หลายๆบ้านน่าจะมีเจ้า beanbag หรือเก้าอี้ที่ปรับรูปร่างได้เพราะข้างในยัดเป็นเม็ดโฟมเอาไว้เป็นของแต่งบ้านนะครับ
ต้องระมัดระวังให้มากขึ้นแล้วสำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็ก เพราะได้เกิดเหตุสลดใจขึ้น
ล่าสุดที่อเมริกาได้มีการเรียกคืน beanbag ที่ผลิตจากบริษัทในประเทศจีนกว่า2ล้านใบ
ที่วางขายอยู่ในห้างใหญ่ๆทั่วประเทศ เช่น Meijer, Walmart และหาซื้อได้ในเวบไซต์ขายของออนไลน์อย่าง ebay, amazon
หลังจากเกิเหตุการณ์น่าเศร้าพบเด็กชายอายุ 13 ปีในรัฐเทกซัส และเด็กหญิงอายุ 3 ขวบจากเมืองเลกซิงตัน
เสียชีวิตอยู่ใน beanbag หรือเก้าอี้เม็ดโฟมนี้ โดยจากการชันสูตรศพพบว่าทั้งสองเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
โดยตามรายงานข่าวเชื่อว่าเด็กหญิง 3 ขวบรูดซิปเข้าไปเล่นซ่อนหาอยู่ใน beanbag แล้วสำลักเอาเม็ดโฟมเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
จนขาดอากาศและเสียชีวิตในที่สุด
ถ้าบ้านไหนมีอยู่ลองไปตรวจสอบดูครับว่าเป็นแบบที่มีซิป ให้เด็กสามารถเปิดเข้าไปได้หรือเปล่า
ถ้ามีรีบจัดการเอาไปทิ้งเลยจะดีกว่า เด็กๆวัย 2 ขวบขึ้นไปต้องระวังมากๆคลาดสายตาแป๊บเดียวเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้เสมอ
เพิ่มเติมเนื้อหาการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการสำลักหากยังรู้สึกตัว เนื้อหาส่วนจากนี้นำมาจากบทความในเพจ "ใกล้มิตรชิดหมอ" ซึ่งมีบทความที่เขียนโดยแอนมินหมอหลายคนครับ ใครสนใจก็ตามไปได้
***ปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อเจอคนสำลัก***
การสำลักสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้คือ เมื่อเราพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว เราจะปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างไร????
เพราะการสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเป็นปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนและอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้าเราช่วยเหลือเบื้องต้นได้ถูกต้องและถูกวิธี ก็สามารถทำให้ผู้ประสบเหตุรอดชีวิตได้เช่นกันค่ะ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปีซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจและค้นคว้าทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจ ได้แก่ รูจมูกและปาก อีกทั้งยังไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียดได้ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสำลักและอุดกั้นทางเดินหายใจได้
อาการและอาการแสดงมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากสำลักสิ่งแปลกปลอม มักจะใช้มือจับที่คอของตนเอง หายใจไม่ออก ไอ ไม่สามารถพูดได้ หายใจมีเสียง stridor(เสียงผ่านส่วนที่ตีบแคบ) ริมผีปากและหน้าเขียว และอาจหมดสติหรือไม่รู้สึกตัวได้
เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติ และประเมินอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย โดยแบ่งง่าย ๆ เพียง 2 ประเภทเท่านั้นค่ะ คือ
1. ยังรู้สึกตัว
2. หมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว
สำหรับแนวทางการปฏิบัติและการรักษาเบื้องต้นอ้างอิงจาก AHA (American Heart Association 2010) จะแบ่งตามอาการเบื้องต้นและอายุของผู้ป่วย โดยตามแนวทางการรักษานี้ จะเน้นย้ำอยู่ 2 ส่วนที่สำคัญคือ การรักษาในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี (ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง) และการไม่แนะนำให้มีการใช้นิ้วกวาดไปในปาก ถ้าไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม เพราะอาจจะไปดันให้สิ่งแปลกปลอม ที่ค้างอยู่ในคอเลื่อนลึกลงไป อุดตันทาง เดินหายใจมากขึ้นได้
โดยบทความนี้ จะกล่าวถึงในกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ( ส่วนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวนั้น ต้องทำการรักษาโดยการนวดหัวใจ หรือ CPR ซึ่งเคยได้กล่าวไว้ในเพจแล้วค่ะ ) การรักษาเบื้องต้นขึ้นกับช่วงอายุของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ อายุน้อยกว่า 1 ปี และอายุมากกว่า 1 ปี
ในกรณีที่สงสัยว่ามีการสำลักแน่ๆ ต้องกระตุ้นให้เด็กไอแรง ๆ ออกมา ถ้าเด็กไอไม่ออก ร้องไม่มีเสียงและเริ่มสังเกตว่าหายใจลำบากมากขึ้นและ/หรือ หายใจเสียงดังขึ้น ควรรีบให้การช่วยเหลือดังนี้
1. อายุน้อยกว่า 1 ปี : ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับการกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง (Five Back Blow and Five chest thrust)
วิธีตบหลัง จับเด็กนอนคว่ำ ศีรษะต่ำบนแขนของผู้ช่วยเหลือ แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบักอย่างแรง ติดต่อกัน 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ ถ้าเห็นให้เอาออก ถ้าไม่เห็นให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป
วิธีการกระแทกหน้าอก จับเด็กพลิกกลับหงายบนตักของผู้ช่วยเหลือ ในท่าศีรษะต่ำ แล้วใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว กระแทกแรง ๆ ลงบนกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่า สิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือผู้ป่วย ไม่รู้สึกตัว ( ให้ทำการนวดหัวใจแทน )
2. เด็กอายุมากกว่า 1 ปี และผู้ใหญ่ ใช้วิธีการกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ (Heimlich maneuver) โดยมีขั้นตอนดังนี้
ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ป่วย โอบแขนทั้งสองข้าง รัดรอบเอว วางกำปั้นมือหนึ่งให้ด้านหัวแม่มือของผู้ช่วยเหลืออยู่ติดหน้าท้องบริเวณกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี่และสะดือของผู้ป่วย อีกมือหนึ่งกุมบนกำปั้นที่วางไว้ แล้วออกแรงกดอย่างแรงและเร็วตรงหน้าท้องในทิศทางย้อนดันขึ้นไปทางทรวงอกติดต่อกัน 5 ครั้ง ทำต่อแบบเดิมจนกระทั่งเห็นสิ่งแปลกปลอมกระเด็นออกมา หรือ มีเสียงพูดออกมาได้ หรือ ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัวให้ช่วยเหลือโดยการนวดหัวใจ
ข้อพึงระวัง
1. ไม่แนะนําให้ใช้นิ้วมือกวาดไปในลําคอเด็กเนื่องจากอาจทาให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนตัวไปสู่ตําแหน่งที่มีการอุดกั้นมากขึ้น
2. วิธีการช่วยเหลือที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์เท่านั้น และผู้ช่วยเหลือควรมีความชํานาญพอสมควร ส่วนในผู้ป่วยที่ยังพอมีสติ หายใจได้เอง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็ว
3. สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กอาจมีอาการไม่ชัดเจนได้
