มิจฉาทิฐิ มีลักษณะอย่างไร มีความเหมือน และ ความต่าง อย่างไร ?
ดูเหมือนว่า พวกเม็ดมะขาม และชาวพุทธชายขอบ จะอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากคำว่า "เข้าใจ" อยู่มากพอสมควร นะครับ
เรามาลองพิจารณากันดูว่า ท่านปยุตโต ได้อธิบายในเรื่องนี้ เอาไว้ว่าอย่างไรบ้าง
กล่าวโดยสรุป ท่านปยุตโต อธิบายว่า สัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิ แม้จะเป็นแนวคิดสุดโต่งคนละฝ่าย แต่มันก็มีจุดกำเนิดทางความคิด
ที่เป็น "ข้อผิดพลาด" ร่วมกันประการหนึ่ง นั่นก็คือ มิจฉาทิฐิ ทั้ง ๒ ฝ่าย มีความเชื่อเหมือนกันว่า มี สัตว์บุคคล ฯลฯ อยู่อย่างแท้จริง
ส่วนความแตกต่างของทั้ง ๒ ฝ่าย ก็คือ
(๑) พวก สัสสตทิฐิ เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ที่เชื่อว่ามีอยู่นี้ เที่ยงแท้มั่นคงตลอดไป
(๒) พวก อุจเฉททิฐิ เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ที่เชื่อว่ามีอยู่นี้ มีความเที่ยงแท้มั่นคงในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ในท้ายที่สุดจะหายสูญไป
ทั้งนี้ ฝ่ายสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา มีความแตกต่างจาก ทิฐิสุดโต่งทั้ง ๒ พวกดังกล่าว
ด้วยเหตุที่ ถือว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย เกิดจากการประมวลกันขึ้นของ "ธรรม" ตามเหตุปัจจัย
ไม่ยอมรับว่ามี สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่อย่างแท้จริง
ดังนั้น ประเด็นปัญหาที่ว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จะเที่ยงแท้ หรือขาดสูญ จึงหมดไปโดยปริยาย !
ขอกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การที่จะสามารถระบุได้ว่า ใครคนใดเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
ขั้นแรก ต้องพิจารณาก่อนว่า คนผู้นั้น ยืนยันความมีอยู่อย่างแท้จริงของ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หรือไม่
ขั้นที่ ๒ ให้พิจารณาต่อไปอีกว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ตามความเชื่อของพวกเขา มีลักษณะอย่างไร
ถ้าเที่ยงแท้ถาวรตลอดอนันตกาล ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
ถ้าเที่ยงแท้ถาวร ชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็ดับสูญไป จัดเป็นฝ่ายอุจเฉททิฐิ
ทีนี้เวลาที่พวกมิจฉาทิฐิ(สัสสตทิฐิ) จะอวดอ้างว่าตนเป็นฝ่ายสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา
เขาก็จะยก มหาจัตตารีสกสูตร ขึ้นอ้างว่า พระบาลีดังกล่าว ระบุชัดว่า สัมมาทิฐิ นั้นหมายถึง
ผู้ที่เชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯ เป็นต้น
จากนั้น คนพวกนี้ ก็จะสรุปเข้าข้างตนเองว่า เพราะพวกเขามีความเชื่อดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ
ซึ่งไม่จริงเลย !
ขออนุญาต ยกตัวอย่าง ดังนี้ว่า เมื่อกล่าวถึง พวกสัสสตทิฐิ แล้ว
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ยัญที่บูชาแล้วมีผล หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
สรุป ก็คือ พวกสัสสตทิฐิ เขาก็มีความเชื่อ แบบเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง สัมมาทิฐิระดับโลกียะ
ตามความพระบาลี จากมหาจัตตารีสกสูตรทุกประการ นั่นแหละ
ครั้นจะสรุปว่า สัสสตทิฐิ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ก็ใช่ที่
แล้ว สัมมาทิฐิ มันแตกต่างไปจาก สัสสตทิฐิ ตามตัวอย่างนี้ อย่างไรกันเล่า ?
