ธาม เชื้อสถาปนศิริ: ทาง 3 แพร่งของช่อง 3
เขียนวันที่ วันอังคาร ที่ 09 กันยายน 2557 เวลา 10:43 น.เขียนโดยธาม เชื้อสถาปนศิริ หมวดหมู่เวทีทัศน์
"..ทาง 3 แพร่งกำลังเผชิญอยู่นี้ เป็นทาง 3 แพร่งที่อยู่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจากเมื่อวันวาน หรือในโลกสื่อยุคเก่า อะนาล็อกเดิม.."
ในฐานะบริษัทเอกชน ที่อยู่ในตลาดหุ้น ช่อง 3 ควรตระหนักว่า ตนเองกำลังพาธุรกิจตนเองไปยืนอยู่บนทาง 3 แพร่งที่สำคัญ
(1) แพร่ง 1 - กฎมัสแคร์รี่ (ปฏิบัติเท่าเทียม)?
ตามที่เป็นข่าวว่าการฟ้องร้องกับคดีความ กับ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐกำกับดูแล (regulator) ซึ่งช่อง 3 ตัดสินใจฟ้อง กรรมการ กสท. 3 ท่าน เพราะอ้างว่ากรรมการทั้ง 3 ท่าน ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน กลับมองว่าต้องไม่ให้เกิดความเสียหายกับประชาชน ที่ดูทีวี ช่อง 3 เพราะกลัวจอดับ จอดำ (โดยมีการอ้างตัวเลขผู้ชม ที่ยังดูช่อง 3 อะนาล็อกมากถึง 30-70%)
ทางแพร่งนี้ อันตรายมาก เพราะความคิดเห็นส่วนตัวของผมมองว่า นี่ไม่เหมือนกรณีที่ อาร์เอส ฟ้องร้อง กสทช. ซึ่งตอนนั้น กสทช. ก็แพ้คดีต่ออาร์เอส และต้องจ่ายค่าชดเชยในที่สุด (มันน่าเอากรรมการคนนั้น มาเคาะกะโหลก ไล่ออกเสียที!)
การที่ช่อง 3 ฟ้อง กสทช. 3 ท่านนี้, อาจเป็นเกมที่เสี่ยงต่อช่อง 3 เอง เพราะหนนี้ กสทช. มีความชัดเจนในกระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์สู่ดิจิทัลทางกฎหมายอย่างรอบคอบ
เท่าที่ผมอ่านการออกกฎระเบียบกฎมัสต์แคร์รี่ ดูแล้ว - ไม่มีกรณีใดเลยทีกสทช. หรือ กสท. ทำผิดพลาด
(ยกเว้นที่ผมเซอร์ไพรช์ คือ มติ กรรมการ กสท. 3:2) ที่ออกมาสวนทาง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า เป็นมติที่มองเรื่องผลประโยชน์แตกต่างกัน
แพร่งนี้ บอกตรงๆ ยิ่งเกมฟ้องร้องลากยาว ผลเสียหายเกิดขึ้นกับช่อง 3 เอง (ไม่เชื่อ ให้ไปดูราคาหุ้นช่อง 3 ) และคอยดุถึงแรงเสียดทางจากฝั่งสังคม และเพื่อนๆ ในอุตสาหกรรมทีวีที่ชอง 3 ต้องเผชิญด้วย รับรอง หนาวแน่ๆ
......
(2) แพร่ง 2 - โดดเดี่ยวในวงการ?
หากช่อง 3 คิดว่า ตนเองมีฐานคะแนนผู้ชมสูงสุดในวงการ และตามบทวิเคราะห์ในหน้าหนังสือพิมพ์มากมายที่ชี้ว่า ช่อง 3 ไม่อยากย้ายไปดิจิทัลเร็วๆ เพราะมีฐานกำลังขุมทรัพย์เม็ดเงินโฆษณาจำนวนหนึ่ง อันนี้คิดว่า ไปถกเถียงกันไ้ด้ว่าจริง หรือ เท็จ ตามผู้ที่มีข้อมูลตัวเลข ซึ่งผมไม่สนใจใคร่รู้ว่าจริงตามคำกล่าวหาหรือไม่?
