู่ในสภาขณะนี้ ดร.โสภณ ยกตัวอย่างให้เห็นว่า หากประชาชนยากจนทั่วไปมีห้องชุดราคาหน่วยละ 300,000 บาท หากต้องเสียภาษี 1% ก็เป็นเงินปีละเพียง 300 บาท ถูกกว่าค่าเก็บขยะเสีย
           ในสังคมมีการดรามาว่าคนจนก็จนอยู่แล้ว อย่าเก็บภาษีเลย แต่หากสังคมได้ทราบความจริงว่า หากมีการเก็บภาษีนี้ เราคงมีเงินจ้างเวรยามมาดูแลสังคม ทางเท้า ฯลฯ ให้สังคมผาสุกมากขึ้น คุ้มกว่าที่เสียภาษีไปมากมาย สาเหตุที่มีการดรามายกเว้นภาษีแก่คนจน ก็เพื่อจะได้ยกเว้นแก่คนรวย ๆ ด้วยนั่นเอง ยกเว้นไป ๆ มา ๆ ก็เลยไม่ได้เก็บภาษี ก็เลยคิดแต่จะขึ้นภาษี VAT เป็น 8% เพราะภาษีนี้คนทุกคนโดนหมดโดยเฉพาะคนจน ๆ อยู่ในป่าเขาออกมาซื้อมาม่าซองหนึ่งก็โดนแล้ว
           ภาษี 1% สำหรับคนจนนั้นในแง่หนึ่งถือว่าถูกมาก แม้แต่คนจนมีจักรยานเก่า ๆ สักคัน ขี่มารับจ้างตามปากซอย คันละ 30,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีปีละมากกว่า 300 บาท หรือเกิน 1% แล้ว แต่สำหรับคนรวยนั้น 1% เขาไม่อยากจะเสีย เช่น ถ้ามีที่ดินตารางวาละ 2.25 ล้านบาท สัก 1,000 ตารางวา ก็เป็นเงิน 2,250 ล้านบาท หากต้องเสีย 1% ก็เท่ากับ 22.5 ล้านบาทต่อปีเข้าไปแล้ว พวกคนรวย ๆ เขาเสียดายเงิน กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงไม่ผ่านสภาเสียที แม้สภาของคณะรัฐประหารนี้ ก็เป็นของคนรวยเช่นกัน ดังภาษิตกฎหมายที่ว่า “ชนชั้นใดก็ออกกฎหมายเพื่อชนชั้นนั้น”
           ตามตารางข้างต้น สมมติอภิมหาเศรษฐีมีที่ดินอยู่แถวสยาม ชิดลม เพลินจิตและสุชุมวิทช่วงต้นๆ ซึ่งราคาที่ดินอาจถีบตัวสูงขึ้นจาก 400,000 บาทในปี 2537 เป็น 2,250 บาท ณ สิ้นปี 2560 กรณีนี้แสดงว่าอภิมหาเศรษฐีเหล่านี้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้นปีละ 7.8% โดยนั่งอยู่เฉย ๆ สำหรับที่ดินแปลงหนึ่ง แต่ถ้าต้องเสียภาษีปีละ 1% เช่นสากลโลก หรืออาจจะถึง 2% ด้วยซ้ำไปในกรณีประเทศตะวันตกที่เขาพยายามทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนลดลง และคิดว่ามีเงินเฟ้อปีละเพียง 3% แล้วนำเงินภาษีในแต่ละปีนี้มาแปลงเป็นมูลค่าปัจจุบัน ก็จะเป็นเงิน 335,990 บาท หรือราว 15% ของมูลค่าปัจจุบันที่ 2.25 ล้านบาทต่อตารางวานั่นเอง
           ยิ่งถ้าเราเพิ่มการเก็บภาษีเป็น 2% แบบการเก็บสำหรับอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ หรือที่ดินเปล่า ก็จะต้องเสียภาษีถึง 671,980 บาทจากมูลค่าปัจจุบันที่ 2.25 ล้านบาท หรือถึง 30% ของมูลค่านั่นเอง นี่เป็นการคิดเพียงแค่ 23 ปีที่ผ่านมา หากนับมาตลอดว่าคนรวยไม่ยอมเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลยโดยมีสภาของคนรวยๆ พากัน “โบ้ย” ไม่ยอมออกกฎหมายภาษีนี้มานับถึง 60 ปีเต็ม ก็เท่ากับว่ามูลค่าเกือบทั้งหมดของพวกเขา เป็นของหลวงไปแล้ว นี่เองในกรณีการเปลี่ยนแปลงเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เขาถึงยึดบ้าน ยึดที่ดินของคนรวยนั่นเอง ไทยเราอย่าให้ไปถึงวันนั้นเลย คนรวยช่วยกันเสียภาษีเพื่อประเทศชาติจะดีกว่า
           โดยนัยนี้ หากเศรษฐีคนหนึ่งมีที่ดิน 1,000 ตารางวา ๆ ละ 2.25 ล้านบาท แล้วต้องเสียภาษีปึละ 1% ก็เท่ากับเสียภาษี 22.5 ล้านบาทจากมูลค่าทรัพย์ 2,250 ล้านบาท เรามาลองดูกันว่าเศรษฐีที่มีทรัพย์นับพันๆ ล้านแบบนี้ เคยบริจาคเงินเพื่อส่วนรวมปีละ 22.5 ล้านบาทเลยหรือ อย่างมากก็คงบริจาคแค่กระผีกลิ้น แล้วถ่ายรูป เอาโล่กันไป ได้ทั้งกล่อง ประหยัดทั้งเงินอีกต่างหาก และด้วยเหตุนี้ สังคมไทยจึงมีความเหลื่อมล้ำอย่างสูงมาก แต่ยังดีดีที่เมืองไทยมีศาสนายึดเหนี่ยว หรืออีกนัยหนึ่งมีการใช้ศาสนาที่ดีงามมาใช้เบื่อเมาให้คน “ปล่อยวาง” จึงไม่เอาเรืองเอาราวกัน ปล่อยให้มีการเอาเปรียบคนที่จนกว่าอยู่ร่ำไป
           ขอให้ทั้งคนจนและคนรวยมาพร้อมใจกันเสียสละเพื่อสร้างชาติจะดีกว่า อย่าขอร้องแต่คนจนให้ต้องเสีย VAT เพิ่มเลย
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1875.htm
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ผมว่านะ คนจนนั่นแหละทั้งเลวทั้งเอาเปรียบสังคมเลย อยากเรียนฟรี รักษาฟรี น้ำฟรี ไฟฟ้าฟรี แต่ขึ้นภาษี 1% ดิ้นกันแทบเป็นแทบตาย  ที่ดินเปล่า ทางเท้าริมถนนก็มาตั้งแผงขายของ ขายอาหารสกปรกชั้นต่ำ ค่าเช่าที่ ภาษีไม่เคยเสีย พอเจ้าของมาไล่ก็ไม่ไป ทำหัวหมอหาว่ารังแกคนจนแถมเจ้าของต้องจ่ายค่ารื้อถอนให้มันอีกต่างหาก จะเก็บภาษีที่ดินน่ะ แก้กฏหมายเรื่องบุกรุกที่ดินก่อนดีกว่า ให้เจ้าของที่ดินสามารถใช้หน่วยงานรัฐไปดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเาร็จในหนึ่งวัน ขัดขืนขัดขวางจับยัดคุกโดยไม่ต้องขึ้นศาล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่