พวกเม็ดมะขาม มักพูดแบบนกแก้วนกขุนทองว่า แม้เขาจะเชื่อว่า มีสัตว์บุคคลฯ อยู่ก็จริง
แต่เขาก็เชื่อว่ามันมีอยู่ในระดับสมมุติเท่านั้น และยังเห็นว่า มันมีการเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยอีกด้วย
การที่พวกเม็ดมะขามพูดอย่างนี้ ก็เพื่อจะปฏิเสธว่า พวกมัน มิได้เป็นมิจฉาทิฐิฝ่ายสัสสตทิฐิ
แต่การที่เราจะทราบได้ว่า เขามิได้เป็นพวก สัสสตทิฐิ จริงหรือไม่นั้น
ก็ต้องพิจารณาโดยเทียบเคียงกับ พุทธพจน์จาก อเจลกัสสปสูตร ดังนี้ว่า
(๑) ที่พวกเม็ดมะขามเชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล หมายความว่าอย่างไร ?
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำทาน และเขาเป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำทาน แต่เขามิได้เป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
หรือหากหมายความว่า เขามิได้เป็นผู้ทำทาน แต่เขากลับเป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
(๒) ที่พวกเม็ดมะขามเชื่อว่า ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ หมายความว่าอย่างไร ?
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำกรรม และเขาเป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำกรรม แต่เขามิได้เป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
หรือหากหมายความว่า เขามิได้เป็นผู้ทำกรรม แต่เขากลับเป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
เฉกเช่นเดียวกับที่คนพวกนี้ เชื่อว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี ซึ่งพวกเขาก็ "ตีความ" เอาเองว่า
หมายถึง ความเชื่อในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ(แบบตายเข้าโลง)
ซึ่งย่อมต้อง "สอบทาน" ด้วยคำถามอย่างเดียวกันว่า มันมีความหมายว่าอย่างไร ?
เพราะหากมันหมายความว่า มี สัตว์บุคคล ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ผู้เวียนว่ายตายเกิด
เขาก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพวก มิจฉาทิฐิสุดโต่ง พวกใดพวกหนึ่งใน ๒ พวก อย่างมิต้องสงสัย
ทั้งนี้เพราะ สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า .............
(๑) ทานให้แล้วมีผล จริง แต่ สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้ทำทาน หรือในฐานะผู้รับผลแห่งทานนั้น ไม่มี
(๒) ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ จริง แต่ สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้กระทำกรรม หรือในฐานะผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่มี
และก็เช่นเดียวกันครับ แม้หากจะเชื่อว่า การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ มีอยู่จริง นั่นก็มิใช่ปัญหาเลย
แต่การที่ใครก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ ก็ต่อเมื่อ มีความเข้าใจตามจริงว่า ไม่มี สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้เวียนว่ายตายเกิด
เพราะตราบใดที่ยังมีความเชื่อว่า มีสัตว์บุคคล ฯลฯ ในฐานะผู้เวียนว่ายตายเกิด
ก็มิพ้นต้องตกไปในข้างใดข้างหนึ่งของ ทิฐิสุดโต่ง คือ สัสสตทิฐิ หรือ อุจเฉททิฐิ(ตามแต่กรณี) อยู่นั่นเอง
ขออนุญาตสรุปอีกครั้งว่า ความเป็น สัสสตทิฐิ มิใช่เพียงแค่เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เที่ยงแท้ถาวร เท่านั้นนะครับ
แต่ใจความ มันลึกยิ่งไปกว่านั้น เพราะ ใครบางคน อาจท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองได้ตลอดเวลาว่า
เขาเห็นว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่เที่ยง แต่ความหมาย มันแค่ไหนกันเล่าครับ จึงจะเรียกว่า ไม่เที่ยงจริงๆ
พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายไว้ใน อเจลกัสสปสูตร ความว่า ...............
(๑) เขาเป็น สัสสตทิฐิ เพียงเพราะเขาเชื่อว่า ผู้ทำกรรม และผู้รับผลกรรม เป็นคนเดียวกัน
(๒) เขาเป็น อุจเฉททิฐิ ก็เพราะเขาเข้าใจว่า ผู้ทำกรรม และผู้รับผลกรรม เป็นคนละคนกัน
ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จงพิจารณา ทบทวนทำความเข้าใจต่อตนเองให้ดีเถิดว่า
ท่านเข้าใจในกฏแห่งกรรม ที่เป็นสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา อย่างจริงแท้ แล้วละหรือ ?
