
ดิฉันเป็นเพื่อนในไลน์กับโรงพยาบาลจุฬาฯ แบบงง ๆ
คือ ไม่แน่ใจว่า แอด คลิกเข้าไปดู หรือทำอะไรสักอย่างที่ทำให้มีไลน์ของโรงพยาบาลจุฬาฯ
Anyway ก็ได้รับความรู้ด้านสุขภาพและข่าวสารจากโรงพยาบาลอยู่เนือง ๆ นะคะ
อาทิตย์ก่อนโน้น โรงพยาบาลประกาศว่า ทางคณะแพทยศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (Augmented Reality) ร่วมกับ บมจ. ทรู แถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมสร้างภาพจำลองฝึกการกู้ชีพพื้นฐาน หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CPR โดย มีการเชิญชวนผู้ที่สนใจลงทะเบียนฝึกการกู้ชีพเบื้องต้นกับหุ่นจำลอง
ก็เลยลงชื่อไปเข้าร่วมรับการฝึกด้วย งานจัดเมื่อวานนี้ค่ะ
พบว่า น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ งานจัดได้กระชับ ตรงเป้า มีให้ลงมือหัดทำ และมีน้อง ๆ นิสิตแพทย์มานั่งประกบสาธิตให้ดู และคอยดู คอยแนะผู้ฝึกหัดทำการกู้ชีพกับหุ่นตรงนั้นเลย
ก็เลยขอมารีวิวสั้น ๆ เผื่อโรงพยาบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ สนใจจัดบ้างคิดว่าคงจะดีไม่น้อย
การลงทะเบียนก็ง่าย ๆ ค่ะ
กรอกชื่อไปทางไลน์ ไม่ถึง 1 นาทีก็เสร็จ
งานเริ่มประมาณบ่ายโมง ที่ตึกอานันทฯ ชั้น 1
จากประสบการณ์ที่เคยไปโรงพยาบาลจุฬาฯ อยู่บ้าง พบว่า ไม่เคยเจอที่จอดว่างหรือหาที่จอดได้เลย
ก็เลยข้ามไปจอดที่สภากาชาดไทย น้องที่แจกบัตรจอดรถถามว่ามาบริจาคเลือดใช่ไหมคะ ?
นี่ได้แต่ยิ้ม ๆ เพราะไม่ชอบโกหก แต่ไม่รู้สึกผิดเท่าไร เพราะปกติก็บริจาคเลือดเป็นประจำ เพียงแต่ไม่ใช่วันนี้
คุณรปภ. สภากาชาดก็น่ารักมาก กุลีกุจอช่วยหาที่จอดให้
เดินข้ามถนนไปตึกอานันท์
งานเริ่มตรงเวลา มีกล่าวเปิดงานนิดหน่อย จากคุณหมอและตัวแทนจากบริษัท ทรู
(ขออภัย จำชื่อท่านไม่ได้) ก็ทำการเปิด presentation เรื่องเทคโนโลยี Augmented Reality ที่นำมาใช้ในด้านการฝึกกู้ชีพ
ที่น่าสนใจใน presentation คือ
เครื่องมือในการสาธิตและฝึกหัดทำการกู้ชีพเบื้องต้นสมัยใหม่
ระบบคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับตัวหุ่น ทำให้ผู้ฝึกหัดสามารถรู้ได้ว่า น้ำหนักมือที่กดลงไปถูกต้องเหมาะสมเพียงไร เพราะถ้ากดเบาไป ก็อาจจะช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้ากดแรงไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
เครื่องจะแสดงผลให้เป็นสี
ถ้ากดเบาไป จะเป็นสีฟ้า ผู้ฝึกต้องเพิ่มน้ำหนักมือ
ถ้าหนักไป จะเป็นสีแดง ผู้ฝึกต้องเพลาแรงลงหน่อย
ต้องกดลงไป แล้วออกเป็นสีเขียว ถึงจะถือว่าเป็นน้ำหนักที่ถูกต้อง
หลังจาก presentation จบแล้ว
คุณหมอพิธีกร ก็อธิบายขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเมื่อพบผู้หมดสติ และการทำ CPR แบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง คือ
