“หมอสมาน” เร่งรวบรวมหลักฐาน “ดารา” โพสต์ภาพโชว์เหล้าเบียร์ส่งฟ้องศาล ชี้ชัดโฆษณาผิด กม. งัด พ.ร.บ.สคบ. ยันชัดใช้ดารา นักแสดง สื่อสารการตลาดถือเป็นโฆษณาทางตรง
กลายเป็นประเด็นดรามา เมื่อหนุ่ม “ต๊อด - ปิติ ภิรมย์ภักดี” นักธุรกิจทายาทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกมาโพสต์ข้อความติง หนุ่มโดม - ปกรณ์ ลัม นักร้องนักแสดงหนุ่ม ที่โพสต์ภาพถือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่ง โดยหันโลโก้ให้เห็นอย่างชัดเจน พร้อมเขียนคำบรรยายในลักษณะเหมือนการเชิญชวน ขณะที่เว็บไซต์พันทิปก็มีการตั้งกระทู้ถึงกรณีดังกล่าวเช่นกัน เพราะยังมีนักร้อง นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์อีกหลายคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า นักแสดงสามารถทำการถ่ายภาพในเชิงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ขณะที่หนุ่มต๊อดเองก็ถูกชาวเน็ตโจมตีกลับเช่นกันว่าใช้ดาราโฆษณาเช่นกัน
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นที่สนใจของสังคม และมีหลักฐานที่ชัดเจนเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งยังมีข้อมูลจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า การกระทำลักษณะดังกล่าวเป็นการว่าจ้าง และเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เบื้องต้นถือว่าเป็นคดีที่มีมูล ตาม พ.ร.บ. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2557 มาตรา 32 ซึ่งห้ามโฆษณา เชิญชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้างกระทำการโฆษณาก็ถือมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งนิติกรให้รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ แล้ว
นพ.สมาน กล่าวว่า การรวบรวมพยานหลักฐานจะรวบรวมหลักฐานจากสื่อออนไลน์ที่ได้มีการลงภาพในลักษณะที่เข้าข่ายความผิด และเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำ หากให้การเป็นประโยชน์ก็จะกันไว้เป็นพยาน แต่หากปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนกระทำความผิด ก็จะใช้การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาในชั้นศาลต่อไป ซึ่งศาลจะได้ดูถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบ เช่น การร่วมกิจกรรมทางการตลาดของบุคคลนั้น ๆ ทั้งก่อนและหลังจากนี้ เป็นต้น ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่า การใช้ดารา นักแสดง บุคคลมีชื่อเสียง เพื่อการสื่อสารทางการตลาด ชักจูงให้อยากบริโภคสินค้านั้น ถือเป็นการโฆษณาทางตรง ดังนั้น จึงถือว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิดในฐานโฆษณาด้วยเช่นเดียวกัน
“ขั้นตอนต่อจากนี้ จะรวบรวมพยานหลักฐาน พยานบุคคล และนำเข้าคณะกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อจัดทำสำนวนในการส่งฟ้องต่อศาลต่อไป กรณีดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้สังคมได้ตื่นตัว ในเรื่องการโฆษณาออนไลน์ โดยสำนักงานคณะกรรมการ จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ที่ได้รับการร้องเรียน และจะมีการนำความเห็นของผู้ที่ประกอบธุรกิจเอง และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางนิเทศศาสตร์มาประกอบด้วย” นพ.สมาน กล่าว
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113205
“หมอสมาน” รวบหลักฐาน “ดารา” โพสต์ภาพโชว์เบียร์ฟ้องศาล ชี้โฆษณาผิด กม.
“หมอสมาน” เร่งรวบรวมหลักฐาน “ดารา” โพสต์ภาพโชว์เหล้าเบียร์ส่งฟ้องศาล ชี้ชัดโฆษณาผิด กม. งัด พ.ร.บ.สคบ. ยันชัดใช้ดารา นักแสดง สื่อสารการตลาดถือเป็นโฆษณาทางตรง
กลายเป็นประเด็นดรามา เมื่อหนุ่ม “ต๊อด - ปิติ ภิรมย์ภักดี” นักธุรกิจทายาทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกมาโพสต์ข้อความติง หนุ่มโดม - ปกรณ์ ลัม นักร้องนักแสดงหนุ่ม ที่โพสต์ภาพถือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อหนึ่ง โดยหันโลโก้ให้เห็นอย่างชัดเจน พร้อมเขียนคำบรรยายในลักษณะเหมือนการเชิญชวน ขณะที่เว็บไซต์พันทิปก็มีการตั้งกระทู้ถึงกรณีดังกล่าวเช่นกัน เพราะยังมีนักร้อง นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์อีกหลายคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า นักแสดงสามารถทำการถ่ายภาพในเชิงโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ขณะที่หนุ่มต๊อดเองก็ถูกชาวเน็ตโจมตีกลับเช่นกันว่าใช้ดาราโฆษณาเช่นกัน
นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นที่สนใจของสังคม และมีหลักฐานที่ชัดเจนเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งยังมีข้อมูลจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า การกระทำลักษณะดังกล่าวเป็นการว่าจ้าง และเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เบื้องต้นถือว่าเป็นคดีที่มีมูล ตาม พ.ร.บ. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2557 มาตรา 32 ซึ่งห้ามโฆษณา เชิญชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ว่าจ้าง และผู้รับจ้างกระทำการโฆษณาก็ถือมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งนิติกรให้รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ แล้ว
นพ.สมาน กล่าวว่า การรวบรวมพยานหลักฐานจะรวบรวมหลักฐานจากสื่อออนไลน์ที่ได้มีการลงภาพในลักษณะที่เข้าข่ายความผิด และเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ปากคำ หากให้การเป็นประโยชน์ก็จะกันไว้เป็นพยาน แต่หากปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนกระทำความผิด ก็จะใช้การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาในชั้นศาลต่อไป ซึ่งศาลจะได้ดูถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบ เช่น การร่วมกิจกรรมทางการตลาดของบุคคลนั้น ๆ ทั้งก่อนและหลังจากนี้ เป็นต้น ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่า การใช้ดารา นักแสดง บุคคลมีชื่อเสียง เพื่อการสื่อสารทางการตลาด ชักจูงให้อยากบริโภคสินค้านั้น ถือเป็นการโฆษณาทางตรง ดังนั้น จึงถือว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิดในฐานโฆษณาด้วยเช่นเดียวกัน
“ขั้นตอนต่อจากนี้ จะรวบรวมพยานหลักฐาน พยานบุคคล และนำเข้าคณะกรรมการด้านกฎหมาย เพื่อจัดทำสำนวนในการส่งฟ้องต่อศาลต่อไป กรณีดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้สังคมได้ตื่นตัว ในเรื่องการโฆษณาออนไลน์ โดยสำนักงานคณะกรรมการ จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ที่ได้รับการร้องเรียน และจะมีการนำความเห็นของผู้ที่ประกอบธุรกิจเอง และความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางนิเทศศาสตร์มาประกอบด้วย” นพ.สมาน กล่าว
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113205