เพราะถ้าหากยังเชื่อและเข้าใจไปในทำนองว่า "เรา" เป็นผู้ทำกรรม
และเป็น "เรา" นั่นเองที่ย่อมเป็นผู้เสวยผลแห่งการกระทำของ "เรา" นั้น
จงรับทราบเอาไว้ด้วยว่า นี่เป็นการคิดการพูดแบบ สัสสตทิฐิ อย่างเต็มรูปแบบ
เพราะกฏแห่งกรรม อย่างเป็นสัมมาทิฐิ ระบุเพียงว่า การกระทำทุกชนิด มีผล
แต่จะไม่กล่าวถึง ผู้กระทำ หรือ ผู้รับผลแห่งการกระทำนั้นๆ
ชัดเจนแล้วนะครับ
หากถามว่า จำเป็นต้องยก อเจลกัสสปสูตร ขึ้นมาพิจารณาร่วมกับ มหาจัตตารีสกสูตร
เพื่อพิจารณาแยกแยะ สัมมาทิฐิ ออกจาก สัสสตทิฐิ หรือไม่ ? ขอตอบว่า ไม่จำเป็นเลย
ทั้งนี้ เพราะว่า ในมหาจัตตารีสกสูตรเอง ก็ได้ระบุถึง "เงื่อนไขสำคัญ" นี้เอาไว้แล้วอย่างชัดแจ้งแล้ว
แต่เป็นเพราะ พวกเม็ดมะขาม และเหล่าอัญเดียรถีย์ในนามของชาวพุทธชายขอบ ไม่สังเกตดูให้ดีเองต่างหาก
กล่าวคือ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ใน มหาจัตตารีสกสูตร อย่างชัดเจนมากว่า
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ ............. "ขันธ์"
ท่านทั้งหลาย เข้าใจไหมครับว่า สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา
นั้นต้องหมายถึง การมีความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า ทานให้แล้วมีผล ก็จริง
แต่ ผลนั้นมิได้เกิดกับ สัตว์บุคคล ฯ โดยมันให้ผลแก่ ขันธ์(ธาตุ อายตนะ ฯลฯ) ต่างหาก อย่างนี้เป็นต้น
ท่านปยุตโต ได้อธิบายความต่อไป โดยยกตัวอย่างคือ คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ เช่นว่า
"ผู้ทำกรรมก็ไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆ เป็นไปอย่างนี้ นี่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง(สัมมาทิฐิ)"
ก็ถ้าพวกเม็ดมะขามและเหล่าชาวพุทธชายขอบ ยังจะยืนยันความเชื่อของพวกตนว่า
มีผู้ทำกรรม และผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ
ก็จะขัดกับมติอรรถกถาจารย์ ที่ท่านปยุตโต ยกขึ้นอ้าง
และยังขัดกับพระบาลีพุทธพจน์ทั้งจาก อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร อีกด้วย
หรือพวกเม็ดมะขาม จะสรุปความเข้าข้างตนเองว่า ท่านปยุตโต เข้าใจผิด และอ้างผิด
หรือจะบอกว่า อรรถกถาจารย์อธิบายผิด หรือ มีความเห็นผิด
หรือสุดท้ายแล้ว พวกเม็ดมะขามจะไม่ยอมรับ อเจลกัสสปสูตร
และอาจยอมรับ มหาจัตตารีสกสูตร เฉพาะเพียงบางส่วน
โดยยกเว้นพระบาลีที่ตรัสว่า "เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์" !
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บรรดาเม็ดมะขาม จะยังจำข้อความของพวกตนได้อยู่ เช่นว่า ...........
(๑) พระพุทธเจ้าตรัสไม่ผิดพลาดและไม่มีคำสอนใดขัดแย้งกันเอง
นั่นย่อมหมายความว่า พระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร ย่อมสอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกัน
ดังพระบาลีจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ระบุว่า "สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์"
ย่อมมีความหมายสอดคล้องกับพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร
ที่ระบุว่า ไม่มี สัตว์บุคคลฯ ในฐานะผู้กระทำกรรม หรือผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เป็นต้น
(๒) ตรรกะประเภทเอาพระสูตรโน้น ไม่เอาพระสูตรนั้น หรือพระสูตรนี้ยอมรับไม่ได้
หวังว่าคงจะไม่มีนะครับ โดยที่กระทู้นี้ ได้มีการเสนอให้นำ อเจลกัสสปสูตร มาพิจารณาเปรียบเทียบกับ มหาจัตตารีสกสูตร
ก็จงอย่างได้ทำเป็นตาบอดตาใส มองไม่เห็นพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร นะครับ
อีกทั้ง ยังต้อง โยนิโสมนสิการ พระบาลีที่ระว่า "เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์"
ให้จงหนักด้วยว่า มีความสอดคล้องต้องกันกับพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร อย่างไร ?