1. เมื่อพบผู้หมดสติ ให้รีบพยุงตัวไปในที่ที่ปลอดภัย (ข้อนี้ เหมือนเป็น common sense แต่ก็ไม่ค่อย common เท่าไรนะคะ) เช่น พบผู้หมดสติกลางถนน ต้องพยุงมาในตัวอาคาร หรือทางเท้าที่ปลอดภัยก่อน
ที่ต้องย้ำเตือนข้อนี้ก่อนเพราะบางที คนเข้าช่วยเหลือ อาจตกใจ และลงมือช่วยตรงนั้นเลย หากเป็นที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ริมถนน อาจจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้
2. จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนราบลงกับพื้นเรียบ จากนั้น ให้เราตบบ่าด้านหน้า 2-3 ครั้ง ลองดูว่าผู้ป่วยจะฟื้นคืนสติได้หรือไม่ หากลองตบบ่าแล้ว ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว ให้เริ่มทำ CPR ได้เลย
ขั้นตอนนี้ บางท่านอาจสงสัยว่า ต้องประเมินชีพจรก่อนหรือไม่ ?
คำตอบคือ คนทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการจับชีพจร อาจประเมินได้ไม่ถูก เพราะงั้น กันเหนียว ก็ทำ CPR ไว้ก่อนเลย ถ้าคนป่วยอาการไม่รุนแรง เดี๋ยวเริ่มกดอกลงไป ก็จะตื่นเอง
3. รีบโทร.แจ้ง 1669
4. ทำ CPR โดยการวางมือลงตรงบริเวณ กึ่งกลางทรวงอก ประมาณราวนม คว่ำมือลงทับซ้อนกัน และเกี่ยวนิ้วเข้าด้วยกัน วางลงตรง ๆ บนบริเวณกึ่งกลางทรวงอก เหนือลิ้นปี่ แขนตั้งตรงไม่งอศอก
5. กดลงไปตรง ๆ ให้ลึกประมาณ 5-6 ซม. กดเป็นจังหวะ จะนับ 1 และ 2 และ 3 และ 4 ทำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 นาที อย่าได้หยุด ประมาณ 120 ครั้งต่อ 1 นาที
เวลากดลงไป แล้วปล่อยให้ส่วนอกคืนตัวขึ้นมา แล้วจึงกดซ้ำลงไป
6. ครบ 2 นาที หยุดแป๊บเพื่อประเมินอาการ แล้วรีบทำต่อไปเรื่อย ๆ อย่าให้ขาดตอน อาจสลับให้ผู้อื่นมาทำ CPR บ้าง เพราะมันใช้แรงพอสมควร เราต้องรักษาแรงกดและความต่อเนื่องในการปั๊มให้ได้
เครื่อง AED ใช้อย่างไร ?
หลายคนคงเคยเห็นเครื่องนี้ตามสนามบิน ห้างสรรพสินค้า ที่สาธารณะ และที่ทำงานบางแห่ง
เป็นกล่องแดง ๆ เล็ก ๆ มีสติกเกอร์รูปหัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่หน้ากล่อง
ดิฉันเคยเข้าใจผิด คิดว่า เครื่องนี้ แค่เอาไปแปะบนตัวคนหมดสติเฉย ๆ เดี๋ยวเครื่องมันจัดการที่เหลือเองอัตโนมัติ
ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดถนัดค่ะ
ระหว่างที่มีคนกำลังปั๊มหัวใจอยู่ อีกคนควรไปเตรียมเครื่อง AED ซึ่งในกล่อง AED จะมีแผ่น (ไม่รู้เรียกแผ่นอะไระนะค) อยู่ 2 แผ่น ให้แปะ ไปที่บ่าและใต้ราวนมของผู้ป่วย (ระหว่างนี้คนปั๊มหัวใจ ก็ห้ามหยุดมือนะคะ)
พอแปะเสร็จ เครื่องจะสั่งให้เราหยุดปั๊มสั้น ๆ เพื่อเครื่องจะประเมินภาวะการเต้นของหัวใจ ถ้าเรายังปั๊มไม่หยุด เครื่องอาจจะประเมินพลาดได้
หากเครื่องประเมินแล้วว่าต้องช็อค ผู้ปฐมพยาบาลทุกคนจะต้องปล่อยมือจากคนไข้ ถอยห่างจากตัวคนไข้ เคลียร์ระยะเว้น จากนั้นจึงกดปุ่มแดงตรงช็อค
กดแล้ว ก็รีบกลับมาทำ CPR ต่อไปค่ะ
ทำไมต้องซ้อมและหัดทำ CPR ?
