ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี
ภาษิตฝรั่งมีว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี" (the man who dies thus rich dies disgraced) หรือน่าละอาย นี่คือคำกล่าวของอภิมหาเศรษฐีอเมริกันนายแอนดรูว์ คาร์เนกี ผู้ที่บริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือไว้ให้ทายาทบางส่วน ซึ่งต่างจากแนวคิดแบบไทยๆ ที่อยากตายโดยมีมรดกเหลือให้ลูกหลานมากๆ โดยไม่เคยคิดที่จะ "เฉือนเนื้อ" เสียสละเพื่อส่วนรวมแต่อย่างใด
ภาษีมรดกที่ผิดเพี้ยน
ด้วยเหตุนี้ไทยเราจึงมีภาษีมรดกที่ผิดเพี้ยน กลายเป็นภาษีที่เก็บจากกองมรดกหลังมรณกรรม โดยเก็บในอัตรา 10% ของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี (พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558: bit.ly/1MjbYAl) แต่ถ้ายังไม่ตาย ก็ค่อย ๆ ผ่องถ่ายให้ทายาทปีละ 20 ล้าน ก็ไม่ต้องเสียภาษี (สบายไป) (bit.ly/1jL1NqB)
อาจกล่าวได้ว่าการออกกฎหมายภาษีมรดกนี้แทบไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ แก่ส่วนรวม ภาษีมรดกควรมีไว้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม เหมือนหญ้าในสนาม ก็ควรตัดให้เท่า ๆ กันเพื่อความเสมอหน้า ไม่เกิดผู้มีอิทธิพล แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้มีผลใด ๆ เพราะสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย จำนวนเงินรวมสูงเกินไป อัตราภาษีที่จัดเก็บก็ต่ำเกินไป นี่เองจึงกล่าวได้ว่า "ชนชั้นใดออกกฎหมาย ก็เพื่อชนชั้นนั้น"
เรามาลองดูในประเทศที่เจริญ ๆ กันหน่อยนะครับ
1. ในญี่ปุ่น กำหนดให้ผู้มีมรดกไม่เกิน 10 ล้านเยน (3 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก ต้องเสียภาษี 10% ไปจนถึงอัตราสูงสุดคือ 50% (goo.gl/QjyNfR)
2. ในอังกฤษ ผู้ที่มีมรดกตั้งแต่ 350,000 ปอนด์ (18.15 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก โดยเสียสูงถึง 40% ของมูลค่า (goo.gl/4q43Fx)
3. ในสหรัฐอเมริกา ราคาขั้นต่ำของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกเป็นเงิน 5.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 172.319 ล้านบาทในปี 2557 ส่วนในระดับมลรัฐ ผศ.กานดา นาคน้อยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภาษีมรดกเก็บกับทรัพย์สินที่มีค่าตั้งแต่ 2 ล้านดอลลาร์ (64.5 ล้านบาท) ขึ้นไปโดยเก็บในอัตราสูงสุด 20% (bit.ly/1JC2f4n)
เราจึงควรแก้ไขภาษีมรดกนี้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการให้ในระหว่างมีชีวิต ก็ต้องเสียภาษีในอัตราสูงแบบขั้นบันได จึงจะลดความเหลื่อมล้ำได้ การที่ไทยยังสามารถออกกฎหมายแบบนี้ได้ ก็แสดงว่าเรายังมีคนรวยสุดๆ ที่มีอิทธิพลทางการเมือง ยังมีผู้ยิ่งใหญ่ที่คอยแสดงฤทธิเดช ฟาดงวง ฟาดงา ในฐานะอภิสิทธิชนในสังคมไทย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ควรมี
เรามาเรียนรู้ประสบการณ์ในทวีปอเมริกาเหนือกันหน่อยนะครับ
1. เมืองนอร์ฟอล์ค มลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ที่มีบ้านเพียง 2,895 หน่วย เมืองนี้เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ 520 ล้านบาท คิดเป็น 55% ของงบประมาณทั้งปี อัตราภาษี 1.193% ของราคาตลาด แต่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นถึง 13% ในบางปี แต่เฉลี่ยแล้วราคาขึ้นมากกว่าภาษีที่เก็บไป (goo.gl/G9k9wb)
2. นครแองเคอะริจ มลรัฐอลาสก้า มีแปลงที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 94,000 แปลง รวมมูลค่าของที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 880,000 ล้านบาท หรือตกเป็นเงินแปลงละ 9.362 ล้านบาท ในเมืองนี้อัตราภาษีคือ 1.6% แสดงว่าภาษีที่จะได้จากทรัพย์สินคือ 14,080 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 68% ของงบประมาณของเทศบาล (goo.gl/2mj41J)