แต่ส่วนตัว มองว่า งานนี้ ช่อง 3 ที่ว่าแน่ อาจโดนโดดเดี่ยวจากเพื่อนผู้ประกอบการ ทั้งๆ ที่ ช่อง 7 พี่เบิ้ม ก็ยักษ์ใหญ่เหมือนกัน แต่ก็ร่วมมือยอมสละบัลลังก์ตนเอง จากฐานผู้ชมอะนาล็อก ใน 6 ช่อง ฟรีทีวีเดิม มาเล่นฐานใหญ่ขึ้น ในทีวีดิจิทัล 24 ช่องเชิงพาณิชย์
ก็ต้องบอกว่า "สปิริตเท่านั้น" ที่ ช่อง 7 นั้นมี และแยกให้เห็นความแตกต่าง และแสดงชัดเจนว่า ยอมรับกระบวนการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม ไม่ยอมทำตัวผูกขาดตลาด หรือทำตัวมีอำนาจเหนือเสรีกลไกตลาด
ที่แน่ๆ งานนี้ ทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ จะโดดเดี่ยว และหันมาเร่งเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่า ถ้าไม่เร่งสู้ตอนนี้ จะสู้ตอนไหน
แพร่งนี้ จึงลำบากสำหรับช่อง 3 เอง เพราะที่สุด คุณสมบัติความเป็นทีวีดิจิทัลนั้น จะยิ่งเร่งแข่งการพัฒนาตนเอง เข้าสู่การมีแอพลิเคชั่น การเป็นทีวีระบบอินเตอร์แอ๊คทีฟ ฯลฯ
....
และที่แน่ๆ เมื่อฐานคนดูในทีวีดิจิทัลเริ่มตั้งหลักได้ เอเจนซี่โฆษณา ก็จะหันมาให้ความสนใจกับทีวีดิจิทัล และ ที่สุดก็อาจเริ่มถอนโฆษณามาลงทีวีดิจัทลเร็วขึ้น เพราะมีทางเลือกมากกว่า และสอดคล้องตรงกับกลุ่มผู้ชมเป้าหมายมากกว่า ที่จะไปทุ่มซื้อโฆษณาแพงๆ จากช่อง อะนาล็อก
.......
(3) แพร่ง 3 - ฐานผู้ชมเปลี่ยนใจ?
การแข่งขันในทีวีดิจิทัล ที่สุดวัดกันที่พฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าเริ่มมีพฤติกรรมแบบมัลติสกรีน เสพสื่อหลายหน้าจอ และดุทีวีน้อยลงเรื่อยๆ และดูทีวีสั้นลงต่อครั้งด้วย
ช่อง 3 อาจมั่นใจว่าตนเองมีฐานคนดูมาก ซึ่งก็จริงในวันนี้เท่านั้น แต่ทันทีที่ข่าวออกมาว่าช่อง 3 ไม่ยอมออกคู่ขนาน หรือ ไม่ยอมที่จะมาซื้อใบอนุญาตออกอากาศในช่องดาวเทียม หรือเคเบิ้ล หรือออกข่าวอย่างไรก็ตาม แน่ว่า จะมีเสียงไม่พอใจอย่างมาก
ทั้งนักข่าว ชาวเน็ต ชนชั้นกลาง ที่พอรู้ พอเข้าใจเรื่องนี้ ก็อาจเป็นตัวแปรปัจจัยเร่งขยายความไม่เชื่อใจ ไม่มั่นใจ และตั้งคำถามเชิงจริยธรรมในการดำเนินการกับธุรกิจกับช่อง 3
และยิ่งออกข่าวมาว่า ช่อง 3 ฟ้องคนโน้น ฟ้องคนนี้ ภาพมันก็ออกมาเหมือนกับว่า ช่อง 3 ไม่ยอมทำตามกฎ ระเบียบ หรือ ช่อง 3 ก็เล่นเกมกับผลประโยชน์มากเกินไป
งานนี้ อาจไม่ดีเลยสำหรับธุรกิจและภาพลักษณ์ของช่อง 3 ที่สุดก็จะส่งผลต่อ ภาพลักษณ์องค์กร และบรรดาโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่ไปลง ไปออกอากาศสนับสนุนในช่อง 3
อย่าประเมินความรู้สึกของผู้ชมต่ำ วันนี้ พฤติกรรม ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้ชมเปลี่ยนแปลงไปมาก มันคือเรื่อง "คุณค่าในการดำเนินงานธุรกิจ" (social value driven marketing) ที่ผู้บริหารควรต้องรับฟังตลาดและประชาชน ซึ่งพวกเขากระตือรือล้น และมีส่วนร่วม ส่วนกดดันมากกว่าเดิม
ทาง 3 แพร่งกำลังเผชิญอยู่นี้ เป็นทาง 3 แพร่งที่อยู่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจากเมื่อวันวาน หรือในโลกสื่อยุคเก่า อะนาล็อกเดิม
....
