เริ่มต้นปี 2568 เข้าสู่ช่วงเทศกาลยื่นภาษีสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนและฟรีแลนซ์ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
https://efiling.rd.go.th ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2568 ส่วนการยื่นภาษีแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2568
แม้การเสียภาษีจะเป็นหน้าที่ของทุกคน แต่ทุกคนก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อประหยัดภาษีได้ ดังนั้นการวางแผนภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งวางแผนเร็ว ยิ่งมีเวลาเตรียมเอกสารลดหย่อนภาษีได้หลายวิธี ทำให้สามารถขอเงินคืนเพิ่มขึ้น โดยมาตรการ Easy E-Receipt ถือเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีที่หลายคนตั้งตารอ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้เดินหน้าต่อมาตรการดังกล่าว เพื่อแรงส่งให้เศรษฐกิจโตตามเป้าหมายในปี 2568
Thairath Money สรุปเงื่อนไขมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 เริ่มใช้สิทธิลดหย่อนวันไหน ลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไร ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง วิธีใช้สิทธิลดหย่อน คลิกอ่านรายละเอียดเลยที่นี่
เริ่มใช้สิทธิลดหย่อนวันไหน
มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไข ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง
เงื่อนไขการลดหย่อนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
สินค้าที่เข้าร่วม
1. ลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือจากร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะสินค้าและบริการต่อไปนี้
- หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
2. ลดหย่อนไม่เกิน 20,000 บาท
ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้เมื่อรวมมูลค่าซื้อสินค้าและบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 50,000 บาท
สินค้าที่ไม่เข้าร่วม
สินค้าหรือค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ ดังนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 - 28 ก.พ. 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
-ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
-ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
-ค่าที่พักในโรงแรม
-ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
-ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
วิธีใช้สิทธิลดหย่อน
ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้ประกอบการใช้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ดังนี้
1. ชื่อ-นามสกุล 2. ที่อยู่ 3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวบัตรประชาชน)
เมื่อแจ้งข้อมูลครบแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
ที่มา : thairath
Easy E-Receipt 2568 ลดหย่อนเท่าไร ซื้ออะไรได้บ้าง
แม้การเสียภาษีจะเป็นหน้าที่ของทุกคน แต่ทุกคนก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อประหยัดภาษีได้ ดังนั้นการวางแผนภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งวางแผนเร็ว ยิ่งมีเวลาเตรียมเอกสารลดหย่อนภาษีได้หลายวิธี ทำให้สามารถขอเงินคืนเพิ่มขึ้น โดยมาตรการ Easy E-Receipt ถือเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีที่หลายคนตั้งตารอ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้เดินหน้าต่อมาตรการดังกล่าว เพื่อแรงส่งให้เศรษฐกิจโตตามเป้าหมายในปี 2568
Thairath Money สรุปเงื่อนไขมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 เริ่มใช้สิทธิลดหย่อนวันไหน ลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไร ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง วิธีใช้สิทธิลดหย่อน คลิกอ่านรายละเอียดเลยที่นี่
มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไข ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง
เงื่อนไขการลดหย่อนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
สินค้าที่เข้าร่วม
1. ลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือจากร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เฉพาะสินค้าและบริการต่อไปนี้
- หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
- หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
2. ลดหย่อนไม่เกิน 20,000 บาท
ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้เมื่อรวมมูลค่าซื้อสินค้าและบริการตามข้อ 1 และข้อ 2 ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 50,000 บาท
สินค้าที่ไม่เข้าร่วม
สินค้าหรือค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ ดังนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 - 28 ก.พ. 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
-ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
-ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
-ค่าที่พักในโรงแรม
-ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
-ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
วิธีใช้สิทธิลดหย่อน
ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้ประกอบการใช้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ดังนี้
1. ชื่อ-นามสกุล 2. ที่อยู่ 3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวบัตรประชาชน)
เมื่อแจ้งข้อมูลครบแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
ที่มา : thairath