ท่านทราบไหม ถ้ามีการเก็บภาษีกับคนรวยๆ ที่มีที่ดินติดรถไฟฟ้าซึ่งทำให้ราคาที่ดินแพงขึ้นมหาศาลต่างจากพื้นที่อื่น ก็จะทำให้ประเทศชาติมีรถไฟฟ้าอีกหลายสาย คนรวยก็ได้ประโยชน์ คนจนก็ได้ด้วย แต่พวกนี้ไม่ยอมเสียภาษี! จึงไม่มีกฎหมายเก็บภาษีคนรวย!!!
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นว่า ราคาที่ดินในกรุงเทพมหานครเติบโตเพราะรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนนั่นเอง (
http://bit.ly/2qv71Ob) ถ้ามีการเก็บภาษีจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าจากรถไฟฟ้า ก็จะทำให้รัฐมีรายได้มาสร้างรถไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอื่นได้อีกมากมาย นครต่าง ๆ ก็จะเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผนที่ดี
ตามตารางต่อไปนี้ ราคาที่ดินแถวสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต นานาที่ ณ สิ้นปี 2560 จะมีราคาตารางวาละ 2.13 ล้านบาทนั้น ปรากฏว่าตามสถิติการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย พบว่า ราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าว ณ สิ้นปี 2541 หรือเริ่มมีรถไฟฟ้านั้น ตกเป็นเงินตารางวาละ 380,000 บาท ปีนั้นเป็นปีที่เพิ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย ณ ปี 2540 มาหมาด ๆ ราคาที่ดินนิ่งหรือลดต่ำลงกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำไป แต่หลังจากนั้น ราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นโดยตลอดมาจนถึงสิ้นปี 2560 ณ ราคา 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 9.5% โดยเฉลี่ย หรือเพิ่มขึ้น 5.6 เท่าเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามหากเรามีเงิน 380,000 บาท ณ สิ้นปี 2541 แล้วนำเงินไปฝากธนาคาร ณ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ซึ่งขึ้น ๆ ลง ๆ ในระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่ามูลค่า 380,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นเพียง 587,937 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2.32% เท่านั้น ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงปีหลัง ๆ มาค่อนข้างต่ำ เช่นในรอบ 3 ปีหลังต่ำเพียง 1.3% เท่านั้น
การนี้แสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินที่ 2.13 ล้านบาท มากกว่า 587,937 บาทอยู่ถึง 1,542,063 บาท เงินจำนวนที่เกินนี้ได้มาจากการมีรถไฟฟ้านั่นเอง นี่แสดงว่าตัวทรัพย์สินเอง มีการเพิ่มมูลค่าเองน้อยกว่าผลกระทบที่ได้จากการมีรถไฟฟ้าที่รัฐบาล "ประเคน" ให้เสียอีก ยิ่งถ้าหากคิดว่าเรามีที่ดินตารางวาละ 380,000 บาท หากขายไป แลกมาเป็นเงินสดไปฝากธนาคาร อาจได้เงินไม่ถึง 380,000 บาท เพราะการแปลงสภาพที่ดินเป็นเงินสด อาจต้องคิดลดเพราะไม่สามารถขายได้ในทันที ในกรณีเช่นนี้ อาจเหลือเพียง 300,000 บาท หรือแค่ 80% เท่านั้น จึงยิ่งทำให้มูลค่าในวันนี้น้อยกว่า 587,937 บาท
มูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้น 1,542,063 บาทนี้ ถือเป็น "ลาภลอย" ที่รัฐควรมีส่วนแบ่งบ้าง เช่น เมื่อมีการซื้อขาย ก็ควรแบ่งเข้าหลวงในรูปภาษีสัก 1/4 หรือ 25% ในกรณีนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนมือ ก็คือเสียภาษี 385,516 บาท เพราะกำไรที่ได้ 1,542,063 บาท ไม่ใช่ได้มาเพราะตนเอง แต่เพราะรถไฟฟ้าท่านให้มา จึงเป็นการสมควรที่จะแบ่งให้หลวงที่สร้างรถไฟฟ้าจากภาษีอากรของประชาชนบ้าง