มองในมุมวิชาการนะครับ วันนี้ (1) สภาพภูมิทัศน์สื่อ (2) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ชม (4) กลไกการแข่งขันของตลาด และ (5) กฎหมาย ระเบียบ และ (6) การกำกับดูแลโดยหน่วยงานรัฐ เหล่านี้คือ ปัจจัยการกำหนดและควบคุมอุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างแท้จริงในวันนี้
หากยังไม่ตระหนักว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็โปรดระมัดระวังตัวเองว่า แทนที่จะเปลี่ยนผ่านสู่การเกิดใหม่ในระบบดิจิทัลอย่างยั่งยืนแล้ว ก็อาจเสี่ยงต่อการจบเกมการเป้นยักษ์ใหญ่ในวงการทีวีสื่อยุคเก่าได้เร็วกว่าใครเพื่อน?
ทาง 3 แพร่งนี้ บอกเลยว่า ไม่น่าจะส่งผลดีต่อช่อง 3 แน่นอน!?
ที่มา www.isranews.org/isranews-article/item/32745-open_32745.html
ธาม เชื้อสถาปนศิริ: ทาง 3 แพร่งของช่อง 3
เขียนวันที่ วันอังคาร ที่ 09 กันยายน 2557 เวลา 10:43 น.เขียนโดยธาม เชื้อสถาปนศิริ หมวดหมู่เวทีทัศน์
"..ทาง 3 แพร่งกำลังเผชิญอยู่นี้ เป็นทาง 3 แพร่งที่อยู่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจากเมื่อวันวาน หรือในโลกสื่อยุคเก่า อะนาล็อกเดิม.."
ในฐานะบริษัทเอกชน ที่อยู่ในตลาดหุ้น ช่อง 3 ควรตระหนักว่า ตนเองกำลังพาธุรกิจตนเองไปยืนอยู่บนทาง 3 แพร่งที่สำคัญ
(1) แพร่ง 1 - กฎมัสแคร์รี่ (ปฏิบัติเท่าเทียม)?
ตามที่เป็นข่าวว่าการฟ้องร้องกับคดีความ กับ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐกำกับดูแล (regulator) ซึ่งช่อง 3 ตัดสินใจฟ้อง กรรมการ กสท. 3 ท่าน เพราะอ้างว่ากรรมการทั้ง 3 ท่าน ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน กลับมองว่าต้องไม่ให้เกิดความเสียหายกับประชาชน ที่ดูทีวี ช่อง 3 เพราะกลัวจอดับ จอดำ (โดยมีการอ้างตัวเลขผู้ชม ที่ยังดูช่อง 3 อะนาล็อกมากถึง 30-70%)
ทางแพร่งนี้ อันตรายมาก เพราะความคิดเห็นส่วนตัวของผมมองว่า นี่ไม่เหมือนกรณีที่ อาร์เอส ฟ้องร้อง กสทช. ซึ่งตอนนั้น กสทช. ก็แพ้คดีต่ออาร์เอส และต้องจ่ายค่าชดเชยในที่สุด (มันน่าเอากรรมการคนนั้น มาเคาะกะโหลก ไล่ออกเสียที!)