3. นครแคลการี แคนาดา มีขนาด 730 ตร.กม. ทรัพย์สิน รวมมูลค่า 8 ล้านล้านบาท ภาษีที่เก็บได้เป็นเงินประมาณ 45,000 ล้านบาท หรือเป็นการเสียภาษีเฉลี่ยประมาณ 0.56% โดยในรายละเอียดนั้นที่อยู่อาศัยเสียภาษีปีละประมาณ 0.4% ของมูลค่าตลาด ส่วนอสังหาริมทรัพย์อื่น เสียภาษีในอัตรา 1.1% (goo.gl/oZStH0)
4. นครลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 32.67 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี 1% ของมูลค่าที่ประเมินได้ หรือ 326,700 ล้านบาท สำหรับงบประมาณของสำนักงานประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นเงินปีละ 5,250 ล้านบาท หรือแสดงว่าต้นทุนที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีเป็นประมาณ 1.6% ของภาษีที่จัดเก็บได้ (goo.gl/MhJJCB)
5. นครนิวยอร์ก มลรัฐนิวยอร์ก นครนี้มีประชากรถึง 8.3 ล้านคน บนพื้นที่ 784 ตร.กม. อสังหาริมทรัพย์ในนครแห่งนี้มีทั้งหมด 1,079,183 ชิ้น มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้ทั้งหมดเป็น 24.4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ได้สูงสุดถึง 40% ของภาษีทั้งหมด รองลงมากลับเป็นห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่าซึ่งจัดเก็บภาษีได้ถึง 38% ที่อยู่อาศัยที่ใช้เองทั่วไป 15% และสาธารณูปโภคที่เก็บภาษีได้ 7% (goo.gl/x4kjWm)
มูลค่าภาษีที่ควรเก็บได้ในไทย
ตามสถิติที่เคยเก็บได้ (bit.ly/23nOG0k) กรุงเทพมหานครมีขนาด 1,568.7 ตารางกิโลเมตร มีที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ถึง 378.974 ตารางกิโลเมตร (24% ไม่รวมที่ราชการ ที่อยู่อาศัย และที่เกษตรกรรม) หรือประมาณ 94,743,500 ตารางวา หากราคาที่ดินเฉลี่ยตารางวาละ 10,000 บาท ก็ตกเป็นเงินถึง 947,435 ล้านบาท หากเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่า 2% ก็จะได้เงินภาษีถึง 18,948.7 ล้านบาทต่อปีทีเดียว
สำหรับที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร มีอยู่ 2,773,975 หน่วย (bit.ly/25OKKIj) หากบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยมีอยู่ราว 10% ก็จะเป็นบ้านว่างอยู่ถึง 277,398 หน่วย แต่ละหน่วยมีราคาเฉลี่ย 2 ล้านบาท ก็เป็นเงิน 554,795 ล้านบาท หากเก็บภาษีในฐานะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ณ อัตราภาษี 1% ก็จะได้ภาษีอีก 5,548 ล้านบาท ที่อยู่อาศัยที่เหลืออีก 90% ที่มีผู้อยู่อาศัย จำนวน 2,496,577 หน่วย หากมีราคา 2 ล้านบาทเช่นกัน ก็จะมีมูลค่าถึง 4,993,155 ล้านบาท หากเก็บภาษีเพียง 0.1% ก็จะได้ภาษีอีก 4,993 ล้านบาท มาพัฒนาประเทศได้เช่นกัน
การเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้เป็นคุณต่อประเทศชาติและผู้เสียภาษีเองโดยตรง ภาษีมรดกก็จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ช่วยสร้างประชาธิปไตย เพราะเป็นภาษีที่ใช้ในท้องถิ่น ทุกวันนี้เราเสียภาษีเข้าส่วนกลาง แล้วส่วนกลางส่งไปให้ส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทน ทำให้เกิดอาการ "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" แต่ภาษีที่ดินจะทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของภาษี จะปล่อยให้เกิดการโกงง่าย ๆ คงไม่ยอม จึงได้ช่วยกันตรวจสอบ
แรกๆ อาจเจอไข้โป้งจากผู้มีอิทธิพลบ้าง แต่ในระยะยาว ก็จะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง เป็นการสร้างประชาธิปไตยขั้นรากฐานตามปณิธานของรัฐบาล (หรือเปล่า?!?)