เมื่อย้อนกลับไปพิจารณา คำอธิบายของท่านปยุตโต ที่ระบุว่า ..............
สามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องอ้างนรกสวรรค์
ไม่ต้องยึดมั่นในความหวังผลที่จะมีในโลกหน้า(ซึ่งก็คือเรื่องเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพชาติ)
ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่า พระบาลีทั้งจาก กาลามสูตร อปัณณกสูตร รวมไปถึง อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร ย่อมสอดคล้องกัน
และไม่ขัดแย้งกัน บนหลักการที่ว่า สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ในเรื่องกฏแห่งกรรม และกฏแห่งเหตุปัจจัย ย่อมต้องปราศจาก สัตว์บุคคลฯ
ไม่ว่าจะในฐานะ ผู้ทำบุญ ผู้รับผลบุญ ผู้ทำกรรม ผู้รับผลกรรม ผู้เกิด ผู้ตาย หรือ ผู้เวียนว่ายตายเกิด ก็ตาม
จะมีแต่เพียงแค่ บุญ กับ ผลบุญ กรรม กับ ผลกรรม การเกิด การตาย หรือ การเวียนว่ายตายเกิด เป็นต้น เท่านั้น !
หวังว่า จะสามารถเข้าใจได้ตามสมควรนะครับ
สวัสดี
จุด(พลาด)ที่เหมือนกันของพวกมิจฉาทิฐิ อธิบายโดย ท่านปยุตโต
ดูเหมือนว่า พวกเม็ดมะขาม และชาวพุทธชายขอบ จะอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากคำว่า "เข้าใจ" อยู่มากพอสมควร นะครับ
เรามาลองพิจารณากันดูว่า ท่านปยุตโต ได้อธิบายในเรื่องนี้ เอาไว้ว่าอย่างไรบ้าง
กล่าวโดยสรุป ท่านปยุตโต อธิบายว่า สัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิ แม้จะเป็นแนวคิดสุดโต่งคนละฝ่าย แต่มันก็มีจุดกำเนิดทางความคิด
ที่เป็น "ข้อผิดพลาด" ร่วมกันประการหนึ่ง นั่นก็คือ มิจฉาทิฐิ ทั้ง ๒ ฝ่าย มีความเชื่อเหมือนกันว่า มี สัตว์บุคคล ฯลฯ อยู่อย่างแท้จริง
ส่วนความแตกต่างของทั้ง ๒ ฝ่าย ก็คือ
(๑) พวก สัสสตทิฐิ เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ที่เชื่อว่ามีอยู่นี้ เที่ยงแท้มั่นคงตลอดไป
(๒) พวก อุจเฉททิฐิ เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ที่เชื่อว่ามีอยู่นี้ มีความเที่ยงแท้มั่นคงในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ในท้ายที่สุดจะหายสูญไป
ทั้งนี้ ฝ่ายสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา มีความแตกต่างจาก ทิฐิสุดโต่งทั้ง ๒ พวกดังกล่าว
ด้วยเหตุที่ ถือว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย เกิดจากการประมวลกันขึ้นของ "ธรรม" ตามเหตุปัจจัย
ไม่ยอมรับว่ามี สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่อย่างแท้จริง
ดังนั้น ประเด็นปัญหาที่ว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา จะเที่ยงแท้ หรือขาดสูญ จึงหมดไปโดยปริยาย !
ขอกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การที่จะสามารถระบุได้ว่า ใครคนใดเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
ขั้นแรก ต้องพิจารณาก่อนว่า คนผู้นั้น ยืนยันความมีอยู่อย่างแท้จริงของ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หรือไม่
ขั้นที่ ๒ ให้พิจารณาต่อไปอีกว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ตามความเชื่อของพวกเขา มีลักษณะอย่างไร
ถ้าเที่ยงแท้ถาวรตลอดอนันตกาล ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
ถ้าเที่ยงแท้ถาวร ชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นก็ดับสูญไป จัดเป็นฝ่ายอุจเฉททิฐิ
ทีนี้เวลาที่พวกมิจฉาทิฐิ(สัสสตทิฐิ) จะอวดอ้างว่าตนเป็นฝ่ายสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา
เขาก็จะยก มหาจัตตารีสกสูตร ขึ้นอ้างว่า พระบาลีดังกล่าว ระบุชัดว่า สัมมาทิฐิ นั้นหมายถึง
ผู้ที่เชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี ฯ เป็นต้น
จากนั้น คนพวกนี้ ก็จะสรุปเข้าข้างตนเองว่า เพราะพวกเขามีความเชื่อดังกล่าวนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ
ซึ่งไม่จริงเลย !
ขออนุญาต ยกตัวอย่าง ดังนี้ว่า เมื่อกล่าวถึง พวกสัสสตทิฐิ แล้ว
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ยัญที่บูชาแล้วมีผล หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
หากถามว่า เขาเชื่อว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี หรือไม่ ? ตอบว่า เชื่อ
สรุป ก็คือ พวกสัสสตทิฐิ เขาก็มีความเชื่อ แบบเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง สัมมาทิฐิระดับโลกียะ
ตามความพระบาลี จากมหาจัตตารีสกสูตรทุกประการ นั่นแหละ
ครั้นจะสรุปว่า สัสสตทิฐิ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ก็ใช่ที่
แล้ว สัมมาทิฐิ มันแตกต่างไปจาก สัสสตทิฐิ ตามตัวอย่างนี้ อย่างไรกันเล่า ?
พวกเม็ดมะขาม มักพูดแบบนกแก้วนกขุนทองว่า แม้เขาจะเชื่อว่า มีสัตว์บุคคลฯ อยู่ก็จริง
แต่เขาก็เชื่อว่ามันมีอยู่ในระดับสมมุติเท่านั้น และยังเห็นว่า มันมีการเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยอีกด้วย
การที่พวกเม็ดมะขามพูดอย่างนี้ ก็เพื่อจะปฏิเสธว่า พวกมัน มิได้เป็นมิจฉาทิฐิฝ่ายสัสสตทิฐิ
แต่การที่เราจะทราบได้ว่า เขามิได้เป็นพวก สัสสตทิฐิ จริงหรือไม่นั้น
ก็ต้องพิจารณาโดยเทียบเคียงกับ พุทธพจน์จาก อเจลกัสสปสูตร ดังนี้ว่า
(๑) ที่พวกเม็ดมะขามเชื่อว่า ทานให้แล้วมีผล หมายความว่าอย่างไร ?
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำทาน และเขาเป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำทาน แต่เขามิได้เป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
หรือหากหมายความว่า เขามิได้เป็นผู้ทำทาน แต่เขากลับเป็นผู้รับผลแห่งทานนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
(๒) ที่พวกเม็ดมะขามเชื่อว่า ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ หมายความว่าอย่างไร ?
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำกรรม และเขาเป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น สัสสตทิฐิ
หากหมายความว่า เขาเป็นผู้ทำกรรม แต่เขามิได้เป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
หรือหากหมายความว่า เขามิได้เป็นผู้ทำกรรม แต่เขากลับเป็นผู้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ก็จัดเป็น อุจเฉททิฐิ
เฉกเช่นเดียวกับที่คนพวกนี้ เชื่อว่า โลกนี้มี โลกหน้ามี ซึ่งพวกเขาก็ "ตีความ" เอาเองว่า
หมายถึง ความเชื่อในเรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ(แบบตายเข้าโลง)
ซึ่งย่อมต้อง "สอบทาน" ด้วยคำถามอย่างเดียวกันว่า มันมีความหมายว่าอย่างไร ?
เพราะหากมันหมายความว่า มี สัตว์บุคคล ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ ผู้เวียนว่ายตายเกิด
เขาก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพวก มิจฉาทิฐิสุดโต่ง พวกใดพวกหนึ่งใน ๒ พวก อย่างมิต้องสงสัย
ทั้งนี้เพราะ สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า .............
