จากมติชนออนไลน์ ตะวันฉาย บ้านบางแก้ว (เรื่อง/ภาพ)
พริก เป็นส่วนประกอบอาหารประจำวันของชาติไทยมาอย่างยาวนาน จากสถิติคนไทยบริโภคพริก ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี หรือเฉลี่ยคนไทย 60 ล้านคน บริโภคพริก วันละ 10 บาท อาจจะเรียกได้ว่า คนไทยขาดพริกไม่ได้ คิดมูลค่าการบริโภคพริกของไทยสูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน พริกของไทยมีมูลค่าส่งออกมากกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท ถือว่าไทยเป็นแหล่งปลูกและผลิตพริกสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน
ด้วยเหตุนี้ “พริก” จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนไทยจำนวนมหาศาล นับว่า เป็นโชคดีของคนไทยที่ เมืองไทยสามารถปลูกพริกได้ทั่วประเทศ แถมได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในเรื่องความหลากหลายของสายพันธุ์พริก เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูบางช้าง พริกขี้หนูใหญ่ พริกหยวก พริกหวาน หรือ พริกยักษ์ ฯลฯ ที่มีรสชาติความเผ็ดแตกต่างกันไปตามชนิดสายพันธุ์
ทุกวันนี้ พริก กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมส่งออก ไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 474,717 ไร่ ต่อปี แหล่งปลูกขนาดใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ทุกวันนี้ พริกที่ปลูกได้ในเมืองไทย จะใช้บริโภคเป็นพริกสดภายในประเทศถึง 87% หรือประมาณ 530,000 ตัน
ปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าพริกโดยรวม 3,324.67 ล้านบาท ทั้งนี้ มาจากรายได้จากการส่งออกถึง 2,597.95 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออกซอสพริกเป็นหลัก รองลงมาคือ พริกแห้ง/พริกป่น กลุ่มสุดท้ายคือ พริกสด หรือแช่แข็ง มูลค่า 93.1 ล้านบาท คู่ค้าสำคัญ อันดับ 1 ที่นำเข้าพริกสด/แช่แข็งจากไทยคือ มาเลเซีย รองมาคือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ พม่า และฮ่องกง มูลค่าการส่งออกพริกของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สถิติล่าสุดพบว่า ประเทศไทยส่งออกพริกขี้หนูสวนไปยังมาเลเซียและจีน นับพันล้านบาทต่อปี
“พริกขี้หนู” รสแซบของไทย ถูกใจตลาดมาเลเซีย
หลายคนเชื่อว่า หัวใจของความสำเร็จก็คือ “ตัวสินค้า” ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างความต้องการของตลาดได้ ดังนั้น ในฉบับนี้ จะขอพาท่านผู้อ่านไปพูดคุยกับ คุณแอร์-ธัญมน นนทกะตระกูล ผู้รับซื้อและส่งออกพริกรายใหญ่ในภาคใต้ เพื่อค้นหาคำตอบร่วมกันว่า “พริกชนิดใด” ที่ตลาดมาเลเซียต้องการสั่งซื้อจากเมืองไทย คาดหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกษตรกรไทยปรับตัวผลิต “พริกสด รสแซบ” ของไทยส่งไปขายตลาดมาเลเซียได้ง่ายขึ้น เพราะ “รู้เขา รู้เรา...รบร้อยครั้ง ย่อมชนะร้อยครั้งเช่นกัน”
คุณแอร์-ธัญมน ผู้รับซื้อและส่งออกพริกรายใหญ่ในภาคใต้ กล่าวว่า ทุกวันนี้เธอรวบรวมพริกสดจากแหล่งผลิตพริกทั่วประเทศ ทำให้มีสินค้าหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดทุกฤดูกาล ยกตัวอย่าง เช่น ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงฤดูพริกของภาคเอกชน จะมุ่งเปิดจุดรับซื้อผลผลิตในภาคอีสานเป็นหลัก เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน จะเป็นฤดูพริกของภาคใต้ โดยจะเปิดจุดรับซื้อพริกขี้หนูใหญ่ ที่ตลาดหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงเดือนมิถุนายนจะรับซื้อพริกจากกาญจนบุรี กำแพงเพชร เป็นต้น