การที่ช่อง 3 ฟ้อง กสทช. 3 ท่านนี้, อาจเป็นเกมที่เสี่ยงต่อช่อง 3 เอง เพราะหนนี้ กสทช. มีความชัดเจนในกระบวนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์สู่ดิจิทัลทางกฎหมายอย่างรอบคอบ
เท่าที่ผมอ่านการออกกฎระเบียบกฎมัสต์แคร์รี่ ดูแล้ว - ไม่มีกรณีใดเลยทีกสทช. หรือ กสท. ทำผิดพลาด
(ยกเว้นที่ผมเซอร์ไพรช์ คือ มติ กรรมการ กสท. 3:2) ที่ออกมาสวนทาง ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า เป็นมติที่มองเรื่องผลประโยชน์แตกต่างกัน
แพร่งนี้ บอกตรงๆ ยิ่งเกมฟ้องร้องลากยาว ผลเสียหายเกิดขึ้นกับช่อง 3 เอง (ไม่เชื่อ ให้ไปดูราคาหุ้นช่อง 3 ) และคอยดุถึงแรงเสียดทางจากฝั่งสังคม และเพื่อนๆ ในอุตสาหกรรมทีวีที่ชอง 3 ต้องเผชิญด้วย รับรอง หนาวแน่ๆ
......
(2) แพร่ง 2 - โดดเดี่ยวในวงการ?
หากช่อง 3 คิดว่า ตนเองมีฐานคะแนนผู้ชมสูงสุดในวงการ และตามบทวิเคราะห์ในหน้าหนังสือพิมพ์มากมายที่ชี้ว่า ช่อง 3 ไม่อยากย้ายไปดิจิทัลเร็วๆ เพราะมีฐานกำลังขุมทรัพย์เม็ดเงินโฆษณาจำนวนหนึ่ง อันนี้คิดว่า ไปถกเถียงกันไ้ด้ว่าจริง หรือ เท็จ ตามผู้ที่มีข้อมูลตัวเลข ซึ่งผมไม่สนใจใคร่รู้ว่าจริงตามคำกล่าวหาหรือไม่?
แต่ส่วนตัว มองว่า งานนี้ ช่อง 3 ที่ว่าแน่ อาจโดนโดดเดี่ยวจากเพื่อนผู้ประกอบการ ทั้งๆ ที่ ช่อง 7 พี่เบิ้ม ก็ยักษ์ใหญ่เหมือนกัน แต่ก็ร่วมมือยอมสละบัลลังก์ตนเอง จากฐานผู้ชมอะนาล็อก ใน 6 ช่อง ฟรีทีวีเดิม มาเล่นฐานใหญ่ขึ้น ในทีวีดิจิทัล 24 ช่องเชิงพาณิชย์
ก็ต้องบอกว่า "สปิริตเท่านั้น" ที่ ช่อง 7 นั้นมี และแยกให้เห็นความแตกต่าง และแสดงชัดเจนว่า ยอมรับกระบวนการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม ไม่ยอมทำตัวผูกขาดตลาด หรือทำตัวมีอำนาจเหนือเสรีกลไกตลาด
ที่แน่ๆ งานนี้ ทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ จะโดดเดี่ยว และหันมาเร่งเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่า ถ้าไม่เร่งสู้ตอนนี้ จะสู้ตอนไหน
แพร่งนี้ จึงลำบากสำหรับช่อง 3 เอง เพราะที่สุด คุณสมบัติความเป็นทีวีดิจิทัลนั้น จะยิ่งเร่งแข่งการพัฒนาตนเอง เข้าสู่การมีแอพลิเคชั่น การเป็นทีวีระบบอินเตอร์แอ๊คทีฟ ฯลฯ
....
และที่แน่ๆ เมื่อฐานคนดูในทีวีดิจิทัลเริ่มตั้งหลักได้ เอเจนซี่โฆษณา ก็จะหันมาให้ความสนใจกับทีวีดิจิทัล และ ที่สุดก็อาจเริ่มถอนโฆษณามาลงทีวีดิจัทลเร็วขึ้น เพราะมีทางเลือกมากกว่า และสอดคล้องตรงกับกลุ่มผู้ชมเป้าหมายมากกว่า ที่จะไปทุ่มซื้อโฆษณาแพงๆ จากช่อง อะนาล็อก
.......