(๑) ทานให้แล้วมีผล จริง แต่ สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้ทำทาน หรือในฐานะผู้รับผลแห่งทานนั้น ไม่มี
(๒) ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีอยู่ จริง แต่ สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้กระทำกรรม หรือในฐานะผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่มี
และก็เช่นเดียวกันครับ แม้หากจะเชื่อว่า การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติ มีอยู่จริง นั่นก็มิใช่ปัญหาเลย
แต่การที่ใครก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ ก็ต่อเมื่อ มีความเข้าใจตามจริงว่า ไม่มี สัตว์บุคคล ฯ ในฐานะผู้เวียนว่ายตายเกิด
เพราะตราบใดที่ยังมีความเชื่อว่า มีสัตว์บุคคล ฯลฯ ในฐานะผู้เวียนว่ายตายเกิด
ก็มิพ้นต้องตกไปในข้างใดข้างหนึ่งของ ทิฐิสุดโต่ง คือ สัสสตทิฐิ หรือ อุจเฉททิฐิ(ตามแต่กรณี) อยู่นั่นเอง
ขออนุญาตสรุปอีกครั้งว่า ความเป็น สัสสตทิฐิ มิใช่เพียงแค่เชื่อว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เที่ยงแท้ถาวร เท่านั้นนะครับ
แต่ใจความ มันลึกยิ่งไปกว่านั้น เพราะ ใครบางคน อาจท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองได้ตลอดเวลาว่า
เขาเห็นว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่เที่ยง แต่ความหมาย มันแค่ไหนกันเล่าครับ จึงจะเรียกว่า ไม่เที่ยงจริงๆ
พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายไว้ใน อเจลกัสสปสูตร ความว่า ...............
(๑) เขาเป็น สัสสตทิฐิ เพียงเพราะเขาเชื่อว่า ผู้ทำกรรม และผู้รับผลกรรม เป็นคนเดียวกัน
(๒) เขาเป็น อุจเฉททิฐิ ก็เพราะเขาเข้าใจว่า ผู้ทำกรรม และผู้รับผลกรรม เป็นคนละคนกัน
ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จงพิจารณา ทบทวนทำความเข้าใจต่อตนเองให้ดีเถิดว่า
ท่านเข้าใจในกฏแห่งกรรม ที่เป็นสัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา อย่างจริงแท้ แล้วละหรือ ?
เพราะถ้าหากยังเชื่อและเข้าใจไปในทำนองว่า "เรา" เป็นผู้ทำกรรม
และเป็น "เรา" นั่นเองที่ย่อมเป็นผู้เสวยผลแห่งการกระทำของ "เรา" นั้น
จงรับทราบเอาไว้ด้วยว่า นี่เป็นการคิดการพูดแบบ สัสสตทิฐิ อย่างเต็มรูปแบบ
เพราะกฏแห่งกรรม อย่างเป็นสัมมาทิฐิ ระบุเพียงว่า การกระทำทุกชนิด มีผล
แต่จะไม่กล่าวถึง ผู้กระทำ หรือ ผู้รับผลแห่งการกระทำนั้นๆ
ชัดเจนแล้วนะครับ
หากถามว่า จำเป็นต้องยก อเจลกัสสปสูตร ขึ้นมาพิจารณาร่วมกับ มหาจัตตารีสกสูตร
เพื่อพิจารณาแยกแยะ สัมมาทิฐิ ออกจาก สัสสตทิฐิ หรือไม่ ? ขอตอบว่า ไม่จำเป็นเลย
ทั้งนี้ เพราะว่า ในมหาจัตตารีสกสูตรเอง ก็ได้ระบุถึง "เงื่อนไขสำคัญ" นี้เอาไว้แล้วอย่างชัดแจ้งแล้ว
แต่เป็นเพราะ พวกเม็ดมะขาม และเหล่าอัญเดียรถีย์ในนามของชาวพุทธชายขอบ ไม่สังเกตดูให้ดีเองต่างหาก
กล่าวคือ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ใน มหาจัตตารีสกสูตร อย่างชัดเจนมากว่า
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ ............. "ขันธ์"
ท่านทั้งหลาย เข้าใจไหมครับว่า สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา
นั้นต้องหมายถึง การมีความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า ทานให้แล้วมีผล ก็จริง
แต่ ผลนั้นมิได้เกิดกับ สัตว์บุคคล ฯ โดยมันให้ผลแก่ ขันธ์(ธาตุ อายตนะ ฯลฯ) ต่างหาก อย่างนี้เป็นต้น