คุณแอร์ วางแผนการตลาดอย่างรอบคอบและเป็นระบบ ทำให้มีพริกสดป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี เธอจะแบ่งพริกสดส่งไปขายที่ตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยวันละ 7 ตัน ที่เหลืออีก 90% จะส่งออกไปขายในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่นิยมบริโภคพริกขี้หนูเขียว โดยมียอดส่งออก เฉลี่ยวันละ 60 ตัน หรือ 420 ตัน ต่อสัปดาห์ หลังจากรวบรวบผลผลิตได้ จะส่งพริกขี้หนูเขียวเข้าลานคัดแยกและบรรจุสินค้าลงกล่อง ภายใน 2 วัน เพื่อขนส่งสินค้าถึงประเทศมาเลเซียให้เร็วที่สุด ก่อนที่คุณภาพความสดของพริกจะลดลง ซึ่งจะทำให้พริกสีไม่สวย
พริกขี้หนูสดที่คุณแอร์รวบรวมมาจากแหล่งปลูกพริกขี้หนูทั่วประเทศ ทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้นั้น สินค้าส่วนใหญ่จะถูกส่งออกไปขายในตลาดหลักคือ มาเลเซีย คิดเป็น 90% ของสินค้าทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดมาเลเซียยังไม่สามารถผลิตพริกขี้หนูเขียวได้ ประกอบกับมีปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร ทำให้มาเลเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าพริกขี้หนูเขียวจากไทยเป็นหลัก
“ทุกวันนี้ มาเลเซียก็มีสายพันธุ์พริกขี้หนูแดง เรียกว่า กุลไร ซึ่งเป็นพริกขี้หนูสายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีรสชาติเผ็ดร้อนมาก ขณะที่พริกขี้หนูพันธุ์ดวงมณีของไทยมีลักษณะเด่นในเรื่องขนาดผลใหญ่ ผิวมันวาว น้ำหนักดี กลิ่นหอม รสชาติอร่อย มีรูปทรงสวยเม็ดไม่เล็กเหมือนพริกปลาย เปอร์เซ็นต์การหดของเม็ดจะน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวมาเลเซียอย่างมาก ทำให้มีคำสั่งซื้อพริกชนิดนี้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ” คุณแอร์ กล่าว
ส่วนกลุ่มพริกขี้หนูแดง ที่รับซื้อจากแหล่งผลิตในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ จะส่งออกไปขายตลาดจีนและอินโดนีเซีย เฉลี่ย 54 ตัน ต่อสัปดาห์ เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้นิยมบริโภคพริกขี้หนูแดงเป็นหลัก ส่วนประเทศเวียดนาม ถึงแม้จะปลูกพริกขี้หนูได้เอง แต่พริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะแตกต่างจากพริกขี้หนูของไทย จึงสนใจนำเข้าพริกขี้หนูแดงจากไทยเช่นกัน
“พริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะเปลือกหนา เม็ดพริกมีความแข็งเนื้อแน่นกว่าพริกขี้หนูของไทย และพริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะเม็ดสั้นและมีขนาดเล็ก สามารถเก็บบริโภคได้นานเป็นเดือน เนื่องจากชาวเวียดนามชื่นชอบการบริโภคอาหารที่มีรสจัดจึงนิยมกินพริกขี้หนูสดในลักษณะเครื่องเคียงกินกับผักสดกินใบที่ผ่านมาเวียดนาม มีการส่งพริกขี้หนูแดงบ้าง แต่มีสัดส่วนไม่สูงมากนัก” คุณแอร์ กล่าว
