งดกินเนื้อสัตว์ก็ช่วยโลกได้ - มากินเต้าหู้กัน

ถั่วเหลืองคือถั่วชนิดหนึ่งในบรรดาถั่วหลากหลายชนิดที่มากด้วยคุณประโยชน์  
ปัจจุบันจึงจึงมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองมากมายให้เลือกรับประทาน
ถั่วเหลืองอุดมด้วยสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส
วิตะมินเอ บีหนึ่ง บีสอง บีหก บีสิบสอง วิตะมินอี



นมถั่วเหลืองเครื่อมดื่มของคนทุกเพศทุกวัยสามารถดื่มได้ทุกวัน
สามารถเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว ท้องผูก
ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้



เปลือกถั่วก็ยังมีประโยชน์เพระมีสารเลซิตินในปริมาณสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด บำรุงสมอง เพิ่มความจำได้อีกด้วย

แต่ถั่วเหลืองก็มีแคลเซี่ยมต่ำ ดังนั้นเราต้องกินอาหารที่มีแคลเซี่ยมเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอด้วย




เต้าหู้ถูกดัดแปลงให้เป็นอาหารมากมายหลายหลายชนิด เช่น เต้าหู้อ่อนมีเนื้ออ่อนนุ่ม สีขาวนวล กลิ่นหอม
นิยมนำมาใส่แกงจืดและสุกี้ เต้าหู้หลอดเป็นเต้าหู้อ่อนอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตทันสมัย
บรรจุในหลอดสุญญากาศ ทำให้รักษาความสะอาดและเก็บรักษาไว้ได้นาน



เต้าฮวยลักษณะคล้ายกับเต้าหู้อ่อนต่างกันตรงที่เต้าฮวยเนื้อนิ่มกว่า นิยมรับประทานคู่กับน้ำขิงเป็นอาหารว่าง

เต้าหู้แข็งขาวเป็นเต้าหู้ที่มีเนื้อแข็ง สีขาวนวลออกครีม มักทำเป็นก้อนสีเหลืองหนาประมาณ 1 เซนติเมตร เหมาะสำหรับทำอาหารหลายชนิด เช่น ยำ ลาบ แกง ผัดหรือทอด



เต้าหู้เหลืองมีทั้งชนิดอ่อนและแข็งเปลือกภายนอกจะมีสีเหลือง ภายในเนื้อสีขาวนวล  
รสชาดเค็มกว่าเต้าหู้ขาวเพราะเป็นเต้าหู้ที่ปรุงขึ้นใหม่ด้วยการนำไปแช่น้ำเกลือก่อนจะจุ่มสีเหลืองหรือขมิ้น
เป็นสัญญลักษณ์เพื่อให้รู้ว่าเต้าหู้ชนิดนี้มีรสเค็มกว่าเต้าหู้ขาว และรสเค็มนี้สามารถยืดอายุการเก็บอาหารได้นานขึ้นอีกด้วย

เต้าหู้ยี้ทำจากเต้าหู้ขาวที่ผ่านการหมัก มีทั้งสีแดงและสีเหลือง นิยมใช้ทำน้ำจิ้มสุกี้หรือกินกับข้าวต้ม



เต้าหู้ซีอิ้วดำ เป็นเต้าหู้สีดำที่ได้จากการนำถั่วเหลืองไปเคี่ยวกับซีอิ๊วดำและเครื่องเทศสมุนไพร
มีกลิ่นหอม รสชาดกลมกล่อม นิยมนำไปผัดกับดอกกุช่าย หรือ ยำเกี่ยมฉ่าย

เต้าหูพวง เต้าหู้หั่นเป็นชิ้น ทอด แล้วร้อยเชือกเป็นพวง นิยมใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ หรือพะโล้



ฟองเต้าหู้เกิดจากการต้มน้ำเต้าหู้จนเข้มข้น แล้วผิวหน้าของเต้าหู้จับตัวกันเป็นแผ่น สามารถนำมารับประทานได้ทันที
ฟองเต้าหู้แบบเปียก หากนำไปตากหรืออบเป็นฟองเต้าหู้แบบแห้ง ก็สามารถทำได้