เราลองมาคำนวณมูลค่าภาษีที่ควรได้กัน
1. หากเราสมมติว่าราคาที่ดินที่เพิ่มเพราะรถไฟฟ้า ไม่ได้สูงถึง 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา เพราะนี่เป็นแปลงที่แพงที่สุดในกรุงเทพมหานคร หากสมมติให้ราคาเฉลี่ยที่ดินรอบรถไฟฟ้าเป็นเงินเพียง 30% ของเงินจำนวนนี้ คือ 639,000 บาท
2. ในกรณีสยามสแควร์ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าถึง 72.4% (1,542,063/2,130,000) แต่ถ้าเป็นสายอื่นสัดส่วนของมูลค่าที่ได้จากรถไฟฟ้าอาจไม่ถึง โดยในที่นี้สมมติให้เป็นแค่ 50% ก็แสดงว่า มูลค่าเพิ่มจากรถไฟฟ้าเป็นเงิน 319,500 บาทต่อตารางวา (639,000 * 50%)
3. หากสมมติให้เงินตามข้อ 2 ควรเสียภาษี "ลาภลอย" 25% ก็จะเป็นเงิน 79,875 บาทต่อตารางวา (319,500 * 25%)
4. หากที่ดินรอบรถไฟฟ้า ระยะ 500 เมตร ลึก 100 เมตร มีพื้นที่ (กว้าง 500 เมตร * ลึก 100 เมตร * 4 ด้าน) มีพื้นที่ 50,000 ตารางวา (1 ตารางวา มี 4 ตารางเมตร) และสมมติว่าที่ดินเหล่านี้มีการเปลี่ยนมือ 30% หรือ 15,000 ตารางวา
5. โดยนัยนี้ ก็แสดงว่าจะสามารถเก็บภาษีได้ 1,198,125,000 บาทต่อสถานี (79,875 * 15,000 หรือข้อ 3 คูณข้อ 4)
6. หากมีสถานีที่เกี่ยวข้องเฉพาะในช่วงแรกนี้อยู่ 112 สถานี ก็จะเป็นเงินสูงถึง 134,190 ล้านบาท สามารถนำมาสร้างรถไฟฟ้าได้สบายๆ นั่นเอง ในกรณีนี้เป็นการคำนวณ ณ วันนี้ แต่บางคน อาจมีการเปลี่ยนมือก่อนหน้านี้ ก็จะได้เงินภาษีมาใช้ได้เร็วกว่านี้ด้วย
การเก็บภาษี "ลาภลอย" จึงเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง คนรวยๆ ที่ได้ประโยชน์จากโครงการของรัฐ ควรเสียภาษี
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1965.htm
ถ้าเก็บภาษี "ลาภลอย" ป่านนี้สร้างรถไฟฟ้าได้อีกหลายสาย
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นว่า ราคาที่ดินในกรุงเทพมหานครเติบโตเพราะรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนนั่นเอง (http://bit.ly/2qv71Ob) ถ้ามีการเก็บภาษีจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าจากรถไฟฟ้า ก็จะทำให้รัฐมีรายได้มาสร้างรถไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอื่นได้อีกมากมาย นครต่าง ๆ ก็จะเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผนที่ดี
ตามตารางต่อไปนี้ ราคาที่ดินแถวสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต นานาที่ ณ สิ้นปี 2560 จะมีราคาตารางวาละ 2.13 ล้านบาทนั้น ปรากฏว่าตามสถิติการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย พบว่า ราคาที่ดินในบริเวณดังกล่าว ณ สิ้นปี 2541 หรือเริ่มมีรถไฟฟ้านั้น ตกเป็นเงินตารางวาละ 380,000 บาท ปีนั้นเป็นปีที่เพิ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย ณ ปี 2540 มาหมาด ๆ ราคาที่ดินนิ่งหรือลดต่ำลงกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำไป แต่หลังจากนั้น ราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นโดยตลอดมาจนถึงสิ้นปี 2560 ณ ราคา 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 9.5% โดยเฉลี่ย หรือเพิ่มขึ้น 5.6 เท่าเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามหากเรามีเงิน 380,000 บาท ณ สิ้นปี 2541 แล้วนำเงินไปฝากธนาคาร ณ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ซึ่งขึ้น ๆ ลง ๆ ในระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่ามูลค่า 380,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นเพียง 587,937 บาท หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2.32% เท่านั้น ทั้งนี้เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงปีหลัง ๆ มาค่อนข้างต่ำ เช่นในรอบ 3 ปีหลังต่ำเพียง 1.3% เท่านั้น