ปัจจุบัน เกษตรกรไทยหันมาปลูกพริกขี้หนูเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่ เช่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ฯลฯ จนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคาพริกสดปรับตัวลดลงอย่างหนัก คุณแอร์จึงแนะนำให้เกษตรกรไทยหันมาวางแผนการผลิตและการตลาดอย่างรอบคอบ เน้นผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมาตฐานมากขึ้นเพื่อผลักดันสินค้าส่วนเกินระบายออกนอกประเทศ วิธีนี้จะช่วยดึงราคาพริกสดปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ในอนาคต
พริกขี้หนูดวงมณี...โดนใจเกษตรกร และตอบโจทย์ตลาด
คุณภักดี และ คุณเพ็ญ ศรีหะรัญ สองสามีภรรยาเกษตรกรชาวหมู่บ้านท่าเตียน ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เลือกปลูกพริกขี้หนูเป็นอาชีพหลักเลี้ยงดูครอบครัว พวกเขาเริ่มต้นจากการปลูกพริกขี้หนูพันธุ์พื้นเมืองก่อน แต่ประสบปัญหาขาดทุน เพราะเจอโรคแมลง ภัยธรรมชาติน้ำท่วม ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย และขาดแคลนแรงงานในการเก็บ จึงหันมาปลูกพริกขี้หนูดวงมณีแทน ปรากฏว่า มีผลผลิตดีขึ้น จึงปลูกพริกดวงมณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การปลูกพริกของคุณภักดี เริ่มจากเพาะต้นกล้า ในช่วงต้นเดือนธันวาคม และย้ายกล้าลงแปลงปลูกในช่วงเดือนมกราคม พื้นที่ทำกิน 3 ไร่ สามารถปลูกพริกได้ 3,200 ต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 55 วัน หลังปลูกและจะเก็บเกี่ยวไปจนถึงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พริกดวงมณีเก็บลูกง่ามรุ่นแรก ได้ 577 กิโลกรัม ส่วนรุ่นสองได้ผลผลิตกว่า 1,800 กิโลกรัม หากเป็นพริกพันธุ์พื้นบ้าน เก็บรุ่นสองจะได้ผลผลิตแค่ 400-500 กิโลกรัม เท่านั้น
เมื่อถามถึงสถานการณ์ราคาพริกในปีนี้ คุณภักดี บอกว่า ไม่สู้ดีนัก เพราะราคาพริกปรับตัวลดลงอย่างมาก เหลือแค่ 7 บาท ต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาปี 56 ที่เคยขายพริกได้ 70 บาท ต่อกิโลกรัม แถมเจอปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บพริก หลังหักค่าใช้จ่าย มีรายได้เข้ากระเป๋าเจ้าของสวนเพียงแค่ 2 บาท ต่อกิโลกรัม ก็ต้องจำยอมรับสภาพไปก่อน โชคดีอยู่บ้างที่ผมปลูกพริกดวงมณี ซึ่งมีคุณภาพเกรดเอ แม่ค้าจึงรับซื้อผลผลิตในราคาสูงกว่าพริกพันธุ์อื่น เฉลี่ย 2-3 บาท ต่อกิโลกรัม
คุณกัญญา รอตเสียงล้ำ ผู้จัดการส่วนปรับปรุงพันธุ์พืชธุรกิจเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า พริกขี้หนูดวงมณี กำลังเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรในเขตภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ และนครปฐม ที่ผ่านมาเกษตรกรให้การตอบรับอย่างดีมาก ทำให้เจียไต๋มีส่วนแบ่งตลาดพริกในพื้นที่ภาคใต้ถึง 80% ตอกย้ำความสำเร็จของพริกขี้หนูดวงมณีว่า เป็นพริกสายพันธุ์ดีที่เกษตรกรนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบัน พริกขี้หนูดวงมณี นอกจากใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ผลผลิตส่วนใหญ่ยังส่งออกไปขายประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น พริกเขียว เป็นที่ต้องการในตลาดมาเลเซียอย่างมาก เพราะพริกขี้หนูดวงมณี มีขนาดผลใหญ่ ผิวมันวาว มีกลิ่นหอม รสอร่อย และมีทรงต้นใหญ่ แข็งแรง ข้อถี่ ทำให้มีจำนวนผลดก และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรผู้ปลูกพริกส่วนใหญ่ยอมรับคุณภาพพริกขี้หนูดวงมณีว่า ให้ผลผลิตสูงมาก อีกทั้งมีผลใหญ่ ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ขั้วเปราะ ทำให้เด็ดง่าย ขนาดผลสม่ำเสมอ ติดผลดก มีการต่อดอกอย่างต่อเนื่อง ส่วนพริกผลสุกมีสีแดงสด น้ำหนักดี ลูกปลายไม่สั้น