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยกำลังซนนะคะ
หมอฝน
เอกสารอ้างอิง
1. แนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR 2010 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. Tintinalli's Emergency Medicine 7 th edition : Chapter 15. Resuscitation of Children
3. วิชัยยุทธจุลสาร ฉ.36 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2550 ข้อควรทราบ...เมื่อสิ่งแปลกปลอมหลุด และอุดตันทางเดินหายใจ และหลอดอาหารเด็ก
4. The pocket guide book : Emergency care : รพ รามา
ในกรณีที่ไม่รู้สึกตัวแล้วต้องทำการนวดหัวใจหรือ CPR อ่านเนื้อหาได้ตามนี้ครับ
การ CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation ( การช่วยฟื้นคืนชีวิตในระบบหัวใจและการหายใจ) เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่นจมน้ำ หรือเกิดเหตุผู้ป่วยหมดสติ อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น การทำ CPR เป็นการ กระตุ้นหัวใจ+กดหน้าอกให้หัวใจสามารถบีบเอาเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญในเบื้องต้น เพื่อรอความช่วยเหลือ เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ดังนั้นเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องมีสติ อย่าตื่นตกใจ แล้วทำตามขั้นตอนเหล่านี้ครับ
ขั้นตอนก็ง่ายๆตามรูปเลยครับ ขอสรุปให้อีกที
1. พบคนหมดสติ เข้าไปเรียกโดยการตบบ่า 2 ข้าง
2. เรียกไม่รู้สึกตัวโทรขอความช่วยเหลือ 1669 (เบอร์สำคัญต้องจำเท่าๆกับ 191 เลยครับหลายคนบอกว่าตื่นเต้นจำเบอร์ไม่ได้ เมมเบอร์เป็นเบอร์ฉุกเฉินในมือถือเลยครับเป็น speed dial ที่เลข1 ก็ได้) สายด่วนอุบัติเหตุ+เจ็บป่วยฉุกเฉิน แจ้งอาการ+ตำแหน่งสถานที่ที่เกิดเหตุ
3. สังเกตการหายใจ ถ้าไม่หายใจ หรือหายใจเฮือกๆ หายใจแผ่ว เริ่ม CPR โดยไม่ต้องคลำชีพจร(คนทั่วไปคลำชีพจรอาจมีโอกาสพลาดได้ครับ)
4. กดหน้าอกที่ตำแหน่งกลางกระดูกหน้าอกตรงที่หัวนม2ข้างตัดกันตรงกลาง โดยใช้สันมือ
5. กดหน้าอกด้วยความเร็ว 100ครั้ง/นาทีเป็นอย่างน้อย ลึก 2 นิ้ว ถ้านึกความเร็วไม่ออกร้องเพลงจังหวะหัวใจตามไปเลย การกดต้องลึกและเร็วอย่างเหมาะสมตามที่ระบุครับ เพื่อให้มีการบีบและคลายตัวของหัวใจเพื่อบีบเลือดไปยังสมองอย่างเพียงพอ
6. การเป่าปากช่วยหายใจไม่ต้องทำก็ได้ ถ้าไม่สะดวก สามารถใใช้การกดอกอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้าจะทำให้ เชยคางขึ้น กดหน้าผากลงเล็กน้อยเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แล้วเป่าปากในจังหวะ กดหน้าอก 30 ครั้ง ต่อ เป่าปาก 2 ครั้ง
7. กดอกไปเรื่อยๆจนกว่าความช่วยเหลือจะมา
เรื่องนี้สำคัญมากๆ สามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้เมื่อเกิดเหตุ อยากให้ได้อ่านกันเยอะๆเลยครับ นอกจากนั้นก็มีคลิปสอนการทำ CPR แบบเข้าใจง่ายๆ
Cr: Basic life support, AHA CPR 2010
คลิปสอน CPR โรงพยาบาลรามา
แหล่งข่าว:
http://www.nydailynews.com/news/national/hide-and-seek-tragedy-3-year-old-suffocates-hiding-bean-bag-article-1.1160138
http://detroit.cbslocal.com/2014/08/22/bean-bag-chairs-recalled-over-suffocation-choking-hazards-two-deaths-reported/
เตือนภัย beanbag หรือเก้าอี้เม็ดโฟม อันตรายเด็กสำลักเม็ดโฟมเสียชีวิต
ต้องระมัดระวังให้มากขึ้นแล้วสำหรับบ้านไหนที่มีเด็กเล็ก เพราะได้เกิดเหตุสลดใจขึ้น
ล่าสุดที่อเมริกาได้มีการเรียกคืน beanbag ที่ผลิตจากบริษัทในประเทศจีนกว่า2ล้านใบ
ที่วางขายอยู่ในห้างใหญ่ๆทั่วประเทศ เช่น Meijer, Walmart และหาซื้อได้ในเวบไซต์ขายของออนไลน์อย่าง ebay, amazon
หลังจากเกิเหตุการณ์น่าเศร้าพบเด็กชายอายุ 13 ปีในรัฐเทกซัส และเด็กหญิงอายุ 3 ขวบจากเมืองเลกซิงตัน
เสียชีวิตอยู่ใน beanbag หรือเก้าอี้เม็ดโฟมนี้ โดยจากการชันสูตรศพพบว่าทั้งสองเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
โดยตามรายงานข่าวเชื่อว่าเด็กหญิง 3 ขวบรูดซิปเข้าไปเล่นซ่อนหาอยู่ใน beanbag แล้วสำลักเอาเม็ดโฟมเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
จนขาดอากาศและเสียชีวิตในที่สุด
ถ้าบ้านไหนมีอยู่ลองไปตรวจสอบดูครับว่าเป็นแบบที่มีซิป ให้เด็กสามารถเปิดเข้าไปได้หรือเปล่า
ถ้ามีรีบจัดการเอาไปทิ้งเลยจะดีกว่า เด็กๆวัย 2 ขวบขึ้นไปต้องระวังมากๆคลาดสายตาแป๊บเดียวเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้เสมอ
เพิ่มเติมเนื้อหาการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการสำลักหากยังรู้สึกตัว เนื้อหาส่วนจากนี้นำมาจากบทความในเพจ "ใกล้มิตรชิดหมอ" ซึ่งมีบทความที่เขียนโดยแอนมินหมอหลายคนครับ ใครสนใจก็ตามไปได้
***ปฐมพยาบาลอย่างไรเมื่อเจอคนสำลัก***
การสำลักสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้คือ เมื่อเราพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว เราจะปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างไร????
เพราะการสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจเป็นปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนและอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้าเราช่วยเหลือเบื้องต้นได้ถูกต้องและถูกวิธี ก็สามารถทำให้ผู้ประสบเหตุรอดชีวิตได้เช่นกันค่ะ
การสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปีซึ่งเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจและค้นคว้าทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ในช่องต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะช่องทางเดินหายใจ ได้แก่ รูจมูกและปาก อีกทั้งยังไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียดได้ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสำลักและอุดกั้นทางเดินหายใจได้
อาการและอาการแสดงมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากสำลักสิ่งแปลกปลอม มักจะใช้มือจับที่คอของตนเอง หายใจไม่ออก ไอ ไม่สามารถพูดได้ หายใจมีเสียง stridor(เสียงผ่านส่วนที่ตีบแคบ) ริมผีปากและหน้าเขียว และอาจหมดสติหรือไม่รู้สึกตัวได้
เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติ และประเมินอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย โดยแบ่งง่าย ๆ เพียง 2 ประเภทเท่านั้นค่ะ คือ
1. ยังรู้สึกตัว
2. หมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว
สำหรับแนวทางการปฏิบัติและการรักษาเบื้องต้นอ้างอิงจาก AHA (American Heart Association 2010) จะแบ่งตามอาการเบื้องต้นและอายุของผู้ป่วย โดยตามแนวทางการรักษานี้ จะเน้นย้ำอยู่ 2 ส่วนที่สำคัญคือ การรักษาในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี (ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง) และการไม่แนะนำให้มีการใช้นิ้วกวาดไปในปาก ถ้าไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม เพราะอาจจะไปดันให้สิ่งแปลกปลอม ที่ค้างอยู่ในคอเลื่อนลึกลงไป อุดตันทาง เดินหายใจมากขึ้นได้
โดยบทความนี้ จะกล่าวถึงในกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ( ส่วนผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวนั้น ต้องทำการรักษาโดยการนวดหัวใจ หรือ CPR ซึ่งเคยได้กล่าวไว้ในเพจแล้วค่ะ ) การรักษาเบื้องต้นขึ้นกับช่วงอายุของผู้ป่วย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ อายุน้อยกว่า 1 ปี และอายุมากกว่า 1 ปี
ในกรณีที่สงสัยว่ามีการสำลักแน่ๆ ต้องกระตุ้นให้เด็กไอแรง ๆ ออกมา ถ้าเด็กไอไม่ออก ร้องไม่มีเสียงและเริ่มสังเกตว่าหายใจลำบากมากขึ้นและ/หรือ หายใจเสียงดังขึ้น ควรรีบให้การช่วยเหลือดังนี้
1. อายุน้อยกว่า 1 ปี : ใช้วิธีตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับการกระแทกหน้าอก 5 ครั้ง (Five Back Blow and Five chest thrust)
วิธีตบหลัง จับเด็กนอนคว่ำ ศีรษะต่ำบนแขนของผู้ช่วยเหลือ แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบักอย่างแรง ติดต่อกัน 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ ถ้าเห็นให้เอาออก ถ้าไม่เห็นให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป
วิธีการกระแทกหน้าอก จับเด็กพลิกกลับหงายบนตักของผู้ช่วยเหลือ ในท่าศีรษะต่ำ แล้วใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว กระแทกแรง ๆ ลงบนกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วดูว่าเห็นสิ่งแปลกปลอมในปากเด็กหรือไม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่า สิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา หรือผู้ป่วย ไม่รู้สึกตัว ( ให้ทำการนวดหัวใจแทน )
2. เด็กอายุมากกว่า 1 ปี และผู้ใหญ่ ใช้วิธีการกระแทกท้องใต้ลิ้นปี่ (Heimlich maneuver) โดยมีขั้นตอนดังนี้
ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ป่วย โอบแขนทั้งสองข้าง รัดรอบเอว วางกำปั้นมือหนึ่งให้ด้านหัวแม่มือของผู้ช่วยเหลืออยู่ติดหน้าท้องบริเวณกึ่งกลางระหว่างลิ้นปี่และสะดือของผู้ป่วย อีกมือหนึ่งกุมบนกำปั้นที่วางไว้ แล้วออกแรงกดอย่างแรงและเร็วตรงหน้าท้องในทิศทางย้อนดันขึ้นไปทางทรวงอกติดต่อกัน 5 ครั้ง ทำต่อแบบเดิมจนกระทั่งเห็นสิ่งแปลกปลอมกระเด็นออกมา หรือ มีเสียงพูดออกมาได้ หรือ ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัวให้ช่วยเหลือโดยการนวดหัวใจ
ข้อพึงระวัง
1. ไม่แนะนําให้ใช้นิ้วมือกวาดไปในลําคอเด็กเนื่องจากอาจทาให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนตัวไปสู่ตําแหน่งที่มีการอุดกั้นมากขึ้น
2. วิธีการช่วยเหลือที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมีอาการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์เท่านั้น และผู้ช่วยเหลือควรมีความชํานาญพอสมควร ส่วนในผู้ป่วยที่ยังพอมีสติ หายใจได้เอง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็ว
3. สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กอาจมีอาการไม่ชัดเจนได้
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยกำลังซนนะคะ
หมอฝน
เอกสารอ้างอิง
1. แนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR 2010 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. Tintinalli's Emergency Medicine 7 th edition : Chapter 15. Resuscitation of Children
3. วิชัยยุทธจุลสาร ฉ.36 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2550 ข้อควรทราบ...เมื่อสิ่งแปลกปลอมหลุด และอุดตันทางเดินหายใจ และหลอดอาหารเด็ก
4. The pocket guide book : Emergency care : รพ รามา
ในกรณีที่ไม่รู้สึกตัวแล้วต้องทำการนวดหัวใจหรือ CPR อ่านเนื้อหาได้ตามนี้ครับ
การ CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation ( การช่วยฟื้นคืนชีวิตในระบบหัวใจและการหายใจ) เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่นจมน้ำ หรือเกิดเหตุผู้ป่วยหมดสติ อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น การทำ CPR เป็นการ กระตุ้นหัวใจ+กดหน้าอกให้หัวใจสามารถบีบเอาเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะสำคัญในเบื้องต้น เพื่อรอความช่วยเหลือ เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ดังนั้นเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องมีสติ อย่าตื่นตกใจ แล้วทำตามขั้นตอนเหล่านี้ครับ
ขั้นตอนก็ง่ายๆตามรูปเลยครับ ขอสรุปให้อีกที
1. พบคนหมดสติ เข้าไปเรียกโดยการตบบ่า 2 ข้าง
2. เรียกไม่รู้สึกตัวโทรขอความช่วยเหลือ 1669 (เบอร์สำคัญต้องจำเท่าๆกับ 191 เลยครับหลายคนบอกว่าตื่นเต้นจำเบอร์ไม่ได้ เมมเบอร์เป็นเบอร์ฉุกเฉินในมือถือเลยครับเป็น speed dial ที่เลข1 ก็ได้) สายด่วนอุบัติเหตุ+เจ็บป่วยฉุกเฉิน แจ้งอาการ+ตำแหน่งสถานที่ที่เกิดเหตุ
3. สังเกตการหายใจ ถ้าไม่หายใจ หรือหายใจเฮือกๆ หายใจแผ่ว เริ่ม CPR โดยไม่ต้องคลำชีพจร(คนทั่วไปคลำชีพจรอาจมีโอกาสพลาดได้ครับ)
4. กดหน้าอกที่ตำแหน่งกลางกระดูกหน้าอกตรงที่หัวนม2ข้างตัดกันตรงกลาง โดยใช้สันมือ
5. กดหน้าอกด้วยความเร็ว 100ครั้ง/นาทีเป็นอย่างน้อย ลึก 2 นิ้ว ถ้านึกความเร็วไม่ออกร้องเพลงจังหวะหัวใจตามไปเลย การกดต้องลึกและเร็วอย่างเหมาะสมตามที่ระบุครับ เพื่อให้มีการบีบและคลายตัวของหัวใจเพื่อบีบเลือดไปยังสมองอย่างเพียงพอ
6. การเป่าปากช่วยหายใจไม่ต้องทำก็ได้ ถ้าไม่สะดวก สามารถใใช้การกดอกอย่างเดียวก็ได้ แต่ถ้าจะทำให้ เชยคางขึ้น กดหน้าผากลงเล็กน้อยเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แล้วเป่าปากในจังหวะ กดหน้าอก 30 ครั้ง ต่อ เป่าปาก 2 ครั้ง
7. กดอกไปเรื่อยๆจนกว่าความช่วยเหลือจะมา
เรื่องนี้สำคัญมากๆ สามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้เมื่อเกิดเหตุ อยากให้ได้อ่านกันเยอะๆเลยครับ นอกจากนั้นก็มีคลิปสอนการทำ CPR แบบเข้าใจง่ายๆ
Cr: Basic life support, AHA CPR 2010
คลิปสอน CPR โรงพยาบาลรามา
แหล่งข่าว:
http://www.nydailynews.com/news/national/hide-and-seek-tragedy-3-year-old-suffocates-hiding-bean-bag-article-1.1160138
http://detroit.cbslocal.com/2014/08/22/bean-bag-chairs-recalled-over-suffocation-choking-hazards-two-deaths-reported/