1. อุบัติการณ์หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้น ตอนนี้พบบ่อยมาก การทำ CPR หรือปั๊มหัวใจเบื้องต้นเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยอย่างมีนัยยะสำคัญ
2. คนส่วนมากอาจมีความรู้เรื่องการทำ CPR จากการอ่านเอาจากหนังสือ แต่ไม่เคยได้ลงมือซ้อม ทำให้ทำได้ไม่ถูก เช่น ลงน้ำหนักมือเบาไป ปั๊มช้าไป และที่สำคัญคือถ้าไม่เคยซ้อมเลย จะกลัว ทำให้ไม่กล้าทำ
3. การซ้อมช่วยสร้างความมั่นใจได้มาก และที่สำคัญ น้อง ๆ นิสิตที่มานั่งประกบ สาธิตให้ดู คอยแนะนำระหว่างที่ผู้ฝึกซ้อมทำ พร้อมทั้งคอยตอบปัญหาจุกจิกที่ผู้ฝึกมีในใจที่ทำให้ลังเลสงสัยไม่กล้าทำ CPR เช่น ดิฉัน (ผู้มีความสงสัยอะไรประหลาด ๆ เป็นเจ้าเรือน) ถามไปว่า ถ้าเรากดอกลงไปตรง ๆ ด้วยน้ำหนักแบบนั้น มีโอกาสไหมที่กระดูกจะหัก ไปทิ่มปอดทะลุ ???
น้องตอบว่า “มีค่ะพี่ แต่ไม่เป็นไรนะคะ ปอดฉีก ก็รักษาได้ค่ะ แต่หัวใจไม่เต้นนาน ๆ นี่มันน่ากลัวกว่า”
4. CPR มันก็คล้าย ๆ กับทักษะลูกเสือสำหรับศตวรรษนี้ เราอาจมีโอกาสให้ต้องลงมือทำเมื่อไรก็ได้ เพราะงั้น ได้ลงมือซ้อมเสียหน่อย ถึงคราวฉุกเฉิน จะได้ไม่ตระหนก
เอวัง ก็เก็บความมาได้ประมาณนี้
ถ้าหากดิฉันเข้าใจตรงไหนผิดไป หรือมีผู้รู้ท่านใดจะมาเสริม ก็ขอเรียนเชิญด้วยความขอบคุณยิ่งค่ะ
ฝึกเสร็จ ทางผู้จัดให้เอาคูปองบัตรคิวที่แจก ไปรับขนมกล่องด้วย
ดิฉันไม่ได้อยากกิน แต่ก็ไปรับมา เอาไปให้คุณรปภ.ที่ลานจอดสภากาชาด
ขากลับ ... ตอนยื่นบัตรจอดรถคืนให้ เจ้าหน้าที่ถามว่า มาบริจาคเลือดใช่ไหมคะ ?
ขี้เกียจโกหก เลยตอบไปว่า “เปล่าค่ะ พี่ไปทำธุระที่ตึกฝั่งโน้น ค่าจอดรถเท่าไรคะ ?”