จุดเด่นสำคัญอีกประการ ที่ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีโดนใจเกษตรกรก็คือ แข็งแรงทนทานต่อเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคยอดเปื่อย ยอดเน่า หรือโรคเน่าเปียก ที่มักระบาดในช่วงฝนตกชุก โดยทั่วไปโรคชนิดนี้สามารถเกิดได้ทุกส่วนของพริก ทั้งที่ใบ ดอก ยอดอ่อน และผล จุดที่เชื้อราเข้าทำลายจะทำให้เนื้อเยื่อของต้นพริกเกิดอาการช้ำน้ำและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เมื่อความชื้นสูงจะปรากฏขนสีเทาใส ปลายขนมีตุ่มสีดำ เรียกว่า โรคราหนวดแมว นอกจากนี้ พริกขี้หนูดวงมณียังทนทานต่อ “โรคไวรัสใบด่างเหลือง” ที่เกิดจากแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ ทำให้ต้นพริกเกิดอาการใบด่างเหลือง หงิกงอ ทำให้ต้นพริกไม่มีผลผลิต
คุณกัญญา รอตเสียงล้ำ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา หลังจากบริษัทได้พัฒนาสายพันธุ์ “พริกขี้หนูดวงมณี” ออกมาสู่มือของเกษตรกร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและตลาดได้ครบถ้วน ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกษตรกรที่สนใจเมล็ดพันธุ์ “พริกขี้หนูดวงมณี” สามารถติดต่อหาซื้อได้ที่ ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของเจียไต๋ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่โทร. (02) 810-3031 ต่อ 1306
ทำไม มาเลย์ชอบพริกขี้หนูจากเมืองไทย ?
พริก เป็นส่วนประกอบอาหารประจำวันของชาติไทยมาอย่างยาวนาน จากสถิติคนไทยบริโภคพริก ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี หรือเฉลี่ยคนไทย 60 ล้านคน บริโภคพริก วันละ 10 บาท อาจจะเรียกได้ว่า คนไทยขาดพริกไม่ได้ คิดมูลค่าการบริโภคพริกของไทยสูงถึงปีละ 3 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน พริกของไทยมีมูลค่าส่งออกมากกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท ถือว่าไทยเป็นแหล่งปลูกและผลิตพริกสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน
ด้วยเหตุนี้ “พริก” จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับคนไทยจำนวนมหาศาล นับว่า เป็นโชคดีของคนไทยที่ เมืองไทยสามารถปลูกพริกได้ทั่วประเทศ แถมได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในเรื่องความหลากหลายของสายพันธุ์พริก เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูบางช้าง พริกขี้หนูใหญ่ พริกหยวก พริกหวาน หรือ พริกยักษ์ ฯลฯ ที่มีรสชาติความเผ็ดแตกต่างกันไปตามชนิดสายพันธุ์
ทุกวันนี้ พริก กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมส่งออก ไทยมีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 474,717 ไร่ ต่อปี แหล่งปลูกขนาดใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก ทุกวันนี้ พริกที่ปลูกได้ในเมืองไทย จะใช้บริโภคเป็นพริกสดภายในประเทศถึง 87% หรือประมาณ 530,000 ตัน
ปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าพริกโดยรวม 3,324.67 ล้านบาท ทั้งนี้ มาจากรายได้จากการส่งออกถึง 2,597.95 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เกิดจากการส่งออกซอสพริกเป็นหลัก รองลงมาคือ พริกแห้ง/พริกป่น กลุ่มสุดท้ายคือ พริกสด หรือแช่แข็ง มูลค่า 93.1 ล้านบาท คู่ค้าสำคัญ อันดับ 1 ที่นำเข้าพริกสด/แช่แข็งจากไทยคือ มาเลเซีย รองมาคือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ พม่า และฮ่องกง มูลค่าการส่งออกพริกของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สถิติล่าสุดพบว่า ประเทศไทยส่งออกพริกขี้หนูสวนไปยังมาเลเซียและจีน นับพันล้านบาทต่อปี
“พริกขี้หนู” รสแซบของไทย ถูกใจตลาดมาเลเซีย
หลายคนเชื่อว่า หัวใจของความสำเร็จก็คือ “ตัวสินค้า” ที่สามารถเติมเต็มช่องว่างความต้องการของตลาดได้ ดังนั้น ในฉบับนี้ จะขอพาท่านผู้อ่านไปพูดคุยกับ คุณแอร์-ธัญมน นนทกะตระกูล ผู้รับซื้อและส่งออกพริกรายใหญ่ในภาคใต้ เพื่อค้นหาคำตอบร่วมกันว่า “พริกชนิดใด” ที่ตลาดมาเลเซียต้องการสั่งซื้อจากเมืองไทย คาดหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกษตรกรไทยปรับตัวผลิต “พริกสด รสแซบ” ของไทยส่งไปขายตลาดมาเลเซียได้ง่ายขึ้น เพราะ “รู้เขา รู้เรา...รบร้อยครั้ง ย่อมชนะร้อยครั้งเช่นกัน”
คุณแอร์-ธัญมน ผู้รับซื้อและส่งออกพริกรายใหญ่ในภาคใต้ กล่าวว่า ทุกวันนี้เธอรวบรวมพริกสดจากแหล่งผลิตพริกทั่วประเทศ ทำให้มีสินค้าหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดทุกฤดูกาล ยกตัวอย่าง เช่น ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงฤดูพริกของภาคเอกชน จะมุ่งเปิดจุดรับซื้อผลผลิตในภาคอีสานเป็นหลัก เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน จะเป็นฤดูพริกของภาคใต้ โดยจะเปิดจุดรับซื้อพริกขี้หนูใหญ่ ที่ตลาดหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงเดือนมิถุนายนจะรับซื้อพริกจากกาญจนบุรี กำแพงเพชร เป็นต้น
คุณแอร์ วางแผนการตลาดอย่างรอบคอบและเป็นระบบ ทำให้มีพริกสดป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี เธอจะแบ่งพริกสดส่งไปขายที่ตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยวันละ 7 ตัน ที่เหลืออีก 90% จะส่งออกไปขายในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่นิยมบริโภคพริกขี้หนูเขียว โดยมียอดส่งออก เฉลี่ยวันละ 60 ตัน หรือ 420 ตัน ต่อสัปดาห์ หลังจากรวบรวบผลผลิตได้ จะส่งพริกขี้หนูเขียวเข้าลานคัดแยกและบรรจุสินค้าลงกล่อง ภายใน 2 วัน เพื่อขนส่งสินค้าถึงประเทศมาเลเซียให้เร็วที่สุด ก่อนที่คุณภาพความสดของพริกจะลดลง ซึ่งจะทำให้พริกสีไม่สวย
พริกขี้หนูสดที่คุณแอร์รวบรวมมาจากแหล่งปลูกพริกขี้หนูทั่วประเทศ ทั้งภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้นั้น สินค้าส่วนใหญ่จะถูกส่งออกไปขายในตลาดหลักคือ มาเลเซีย คิดเป็น 90% ของสินค้าทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดมาเลเซียยังไม่สามารถผลิตพริกขี้หนูเขียวได้ ประกอบกับมีปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร ทำให้มาเลเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าพริกขี้หนูเขียวจากไทยเป็นหลัก
