ชีวิตนี้น้อยนัก สัตว์ย่อมตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี
ถ้าแม้สัตว์ เป็นอยู่เกิน (๑๐๐ ปี) ไปไซร้ สัตว์นั้นก็ย่อมตายแม้เพราะชราโดยแท้แล
ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา สิ่งที่เคยหวงแหนเป็นของเที่ยงไม่มีเลย
บุคคลเห็นว่า สิ่งนี้มีความเป็นไปต่างๆ มีอยู่ ดังนี้แล้วไม่พึงอยู่ครองเรือน
บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็นของเรา จำต้องละสิ่งนั้นไปแม้เพราะความตาย
บัณฑิตผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปในความเป็นผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา
บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด
บุคคล ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้ที่ตนรักทำกาละล่วงไปแล้ว แม้ฉันนั้น
บุคคลย่อมกล่าวขวัญกันถึงชื่อนี้ ของคนทั้งหลายผู้อันตนได้ เห็นแล้วบ้าง ได้ฟังแล้วบ้าง
ชื่อเท่านั้นที่ควรกล่าวขวัญถึงของบุคคลผู้ล่วงไปแล้ว จักยังคงเหลืออยู่
ชนทั้งหลายผู้ยินดีแล้วในสิ่งที่ตนถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศกความร่ำไรและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะเหตุนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไปแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ อันต่างด้วยนรกเป็นต้น ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้เสพที่นั่งอันสงัด ว่าเป็นการสมควร
มุนีไม่อาศัยแล้วในอายตนะทั้งปวง ย่อมไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักทั้งไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่เกลียดชัง
ย่อมไม่ติดความร่ำไรและความตระหนี่ ในสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักและเป็นที่เกลียดชังนั้น เปรียบเหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบไม้ ฉะนั้น
หยาดน้ำย่อมไม่ติดอยู่บนใบบัว น้ำย่อมไม่ติดอยู่ที่ใบปทุม ฉันใด มุนีย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ ฉันนั้น
ผู้มีปัญญาย่อมไม่สำคัญด้วยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ
ย่อมไม่ปรารถนาความ บริสุทธิ์ด้วย (มรรคอย่างอื่น) ทางอื่น
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย ฉะนี้แล ฯ
บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด
ชีวิตนี้น้อยนัก สัตว์ย่อมตายแม้ภายใน ๑๐๐ ปี
ถ้าแม้สัตว์ เป็นอยู่เกิน (๑๐๐ ปี) ไปไซร้ สัตว์นั้นก็ย่อมตายแม้เพราะชราโดยแท้แล
ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา สิ่งที่เคยหวงแหนเป็นของเที่ยงไม่มีเลย
บุคคลเห็นว่า สิ่งนี้มีความเป็นไปต่างๆ มีอยู่ ดังนี้แล้วไม่พึงอยู่ครองเรือน
บุรุษย่อมสำคัญสิ่งใดว่า สิ่งนี้เป็นของเรา จำต้องละสิ่งนั้นไปแม้เพราะความตาย
บัณฑิตผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา ทราบข้อนี้แล้ว ไม่พึงน้อมไปในความเป็นผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา
บุคคลผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด
บุคคล ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้ที่ตนรักทำกาละล่วงไปแล้ว แม้ฉันนั้น
บุคคลย่อมกล่าวขวัญกันถึงชื่อนี้ ของคนทั้งหลายผู้อันตนได้ เห็นแล้วบ้าง ได้ฟังแล้วบ้าง
ชื่อเท่านั้นที่ควรกล่าวขวัญถึงของบุคคลผู้ล่วงไปแล้ว จักยังคงเหลืออยู่
ชนทั้งหลายผู้ยินดีแล้วในสิ่งที่ตนถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศกความร่ำไรและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะเหตุนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นนิพพานเป็นแดนเกษม ละอารมณ์ที่เคยหวงแหนได้เที่ยวไปแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ อันต่างด้วยนรกเป็นต้น ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ผู้เสพที่นั่งอันสงัด ว่าเป็นการสมควร
มุนีไม่อาศัยแล้วในอายตนะทั้งปวง ย่อมไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รักทั้งไม่กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่เกลียดชัง
ย่อมไม่ติดความร่ำไรและความตระหนี่ ในสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักและเป็นที่เกลียดชังนั้น เปรียบเหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบไม้ ฉะนั้น
หยาดน้ำย่อมไม่ติดอยู่บนใบบัว น้ำย่อมไม่ติดอยู่ที่ใบปทุม ฉันใด มุนีย่อมไม่ติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ ฉันนั้น
ผู้มีปัญญาย่อมไม่สำคัญด้วยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ
ย่อมไม่ปรารถนาความ บริสุทธิ์ด้วย (มรรคอย่างอื่น) ทางอื่น
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมไม่ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย ฉะนี้แล ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๐๑๑๑ - ๑๐๑๔๒. หน้าที่ ๔๓๘ - ๔๓๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=10111&Z=10142&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=413