จ่ายไป 60 บาท ค่าสบายใจที่ไม่ต้องโกหก
หัดทำการกู้ชีพพื้นฐาน (CPR) กับโรงพยาบาลจุฬาฯ
ดิฉันเป็นเพื่อนในไลน์กับโรงพยาบาลจุฬาฯ แบบงง ๆ
คือ ไม่แน่ใจว่า แอด คลิกเข้าไปดู หรือทำอะไรสักอย่างที่ทำให้มีไลน์ของโรงพยาบาลจุฬาฯ
Anyway ก็ได้รับความรู้ด้านสุขภาพและข่าวสารจากโรงพยาบาลอยู่เนือง ๆ นะคะ
อาทิตย์ก่อนโน้น โรงพยาบาลประกาศว่า ทางคณะแพทยศาสตร์ โดยศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (Augmented Reality) ร่วมกับ บมจ. ทรู แถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมสร้างภาพจำลองฝึกการกู้ชีพพื้นฐาน หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CPR โดย มีการเชิญชวนผู้ที่สนใจลงทะเบียนฝึกการกู้ชีพเบื้องต้นกับหุ่นจำลอง
ก็เลยลงชื่อไปเข้าร่วมรับการฝึกด้วย งานจัดเมื่อวานนี้ค่ะ
พบว่า น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ งานจัดได้กระชับ ตรงเป้า มีให้ลงมือหัดทำ และมีน้อง ๆ นิสิตแพทย์มานั่งประกบสาธิตให้ดู และคอยดู คอยแนะผู้ฝึกหัดทำการกู้ชีพกับหุ่นตรงนั้นเลย
ก็เลยขอมารีวิวสั้น ๆ เผื่อโรงพยาบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ สนใจจัดบ้างคิดว่าคงจะดีไม่น้อย
การลงทะเบียนก็ง่าย ๆ ค่ะ
กรอกชื่อไปทางไลน์ ไม่ถึง 1 นาทีก็เสร็จ
งานเริ่มประมาณบ่ายโมง ที่ตึกอานันทฯ ชั้น 1
จากประสบการณ์ที่เคยไปโรงพยาบาลจุฬาฯ อยู่บ้าง พบว่า ไม่เคยเจอที่จอดว่างหรือหาที่จอดได้เลย
ก็เลยข้ามไปจอดที่สภากาชาดไทย น้องที่แจกบัตรจอดรถถามว่ามาบริจาคเลือดใช่ไหมคะ ?
นี่ได้แต่ยิ้ม ๆ เพราะไม่ชอบโกหก แต่ไม่รู้สึกผิดเท่าไร เพราะปกติก็บริจาคเลือดเป็นประจำ เพียงแต่ไม่ใช่วันนี้
คุณรปภ. สภากาชาดก็น่ารักมาก กุลีกุจอช่วยหาที่จอดให้
เดินข้ามถนนไปตึกอานันท์
งานเริ่มตรงเวลา มีกล่าวเปิดงานนิดหน่อย จากคุณหมอและตัวแทนจากบริษัท ทรู
(ขออภัย จำชื่อท่านไม่ได้) ก็ทำการเปิด presentation เรื่องเทคโนโลยี Augmented Reality ที่นำมาใช้ในด้านการฝึกกู้ชีพ
ที่น่าสนใจใน presentation คือ
เครื่องมือในการสาธิตและฝึกหัดทำการกู้ชีพเบื้องต้นสมัยใหม่
ระบบคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับตัวหุ่น ทำให้ผู้ฝึกหัดสามารถรู้ได้ว่า น้ำหนักมือที่กดลงไปถูกต้องเหมาะสมเพียงไร เพราะถ้ากดเบาไป ก็อาจจะช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้ากดแรงไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
เครื่องจะแสดงผลให้เป็นสี
ถ้ากดเบาไป จะเป็นสีฟ้า ผู้ฝึกต้องเพิ่มน้ำหนักมือ
ถ้าหนักไป จะเป็นสีแดง ผู้ฝึกต้องเพลาแรงลงหน่อย
ต้องกดลงไป แล้วออกเป็นสีเขียว ถึงจะถือว่าเป็นน้ำหนักที่ถูกต้อง
หลังจาก presentation จบแล้ว
คุณหมอพิธีกร ก็อธิบายขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเมื่อพบผู้หมดสติ และการทำ CPR แบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง คือ