“ทุกวันนี้ มาเลเซียก็มีสายพันธุ์พริกขี้หนูแดง เรียกว่า กุลไร ซึ่งเป็นพริกขี้หนูสายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีรสชาติเผ็ดร้อนมาก ขณะที่พริกขี้หนูพันธุ์ดวงมณีของไทยมีลักษณะเด่นในเรื่องขนาดผลใหญ่ ผิวมันวาว น้ำหนักดี กลิ่นหอม รสชาติอร่อย มีรูปทรงสวยเม็ดไม่เล็กเหมือนพริกปลาย เปอร์เซ็นต์การหดของเม็ดจะน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวมาเลเซียอย่างมาก ทำให้มีคำสั่งซื้อพริกชนิดนี้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ” คุณแอร์ กล่าว
ส่วนกลุ่มพริกขี้หนูแดง ที่รับซื้อจากแหล่งผลิตในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ จะส่งออกไปขายตลาดจีนและอินโดนีเซีย เฉลี่ย 54 ตัน ต่อสัปดาห์ เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้นิยมบริโภคพริกขี้หนูแดงเป็นหลัก ส่วนประเทศเวียดนาม ถึงแม้จะปลูกพริกขี้หนูได้เอง แต่พริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะแตกต่างจากพริกขี้หนูของไทย จึงสนใจนำเข้าพริกขี้หนูแดงจากไทยเช่นกัน
“พริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะเปลือกหนา เม็ดพริกมีความแข็งเนื้อแน่นกว่าพริกขี้หนูของไทย และพริกขี้หนูเวียดนามมีลักษณะเม็ดสั้นและมีขนาดเล็ก สามารถเก็บบริโภคได้นานเป็นเดือน เนื่องจากชาวเวียดนามชื่นชอบการบริโภคอาหารที่มีรสจัดจึงนิยมกินพริกขี้หนูสดในลักษณะเครื่องเคียงกินกับผักสดกินใบที่ผ่านมาเวียดนาม มีการส่งพริกขี้หนูแดงบ้าง แต่มีสัดส่วนไม่สูงมากนัก” คุณแอร์ กล่าว
ปัจจุบัน เกษตรกรไทยหันมาปลูกพริกขี้หนูเป็นจำนวนมากในหลายพื้นที่ เช่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ฯลฯ จนเกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคาพริกสดปรับตัวลดลงอย่างหนัก คุณแอร์จึงแนะนำให้เกษตรกรไทยหันมาวางแผนการผลิตและการตลาดอย่างรอบคอบ เน้นผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพมาตฐานมากขึ้นเพื่อผลักดันสินค้าส่วนเกินระบายออกนอกประเทศ วิธีนี้จะช่วยดึงราคาพริกสดปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้ในอนาคต
พริกขี้หนูดวงมณี...โดนใจเกษตรกร และตอบโจทย์ตลาด
คุณภักดี และ คุณเพ็ญ ศรีหะรัญ สองสามีภรรยาเกษตรกรชาวหมู่บ้านท่าเตียน ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เลือกปลูกพริกขี้หนูเป็นอาชีพหลักเลี้ยงดูครอบครัว พวกเขาเริ่มต้นจากการปลูกพริกขี้หนูพันธุ์พื้นเมืองก่อน แต่ประสบปัญหาขาดทุน เพราะเจอโรคแมลง ภัยธรรมชาติน้ำท่วม ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย และขาดแคลนแรงงานในการเก็บ จึงหันมาปลูกพริกขี้หนูดวงมณีแทน ปรากฏว่า มีผลผลิตดีขึ้น จึงปลูกพริกดวงมณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การปลูกพริกของคุณภักดี เริ่มจากเพาะต้นกล้า ในช่วงต้นเดือนธันวาคม และย้ายกล้าลงแปลงปลูกในช่วงเดือนมกราคม พื้นที่ทำกิน 3 ไร่ สามารถปลูกพริกได้ 3,200 ต้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 55 วัน หลังปลูกและจะเก็บเกี่ยวไปจนถึงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พริกดวงมณีเก็บลูกง่ามรุ่นแรก ได้ 577 กิโลกรัม ส่วนรุ่นสองได้ผลผลิตกว่า 1,800 กิโลกรัม หากเป็นพริกพันธุ์พื้นบ้าน เก็บรุ่นสองจะได้ผลผลิตแค่ 400-500 กิโลกรัม เท่านั้น
