กรณีการเสียชีวิตของ"แบงค์ เลสเตอร์" หรือ นายธนาคาร คันธี อินฟลูเอนเซอร์วัย 21 ปี นำมาซึ่งการเปิดเผยเส้นทางชีวิต ปูมหลังรวมไปถึงการทำคอนเทนต์ที่ผ่านมา โดยเมื่อย้อนไปดูรูปแบบการนำเสนอคลิปวีดีโอที่ผ่านมา ซึ่งพบการร่วมทำคอนเทนต์กับอินฟลูเอนเซอร์คนอื่นที่มีลักษณะการให้ “แบงค์ เลสเตอร์” ถูกแกล้งให้กินอาหารพิสดาร หรือ ไม่ก็ต้องเจ็บตัวเพีอแลกกับค่าตอบแทน
สิ่งที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งการตั้งคำถามถึงรูปแบบคอนเทนต์ที่มี “แบงค์ เลสเตอร์” เข้าไปเป็นตัวละครว่าเข้าข่ายนำไปสร้างคอนเทนต์ในลักษณะที่เรียกว่า "human zoo" หรือ "สวนสัตว์มนุษย์" หรือแม้แต่ถูกมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ แบงค์ เลสเตอร์ ถูกกระทำในลักษณะ "ของเล่นคนรวย" หรือ ต้องเจ็บเพื่อแลกเงินหรือไม่
HUMAN ZOO ความบันเทิงที่มาจากการถูกด้อยค่า
นิยามของคำว่า "สวนสัตว์มนุษย์" หรือ Human Zoo มีความหมายที่ค่อนข้างตรงตัวว่าการจัดแสดงมนุษย์ในลักษณะเดียวกับสัตว์ในสวนสัตว์ ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดแสดงในอดีตของสังคมตะวันตกราวช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ที่มักนำกลุ่มชนพื้นเมืองหรือผู้ที่มีลักษณะแตกต่างจากมาแสดงในสภาพแวดล้อมจำลอง เพื่อเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติ การปฏิบัติเช่นนี้สะท้อนถึงการเหยียดเชื้อชาติและการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจัดแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงและยืนยันความเหนือกว่าของวัฒนธรรมตะวันตก
ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ อาจารย์หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มศว ) มองว่าการทำคอนเทนต์ลักษณะ "human zoo" คือ การทำคอนเทนต์ในลักษณะที่ดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งในมุมของคนสร้างสรรค์คอนเทนต์ทุกวันนี้ต้องมีความพยายามสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเพื่อแข่งขันคอนเทนต์ที่มีจำนวนมหาศาล ก็ต้องพยายามคิดค้นคอนเทนต์ที่มันแปลกแตกต่าง และที่สําคัญคือตรงใจคนดู เพราะจำนวนยอดวิวหรือยอดคนดูในแพลตฟอร์มต่าง ๆ นำมาซึ่งรายได้ ฉะนั้นยิ่งยอดวิวเยอะ ยิ่งเป็นกระแสเยอะ คนมาดูเยอะก็นําไปสู่รายได้จำนวนมากตามมา
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าบางครั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ก็พยายามหาอะไรที่มันแปลกแตกต่างโดยบางครั้งลืมไปถึงเรื่องของความเหมาะสม โดยคอนเทนต์ลักษณะ Human zoo ในความเห็นส่วนตัวมองว่าขึ้นอยู่กับว่าคอนเทนต์ที่เสนอออกเป็นการละเมิดจิตใจ ความรู้สึก ความปลอดภัยทางร่างกายหรือไม่ ถ้ามีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกของผู้ที่ถูกกระทําก็อาจจะมองได้ว่าเป็น Human Zoo ได้
“แบงค์ เลสเตอร์” กับยอดวิวที่ต้องแลกด้วยชีวิต
ขณะที่คอนเทนต์ของ “แบงค์ เลสเตอร์” บางคลิปที่ปรากฏออกมาก็ค่อนข้างที่จะหมิ่นเหม่ที่จะเข้าลักษณะ "human zoo" เพราะมีการทำคอนเทนต์ในรูปแบบการกลั่นแกล้ง เช่น ให้กินของพิสดาร ทำให้เจ็บตัว หรือ ด้อยค่า ซึ่งส่วนตัวมองว่าการทำคอนเทนต์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะหากคอนเทนต์นั้นมีการบังคับ หรือ มีการทำให้ยอมจำนน ไม่สามารถขัดขืน หรือมีอำนาจด้อยกว่าในการต่อรอง เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ผลตอบแทนเพื่อนำไปจุนเจือครอบครัว
“สำหรับกรณีของ “แบงค์ เลสเตอร์” ที่อาจมองว่าอาจจะเป็น HUMAN ZOO ก็เพราะเราดูไปที่ผู้ถูกกระทำ คือ แบงค์ เลสเตอร์ เพราะเขาเป็นผู้มีความไม่พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงคนส่วนใหญ่ที่รับรู้ปูมหลังของเขา แต่ไม่อยากให้มองเพียงแค่กรณีนี้เท่านั้น เพราะจะเป็น HUMAN ZOO หรือไม่ ก็ต้องดูว่าคอนเทนต์นั้น ๆ มันมีการเหยียด การกดขี่ ไปจนถึงการถูกด้อยค่าหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ควรสนับสนุนคอนเทนต์ในรูปแบบดังกล่าว”ดร.ยุคลวัชร์
บทเรียนจาก “แบงค์ เลสเตอร์” ใครคือคนผิด?