ฟองเต้าหู้มีทั้งแบบแผ่นใหญ่ที่คนจีนนำไปห่ออาหาร เช่น ปอเปี๊ย หอยจ๊อ
และแบบที่เป็นชิ้นเล็ก นิยมใส่ในแกงจืดหรือนำไปอบทอดกรอบแล้วทำเป็นผัดขิง



เต้าหู้ถือกำเนิดมากว่าสองพันปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนนิยมกินเต้าหู้เป็นอาหารที่มีโภชนาการสูง
คนจีนเรียกเต้าหู้ว่าโดฟู หรือ เตาฟู ซึ่งแปลว่าถั่วเน่า ส่วนคำว่าเต้าหู้ที่คนไทยเรียก
เพี้ยนมาจากสำเนียงของจีนฮกเกี้ยนว่า เตาฮู ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกเพี้ยนเป็นโตฟู
ส่วนภาษาอังกฤษเรียกเต้าหู้ว่าโตฟูตามแบบคนญี่ปุ่น



วัฒนธรรมการกินเต้าหู้ของชาวญี่ปุ่น เริ่มต้นจากการที่คนญี่ปุ่นเดินทางกลับจากการเผยแผ่พุทธศาสนาในจีน
และกลายเป็นอาหารที่นิยมกินกันมากในหมู่พระสงฆ์ หนึ่งร้อยปีถัดมา เต้าหู้จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในอาหาร
ของชนชั้นสูงอย่างขุนนางและซามูไร


วัฒนธรรมการกินเต้าหู้ของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกัน  
คนจีนจะพยายามดัดแปลงเต้าหู้ ทั้งรูปทรงและรสชาติให้เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอาหารหลากหลายชนิด
ขณะที่คนญี่ปุ่นกลับพยายามรักษาความเรียบง่ายของเต้าหู้แบบเดิมเอาไว้ และเต้าหู้ในจานอาหารที่สวยงาม
ถือเป็นศิลปะชั้นสูงแขนงหนึ่งของชาวญี่ปุ่น








บทเพลงชื่อ Meat Free Monday ซึ่ง พอล แม็กคาร์ตนีย์ นักร้องนักดนตรีชาวอังกฤษแต่งขึ้น
เพื่อรณรงค์ให้คนงดกินเนื้อสัตว์ทุกวันจันทร์  นอกจากจะเป็นนักดนตรีชื่อก้องโลกแล้ว  พอล แม็กคาร์ตนีย์  
ยังเป็นนักกิจกรรมต่อต้านการกินเนื้อสัตว์อย่างแข็งขัน  เค้าเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุโรคร้ายของมนุษย์
และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

http://www.meatfreemondays.com/news/presenting-meat-free-mondays-fifth-anniversary-video/

คำอธิบายคลิป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


ทุกปีวัวจะผลิตกาซมีเทน เฉลี่ยตัวละ 180 กิโลกรัม ทำให้โลกร้อนกว่ากาซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงกว่า 25 เท่า
ข้อมูลจากสหประชาชาติระบุว่า กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ทั้งหมด ตั้งแต่การทำปศุสัตว์ในทุ่งหญ้าไปจนถึงมือผู้บริโภค
ส่งผลให้เกิดกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 18 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยกาซเรือนกระจกทั่วโลก
จึงเป็นที่มาของการรณรงค์งดกินเนื้อสัตว์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยกำหนดให้ทุกวันจันทร์เป็นวันงดกินเนื้อสัตว์โลก  
เพียงแค่งดกินเนื้อสัตว์ คุณก็ช่วยโลกได้แล้ว นี่คือคำพูดอันโด่งดังของ พอล แม็กคาร์ตนีย์


ที่มา : http://food4yourlife.blogspot.com/2011/11/blog-post_20.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่