(3) แพร่ง 3 - ฐานผู้ชมเปลี่ยนใจ?
การแข่งขันในทีวีดิจิทัล ที่สุดวัดกันที่พฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าเริ่มมีพฤติกรรมแบบมัลติสกรีน เสพสื่อหลายหน้าจอ และดุทีวีน้อยลงเรื่อยๆ และดูทีวีสั้นลงต่อครั้งด้วย
ช่อง 3 อาจมั่นใจว่าตนเองมีฐานคนดูมาก ซึ่งก็จริงในวันนี้เท่านั้น แต่ทันทีที่ข่าวออกมาว่าช่อง 3 ไม่ยอมออกคู่ขนาน หรือ ไม่ยอมที่จะมาซื้อใบอนุญาตออกอากาศในช่องดาวเทียม หรือเคเบิ้ล หรือออกข่าวอย่างไรก็ตาม แน่ว่า จะมีเสียงไม่พอใจอย่างมาก
ทั้งนักข่าว ชาวเน็ต ชนชั้นกลาง ที่พอรู้ พอเข้าใจเรื่องนี้ ก็อาจเป็นตัวแปรปัจจัยเร่งขยายความไม่เชื่อใจ ไม่มั่นใจ และตั้งคำถามเชิงจริยธรรมในการดำเนินการกับธุรกิจกับช่อง 3
และยิ่งออกข่าวมาว่า ช่อง 3 ฟ้องคนโน้น ฟ้องคนนี้ ภาพมันก็ออกมาเหมือนกับว่า ช่อง 3 ไม่ยอมทำตามกฎ ระเบียบ หรือ ช่อง 3 ก็เล่นเกมกับผลประโยชน์มากเกินไป
งานนี้ อาจไม่ดีเลยสำหรับธุรกิจและภาพลักษณ์ของช่อง 3 ที่สุดก็จะส่งผลต่อ ภาพลักษณ์องค์กร และบรรดาโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่ไปลง ไปออกอากาศสนับสนุนในช่อง 3
อย่าประเมินความรู้สึกของผู้ชมต่ำ วันนี้ พฤติกรรม ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้ชมเปลี่ยนแปลงไปมาก มันคือเรื่อง "คุณค่าในการดำเนินงานธุรกิจ" (social value driven marketing) ที่ผู้บริหารควรต้องรับฟังตลาดและประชาชน ซึ่งพวกเขากระตือรือล้น และมีส่วนร่วม ส่วนกดดันมากกว่าเดิม
ทาง 3 แพร่งกำลังเผชิญอยู่นี้ เป็นทาง 3 แพร่งที่อยู่ในบริบทที่เปลี่ยนไปจากเมื่อวันวาน หรือในโลกสื่อยุคเก่า อะนาล็อกเดิม
....
มองในมุมวิชาการนะครับ วันนี้ (1) สภาพภูมิทัศน์สื่อ (2) ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ชม (4) กลไกการแข่งขันของตลาด และ (5) กฎหมาย ระเบียบ และ (6) การกำกับดูแลโดยหน่วยงานรัฐ เหล่านี้คือ ปัจจัยการกำหนดและควบคุมอุตสาหกรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างแท้จริงในวันนี้
หากยังไม่ตระหนักว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็โปรดระมัดระวังตัวเองว่า แทนที่จะเปลี่ยนผ่านสู่การเกิดใหม่ในระบบดิจิทัลอย่างยั่งยืนแล้ว ก็อาจเสี่ยงต่อการจบเกมการเป้นยักษ์ใหญ่ในวงการทีวีสื่อยุคเก่าได้เร็วกว่าใครเพื่อน?
ทาง 3 แพร่งนี้ บอกเลยว่า ไม่น่าจะส่งผลดีต่อช่อง 3 แน่นอน!?
ที่มา www.isranews.org/isranews-article/item/32745-open_32745.html