สำหรับการหยุด หรือ ลดปริมาณคอนเทนต์ในลักษณะ HUMAN ZOO ที่เป็นการด้อยค่า หรือ ต้องกลั่นแกล้งใช้ความเจ็บปวดแลกยอดวิว ถือเป็นปมปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือในหลายมิติ โดยส่วนสำคัญที่สุดก็คือ “ผู้ชม” ที่อาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าเคยให้การสนับสนุนให้เกิดการสร้างคอนเทนต์ลักษณะนี้ขึ้นมาโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่เคยชอบดูอะไรที่มันแปลกแตกต่างหรือสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ก็ตามก็ถึงเวลาที่เราต้องไม่สนับสนุนคอนเทนต์เหล่านั้น แต่ควรหันไปให้การสนับสนุนคอนเทนต์เชิงสร้างสรรค์มากกว่า
ขณะที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ แม้จะมีกฎเข้ามาควบคุมคอนเทนต์ต่าง ๆ ทั้งมีข้อห้าม หรือ การคัดกรองด้วย AI เพื่อไม่ให้มีการละเมิด การใช้ความรุนแรง แต่ก็ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวันก็อาจทำให้แพลตฟอร์มไม่สามารถรู้เท่าทันต่อคอนเทนต์จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ในปัจจุบันใครก็สามารถจะเป็นได้ ควรต้องมีความตระหนักรู้ว่าคุณมีส่วนในผลิตผลงานคอนเทนต์ที่ไม่สร้างสรรค์หรือไม่ และควรต้องมีส่วนในความรับผิดชอบสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำคอนเทนต์นั้น ๆ
ส่วนภาครัฐเองก็ควรมีบทกฎหมาย บทลงโทษ มาตรการป้องปรามควรจะเข้ามาป้องกันคอนเทนต์ที่ไม่สร้างสรรค์ หมิ่นเหม่ต่อการผิดศีลธรรม หรือ นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม
ดร.ยุคลวัชร์ ย้ำว่าปัจจุบันในโลกสากลให้ความสำคัญมากในเรื่องของความเท่าเทียม สิทธิ เสรีภาพ การเหยียดเพศ สีผิว ชาติกำเนิด หรือ แม้แต่ความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ ตลอดจนร่างกาย ทั้งหมดเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่นานาชาติเลิกเอามาทำเป็นเรื่องสนุกกันแล้ว แม้สังคมไทยจะเริ่มมีการตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิ ความเท่าเทียมมากขึ้นแล้ว แต่ยังพบบางคอนเทนต์ที่มีการนำเรื่องความตลกบนความทุกข์ของผู้อื่นมาสร้างความบันเทิงอยู่บ้าง
“อยากให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกคนตระหนักว่าความสนุกสนาน ความท้าทาย ความน่าตื่นเต้นของคอนเทนต์ของคุณกำลังอยู่บนความทุกข์ของคนอื่นหรือไม่ ซึ่งอาจจะลองมองทางออกในการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถสร้างยอดวิวที่มาจากความสนุกสนานโดยที่ไม่เบียดเบียนใคร ด้านผู้ชมเองก็ควรสนับสนุนกับคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ มีสาระ เพื่อนำไปสู่ค่านิยมใหม่ของคนทำคอนเทนต์ที่เน้นคุณภาพมากกว่าความแปลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการเปลี่ยนแปลง” ดร.ยุคลวัชร์
https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/184838/?fbclid=IwY2xjawHbAIdleHRuA2FlbQIxMQABHbDyDkjgUZNOKFsaodtnwVfLoGa51HFIGcY5l2zEvbzyv-MDSPoTkDlSew_aem_J8uZrWLk22VtJXWSBgR3Hg
เมื่อศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ มีค่าน้อยกว่ายอดวิว
สิ่งที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งการตั้งคำถามถึงรูปแบบคอนเทนต์ที่มี “แบงค์ เลสเตอร์” เข้าไปเป็นตัวละครว่าเข้าข่ายนำไปสร้างคอนเทนต์ในลักษณะที่เรียกว่า "human zoo" หรือ "สวนสัตว์มนุษย์" หรือแม้แต่ถูกมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ แบงค์ เลสเตอร์ ถูกกระทำในลักษณะ "ของเล่นคนรวย" หรือ ต้องเจ็บเพื่อแลกเงินหรือไม่
