ประวัติ และ วิทยาศาสตร์แห่งการทำ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)

สวัสดีครับ  หากพูดถึงการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตมนุษย์  ขั้นตอนหนึ่งที่เราเห็นบ่อยครั้งคือการ CPR
ที่เราเรียกกันติดปากว่า "การปั้มหัวใจ" นั่นเอง  CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary Resuscitation  
เป็นขั้นตอนการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หมดสติ  หัวใจหยุดเต้น  ให้สามารถมีระบบไหลเวียนโลหิตไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
ที่สำคัญ เช่น สมอง  เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะสมองตายและเนื้อเยื่อขาดเลือด  โดย CPR จะกระทำไป
ตลอดเวลาตั้งแต่ประสพเหตุจนผู้ป่วยถึงมือแพทย์ครับ

   ประวัติและความเป็นมาของการ CPR นั้น  เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยคริสศตวรรษที่ 17 แล้ว  โดยในปี 1740
สถาบันวิทยาการวิทยาศาสตร์แห่งปารีส (The Paris Academy of Sciences)  ได้ประกาศวิธีช่วยชีวิต
ผู้ป่วยจมน้ำด้วยการ Mouth-to-mouth resuscitation (การช่วยชีวิตด้วยวิธีเป่าปาก)  ต่อมาในปี 1767
บุคคลกลุ่มหนึ่งในกรุง Amsterdam  เนเธอร์แลนด์  ได้จัดตั้งสมาคมเพื่อช่วยชีวิตผู้จมน้ำ  โดยได้กำหนด
วิธีปฏิบัติขั้นตอนช่วยชีวิตคนจมน้ำใว้อย่างชัดเจน  และได้ช่วยชีวิตผู้คนที่ประสบเหตุได้ถึง 150 คน
ในช่วง 4 ปี ของการก่อตั้งสมาคม

   หลังจากนั้น  ก็ได้มีแพทย์หลายท่านคิดค้นวิธีช่วยชีวิตคนออกมาหลายรูปแบบ  โดยวิธีแรกอันเป็นกำเนิดของ CPR
เสนอโดย Dr. Friedrich Maass  ศัลยแพทย์ชาวเยอรมันในปี 1891 คือวิธี Chest compression (การกดหน้าอก)
หลังจากนั้นในปี 1954  James Elam นักวิจัยทางการแพทย์ชาวอเมริกันได้ค้นพบข้อมูลใหม่ และพิสูจน์ได้ว่า  
อากาศที่เราหายใจออกมานั้น จะมี Oxygen ปนออกมาด้วย  ซึ่ง oxygen จำนวนเท่านี้ "เพียงพอ" สำหรับร่างกายผู้ป่วย
นำไปใช้ในขั้นตอนช่วยชีวิตได้  ต่อมาในปี 1960 The American Heart Association (สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา)
ได้บัญญัติศัพท์ CPR ขึ้นโดยนำวิธี Chest compression และ mouth-to-mouth resuscitation มารวมกัน และได้เผยแพร่
เป็นขั้นตอนมาตรฐานในการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นไม่ว่าจากสาเหตุใด (หัวใจขาดเลือด  ไฟฟ้าดูด  จมน้ำ  อุบัติเหตุ ... ฯลฯ)

   จากประวัติศาสตร์ของการ CPR ที่ได้กล่าวไปแล้ว  ต่อไปจะลงรายละเอียดของการ CPR กันครับ  ว่า CPR มีขั้นตอน
และรักษาชีวิตผู้ป่วยได้อย่างไร  ก่อนอื่นท่านต้องทราบ "ความต้องการ" พื้นฐานของร่างกายในการรอดชีวิตก่อนครับ
การรอดชีวิตของคน ๆ หนึ่ง  จะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ  ระบบไหลเวียนโลหิต และ ระบบหายใจ
ระบบไหลเวียนโลหิตนั้นจะมาจากการทำงานของหัวใจ  หัวใจจะสูบฉีดเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยเฉพาะ "สมอง"
นั้นจะสำคัญอย่างมาก  หากสมองขาดเลือดไหลเวียนเกิน "4 นาที"  ก็จะเกิดภาวะ Cells สมองตาย  นั่นคือสิ่งเลวร้ายมากครับ
ต่อไปคือระบบการหายใจ  การหายใจจะเกิดขึ้นที่ปอดโดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ Oxygen เข้าไปสู่เส้นเลือดฝอยในปอด
และนำ Carbondioxide ออกไปจากเส้นเลือดฝอยมากับลมหายใจออก