ท่านปยุตโต ได้อธิบายความต่อไป โดยยกตัวอย่างคือ คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ เช่นว่า
"ผู้ทำกรรมก็ไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆ เป็นไปอย่างนี้ นี่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง(สัมมาทิฐิ)"
ก็ถ้าพวกเม็ดมะขามและเหล่าชาวพุทธชายขอบ ยังจะยืนยันความเชื่อของพวกตนว่า
มีผู้ทำกรรม และผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ
ก็จะขัดกับมติอรรถกถาจารย์ ที่ท่านปยุตโต ยกขึ้นอ้าง
และยังขัดกับพระบาลีพุทธพจน์ทั้งจาก อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร อีกด้วย
หรือพวกเม็ดมะขาม จะสรุปความเข้าข้างตนเองว่า ท่านปยุตโต เข้าใจผิด และอ้างผิด
หรือจะบอกว่า อรรถกถาจารย์อธิบายผิด หรือ มีความเห็นผิด
หรือสุดท้ายแล้ว พวกเม็ดมะขามจะไม่ยอมรับ อเจลกัสสปสูตร
และอาจยอมรับ มหาจัตตารีสกสูตร เฉพาะเพียงบางส่วน
โดยยกเว้นพระบาลีที่ตรัสว่า "เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์" !
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บรรดาเม็ดมะขาม จะยังจำข้อความของพวกตนได้อยู่ เช่นว่า ...........
(๑) พระพุทธเจ้าตรัสไม่ผิดพลาดและไม่มีคำสอนใดขัดแย้งกันเอง
นั่นย่อมหมายความว่า พระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร ย่อมสอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกัน
ดังพระบาลีจาก มหาจัตตารีสกสูตร ที่ระบุว่า "สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์"
ย่อมมีความหมายสอดคล้องกับพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร
ที่ระบุว่า ไม่มี สัตว์บุคคลฯ ในฐานะผู้กระทำกรรม หรือผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เป็นต้น
(๒) ตรรกะประเภทเอาพระสูตรโน้น ไม่เอาพระสูตรนั้น หรือพระสูตรนี้ยอมรับไม่ได้
หวังว่าคงจะไม่มีนะครับ โดยที่กระทู้นี้ ได้มีการเสนอให้นำ อเจลกัสสปสูตร มาพิจารณาเปรียบเทียบกับ มหาจัตตารีสกสูตร
ก็จงอย่างได้ทำเป็นตาบอดตาใส มองไม่เห็นพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร นะครับ
อีกทั้ง ยังต้อง โยนิโสมนสิการ พระบาลีที่ระว่า "เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์"
ให้จงหนักด้วยว่า มีความสอดคล้องต้องกันกับพระบาลีจาก อเจลกัสสปสูตร อย่างไร ?
เมื่อย้อนกลับไปพิจารณา คำอธิบายของท่านปยุตโต ที่ระบุว่า ..............
สามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องอ้างนรกสวรรค์
ไม่ต้องยึดมั่นในความหวังผลที่จะมีในโลกหน้า(ซึ่งก็คือเรื่องเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพชาติ)
ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่า พระบาลีทั้งจาก กาลามสูตร อปัณณกสูตร รวมไปถึง อเจลกัสสปสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร ย่อมสอดคล้องกัน
และไม่ขัดแย้งกัน บนหลักการที่ว่า สัมมาทิฐิในพระพุทธศาสนา ในเรื่องกฏแห่งกรรม และกฏแห่งเหตุปัจจัย ย่อมต้องปราศจาก สัตว์บุคคลฯ
ไม่ว่าจะในฐานะ ผู้ทำบุญ ผู้รับผลบุญ ผู้ทำกรรม ผู้รับผลกรรม ผู้เกิด ผู้ตาย หรือ ผู้เวียนว่ายตายเกิด ก็ตาม
จะมีแต่เพียงแค่ บุญ กับ ผลบุญ กรรม กับ ผลกรรม การเกิด การตาย หรือ การเวียนว่ายตายเกิด เป็นต้น เท่านั้น !
หวังว่า จะสามารถเข้าใจได้ตามสมควรนะครับ
สวัสดี