1. เมื่อพบผู้หมดสติ ให้รีบพยุงตัวไปในที่ที่ปลอดภัย (ข้อนี้ เหมือนเป็น common sense แต่ก็ไม่ค่อย common เท่าไรนะคะ) เช่น พบผู้หมดสติกลางถนน ต้องพยุงมาในตัวอาคาร หรือทางเท้าที่ปลอดภัยก่อน
ที่ต้องย้ำเตือนข้อนี้ก่อนเพราะบางที คนเข้าช่วยเหลือ อาจตกใจ และลงมือช่วยตรงนั้นเลย หากเป็นที่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ริมถนน อาจจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้
2. จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนราบลงกับพื้นเรียบ จากนั้น ให้เราตบบ่าด้านหน้า 2-3 ครั้ง ลองดูว่าผู้ป่วยจะฟื้นคืนสติได้หรือไม่ หากลองตบบ่าแล้ว ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว ให้เริ่มทำ CPR ได้เลย
ขั้นตอนนี้ บางท่านอาจสงสัยว่า ต้องประเมินชีพจรก่อนหรือไม่ ?
คำตอบคือ คนทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการจับชีพจร อาจประเมินได้ไม่ถูก เพราะงั้น กันเหนียว ก็ทำ CPR ไว้ก่อนเลย ถ้าคนป่วยอาการไม่รุนแรง เดี๋ยวเริ่มกดอกลงไป ก็จะตื่นเอง
3. รีบโทร.แจ้ง 1669
4. ทำ CPR โดยการวางมือลงตรงบริเวณ กึ่งกลางทรวงอก ประมาณราวนม คว่ำมือลงทับซ้อนกัน และเกี่ยวนิ้วเข้าด้วยกัน วางลงตรง ๆ บนบริเวณกึ่งกลางทรวงอก เหนือลิ้นปี่ แขนตั้งตรงไม่งอศอก
5. กดลงไปตรง ๆ ให้ลึกประมาณ 5-6 ซม. กดเป็นจังหวะ จะนับ 1 และ 2 และ 3 และ 4 ทำไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 นาที อย่าได้หยุด ประมาณ 120 ครั้งต่อ 1 นาที
เวลากดลงไป แล้วปล่อยให้ส่วนอกคืนตัวขึ้นมา แล้วจึงกดซ้ำลงไป
6. ครบ 2 นาที หยุดแป๊บเพื่อประเมินอาการ แล้วรีบทำต่อไปเรื่อย ๆ อย่าให้ขาดตอน อาจสลับให้ผู้อื่นมาทำ CPR บ้าง เพราะมันใช้แรงพอสมควร เราต้องรักษาแรงกดและความต่อเนื่องในการปั๊มให้ได้
เครื่อง AED ใช้อย่างไร ?
หลายคนคงเคยเห็นเครื่องนี้ตามสนามบิน ห้างสรรพสินค้า ที่สาธารณะ และที่ทำงานบางแห่ง
เป็นกล่องแดง ๆ เล็ก ๆ มีสติกเกอร์รูปหัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่หน้ากล่อง
ดิฉันเคยเข้าใจผิด คิดว่า เครื่องนี้ แค่เอาไปแปะบนตัวคนหมดสติเฉย ๆ เดี๋ยวเครื่องมันจัดการที่เหลือเองอัตโนมัติ
ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดถนัดค่ะ
ระหว่างที่มีคนกำลังปั๊มหัวใจอยู่ อีกคนควรไปเตรียมเครื่อง AED ซึ่งในกล่อง AED จะมีแผ่น (ไม่รู้เรียกแผ่นอะไระนะค) อยู่ 2 แผ่น ให้แปะ ไปที่บ่าและใต้ราวนมของผู้ป่วย (ระหว่างนี้คนปั๊มหัวใจ ก็ห้ามหยุดมือนะคะ)
พอแปะเสร็จ เครื่องจะสั่งให้เราหยุดปั๊มสั้น ๆ เพื่อเครื่องจะประเมินภาวะการเต้นของหัวใจ ถ้าเรายังปั๊มไม่หยุด เครื่องอาจจะประเมินพลาดได้
หากเครื่องประเมินแล้วว่าต้องช็อค ผู้ปฐมพยาบาลทุกคนจะต้องปล่อยมือจากคนไข้ ถอยห่างจากตัวคนไข้ เคลียร์ระยะเว้น จากนั้นจึงกดปุ่มแดงตรงช็อค
กดแล้ว ก็รีบกลับมาทำ CPR ต่อไปค่ะ
ทำไมต้องซ้อมและหัดทำ CPR ?