การนี้แสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินที่ 2.13 ล้านบาท มากกว่า 587,937 บาทอยู่ถึง 1,542,063 บาท เงินจำนวนที่เกินนี้ได้มาจากการมีรถไฟฟ้านั่นเอง นี่แสดงว่าตัวทรัพย์สินเอง มีการเพิ่มมูลค่าเองน้อยกว่าผลกระทบที่ได้จากการมีรถไฟฟ้าที่รัฐบาล "ประเคน" ให้เสียอีก ยิ่งถ้าหากคิดว่าเรามีที่ดินตารางวาละ 380,000 บาท หากขายไป แลกมาเป็นเงินสดไปฝากธนาคาร อาจได้เงินไม่ถึง 380,000 บาท เพราะการแปลงสภาพที่ดินเป็นเงินสด อาจต้องคิดลดเพราะไม่สามารถขายได้ในทันที ในกรณีเช่นนี้ อาจเหลือเพียง 300,000 บาท หรือแค่ 80% เท่านั้น จึงยิ่งทำให้มูลค่าในวันนี้น้อยกว่า 587,937 บาท
มูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้น 1,542,063 บาทนี้ ถือเป็น "ลาภลอย" ที่รัฐควรมีส่วนแบ่งบ้าง เช่น เมื่อมีการซื้อขาย ก็ควรแบ่งเข้าหลวงในรูปภาษีสัก 1/4 หรือ 25% ในกรณีนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนมือ ก็คือเสียภาษี 385,516 บาท เพราะกำไรที่ได้ 1,542,063 บาท ไม่ใช่ได้มาเพราะตนเอง แต่เพราะรถไฟฟ้าท่านให้มา จึงเป็นการสมควรที่จะแบ่งให้หลวงที่สร้างรถไฟฟ้าจากภาษีอากรของประชาชนบ้าง
เราลองมาคำนวณมูลค่าภาษีที่ควรได้กัน
1. หากเราสมมติว่าราคาที่ดินที่เพิ่มเพราะรถไฟฟ้า ไม่ได้สูงถึง 2.13 ล้านบาทต่อตารางวา เพราะนี่เป็นแปลงที่แพงที่สุดในกรุงเทพมหานคร หากสมมติให้ราคาเฉลี่ยที่ดินรอบรถไฟฟ้าเป็นเงินเพียง 30% ของเงินจำนวนนี้ คือ 639,000 บาท
2. ในกรณีสยามสแควร์ มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาจากอิทธิพลของรถไฟฟ้าถึง 72.4% (1,542,063/2,130,000) แต่ถ้าเป็นสายอื่นสัดส่วนของมูลค่าที่ได้จากรถไฟฟ้าอาจไม่ถึง โดยในที่นี้สมมติให้เป็นแค่ 50% ก็แสดงว่า มูลค่าเพิ่มจากรถไฟฟ้าเป็นเงิน 319,500 บาทต่อตารางวา (639,000 * 50%)
3. หากสมมติให้เงินตามข้อ 2 ควรเสียภาษี "ลาภลอย" 25% ก็จะเป็นเงิน 79,875 บาทต่อตารางวา (319,500 * 25%)
4. หากที่ดินรอบรถไฟฟ้า ระยะ 500 เมตร ลึก 100 เมตร มีพื้นที่ (กว้าง 500 เมตร * ลึก 100 เมตร * 4 ด้าน) มีพื้นที่ 50,000 ตารางวา (1 ตารางวา มี 4 ตารางเมตร) และสมมติว่าที่ดินเหล่านี้มีการเปลี่ยนมือ 30% หรือ 15,000 ตารางวา
5. โดยนัยนี้ ก็แสดงว่าจะสามารถเก็บภาษีได้ 1,198,125,000 บาทต่อสถานี (79,875 * 15,000 หรือข้อ 3 คูณข้อ 4)
6. หากมีสถานีที่เกี่ยวข้องเฉพาะในช่วงแรกนี้อยู่ 112 สถานี ก็จะเป็นเงินสูงถึง 134,190 ล้านบาท สามารถนำมาสร้างรถไฟฟ้าได้สบายๆ นั่นเอง ในกรณีนี้เป็นการคำนวณ ณ วันนี้ แต่บางคน อาจมีการเปลี่ยนมือก่อนหน้านี้ ก็จะได้เงินภาษีมาใช้ได้เร็วกว่านี้ด้วย
การเก็บภาษี "ลาภลอย" จึงเป็นสิ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง คนรวยๆ ที่ได้ประโยชน์จากโครงการของรัฐ ควรเสียภาษี
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1965.htm