ทั้ง 2 ระบบหลักนี้  หากคน ๆ หนึ่งเกิดภาวะใด ๆ ที่ 2 ระบบนี้หยุดทำงาน  การ CPR นี้จะช่วยได้มาก (มากที่สุด)
เพราะ CPR จะ "สร้าง" 2 ระบบนี้ให้ดำเนินต่อไปได้  นั่นก็คือ  การกดหน้าอก (Chest compression)
จะช่วยสร้างระบบไหลเวียนโลหิต  และการเป่าปาก (mouth-to-mouth resuscitation) จะช่วยสร้างการหายใจ ครับ

   การกดหน้าอก (Chest compression) ช่วยสร้างระบบไหลเวียนโลหิตได้อย่างไร ?
จากภาพล่างนี้  จะเห็นโครงสร้างคร่าว ๆ ของการกดหัวใจครับ  การกดหน้าอกลงไปจะเป็นการทำให้หัวใจ บีบ และ คลายตัว
ทำให้มัน pump เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มากเท่าเดิมแต่ก็เพียงพอสำหรับการรอดชีวิต และ
เลี้ยงสมองได้ไม่เกิดภาวะ "สมองตาย" ครับ  นี่คือภาพเคลื่อนไหว .GIF แสดงหลักการไหลเวียนเลือด
ขณะกดหน้าอก ------->  https://j.gifs.com/vQ2GGb.gif


   ส่วนการเป่าปาก (Mouth-to-mouth resuscitation) นั้น  ก็คงเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าเป็นการเป่าลมจากลมหายใจออกของเรา
เข้าไปในปากผู้ป่วย  อากาศจำนวนนี้จะเข้าไปในปอดของผู้ป่วยและ "สร้าง" การแลกเปลี่ยนก๊าซคล้ายกับการหายใจได้
ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ว่า  อากาศที่เราหายใจออกมานั้น  จะมี Oxygen ปนออกมาด้วย  ซึ่ง oxygen จำนวนเท่านี้ "เพียงพอ"
สำหรับร่างกายผู้ป่วยนำไปใช้ครับ  ขอลงลึกหน่อยนึงว่าการหายใจของคนเราเข้าจะเป็นอากาศปกติ คือ Nitrogen 78%
Oxygen 21%   Argon 1%  แต่เมื่อหายใจออก oxygen  จะลดลงเฉลี่ย 4%  carbondioxide เพิ่มเป็น 5%  ส่วนไนโตรเจน
และก๊าซอื่น ๆ ยังคงเดิม  ซึ่ง Oxygen ที่เหลือประมาณ 17% นี้  เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่จะรอดชีวิตครับ

ภาพแสดงการเป่าปาก


สำหรับวิธีการ CPR ทั้งการกดหน้าอก  เป่าปาก  ท่านสามารถหาอ่านได้มากมายครับ
ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีที่เป็นปัจจุบัน และมีการฝึกสอนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมแล้ว
บทความนี้จะเสนอประวัติ  ที่มา  และกลไกบางอย่างที่ท่านอาจยังไม่ทราบครับ

ขั้นตอนสำคัญต่อจากนี้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น คือการใช้ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
หรือ (Automated External Defibrillator: AED)  หรือจะเป็นเครื่องกระตุกหัวใจมาตรฐาน (Defibrillator)
ที่มีใช้โรงพยาบาลหรือรถพยาบาล  ซึ่งผมจะเสนอในบทความต่อไปในสัปดาห์หน้านี้ครับ  

บทความนี้  ผมเขียนขึ้นโดยได้รับการสนับสนุน การแนะนำ และ แรงบันดาลใจ  จากเพจ Street Hero Project
ซึ่งเป็นเพจนี้  เป็นเพจที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะในด้านการแพทย์  การช่วยเหลือกันในสังคม
ผมขอขอบพระคุณเจ้าของเพจมา  ณ  ที่นี้ครับ  https://www.facebook.com/streetheroproject/
บทความนี้จะนำลงในเพจ Street Hero Project ด้วย  รวมทั้งบทความอื่น ๆ ที่จะมีออกมาต่อไปด้วยครับ

สวัสดีครับ อมยิ้ม17
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่