มองมุมใหม่ 'ขายเสียง' ฟังความรู้สึกรากหญ้า [คลิป]
https://prachatai.com/journal/2024/12/111840
คนชั้นกลางจำนวนหนึ่งยังมีความเชื่อว่าคนรากหญ้าขายเสียง แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ?
ช่วงก่อนวันเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี ประชาไทพูดคุยกับชาวอุบลราชธานีในเขตเมืองและพื้นที่รอบนอกว่าคิดยังไงกับเรื่องนี้
ลุง
ไชยา ดีแสง ช่างเย็บผ้า บอกว่าบางคนก็เลือกโดยดูว่าฝ่ายไหนให้เงินมากกว่า ส่วนหนึ่งอาจเพราะเกรงว่าจะเดือดร้อนถ้าไม่เลือกแล้วถูกตามเช็ก
ด้านลุง
สายสมร กล่าวว่าเงินเป็นปัจจัยก็จริง โดยเฉพาะในชนบท แต่นั่นก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้คะแนนเสียง ใครให้เงินมาก็รับหมด อย่างน้อยคนจนก็ได้เงินไปใช้จ่ายรายวัน แต่เวลาเข้าคูหาก็ไม่ได้มีใครไปรู้ว่า เขาเลือกใคร จึงไม่อยากให้มาว่าชาวบ้านขายเสียง
ขณะที่ ดร.
ประเทือง ม่วงอ่อน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบล วิเคราะห์ว่าประเด็นการรับ-แจกเงินที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดในเรื่องการออกแบบนโยบาย ซึ่งเป็นผลมาจากข้อติดขัดในเรื่องการกระจายอำนาจและงบประมาณ ในเมื่อเลือกใครก็มีนโยบายไม่ต่างกัน จึงทำให้ชาวบ้านพิจารณาเลือกเรื่องตัวบุคคล-ความใกล้ชิดคนในพื้นที่เป็นหลัก
วันนอร์ ไม่หวั่น โดนเลื่อยขาเก้าอี้ปธ.สภา ย้ำ ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ ต้องไม่แทรกแซงกัน.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9566143
วันนอร์ ไม่หวั่น ฝ่ายการเมืองจ้องเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภา ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ ต้องไม่แทรกแซงกัน ลั่น ถ้าอยากเปลี่ยนก็เสนอญัตติมา
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 ที่รัฐสภา นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังสื่อมวลชนให้ฉายา ‘
รูทีน ตีนตุ๊กแก’ กังวลหรือไม่ว่าในปี 2568 จะถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงเก้าอี้ประธานสภาฯ ว่า เป็นความคิดเห็นที่สมาชิกหรือพรรคการเมืองสามารถแสดงออกได้ แต่ในฐานะที่ตนเป็นประธานรัฐสภาในฝ่ายนิติบัญญัติ จึงคิดว่าตำแหน่งในทางนิติบัญญัติเป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนก็สามารถเสนอญัตติเปลี่ยนแปลงได้ เพราะประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองมาขอให้เปลี่ยนแปลง จึงอยากให้แยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกัน ไม่เช่นนั้นสองฝ่ายต้องขึ้นแก่กัน หรือฝ่ายใดต้องฟังอีกฝ่ายหนึ่ง
“
ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ไม่แทรกแซงกัน นี่เป็นหลักการ ฝ่ายบริหารสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐมนตรีได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา และข้อบังคับ เรื่องนี้จึงไม่มีปัญหา” นาย
วันมูหะมัดนอร์ กล่าว
นาย
วันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า อาจจะมีความเข้าใจผิดว่า ประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ต้องเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากเท่านั้น ซึ่งพรรคการเมืองสามารถเสนอได้ในช่วงแรกที่มีการเลือกประธานสภาฯ หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ โดยสมาชิกเป็นผู้เลือก
ส่วนระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็เป็นไปตามวาระ เว้นแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่อง ขอย้ำว่าทุกเรื่องเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเอง
“สื่อดิจิทัล” รุ่ง “ทีวี” ร่วง เม็ดเงินโฆษณาไหลสู่โลกออนไลน์
https://www.thansettakij.com/business/marketing/615577
ยุคทอง “สื่อดิจิทัล” คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 68 พุ่งทะลุ 9 หมื่นล้านบาท จับตา “ทีวี” ขาลงลด 7% เหลือแค่ 3 หมื่นล้านบาท หลังคนดูเปลี่ยนพฤติกรรมหันเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะที่ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว ปรับธุรกิจรับมือ ยกตัวอย่างช่อง 3 ซบ MONO
นาย
ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ หรือเอ็มไอ กรุ๊ป (MI GROUP) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่า 90,879 ล้านบาท เติบโตขึ้น 4.5% จากปี 2567 ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน ส่วนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในปี 68 คาดมีมูลค่า 30,225 ล้านบาท ลดลงราว 7% เนื่องจากเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากที่เคยผูกติดอยู่กับหน้าจอโทรทัศน์เป็นหลัก ผู้คนหันมาใช้เวลาว่างกับอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ทำให้การรับชมโทรทัศน์ลดลง สาเหตุหลักมาจากความหลากหลายของคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งและโซเชียลมีเดียที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดีกว่า เช่นซีรีส์วาย ซีรีส์เกาหลี ซีรีส์จีน เป็นต้น
“
ในอดีตสื่อโทรทัศน์อาจได้รับงบประมาณโฆษณา 40-50% แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 20% เพราะหันไปลงทุนในสื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชัดเจน”
สำหรับปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่
1. ผู้ชมมีตัวเลือกในการรับชมคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ออนไลน์, ภาพยนตร์, รายการบันเทิง หรือคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์โดยผู้ใช้งานทั่วไป
2. การเติบโตของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เช่น Netflix, Disney+ Hotstar, และ HBO GO ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา
3. ผู้คนหันมาใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างแพร่หลายเพื่อติดตามข่าวสาร ดูวิดีโอสั้น ๆ และสื่อสารกับเพื่อนฝูง ทำให้แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น เมตา (Facebook) และกูเกิล มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในตลาดดิจิทัลนั้นรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อรักษาฐานผู้ใช้งาน และ 4. การใช้งานสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและคอนเทนต์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา
“การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์ในหลายด้าน และที่เห็นได้ชัดคือ การลดลงของเวลาในการรับชมโทรทัศน์ส่งผลให้รายได้จากโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สถานีโทรทัศน์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น การลดค่าใช้จ่าย การปรับรูปแบบรายการ และการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมยุคใหม่”
นาย
ภวัต กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมสื่อปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การแข่งขันกันเองภายในวงการโทรทัศน์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังต้องแข่งขันกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างๆ โซเชียลมีเดีย และคอนเทนต์รูปแบบสั้นที่หลากหลาย ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วงชิงเวลาของผู้ชมมากขึ้น
“
ในอดีตการแข่งขันในวงการโทรทัศน์มักจะเกิดขึ้นระหว่างช่องต่างๆ เช่น ช่อง 7, ช่องวัน, ช่อง 3 หรือช่องอื่นๆ แต่ปัจจุบัน ผู้ชมมีตัวเลือกในการรับชมคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทำให้พฤติกรรมการรับชมเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผู้ชมไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การรับชมละครยาวหรือรายการโทรทัศน์แบบเดิมๆ อีกต่อไป แต่หันไปให้ความสนใจกับคอนเทนต์รูปแบบสั้นๆ วิดีโอสั้นๆ บนโซเชียลมีเดีย หรือซีรีส์บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง”
ตัวอย่างกรณีการย้ายค่ายของนักแสดงกลุ่มใหญ่จากช่อง 3 ไปยังช่อง MONO29 นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองในวงการโทรทัศน์ไทย เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการแข่งขันในอุตสาหกรรม
โดยมีปัจจัยหลายประการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น การปรับตัวของช่อง MONO29 เพื่อขยายฐานผู้ชม การเปลี่ยนแปลงภายในช่อง 3 และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ชม ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและพัฒนาคอนเทนต์ให้มีความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้ชม นอกจากนี้ยังต้องหาวิธีดึงดูดผู้ชมให้กลับมาชมโทรทัศน์มากขึ้น
ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบรายการ หรือสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แตกต่างและน่าสนใจ ผู้ประกอบการจึงต้องติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชมอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาปรับใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป
JJNY : มองมุมใหม่ 'ขายเสียง'│วันนอร์ไม่หวั่นโดนเลื่อยขา│“สื่อดิจิทัล”รุ่ง “ทีวี”ร่วง│เผยยูเครนจับทหารเกาหลีเหนือรายหนึ่ง
https://prachatai.com/journal/2024/12/111840
ช่วงก่อนวันเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี ประชาไทพูดคุยกับชาวอุบลราชธานีในเขตเมืองและพื้นที่รอบนอกว่าคิดยังไงกับเรื่องนี้
ด้านลุงสายสมร กล่าวว่าเงินเป็นปัจจัยก็จริง โดยเฉพาะในชนบท แต่นั่นก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้คะแนนเสียง ใครให้เงินมาก็รับหมด อย่างน้อยคนจนก็ได้เงินไปใช้จ่ายรายวัน แต่เวลาเข้าคูหาก็ไม่ได้มีใครไปรู้ว่า เขาเลือกใคร จึงไม่อยากให้มาว่าชาวบ้านขายเสียง
ขณะที่ ดร.ประเทือง ม่วงอ่อน อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบล วิเคราะห์ว่าประเด็นการรับ-แจกเงินที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดในเรื่องการออกแบบนโยบาย ซึ่งเป็นผลมาจากข้อติดขัดในเรื่องการกระจายอำนาจและงบประมาณ ในเมื่อเลือกใครก็มีนโยบายไม่ต่างกัน จึงทำให้ชาวบ้านพิจารณาเลือกเรื่องตัวบุคคล-ความใกล้ชิดคนในพื้นที่เป็นหลัก
วันนอร์ ไม่หวั่น โดนเลื่อยขาเก้าอี้ปธ.สภา ย้ำ ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ ต้องไม่แทรกแซงกัน.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9566143
วันนอร์ ไม่หวั่น ฝ่ายการเมืองจ้องเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภา ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ ต้องไม่แทรกแซงกัน ลั่น ถ้าอยากเปลี่ยนก็เสนอญัตติมา
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังสื่อมวลชนให้ฉายา ‘รูทีน ตีนตุ๊กแก’ กังวลหรือไม่ว่าในปี 2568 จะถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงเก้าอี้ประธานสภาฯ ว่า เป็นความคิดเห็นที่สมาชิกหรือพรรคการเมืองสามารถแสดงออกได้ แต่ในฐานะที่ตนเป็นประธานรัฐสภาในฝ่ายนิติบัญญัติ จึงคิดว่าตำแหน่งในทางนิติบัญญัติเป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนก็สามารถเสนอญัตติเปลี่ยนแปลงได้ เพราะประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองมาขอให้เปลี่ยนแปลง จึงอยากให้แยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกัน ไม่เช่นนั้นสองฝ่ายต้องขึ้นแก่กัน หรือฝ่ายใดต้องฟังอีกฝ่ายหนึ่ง
“ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ไม่แทรกแซงกัน นี่เป็นหลักการ ฝ่ายบริหารสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐมนตรีได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภา และข้อบังคับ เรื่องนี้จึงไม่มีปัญหา” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว
นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า อาจจะมีความเข้าใจผิดว่า ประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ต้องเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากเท่านั้น ซึ่งพรรคการเมืองสามารถเสนอได้ในช่วงแรกที่มีการเลือกประธานสภาฯ หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ โดยสมาชิกเป็นผู้เลือก
ส่วนระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็เป็นไปตามวาระ เว้นแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่อง ขอย้ำว่าทุกเรื่องเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเอง
“สื่อดิจิทัล” รุ่ง “ทีวี” ร่วง เม็ดเงินโฆษณาไหลสู่โลกออนไลน์
https://www.thansettakij.com/business/marketing/615577
ยุคทอง “สื่อดิจิทัล” คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 68 พุ่งทะลุ 9 หมื่นล้านบาท จับตา “ทีวี” ขาลงลด 7% เหลือแค่ 3 หมื่นล้านบาท หลังคนดูเปลี่ยนพฤติกรรมหันเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ขณะที่ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว ปรับธุรกิจรับมือ ยกตัวอย่างช่อง 3 ซบ MONO
นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ หรือเอ็มไอ กรุ๊ป (MI GROUP) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่า 90,879 ล้านบาท เติบโตขึ้น 4.5% จากปี 2567 ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน ส่วนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในปี 68 คาดมีมูลค่า 30,225 ล้านบาท ลดลงราว 7% เนื่องจากเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากที่เคยผูกติดอยู่กับหน้าจอโทรทัศน์เป็นหลัก ผู้คนหันมาใช้เวลาว่างกับอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ทำให้การรับชมโทรทัศน์ลดลง สาเหตุหลักมาจากความหลากหลายของคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งและโซเชียลมีเดียที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดีกว่า เช่นซีรีส์วาย ซีรีส์เกาหลี ซีรีส์จีน เป็นต้น
“ในอดีตสื่อโทรทัศน์อาจได้รับงบประมาณโฆษณา 40-50% แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 20% เพราะหันไปลงทุนในสื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชัดเจน”
สำหรับปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่
1. ผู้ชมมีตัวเลือกในการรับชมคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ออนไลน์, ภาพยนตร์, รายการบันเทิง หรือคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์โดยผู้ใช้งานทั่วไป
2. การเติบโตของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เช่น Netflix, Disney+ Hotstar, และ HBO GO ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา
3. ผู้คนหันมาใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างแพร่หลายเพื่อติดตามข่าวสาร ดูวิดีโอสั้น ๆ และสื่อสารกับเพื่อนฝูง ทำให้แพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เช่น เมตา (Facebook) และกูเกิล มีฐานผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในตลาดดิจิทัลนั้นรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อรักษาฐานผู้ใช้งาน และ 4. การใช้งานสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและคอนเทนต์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา
“การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์ในหลายด้าน และที่เห็นได้ชัดคือ การลดลงของเวลาในการรับชมโทรทัศน์ส่งผลให้รายได้จากโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สถานีโทรทัศน์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น การลดค่าใช้จ่าย การปรับรูปแบบรายการ และการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมยุคใหม่”
นายภวัต กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมสื่อปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การแข่งขันกันเองภายในวงการโทรทัศน์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังต้องแข่งขันกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างๆ โซเชียลมีเดีย และคอนเทนต์รูปแบบสั้นที่หลากหลาย ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วงชิงเวลาของผู้ชมมากขึ้น
“ในอดีตการแข่งขันในวงการโทรทัศน์มักจะเกิดขึ้นระหว่างช่องต่างๆ เช่น ช่อง 7, ช่องวัน, ช่อง 3 หรือช่องอื่นๆ แต่ปัจจุบัน ผู้ชมมีตัวเลือกในการรับชมคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทำให้พฤติกรรมการรับชมเปลี่ยนแปลงไปมาก
ผู้ชมไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แค่การรับชมละครยาวหรือรายการโทรทัศน์แบบเดิมๆ อีกต่อไป แต่หันไปให้ความสนใจกับคอนเทนต์รูปแบบสั้นๆ วิดีโอสั้นๆ บนโซเชียลมีเดีย หรือซีรีส์บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง”
ตัวอย่างกรณีการย้ายค่ายของนักแสดงกลุ่มใหญ่จากช่อง 3 ไปยังช่อง MONO29 นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองในวงการโทรทัศน์ไทย เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและการแข่งขันในอุตสาหกรรม
โดยมีปัจจัยหลายประการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น การปรับตัวของช่อง MONO29 เพื่อขยายฐานผู้ชม การเปลี่ยนแปลงภายในช่อง 3 และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ชม ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและพัฒนาคอนเทนต์ให้มีความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้ชม นอกจากนี้ยังต้องหาวิธีดึงดูดผู้ชมให้กลับมาชมโทรทัศน์มากขึ้น
ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบรายการ หรือสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แตกต่างและน่าสนใจ ผู้ประกอบการจึงต้องติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชมอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาปรับใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป