ฝึกทำ CPR ขั้นพื้นฐานไว้ อาจช่วยได้อีกหลายชีวิต
การทำ CPR ไม่ได้ช่วยชีวิตแค่ผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเดียวเท่านั้น!แต่ยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอื่นๆ เช่น จมน้ำ หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน ได้อีกด้วย
เพราะการทำ CPR คือการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หยุดกะทันหันให้กลับมาทำงานได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธียื้อชีวิตผู้ป่วยในขณะที่กำลังรอการรักษาจากแพทย์หรือหน่วยกู้ภัยแต่การช่วยชีวิตด้วยวิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดผลข้างเคียง อย่างกระดูกซี่โครงหักได้
จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้เรียนรู้การช่วยชีวิตอย่างถูกวิธีตาม สถานพยาบาล หรือแหล่งให้ความรู้ทางสาธารณสุขต่างๆ โดยเฉพาะคนที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคหัวใจ ซึ่งจะทำให้เราสามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุไม่คาดฟัน จะได้ไม่ต้องมาเสียใจทีหลัง
ทำ CPR ขั้นพื้นฐานใน 4 นาที เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้เพื่อนมนุษย์
การทำ CPR ควรทำภายใน 4 นาที เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หากทำร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ(AED)จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยวิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น มีดังนี้
1. เมื่อพบคนหมดสติให้ตรวจดูความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ระวังอุบัติเหตุ ไฟช็อต เพื่อความปลอดภัยกับตัวเรา
2. ขอความช่วยเหลือคนที่อยู่ใกล้เคียง ตรวจดูว่าผู้ป่วยยังหายใจอยู่หรือไม่? พร้อมทั้งรีบโทรหา 1669 ให้เร็วที่สุด
3. หากประเมินแล้ว ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวไม่หายใจ ให้ทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันที
4. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็ง ประสานมือวางมือลงตรงกลางหน้าอกระหว่างราวนมสองข้าง
5. กดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 ซม.ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง
6. ทำต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง หากมีเครื่อง AED ให้รีบนำมาใช้ทันทีตามขั้นตอนที่เครื่องแนะ นำอย่างเคร่งครัด **ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้ว ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้นสามารถทำได้หลายแบบแต่มีหลักโดยรวมว่าควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด จัดให้ศีรษะอยู่ต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียนเข้าปอด
7. ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
การฝึกช่วยชีวิตเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญไว้ เพราะอาจเกิดประโยชน์อย่างมากในยามฉุกเฉิน เมื่อต้องช่วยเหลือชีวิตใครสักคนหรือคนใกล้ตัวที่คุณรักได้
การช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการทำ CPR อย่างถูกวิธี
รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ฝึกทำ CPR ขั้นพื้นฐานไว้ อาจช่วยได้อีกหลายชีวิต
ฝึกทำ CPR ขั้นพื้นฐานไว้ อาจช่วยได้อีกหลายชีวิต
การทำ CPR ไม่ได้ช่วยชีวิตแค่ผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเดียวเท่านั้น!แต่ยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุอื่นๆ เช่น จมน้ำ หรือเกิดภาวะขาดออกซิเจน ได้อีกด้วย
เพราะการทำ CPR คือการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หยุดกะทันหันให้กลับมาทำงานได้ชั่วคราว ซึ่งเป็นวิธียื้อชีวิตผู้ป่วยในขณะที่กำลังรอการรักษาจากแพทย์หรือหน่วยกู้ภัยแต่การช่วยชีวิตด้วยวิธีนี้มีโอกาสเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเกิดผลข้างเคียง อย่างกระดูกซี่โครงหักได้
จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้เรียนรู้การช่วยชีวิตอย่างถูกวิธีตาม สถานพยาบาล หรือแหล่งให้ความรู้ทางสาธารณสุขต่างๆ โดยเฉพาะคนที่มีคนใกล้ตัวเป็นโรคหัวใจ ซึ่งจะทำให้เราสามารถช่วยชีวิตคนที่เรารักได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุไม่คาดฟัน จะได้ไม่ต้องมาเสียใจทีหลัง
ทำ CPR ขั้นพื้นฐานใน 4 นาที เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้เพื่อนมนุษย์
การทำ CPR ควรทำภายใน 4 นาที เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หากทำร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ(AED)จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยวิธีการช่วยชีวิตผู้ป่วยเบื้องต้น มีดังนี้
1. เมื่อพบคนหมดสติให้ตรวจดูความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เช่น ระวังอุบัติเหตุ ไฟช็อต เพื่อความปลอดภัยกับตัวเรา
2. ขอความช่วยเหลือคนที่อยู่ใกล้เคียง ตรวจดูว่าผู้ป่วยยังหายใจอยู่หรือไม่? พร้อมทั้งรีบโทรหา 1669 ให้เร็วที่สุด
3. หากประเมินแล้ว ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวไม่หายใจ ให้ทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันที
4. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็ง ประสานมือวางมือลงตรงกลางหน้าอกระหว่างราวนมสองข้าง
5. กดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 ซม.ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง
6. ทำต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง หากมีเครื่อง AED ให้รีบนำมาใช้ทันทีตามขั้นตอนที่เครื่องแนะ นำอย่างเคร่งครัด **ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้ว ควรจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้นสามารถทำได้หลายแบบแต่มีหลักโดยรวมว่าควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด จัดให้ศีรษะอยู่ต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียนเข้าปอด
7. ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล
การฝึกช่วยชีวิตเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญไว้ เพราะอาจเกิดประโยชน์อย่างมากในยามฉุกเฉิน เมื่อต้องช่วยเหลือชีวิตใครสักคนหรือคนใกล้ตัวที่คุณรักได้
รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