HUMAN ZOO ความบันเทิงที่มาจากการถูกด้อยค่า
นิยามของคำว่า "สวนสัตว์มนุษย์" หรือ Human Zoo มีความหมายที่ค่อนข้างตรงตัวว่าการจัดแสดงมนุษย์ในลักษณะเดียวกับสัตว์ในสวนสัตว์ ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดแสดงในอดีตของสังคมตะวันตกราวช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ที่มักนำกลุ่มชนพื้นเมืองหรือผู้ที่มีลักษณะแตกต่างจากมาแสดงในสภาพแวดล้อมจำลอง เพื่อเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติ การปฏิบัติเช่นนี้สะท้อนถึงการเหยียดเชื้อชาติและการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจัดแสดงเพื่อสร้างความบันเทิงและยืนยันความเหนือกว่าของวัฒนธรรมตะวันตก
ดร.ยุคลวัชร์ ภักดีจักริวุฒิ์ อาจารย์หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( มศว ) มองว่าการทำคอนเทนต์ลักษณะ "human zoo" คือ การทำคอนเทนต์ในลักษณะที่ดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งในมุมของคนสร้างสรรค์คอนเทนต์ทุกวันนี้ต้องมีความพยายามสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเพื่อแข่งขันคอนเทนต์ที่มีจำนวนมหาศาล ก็ต้องพยายามคิดค้นคอนเทนต์ที่มันแปลกแตกต่าง และที่สําคัญคือตรงใจคนดู เพราะจำนวนยอดวิวหรือยอดคนดูในแพลตฟอร์มต่าง ๆ นำมาซึ่งรายได้ ฉะนั้นยิ่งยอดวิวเยอะ ยิ่งเป็นกระแสเยอะ คนมาดูเยอะก็นําไปสู่รายได้จำนวนมากตามมา
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าบางครั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ก็พยายามหาอะไรที่มันแปลกแตกต่างโดยบางครั้งลืมไปถึงเรื่องของความเหมาะสม โดยคอนเทนต์ลักษณะ Human zoo ในความเห็นส่วนตัวมองว่าขึ้นอยู่กับว่าคอนเทนต์ที่เสนอออกเป็นการละเมิดจิตใจ ความรู้สึก ความปลอดภัยทางร่างกายหรือไม่ ถ้ามีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกของผู้ที่ถูกกระทําก็อาจจะมองได้ว่าเป็น Human Zoo ได้
“แบงค์ เลสเตอร์” กับยอดวิวที่ต้องแลกด้วยชีวิต
ขณะที่คอนเทนต์ของ “แบงค์ เลสเตอร์” บางคลิปที่ปรากฏออกมาก็ค่อนข้างที่จะหมิ่นเหม่ที่จะเข้าลักษณะ "human zoo" เพราะมีการทำคอนเทนต์ในรูปแบบการกลั่นแกล้ง เช่น ให้กินของพิสดาร ทำให้เจ็บตัว หรือ ด้อยค่า ซึ่งส่วนตัวมองว่าการทำคอนเทนต์ที่มีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะหากคอนเทนต์นั้นมีการบังคับ หรือ มีการทำให้ยอมจำนน ไม่สามารถขัดขืน หรือมีอำนาจด้อยกว่าในการต่อรอง เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ผลตอบแทนเพื่อนำไปจุนเจือครอบครัว
“สำหรับกรณีของ “แบงค์ เลสเตอร์” ที่อาจมองว่าอาจจะเป็น HUMAN ZOO ก็เพราะเราดูไปที่ผู้ถูกกระทำ คือ แบงค์ เลสเตอร์ เพราะเขาเป็นผู้มีความไม่พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงคนส่วนใหญ่ที่รับรู้ปูมหลังของเขา แต่ไม่อยากให้มองเพียงแค่กรณีนี้เท่านั้น เพราะจะเป็น HUMAN ZOO หรือไม่ ก็ต้องดูว่าคอนเทนต์นั้น ๆ มันมีการเหยียด การกดขี่ ไปจนถึงการถูกด้อยค่าหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ควรสนับสนุนคอนเทนต์ในรูปแบบดังกล่าว”ดร.ยุคลวัชร์
บทเรียนจาก “แบงค์ เลสเตอร์” ใครคือคนผิด?