1. อุบัติการณ์หัวใจวาย หัวใจหยุดเต้น ตอนนี้พบบ่อยมาก การทำ CPR หรือปั๊มหัวใจเบื้องต้นเพิ่มโอกาสรอดให้กับผู้ป่วยอย่างมีนัยยะสำคัญ
2. คนส่วนมากอาจมีความรู้เรื่องการทำ CPR จากการอ่านเอาจากหนังสือ แต่ไม่เคยได้ลงมือซ้อม ทำให้ทำได้ไม่ถูก เช่น ลงน้ำหนักมือเบาไป ปั๊มช้าไป และที่สำคัญคือถ้าไม่เคยซ้อมเลย จะกลัว ทำให้ไม่กล้าทำ
3. การซ้อมช่วยสร้างความมั่นใจได้มาก และที่สำคัญ น้อง ๆ นิสิตที่มานั่งประกบ สาธิตให้ดู คอยแนะนำระหว่างที่ผู้ฝึกซ้อมทำ พร้อมทั้งคอยตอบปัญหาจุกจิกที่ผู้ฝึกมีในใจที่ทำให้ลังเลสงสัยไม่กล้าทำ CPR เช่น ดิฉัน (ผู้มีความสงสัยอะไรประหลาด ๆ เป็นเจ้าเรือน) ถามไปว่า ถ้าเรากดอกลงไปตรง ๆ ด้วยน้ำหนักแบบนั้น มีโอกาสไหมที่กระดูกจะหัก ไปทิ่มปอดทะลุ ???
น้องตอบว่า “มีค่ะพี่ แต่ไม่เป็นไรนะคะ ปอดฉีก ก็รักษาได้ค่ะ แต่หัวใจไม่เต้นนาน ๆ นี่มันน่ากลัวกว่า”
4. CPR มันก็คล้าย ๆ กับทักษะลูกเสือสำหรับศตวรรษนี้ เราอาจมีโอกาสให้ต้องลงมือทำเมื่อไรก็ได้ เพราะงั้น ได้ลงมือซ้อมเสียหน่อย ถึงคราวฉุกเฉิน จะได้ไม่ตระหนก
เอวัง ก็เก็บความมาได้ประมาณนี้
ถ้าหากดิฉันเข้าใจตรงไหนผิดไป หรือมีผู้รู้ท่านใดจะมาเสริม ก็ขอเรียนเชิญด้วยความขอบคุณยิ่งค่ะ
ฝึกเสร็จ ทางผู้จัดให้เอาคูปองบัตรคิวที่แจก ไปรับขนมกล่องด้วย
ดิฉันไม่ได้อยากกิน แต่ก็ไปรับมา เอาไปให้คุณรปภ.ที่ลานจอดสภากาชาด
ขากลับ ... ตอนยื่นบัตรจอดรถคืนให้ เจ้าหน้าที่ถามว่า มาบริจาคเลือดใช่ไหมคะ ?
ขี้เกียจโกหก เลยตอบไปว่า “เปล่าค่ะ พี่ไปทำธุระที่ตึกฝั่งโน้น ค่าจอดรถเท่าไรคะ ?”
จ่ายไป 60 บาท ค่าสบายใจที่ไม่ต้องโกหก