เปิดโฉมที่มาวิจัยTDRI ที่ ป.ป.ช.ใช้เป็นหลักฐานฟัน"ยิ่งลักษณ์" ต้นตอ อสส.ระบุมีแค่หน้าปก

กระทู้สนทนา
1 ใน 3 ประเด็นที่นายวันชัยรุจนวงศ์ โฆษกอัยการสูงสุด (อสส.) แถลงตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทน อสส. กับ ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์นั้น ในประเด็นที่ 3 ที่ อสส.ระบุว่าป.ป.ช.อ้างถึงรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ  ว่าโครงการดังกล่าวมีการทุจริตและมีความเสียหายจำนวนมาก แต่ในสำนวนการไต่สวนปรากฏว่ามีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยนั้น




จากการตรวจสอบพบว่าเป็นผลงานวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก”เขียนโดยนายนิพนธ์พัวพงศกร จิตรกร จารุพงษ์





อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในคำนำของผลงานวิจัยดังกล่าวได้ลงวันที่เขียนคำนำไว้ในเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13กันยายน อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/2555ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ให้มีระยะเวลาเริ่มต้นโครงการตั้งแต่วันที่7 ตุลาคม 2554 - 29 กุมภาพันธ์ 2555 มีระยะเวลาไถ่ถอน 4เดือนนับจากวันรับจำนำ วงเงินที่ใช้ดำเนินโครงการรวม 4 แสนล้านบาท


ดังนั้น คาดว่ารายงานวิชาการดังกล่าวน่าจะจัดทำก่อนรัฐบาลเริ่มต้นดำเนินโครงการรับจำนำข้าว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410078486


สรุปว่ายังไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาต่ออดีตนายกฯปู ตามที่ ป.ป.ช.สรุปเสนอได้

ซึ่งอัยการได้ชี้ถึงข้ออ่อนของสำนวน ป.ป.ช. 3 ประเด็น

1. โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการของรัฐบาลที่แถลงไว้เป็นนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ดังนั้นจึงควรรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้ชัดว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการที่จะยับยั้งโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาแล้วหรือไม่

2. ควรทำการไต่สวนรวบรวมพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความว่า ภายหลังจากที่ได้ถูกท้วงติงจาก ป.ป.ช. และ สตง.แล้ว ผู้ถูกกล่าวหาดำเนินการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตหรือไม่ อย่างไร ผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร

3. ควรไต่สวนพยานเพิ่มเติมให้ได้ความว่า พบการทุจริตในขั้นตอนใดและมีการทุจริตอย่างไร นอกจากนั้นมีการกล่าวอ้างถึงรายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ (TDRI) ว่า โครงการดังกล่าวมีการทุจริตและมีความเสียหายจำนวนมาก แต่ในสำนวนการไต่สวนปรากฏว่ามีเพียงหน้าปกรายงานวิจัยเท่านั้น

อ่าน 3 ข้อนี้แล้ว พอเห็นภาพได้ว่าสภาพของสำนวน ป.ป.ช.นั้น ไม่สมบูรณ์อย่างไร

โดยเฉพาะในข้อ 3 เรื่องงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ เป็นเรื่องที่สร้างความขบขันไปทั่วมาแล้ว เมื่อ ป.ป.ช.เปิดประเด็นนี้ออกมา

องค์กรอิสระกับการเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น เคยอาศัยพจนานุกรมมาแล้ว นี่อาศัยงานวิจัยเพิ่มเข้ามาอีก

นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ได้เคยกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ถ้าไม่มีการริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ที่วิเคราะห์วิจัยเอาไว้ เช่น ผลการศึกษาเรื่องมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ตนฟันธงว่า ป.ป.ช.จะไม่สามารถชี้มูลความผิดกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เลย

ฟังแล้วแปลได้ว่า งานวิจัยคือหัวใจสำคัญสุดของพยานหลักฐานในสายตา ป.ป.ช.

ไม่เท่านั้น นายวิชายังบอกว่า การทำงานของ ป.ป.ช.ต่อจากนี้จะใช้สหสาขาวิชาศาสตร์ คือ การผนึกกำลังระหว่างนิติศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น

ฟังแล้วอดนึกไม่ได้ต้องนึกถึงไสยศาสตร์

http://www.khonthaiuk.org/forum/index.php?topic=28924.0




  สงสัยต้องดูพจนานุกรมภาค 2 แล้วละซิ  กร๊กๆๆๆๆ


องค์กรอิสระ(ไม่จริง) ก็งี้ ตั้งมาเพื่อเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนหัวคิดไดโนเสาร์ ติดอันดับท้ายก็สมควรแล้ว เสียดายภาษีที่ต้องเอาไปจ่ายเงินเดือนให้พวกนี้จริงๆ
เขายังหน้าหนาอยู่ไม่น่าเชื่อคนเราเป็นได้ขนาดนี้ถ้าเป็นผม...ไปใหนต้องเอาปีบคุมหน้าแน่นอน!!

ปิดหูปิดตาคนไทยบางกลุ่มได้ แต่โลกมองเห็น

ปปชไทยไม่เคยปราบทุจริตอย่างตรงไปตรงมาจริง

ปปชไทยมีขั้วตายตัว ชัดเจน

ปปชไทยโคตรอยุติธรรม จบนะ  กรั่กๆๆๆๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่