อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/opinion-column-8/news-1717057#google_vignette
1.ลดต้นทุน (Cost Reduction) บริษัทสื่อในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูง โดยเฉพาะในส่วนที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาทดแทนแรงงานได้ เช่น การตัดต่อ การผลิตสื่อ และการบริหารจัดการงานหลังบ้าน
2.ปรับโครงสร้างองค์กร ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานจำนวนมาก หน้าที่งานที่เคยต้องใช้คนหลายคนอาจสามารถบริหารจัดการได้โดยบุคลากรเพียงคนเดียว หรือแม้กระทั่ง AI และระบบอัตโนมัติก็เข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมสื่อ
3.แรงกดดันจากผู้ถือหุ้น ช่อง 3 ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ถือหุ้นที่ต้องการผลกำไรและการจ่ายปันผลที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทต้องปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
4.ผลกระทบจากเศรษฐกิจภายนอกและการแข่งขันในโลกดิจิทัล ในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเสพสื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้รายได้จากโฆษณาของสื่อดั้งเดิมลดลงอย่างมาก บริษัทสื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น YouTube, TikTok และ Netflix
ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น บริษัทสื่อระดับโลกอย่าง Meta (Facebook), Amazon และ CNN ก็มีการเลิกจ้างพนักงานในช่วงที่ผ่านมา เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อในยุคใหม่ บทเรียนสำหรับพนักงานในยุคที่ไม่แน่นอน ในยุคที่การเลิกจ้างพนักงานกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับหลายอุตสาหกรรม การปรับตัวและพัฒนาตนเองคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานสามารถอยู่รอดได้
1.สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีทักษะที่หาได้ยากและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) หรือความรู้เชิงลึกในเทคโนโลยีใหม่
2.สร้างผลงานที่โดดเด่น พัฒนาคุณภาพของงานให้สูงขึ้นและสร้างความแตกต่างที่ทำให้ตนเองเป็นที่ต้องการ
3.รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานและผู้บริหาร แสดงถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันและเป็นบุคลากรที่องค์กรไม่อยากสูญเสีย
4.พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล.
ประชาชาติธุรกิจวิเคราะห์ 4 เหตุผลที่ทำไมช่อง 3 ปรับลดขนาดองค์กร ลดพนักงาน
1.ลดต้นทุน (Cost Reduction) บริษัทสื่อในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูง โดยเฉพาะในส่วนที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาทดแทนแรงงานได้ เช่น การตัดต่อ การผลิตสื่อ และการบริหารจัดการงานหลังบ้าน
2.ปรับโครงสร้างองค์กร ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานจำนวนมาก หน้าที่งานที่เคยต้องใช้คนหลายคนอาจสามารถบริหารจัดการได้โดยบุคลากรเพียงคนเดียว หรือแม้กระทั่ง AI และระบบอัตโนมัติก็เข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมสื่อ
3.แรงกดดันจากผู้ถือหุ้น ช่อง 3 ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ถือหุ้นที่ต้องการผลกำไรและการจ่ายปันผลที่สูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทต้องปรับโครงสร้างเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
4.ผลกระทบจากเศรษฐกิจภายนอกและการแข่งขันในโลกดิจิทัล ในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การเสพสื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้รายได้จากโฆษณาของสื่อดั้งเดิมลดลงอย่างมาก บริษัทสื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น YouTube, TikTok และ Netflix
ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น บริษัทสื่อระดับโลกอย่าง Meta (Facebook), Amazon และ CNN ก็มีการเลิกจ้างพนักงานในช่วงที่ผ่านมา เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อในยุคใหม่ บทเรียนสำหรับพนักงานในยุคที่ไม่แน่นอน ในยุคที่การเลิกจ้างพนักงานกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับหลายอุตสาหกรรม การปรับตัวและพัฒนาตนเองคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานสามารถอยู่รอดได้
1.สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีทักษะที่หาได้ยากและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) หรือความรู้เชิงลึกในเทคโนโลยีใหม่
2.สร้างผลงานที่โดดเด่น พัฒนาคุณภาพของงานให้สูงขึ้นและสร้างความแตกต่างที่ทำให้ตนเองเป็นที่ต้องการ
3.รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานและผู้บริหาร แสดงถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันและเป็นบุคลากรที่องค์กรไม่อยากสูญเสีย
4.พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล.