มีท่านนึงถามไว้ในกระทู้นึงว่า
อนิจจัง (บาลี: อนิจฺจํ) แปลว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
ทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจัง
เพราะงั้นความดี ความชั่ว จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ใช่ไหม
เหมือนสมมุติ มีกลุ่มการเมือง 2 กลุ่ม
อีกกลุ่มคิดว่าเราเป็นคนดี คนคิดต่างไม่ดี
อีกกลุ่มก็คิดเช่นกัน
ดังนั้น เราไม่สามารถสรุปได้ ว่ากลุ่มไหนเป็นคนไม่ดีใช่ไหมครับ
ตอบ
คำถามของ จขกท ต้องแยกตอบให้ชัดเจนเป็นสองประเด็น
ประเด็นแรก คือ ความดี ความชั่ว ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ที่ว่าทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือไม่
ประเด็นที่สอง กลุ่มการเมืองสองกลุ่ม ต่างคนต่างคิดว่าตนเองถูก อีกกลุ่มผิด จะตัดสินอย่างไรว่าใครถูกใครผิด ในเมื่อแต่ละคนคิดว่าตนเองถูก
ตอบประเด็นแรก ความดี ความชั่วนั้น เป็นคำนิยามการกระทำว่าทำเช่นนี้ดี เช่นนี้ชั่ว เป็นของที่มีอยู่คู่วัฏสงสารนี้ แม้พระพุทธเจ้าจะยังไม่อุบัติขึ้นก็มีอยู่แล้ว
ว่าการฆ่าสิ่งมีชีวิต ลักขโมย ผิดประเวณี พูดปดส่อเสียด ดื่มน้ำเมา เป็นความชั่ว
แต่การกระทำและผลของการกระทำที่ทำแล้ว คือกรรมและผลกรรมนั้น ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์แน่นอน
ยกตัวอย่าง กรรมที่บุคคลทำดี ทำชั่ว เมื่อให้ผลจนหมดกำลังแล้ว ย่อมหมดไป คือตัวกรรมเองก็มีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเช่นกัน
ส่วนประเด็นที่สอง เวลาความคิดเห็นไม่ตรงกัน ต่างคนต่างคิดว่าตนเองถูก
แต่แท้จริงแล้วใครผิดถูกก็ต้องใช้ นิยามความดี ความชั่วมาตัดสิน หรือการกระทำบางอย่างไม่ใช่ทั่งดีและชั่ว อย่างนั้นก็ต้องดูความเหมาะสม
หรืออาจบางทีผิดทั้งสองฝ่ายแต่คิดว่าตนเองถูกก็มีมากมาย หรือฝ่ายนั้นถูกเรื่องนี้ ฝ่ายนี้ผิดเรื่องนั้น
สรุปคือประเด็นนี้ไม่สามารถยกนำมาเปรียบเทียบกับประเด็นแรกได้ครับ
ตอบคำถาม ความดี ความชั่วเป็นสิ่งเที่ยงแท้หรือเปล่า
อนิจจัง (บาลี: อนิจฺจํ) แปลว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
ทุกสิ่งล้วนเป็น อนิจจัง
เพราะงั้นความดี ความชั่ว จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ใช่ไหม
เหมือนสมมุติ มีกลุ่มการเมือง 2 กลุ่ม
อีกกลุ่มคิดว่าเราเป็นคนดี คนคิดต่างไม่ดี
อีกกลุ่มก็คิดเช่นกัน
ดังนั้น เราไม่สามารถสรุปได้ ว่ากลุ่มไหนเป็นคนไม่ดีใช่ไหมครับ
ตอบ
คำถามของ จขกท ต้องแยกตอบให้ชัดเจนเป็นสองประเด็น
ประเด็นแรก คือ ความดี ความชั่ว ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ที่ว่าทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือไม่
ประเด็นที่สอง กลุ่มการเมืองสองกลุ่ม ต่างคนต่างคิดว่าตนเองถูก อีกกลุ่มผิด จะตัดสินอย่างไรว่าใครถูกใครผิด ในเมื่อแต่ละคนคิดว่าตนเองถูก
ตอบประเด็นแรก ความดี ความชั่วนั้น เป็นคำนิยามการกระทำว่าทำเช่นนี้ดี เช่นนี้ชั่ว เป็นของที่มีอยู่คู่วัฏสงสารนี้ แม้พระพุทธเจ้าจะยังไม่อุบัติขึ้นก็มีอยู่แล้ว
ว่าการฆ่าสิ่งมีชีวิต ลักขโมย ผิดประเวณี พูดปดส่อเสียด ดื่มน้ำเมา เป็นความชั่ว
แต่การกระทำและผลของการกระทำที่ทำแล้ว คือกรรมและผลกรรมนั้น ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์แน่นอน
ยกตัวอย่าง กรรมที่บุคคลทำดี ทำชั่ว เมื่อให้ผลจนหมดกำลังแล้ว ย่อมหมดไป คือตัวกรรมเองก็มีลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเช่นกัน
ส่วนประเด็นที่สอง เวลาความคิดเห็นไม่ตรงกัน ต่างคนต่างคิดว่าตนเองถูก
แต่แท้จริงแล้วใครผิดถูกก็ต้องใช้ นิยามความดี ความชั่วมาตัดสิน หรือการกระทำบางอย่างไม่ใช่ทั่งดีและชั่ว อย่างนั้นก็ต้องดูความเหมาะสม
หรืออาจบางทีผิดทั้งสองฝ่ายแต่คิดว่าตนเองถูกก็มีมากมาย หรือฝ่ายนั้นถูกเรื่องนี้ ฝ่ายนี้ผิดเรื่องนั้น
สรุปคือประเด็นนี้ไม่สามารถยกนำมาเปรียบเทียบกับประเด็นแรกได้ครับ