“ป.ป.ช.”มีมติ 7 – 0 เอาผิด“ยิ่งลักษณ์” ไม่ยับยั้งความเสียหายทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เตรียมชงเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอน
เบื้องหลัง พล.ต.อ.สถาพรถอนตัว
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี มีการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่ถูกกล่าวหาไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว และถูกกล่าวหาในคดีทุจริตการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G)
ต่อมา เวลา 16.00 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว นายปานเทพ กล้าณรงค์กาญ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายวิชา มหาคุณ โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย รองโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการแถลงถึงมติการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
นายวิชา กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ในฐานะองค์คณะไต่สวน ได้ดำเนินการไต่สวนกรณีวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ถอดถอนน.ส.ยิ่งลกัษณ์ ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่มิชอบเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาล โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติ 7 ต่อ 0 ที่เห็นว่าพฤติกรรมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหา มีพฤติการณืขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และส่อว่าขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1) อันเป็นเป็นการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 โดยจะคัดแยกสำนวนถอดถอนส่งวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
“และในส่วนคดีอาญานั้น มีมติให้ไต่สวนต่อไปจนกว่าจะสิ้นกระแสความ ทั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นพยานเพิ่มเติมอีก 6 ปาก ซึ่งเป็นพยานใหม่ที่ไม่ซ้ำกับคนเดิม ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะไม่ตัดพยานในคำร้องขอนำสืบหลังสุดจำนวน 6 ปาก โดยจะพิจารณาในสำนวนคดีอาญาต่อไป” นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งได้กําหนดนโยบายจํานําข้าวมาตั้งแต่ต้น และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายและการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง ผู้ถูกกล่าวหาถึงสองครั้งแล้วว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายอย่างยิ่ง ทั้งจะก่อให้เกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของกระบวนการรับจํานํา
นายวิชา กล่าวว่า นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหายังรับทราบปัญหาในการดําเนินโครงการจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งรายงานผลการดําเนินโครงการที่ผ่านมา ว่ามีผลขาดทุนสะสมสูงถึง สามแสนกว่าล้านบาท อีกทั้งหนังสือของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งผลการตรวจสอบโครงการสรุปได้ว่าโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนําไปสู่การสวมสิทธิ์การจํานําและการทุจริตในโครงการ เกิดผลกระทบสร้างความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดินทั้งเกษตรกรและเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ ไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
“แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริตหรือไม่ก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทั้งไม่พิจารณาระงับยับยั้งโครงการตั้งแต่เริ่มรับทราบความเสียหายอันร้ายแรงที่สุดของประเทศจากการดําเนินโครงการ” นายวิชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติเพียง 7 เสียงนั้น เพราะพล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง กรรมการ ป.ป.ช. เคยตรวจสอบคดีทุจริตจำนำข้าวสมัยรับตำแหน่งจเรตำรวจ จึงมีส่วนได้ส่วนเสียในคดีดังกล่าว จึงถูกตัดออกไป ขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. เกษียณอายุราชการ ปัจจุบันจึงมีกรรมการ ป.ป.ช. 8 คน
http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/29240-nacc_29240.html
มติ 7-0 เสียง ป.ป.ช.ฟัน“ยิ่งลักษณ์”คดีจำนำข้าว ชงวุฒิถอด-"สถาพร"ถอนตัว /สำนักข่าวอิศรา (ข่าวแปะยามเย็น)
เบื้องหลัง พล.ต.อ.สถาพรถอนตัว
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี มีการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่ถูกกล่าวหาไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว และถูกกล่าวหาในคดีทุจริตการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G)
ต่อมา เวลา 16.00 น. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมดังกล่าว นายปานเทพ กล้าณรงค์กาญ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายวิชา มหาคุณ โฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย รองโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการแถลงถึงมติการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
นายวิชา กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ในฐานะองค์คณะไต่สวน ได้ดำเนินการไต่สวนกรณีวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ถอดถอนน.ส.ยิ่งลกัษณ์ ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่มิชอบเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาล โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติ 7 ต่อ 0 ที่เห็นว่าพฤติกรรมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหา มีพฤติการณืขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และส่อว่าขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1) อันเป็นเป็นการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 โดยจะคัดแยกสำนวนถอดถอนส่งวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
“และในส่วนคดีอาญานั้น มีมติให้ไต่สวนต่อไปจนกว่าจะสิ้นกระแสความ ทั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นพยานเพิ่มเติมอีก 6 ปาก ซึ่งเป็นพยานใหม่ที่ไม่ซ้ำกับคนเดิม ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะไม่ตัดพยานในคำร้องขอนำสืบหลังสุดจำนวน 6 ปาก โดยจะพิจารณาในสำนวนคดีอาญาต่อไป” นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและอยู่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งได้กําหนดนโยบายจํานําข้าวมาตั้งแต่ต้น และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีอํานาจหน้าที่ในการกําหนดนโยบายและการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง ผู้ถูกกล่าวหาถึงสองครั้งแล้วว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายอย่างยิ่ง ทั้งจะก่อให้เกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของกระบวนการรับจํานํา
นายวิชา กล่าวว่า นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหายังรับทราบปัญหาในการดําเนินโครงการจากการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งรายงานผลการดําเนินโครงการที่ผ่านมา ว่ามีผลขาดทุนสะสมสูงถึง สามแสนกว่าล้านบาท อีกทั้งหนังสือของสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้งผลการตรวจสอบโครงการสรุปได้ว่าโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนําไปสู่การสวมสิทธิ์การจํานําและการทุจริตในโครงการ เกิดผลกระทบสร้างความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดินทั้งเกษตรกรและเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ ไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
“แม้ในชั้นนี้พยานหลักฐานยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วมในการทุจริตหรือสมยอมให้เกิดการทุจริตหรือไม่ก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ทั้งไม่พิจารณาระงับยับยั้งโครงการตั้งแต่เริ่มรับทราบความเสียหายอันร้ายแรงที่สุดของประเทศจากการดําเนินโครงการ” นายวิชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีมติเพียง 7 เสียงนั้น เพราะพล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง กรรมการ ป.ป.ช. เคยตรวจสอบคดีทุจริตจำนำข้าวสมัยรับตำแหน่งจเรตำรวจ จึงมีส่วนได้ส่วนเสียในคดีดังกล่าว จึงถูกตัดออกไป ขณะที่นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. เกษียณอายุราชการ ปัจจุบันจึงมีกรรมการ ป.ป.ช. 8 คน
http://www.isranews.org/เรื่องเด่น-สำนักข่าวอิศรา/item/29240-nacc_29240.html