เมื่อถามถึงสถานการณ์ราคาพริกในปีนี้ คุณภักดี บอกว่า ไม่สู้ดีนัก เพราะราคาพริกปรับตัวลดลงอย่างมาก เหลือแค่ 7 บาท ต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาปี 56 ที่เคยขายพริกได้ 70 บาท ต่อกิโลกรัม แถมเจอปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บพริก หลังหักค่าใช้จ่าย มีรายได้เข้ากระเป๋าเจ้าของสวนเพียงแค่ 2 บาท ต่อกิโลกรัม ก็ต้องจำยอมรับสภาพไปก่อน โชคดีอยู่บ้างที่ผมปลูกพริกดวงมณี ซึ่งมีคุณภาพเกรดเอ แม่ค้าจึงรับซื้อผลผลิตในราคาสูงกว่าพริกพันธุ์อื่น เฉลี่ย 2-3 บาท ต่อกิโลกรัม
คุณกัญญา รอตเสียงล้ำ ผู้จัดการส่วนปรับปรุงพันธุ์พืชธุรกิจเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า พริกขี้หนูดวงมณี กำลังเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรในเขตภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ และนครปฐม ที่ผ่านมาเกษตรกรให้การตอบรับอย่างดีมาก ทำให้เจียไต๋มีส่วนแบ่งตลาดพริกในพื้นที่ภาคใต้ถึง 80% ตอกย้ำความสำเร็จของพริกขี้หนูดวงมณีว่า เป็นพริกสายพันธุ์ดีที่เกษตรกรนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบัน พริกขี้หนูดวงมณี นอกจากใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ผลผลิตส่วนใหญ่ยังส่งออกไปขายประเทศเพื่อนบ้านด้วย เช่น พริกเขียว เป็นที่ต้องการในตลาดมาเลเซียอย่างมาก เพราะพริกขี้หนูดวงมณี มีขนาดผลใหญ่ ผิวมันวาว มีกลิ่นหอม รสอร่อย และมีทรงต้นใหญ่ แข็งแรง ข้อถี่ ทำให้มีจำนวนผลดก และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ เกษตรกรผู้ปลูกพริกส่วนใหญ่ยอมรับคุณภาพพริกขี้หนูดวงมณีว่า ให้ผลผลิตสูงมาก อีกทั้งมีผลใหญ่ ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ขั้วเปราะ ทำให้เด็ดง่าย ขนาดผลสม่ำเสมอ ติดผลดก มีการต่อดอกอย่างต่อเนื่อง ส่วนพริกผลสุกมีสีแดงสด น้ำหนักดี ลูกปลายไม่สั้น
จุดเด่นสำคัญอีกประการ ที่ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีโดนใจเกษตรกรก็คือ แข็งแรงทนทานต่อเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคยอดเปื่อย ยอดเน่า หรือโรคเน่าเปียก ที่มักระบาดในช่วงฝนตกชุก โดยทั่วไปโรคชนิดนี้สามารถเกิดได้ทุกส่วนของพริก ทั้งที่ใบ ดอก ยอดอ่อน และผล จุดที่เชื้อราเข้าทำลายจะทำให้เนื้อเยื่อของต้นพริกเกิดอาการช้ำน้ำและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เมื่อความชื้นสูงจะปรากฏขนสีเทาใส ปลายขนมีตุ่มสีดำ เรียกว่า โรคราหนวดแมว นอกจากนี้ พริกขี้หนูดวงมณียังทนทานต่อ “โรคไวรัสใบด่างเหลือง” ที่เกิดจากแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ ทำให้ต้นพริกเกิดอาการใบด่างเหลือง หงิกงอ ทำให้ต้นพริกไม่มีผลผลิต
คุณกัญญา รอตเสียงล้ำ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา หลังจากบริษัทได้พัฒนาสายพันธุ์ “พริกขี้หนูดวงมณี” ออกมาสู่มือของเกษตรกร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและตลาดได้ครบถ้วน ทำให้พริกขี้หนูดวงมณีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกษตรกรที่สนใจเมล็ดพันธุ์ “พริกขี้หนูดวงมณี” สามารถติดต่อหาซื้อได้ที่ ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของเจียไต๋ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่โทร. (02) 810-3031 ต่อ 1306