ภาษิตฝรั่งมีว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี"
ภาษิตฝรั่งมีว่า "คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี" (the man who dies thus rich dies disgraced) หรือน่าละอาย นี่คือคำกล่าวของอภิมหาเศรษฐีอเมริกันนายแอนดรูว์ คาร์เนกี ผู้ที่บริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือไว้ให้ทายาทบางส่วน ซึ่งต่างจากแนวคิดแบบไทยๆ ที่อยากตายโดยมีมรดกเหลือให้ลูกหลานมากๆ โดยไม่เคยคิดที่จะ "เฉือนเนื้อ" เสียสละเพื่อส่วนรวมแต่อย่างใด
ภาษีมรดกที่ผิดเพี้ยน
ด้วยเหตุนี้ไทยเราจึงมีภาษีมรดกที่ผิดเพี้ยน กลายเป็นภาษีที่เก็บจากกองมรดกหลังมรณกรรม โดยเก็บในอัตรา 10% ของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี (พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558: bit.ly/1MjbYAl) แต่ถ้ายังไม่ตาย ก็ค่อย ๆ ผ่องถ่ายให้ทายาทปีละ 20 ล้าน ก็ไม่ต้องเสียภาษี (สบายไป) (bit.ly/1jL1NqB)
อาจกล่าวได้ว่าการออกกฎหมายภาษีมรดกนี้แทบไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ แก่ส่วนรวม ภาษีมรดกควรมีไว้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม เหมือนหญ้าในสนาม ก็ควรตัดให้เท่า ๆ กันเพื่อความเสมอหน้า ไม่เกิดผู้มีอิทธิพล แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้มีผลใด ๆ เพราะสามารถหลีกเลี่ยงได้ง่าย จำนวนเงินรวมสูงเกินไป อัตราภาษีที่จัดเก็บก็ต่ำเกินไป นี่เองจึงกล่าวได้ว่า "ชนชั้นใดออกกฎหมาย ก็เพื่อชนชั้นนั้น"
เรามาลองดูในประเทศที่เจริญ ๆ กันหน่อยนะครับ
1. ในญี่ปุ่น กำหนดให้ผู้มีมรดกไม่เกิน 10 ล้านเยน (3 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก ต้องเสียภาษี 10% ไปจนถึงอัตราสูงสุดคือ 50% (goo.gl/QjyNfR)
2. ในอังกฤษ ผู้ที่มีมรดกตั้งแต่ 350,000 ปอนด์ (18.15 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีมรดก โดยเสียสูงถึง 40% ของมูลค่า (goo.gl/4q43Fx)
3. ในสหรัฐอเมริกา ราคาขั้นต่ำของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกเป็นเงิน 5.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 172.319 ล้านบาทในปี 2557 ส่วนในระดับมลรัฐ ผศ.กานดา นาคน้อยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าภาษีมรดกเก็บกับทรัพย์สินที่มีค่าตั้งแต่ 2 ล้านดอลลาร์ (64.5 ล้านบาท) ขึ้นไปโดยเก็บในอัตราสูงสุด 20% (bit.ly/1JC2f4n)
เราจึงควรแก้ไขภาษีมรดกนี้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการให้ในระหว่างมีชีวิต ก็ต้องเสียภาษีในอัตราสูงแบบขั้นบันได จึงจะลดความเหลื่อมล้ำได้ การที่ไทยยังสามารถออกกฎหมายแบบนี้ได้ ก็แสดงว่าเรายังมีคนรวยสุดๆ ที่มีอิทธิพลทางการเมือง ยังมีผู้ยิ่งใหญ่ที่คอยแสดงฤทธิเดช ฟาดงวง ฟาดงา ในฐานะอภิสิทธิชนในสังคมไทย
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ควรมี
เรามาเรียนรู้ประสบการณ์ในทวีปอเมริกาเหนือกันหน่อยนะครับ
1. เมืองนอร์ฟอล์ค มลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ที่มีบ้านเพียง 2,895 หน่วย เมืองนี้เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ 520 ล้านบาท คิดเป็น 55% ของงบประมาณทั้งปี อัตราภาษี 1.193% ของราคาตลาด แต่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นถึง 13% ในบางปี แต่เฉลี่ยแล้วราคาขึ้นมากกว่าภาษีที่เก็บไป (goo.gl/G9k9wb)
2. นครแองเคอะริจ มลรัฐอลาสก้า มีแปลงที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 94,000 แปลง รวมมูลค่าของที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 880,000 ล้านบาท หรือตกเป็นเงินแปลงละ 9.362 ล้านบาท ในเมืองนี้อัตราภาษีคือ 1.6% แสดงว่าภาษีที่จะได้จากทรัพย์สินคือ 14,080 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับ 68% ของงบประมาณของเทศบาล (goo.gl/2mj41J)
3. นครแคลการี แคนาดา มีขนาด 730 ตร.กม. ทรัพย์สิน รวมมูลค่า 8 ล้านล้านบาท ภาษีที่เก็บได้เป็นเงินประมาณ 45,000 ล้านบาท หรือเป็นการเสียภาษีเฉลี่ยประมาณ 0.56% โดยในรายละเอียดนั้นที่อยู่อาศัยเสียภาษีปีละประมาณ 0.4% ของมูลค่าตลาด ส่วนอสังหาริมทรัพย์อื่น เสียภาษีในอัตรา 1.1% (goo.gl/oZStH0)
4. นครลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 32.67 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี 1% ของมูลค่าที่ประเมินได้ หรือ 326,700 ล้านบาท สำหรับงบประมาณของสำนักงานประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นเงินปีละ 5,250 ล้านบาท หรือแสดงว่าต้นทุนที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีเป็นประมาณ 1.6% ของภาษีที่จัดเก็บได้ (goo.gl/MhJJCB)
5. นครนิวยอร์ก มลรัฐนิวยอร์ก นครนี้มีประชากรถึง 8.3 ล้านคน บนพื้นที่ 784 ตร.กม. อสังหาริมทรัพย์ในนครแห่งนี้มีทั้งหมด 1,079,183 ชิ้น มูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินได้ทั้งหมดเป็น 24.4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ได้สูงสุดถึง 40% ของภาษีทั้งหมด รองลงมากลับเป็นห้องชุดและอะพาร์ตเมนต์ให้เช่าซึ่งจัดเก็บภาษีได้ถึง 38% ที่อยู่อาศัยที่ใช้เองทั่วไป 15% และสาธารณูปโภคที่เก็บภาษีได้ 7% (goo.gl/x4kjWm)
มูลค่าภาษีที่ควรเก็บได้ในไทย
ตามสถิติที่เคยเก็บได้ (bit.ly/23nOG0k) กรุงเทพมหานครมีขนาด 1,568.7 ตารางกิโลเมตร มีที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ถึง 378.974 ตารางกิโลเมตร (24% ไม่รวมที่ราชการ ที่อยู่อาศัย และที่เกษตรกรรม) หรือประมาณ 94,743,500 ตารางวา หากราคาที่ดินเฉลี่ยตารางวาละ 10,000 บาท ก็ตกเป็นเงินถึง 947,435 ล้านบาท หากเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่า 2% ก็จะได้เงินภาษีถึง 18,948.7 ล้านบาทต่อปีทีเดียว
สำหรับที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร มีอยู่ 2,773,975 หน่วย (bit.ly/25OKKIj) หากบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยมีอยู่ราว 10% ก็จะเป็นบ้านว่างอยู่ถึง 277,398 หน่วย แต่ละหน่วยมีราคาเฉลี่ย 2 ล้านบาท ก็เป็นเงิน 554,795 ล้านบาท หากเก็บภาษีในฐานะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ณ อัตราภาษี 1% ก็จะได้ภาษีอีก 5,548 ล้านบาท ที่อยู่อาศัยที่เหลืออีก 90% ที่มีผู้อยู่อาศัย จำนวน 2,496,577 หน่วย หากมีราคา 2 ล้านบาทเช่นกัน ก็จะมีมูลค่าถึง 4,993,155 ล้านบาท หากเก็บภาษีเพียง 0.1% ก็จะได้ภาษีอีก 4,993 ล้านบาท มาพัฒนาประเทศได้เช่นกัน
การเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้เป็นคุณต่อประเทศชาติและผู้เสียภาษีเองโดยตรง ภาษีมรดกก็จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ช่วยสร้างประชาธิปไตย เพราะเป็นภาษีที่ใช้ในท้องถิ่น ทุกวันนี้เราเสียภาษีเข้าส่วนกลาง แล้วส่วนกลางส่งไปให้ส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทน ทำให้เกิดอาการ "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" แต่ภาษีที่ดินจะทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของภาษี จะปล่อยให้เกิดการโกงง่าย ๆ คงไม่ยอม จึงได้ช่วยกันตรวจสอบ
แรกๆ อาจเจอไข้โป้งจากผู้มีอิทธิพลบ้าง แต่ในระยะยาว ก็จะทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ไม่ขึ้นกับส่วนกลาง เป็นการสร้างประชาธิปไตยขั้นรากฐานตามปณิธานของรัฐบาล (หรือเปล่า?!?)