อัยการ vs ปปช. หลากมุมมองของสื่อ ... เอามารวมในกระทู้เดียว เพื่อเปรียบเทียบ ยุติธรรมตรงไหน ?????????

กระทู้สนทนา
คดีประหลาด   สมิงสามผลัด  ...... ข่าวสดออนไลน์

หลัง จากที่ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ 7 : 0 ไปเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
ชี้มูลความผิดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฐานปล่อยปละละเลยให้เกิดการ
ทุจริตโครงการจำนำข้าว

ส่งผลให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐ มนตรี

ล่าสุดโฆษกอัยการสูงสุด แถลงว่า มีความเห็นยังไม่สั่งฟ้องคดีที่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ในคดีทุจริตจำนำข้าว ให้เหตุผล 3 ข้อ คือ

1.ให้ป.ป.ช.รวบรวมหลักฐานใหม่ในกรณีระบุน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ยับยั้ง
โครงการรับจำนำข้าว

2.สำนวนป.ป.ช.ที่ระบุว่ามีการทุจริต ยังไม่ได้ระบุรายละเอียดให้ชัดเจน

และ 3.การที่ป.ป.ช.อ้างรายงานจาก ทีดีอาร์ไอที่ได้แนบมาด้วยเป็นเพียง
หน้าปก ไม่มีรายละเอียดแต่อย่างใด

นอกจากนี้อัยการสูงสุดยังมีความเห็นว่าให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง
อัยการ กับป.ป.ช. เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานให้ละเอียดและรอบคอบ

สรุป กันแบบง่ายๆ คือ อัยการสูงสุดเห็นว่าพยานหลักฐานที่ป.ป.ช.ใช้
เอาผิดน.ส. ยิ่งลักษณ์ในคดีทุจริตจำนำข้าวนั้น ยังไม่ชัดเจน และให้
รวบรวมหลักฐานใหม่

เรื่องนี้เลยกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั้งบ้านทั้งเมือง

หาก จำกันได้ก่อนที่ป.ป.ช.จะชี้ขาดคดีนี้นั้น ฝ่ายน.ส.ยิ่งลักษณ์พยายาม
เรียกร้องให้ป.ป.ช.สอบพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลย เพิ่มเติม แต่กลับ
ไม่ได้รับความสนใจจากป.ป.ช.เท่าที่ควร

โดนตัดพยานไปหลายคน

มีหลายฝ่ายหยิบยกประเด็นที่ว่าคดีทุจริตจำนำข้าวยังไม่มีการพิพากษา
เลยว่ามีความผิดจริงหรือไม่

แบบว่ายังจับคนทุจริตไม่ได้ แต่จะเอาผิดเจ้าของไอเดีย

ที่ สำคัญมีคนเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าป.ป.ช.ใช้หลักฐานในมือ สอบสวน
ไม่ถึง 5 เดือน (ใช้เวลาแค่ 21 วันพิจารณาแจ้งข้อกล่าวหา) ฟันธงว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดละเลยให้เกิดทุจริต

รีบร้อนเร่งรัดสอบสวนจนนายกฯ คนหนึ่งต้องพ้นตำแหน่ง

หาก ไปเปรียบเทียบกับคดีที่ป.ป.ช.สอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถูกกล่าวหา
ทุจริตระบายข้าว ปรากฏว่าป.ป.ช.สอบสวนนาน 5 ปีแล้วยังไม่มีความคืบหน้า

ถือว่าเป็นมาตรฐานการสอบสวนคดีทุจริตที่แปลกเอามากๆ ทีเดียว

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09Ua3pNRFExTUE9PQ==&sectionid=

อีกแล้วป.ป.ช.    วงค์ ตาวัน  ..... ข่าวสดออนไลน์

มติของคณะทำงานอัยการอย่างเป็นเอกฉันท์ที่เห็นว่า สำนวนของป.ป.ช.ยัง
ไม่สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามข้อกล่าวหา
ปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวซึ่งเกิดทุจริตทำให้รัฐเสียหาย

พร้อมกับชี้ข้อไม่สมบูรณ์ของสำนวนป.ป.ช. 3 ข้อ

ฟังแล้วจะพบว่า เอาเข้าจริงๆ สำนวนป.ป.ช. ไม่อาจมีพยานหลักฐานอะไร
บ่งชี้ว่า มีการทุจริตในขั้นตอนไหนอย่างไร!?

บอกไม่ได้ว่า ในเมื่อโครงการจำนำข้าวเป็นนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา
เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แล้วนายกฯจะมีอำนาจหน้าที่ในการยับยั้ง
โครงการที่เป็นนโยบายรัฐบาลอย่างไร

ที่สำคัญ สำนวนของป.ป.ช.ยังอ้างอิง รายงานวิจัยโครงการนโยบายข้าวของ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดี อาร์ไอ ว่ามีการทุจริตและมี
ความเสียหายจำนวนมาก

อ้างรายงานวิจัย ซึ่งเป็นข้อมูลวิชาการและการวิเคราะห์ กลับเอาเป็นหลักฐาน
ในการเล่นงานนายกรัฐมนตรีก็ว่าประหลาดแล้ว

อัยการยังบอกว่า ในสำนวนก็แนบมาแต่ปกงานวิจัย เนื้อในก็ไม่มีอีก!

เรื่องการอ้างงานวิจัยเป็นหลักฐานเชือดนายกรัฐมนตรีนั้น เคยเป็นข่าวมาก่อน
โดยนายวิชา มหาคุณ เป็นผู้เปิดเผยในระหว่างการบรรยายอบรม

โดยยกย่องว่า ถ้าไม่มีการศึกษาวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นนี้ ฟันธงได้เลยว่า
ป.ป.ช.จะไม่สามารถชี้มูลความผิดต่อ ยิ่งลักษณ์ได้

เท่ากับยอมรับว่า งานวิจัยนี่แหละคือหลักฐานเด็ด

เป็นเสียอย่างนี้องค์กรอิสระประเทศไทย

อ้างพจนานุกรมบ้าง อ้างถนนลูกรังบ้าง อ้างงานวิจัยก็เอา!?!

แต่ทั้งหลายทั้งปวง ขณะที่ป.ป.ช.เชื่อเหลือเกินว่างานวิจัยคือหลักฐานเด็ด

พอเรื่องถึงอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลั่นกรองด้านกฎหมายของจริง
กลับชี้ว่าสำนวนนี้ไม่สามารถใช้ดำเนินคดีได้

นี่คือผลงานอีกชิ้นของป.ป.ช. ซึ่งลงดาบฟันบุคคลระดับนายกรัฐมนตรีไปแล้ว

แต่พอสำนวนถึงอัยการ ได้แต่ส่ายหน้า ไม่สามารถเอาไปดำเนินคดีได้!

ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า บางกลุ่มบางองค์กรนั้น แยกแยะไม่ออก ระหว่าง อคติ ความเชื่อ

กับข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและตัวบทกฎหมาย

ก่อนหน้านี้ก็เชือดอดีตผบ.ตร.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ สุดท้ายศาลปกครองสั่งให้รับกลับ

ล่าสุดคสช.คืนตำแหน่งผบ.ตร.ให้แล้ว

แล้วนี่กำลังมีแนวโน้มที่คดี 99 ศพ จะพ้นจากศาลอาญา มาอยู่ในมือป.ป.ช.อีก

จะไหวหรือ!?

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09Ua3pNRFV5TVE9PQ==&sectionid=


2  คอลัมน์  เหรียญด้าน  ปปช. ...  เดี๋ยว  คอยอ่าน  เรื่อง  อัยการกันดูบ้าง  ยิ้ม

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่