สำหรับการหยุด หรือ ลดปริมาณคอนเทนต์ในลักษณะ HUMAN ZOO ที่เป็นการด้อยค่า หรือ ต้องกลั่นแกล้งใช้ความเจ็บปวดแลกยอดวิว ถือเป็นปมปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือในหลายมิติ โดยส่วนสำคัญที่สุดก็คือ “ผู้ชม” ที่อาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าเคยให้การสนับสนุนให้เกิดการสร้างคอนเทนต์ลักษณะนี้ขึ้นมาโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่เคยชอบดูอะไรที่มันแปลกแตกต่างหรือสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ก็ตามก็ถึงเวลาที่เราต้องไม่สนับสนุนคอนเทนต์เหล่านั้น แต่ควรหันไปให้การสนับสนุนคอนเทนต์เชิงสร้างสรรค์มากกว่า
ขณะที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ แม้จะมีกฎเข้ามาควบคุมคอนเทนต์ต่าง ๆ ทั้งมีข้อห้าม หรือ การคัดกรองด้วย AI เพื่อไม่ให้มีการละเมิด การใช้ความรุนแรง แต่ก็ต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวันก็อาจทำให้แพลตฟอร์มไม่สามารถรู้เท่าทันต่อคอนเทนต์จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ในปัจจุบันใครก็สามารถจะเป็นได้ ควรต้องมีความตระหนักรู้ว่าคุณมีส่วนในผลิตผลงานคอนเทนต์ที่ไม่สร้างสรรค์หรือไม่ และควรต้องมีส่วนในความรับผิดชอบสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำคอนเทนต์นั้น ๆ
ส่วนภาครัฐเองก็ควรมีบทกฎหมาย บทลงโทษ มาตรการป้องปรามควรจะเข้ามาป้องกันคอนเทนต์ที่ไม่สร้างสรรค์ หมิ่นเหม่ต่อการผิดศีลธรรม หรือ นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม
ดร.ยุคลวัชร์ ย้ำว่าปัจจุบันในโลกสากลให้ความสำคัญมากในเรื่องของความเท่าเทียม สิทธิ เสรีภาพ การเหยียดเพศ สีผิว ชาติกำเนิด หรือ แม้แต่ความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ ตลอดจนร่างกาย ทั้งหมดเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่นานาชาติเลิกเอามาทำเป็นเรื่องสนุกกันแล้ว แม้สังคมไทยจะเริ่มมีการตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิ ความเท่าเทียมมากขึ้นแล้ว แต่ยังพบบางคอนเทนต์ที่มีการนำเรื่องความตลกบนความทุกข์ของผู้อื่นมาสร้างความบันเทิงอยู่บ้าง
“อยากให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกคนตระหนักว่าความสนุกสนาน ความท้าทาย ความน่าตื่นเต้นของคอนเทนต์ของคุณกำลังอยู่บนความทุกข์ของคนอื่นหรือไม่ ซึ่งอาจจะลองมองทางออกในการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถสร้างยอดวิวที่มาจากความสนุกสนานโดยที่ไม่เบียดเบียนใคร ด้านผู้ชมเองก็ควรสนับสนุนกับคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ มีสาระ เพื่อนำไปสู่ค่านิยมใหม่ของคนทำคอนเทนต์ที่เน้นคุณภาพมากกว่าความแปลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการเปลี่ยนแปลง” ดร.ยุคลวัชร์
https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/184838/?fbclid=IwY2xjawHbAIdleHRuA2FlbQIxMQABHbDyDkjgUZNOKFsaodtnwVfLoGa51HFIGcY5l2zEvbzyv-MDSPoTkDlSew_aem_J8uZrWLk22VtJXWSBgR3Hg